เป้าหมายสำคัญหนึ่งของการละหมาด คือ การคุชั๊วะอฺ มีสมาธิในละหมาด ดังนั้นเมื่อยืนละหมาดก็สุนัตให้มองไปยังสถานที่สุยูดเพราะจะทำให้เกิดความมีสมาธิยิ่งขึ้น
ขณะละหมาดอย่าหลับตา
จากหะดีษ ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า " صلوا كما رأيتموني أصلي "
ความว่า "พวกท่านจงละหมาดเสมือนพวกท่านเห็นฉันละหมาด" (บันทึกโดยบุคอรีย์)
ฉะนั้น เราจะต้องละหมาดเสมือนท่านนบีละหมาด ซึ่งท่านนบีละหมาดในสภาพที่ลืมตา โดยมิได้หลับตาแต่อย่างใดทั้งสิ้น แม้ว่าความรู้สึกของเราจะอ้างว่าการหลับตาขณะละหมาดจะมีสมาธิมากกว่าก็ตาม
ฮุกุ่มการหลับตาในขณะซุหยูด
เป้าหมายสำคัญหนึ่งของการละหมาด คือ การคุชั๊วะอฺ มีสมาธิในละหมาด ดังนั้นเมื่อยืนละหมาดก็สุนัตให้มองไปยังสถานที่สุยูดเพราะจะทำให้เกิดความมีสมาธิยิ่งขึ้น แต่กรณีลืมตาละหมาดแล้วไม่มีสมาธิเนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามา แล้วทำการหลับตาเพื่อให้มีสมาธิยิ่งขึ้น ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่มุบาห์ อนุญาตให้กระทำได้โดยไม่มักโระฮ์แต่ประการใด
ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ กล่าวไว้ในหนังสือมินฮาจญุฏฏอลิบีนความว่า:
يُكْرَهُ تَغْمِيضُ عَيْنَيْهِ وَ عِنْدِي لَا يُكْرَهُ إنْ لَمْ يَخَفْ ضَرَرًا
“(ท่านอัรริฟีย์กล่าวว่า)มักโระฮ์หลับสองตา(ในละหมาด) แต่ตามทัศนะวินิจฉัยของฉัน(คืออิหม่ามอันนะวาวีย์)นั้น ถือว่าไม่มักโระฮ์หากเขาไม่กลัวว่าจะเกิดโทษ”
ท่านอิหม่ามอิบนุฮะญัร อัลฮัยตะมีย์ กล่าวอธิบายว่า:
يُكْرَهُ تَغْمِيضُ عَيْنَيْهِ لِأَنَّهُ فِعْلُ الْيَهُودِ وَجَاءَ النَّهْيُ عَنْهُ لَكِنَّهُ مِنْ طَرِيقٍ ضَعِيفٍ وَ الْأَفْقَهُ عِنْدِي أَنَّهُ لَا يُكْرَهُ إنْ لَمْ يَخَفْ ضَرَرًا يَلْحَقُهُ بِسَبَبِهِ إذْ لَمْ يَصِحَّ فِيهِ نَهْيٌ وَفِيهِ مَنْعٌ لِتَفْرِيقِ الذِّهْنِ فَيَكُونُ سَبَبًا لِحُضُورِ الْقَلْبِ وَوُجُودِ الْخُشُوعِ الَّذِي هُوَ سِرُّ الصَّلَاةِ وَرُوحُهَا
“มักโระฮ์ทำการหลับตาทั้งสอง เพราะการหลับตานั้นเป็นการกระทำของพวกยะฮูดีและมีฮะดีษห้ามจากสิ่งดังกล่าว แต่ทว่าฮะดีษห้าม(การหลับตา)นั้นมีสายรายงานที่ฏออีฟ และสิ่งที่มีน้ำหนักตามหลักฟิกห์มากที่สุดตามทัศนะของฉัน(อิหม่ามอันนะวาวีย์) คือการหลับตานั้นไม่มักโระฮ์หากไม่กลัวจะเกิดโทษอันจะเกิดขึ้นแก่เขา( เช่น หากเกรงว่าจะมีศัตรูเข้ามาจู่โจม)ด้วยสาเหตุของการหลับตา(ก็ถือว่ามักโระฮ์) เนื่องจาก(ที่ไม่มักโระฮ์หลับตานั้นเพราะ)ไม่มี(สายรายงาน)ที่ซอฮิห์มาห้ามหลับตา และในการหลับตานั้นจะมายับยั้งความคิดฟุ้งซ่าน ดังนั้นการหลับตาจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หัวใจมุ่งอยู่กับอัลเลาะฮ์และทำให้มีสมาธิซึ่งเป็นจิตวิญญาณของการละหมาด” ตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 100.
สำหรับฮะดีษที่ห้ามหลับตาในละหมาดนั้น ท่านอัฏเฏาะบะรอนีย์ รายงานไว้ความว่า
حَدَّثَنَا أَحْمَدُ بن النَّضْرِ الْعَسْكَرِيُّ، حَدَّثَنَا أَبُو خَيْثَمَةَ مُصْعَبُ بن سَعِيدٍ، حَدَّثَنَا مُوسَى بن أَعْيَنَ، عَنْ لَيْثٍ، عَنْ طَاوُسٍ، عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ، قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ:إِذَا قَامَ أَحَدُكُمْ فِي الصَّلاةِ فَلا يَغْمِضْ عَيْنَيْهِ
ได้เล่าให้เราทราบโดย อะห์มัด บิน อันนัฏร์ อัลอัสกะรีย์, ได้เล่าให้เราทราบโดยอะบูค็อยษะมะฮ์ มุศอับ บิน สะอีด, ได้เล่าให้เราทราบโดยมูซา บิน อะอฺยัน, จากลัยษ์, จากฏอวูส, จากท่านอิบนุอับบาส เขากล่าวว่า: ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า เมื่อคนใดจากพวกท่านได้ยืนยันละหมาด เขาก็อย่าหลับสองตาของเขา” รายงานโดยอัฏเฏาะบะรอนีย์ (10794)
สายรายงานของฮะดีษฏออีฟเพราะมี ลัยษ์ บิน อะบี สุลัยม์ ซึ่งท่านอิบนุฮะญัร กล่าวว่า “อัลลัยษ์ บิน อะบี สุลัยม์นั้น ไม่เคยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้โกหก(ศ่อดูกแต่)เขามีความสับสนอย่างมาก โดยฮะดีษของเขาไม่สามารถแยกแยะได้ ดังนั้นฮะดีษของเขาจึงถูกทิ้ง” ตักรีบ อัตตะฮ์ซีบ หน้า 419.
ท่านอิบนุลก็อยยิม กล่าวว่า
وَالصَّوَابُ أَنْ يُقَالَ: إِنْ كَانَ تَفْتِيْحُ الْعَيْنِ لاَ يُخِلُّ بِالْخُشُوْعِ، فَهُوَ أَفْضَلُ، وَإِنْ كَانَ يَحُوْلُ بَيْنَهُ وَبَيْنَ الْخُشُوْعِ لِمَا فِيْ قِبْلَتِهِ مِنَ الزَخْرَفَةِ وَالتَّزْوِيْقِ أَوْ غَيْرِهِ مِمَّا يُشَوِّشُ عَلَيْهِ قَلْبَهُ، فَهُنَالِكَ لاَ يُكْرَهُ التَّغْمِيْضُ قَطْعاً، وَالْقَوْلُ بِاِسْتِحْباَبِهِ فِيْ هَذَا الْحَالِ أَقْرَبُ إِلَى أُصُوْلِ الشَّرْعِ وَمَقَاصِدِهِ مِنَ الْقَوْلِ بِالْكَرَاهَةِ، وَاللهُ أَعْلَمُ
“ที่ถูกต้อง ควรกล่าวว่า หากการลืมตาไม่ทำให้สมาธิบกพร่อง แน่นอนว่าการลืมตานั้นย่อมดีกว่า และถ้าหากการลืมตามาขวางระหว่างเขากับการมีสมาธิ(คือการลืมตาทำให้เขาไม่มีสมาธิ)เพราะเบื้องหน้าเขามีสิ่งประดับลวดลายสวยงาม, ประดับด้วยการชุบทอง, หรือสิ่งอื่น ๆ ที่มาก่อกวนหัวใจของเขา ดังกล่าวนั้นก็ไม่มักโระฮ์ที่จะหลับตาอย่างเด็ดขาด, และการกล่าวว่า เป็นมุสตะฮับ(สุนัต)ให้หลับตาในสภาพ(ที่มีสิ่งยั่วยวนสายตาอยู่เบื้องหน้า)นี้ ย่อมใกล้เคียงรากฐานและเจตนารมณ์ของศาสนายิ่งกว่าการกล่าวว่ามักโระฮ์ วัลลอฮุอะลัม” หนังสือซาดุลมะอาด เล่ม 1 หน้า 294 ตีพิมพ์ที่ มุอัสสะซะฮ์ อัรริซาละฮ์
ที่มา: www.sunnahstudent.com