ในอิสลามกำหนดให้มุสลิมละหมาดวันละ 5 เวลา การปฏิบัติละหมาดเสมือนการแสดงความรักต่อพระเจ้า ยิ่งมุสลิมรักพระเจ้าของเขามากแค่ไห
ถ้าคุณรักผู้หญิงคนหนึ่ง แล้วคุณเข้าไปหาเขาวันละ 5 ครั้ง เขาจะไม่ตอบรักคุณเหรอ ?
ฉันใดฉันนั้น นัยของการละหมาด คือ การที่มนุษย์ติดต่อเชื่อมโยงกับพระเจ้าของเขา
ในอิสลามกำหนด ให้มุสลิมละหมาดวันละ 5 เวลา การปฏิบัติละหมาดเสมือนการแสดงความรักต่อพระเจ้า ยิ่งมุสลิมรักพระเจ้าของเขามากแค่ไหน เขาก็ย่อมต้องการให้พระองค์ทรงโปรดปรานมากขึ้นเท่านั้น และมุสลิมจะทำทุกอย่างที่พระองค์พอใจ และออกห่างทุกอย่างที่พระองค์ทรงห้าม การละหมาดก็เหมือนกับการที่มุสลิมเข้าไปย้ำพันธสัญญากับพระเจ้า ในรอบวันมุสลิมจะรู้ดีว่าเขาต้องรำลึกถึงพระเจ้า เข้าไปพบกับพระเจ้าอย่างน้อย 5 ครั้ง มุสลิมที่ตระหนักถึงเรื่องนี้ก็จะมุ่งทำแต่ความดีไม่กล้าทำความชั่วตลอดทั้งวัน
ในชีวิตมุนษย์ทุกวัน มีกิจกรรมต่างๆมากมายที่ต้องทำ กิจกรรมล้วนส่งผลให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ทั้งสุข ทุกข์ เศร้า เหงา เบื่อ เครียด และกิจกรรมต่างๆควรมีลิมิต และเวลาให้หยุดพัก ไม่ใช่ดำเนินไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด
"การละหมาด" ถือเป็นเวลาพักของมุสลิม
- พักทุกอย่างที่ทำบนโลกที่ไม่ถาวรใบนี้ สู้การสะสมเสบียงเพื่อโลกใบหน้าที่ถาวรกว่า
- พักเพื่อรำลึกถึงผู้สร้าง เข้าเฝ้าพระเจ้า นั่นคืออัลลอฮ ตามคำสั่งวันละ 5 เวลา
- พักเพื่อเตือนสติตนเองว่า กำลังทำอะไรอยู่ เพื่อไม่ให้เครียด หรือ ยึดติดกับโลกนี้มากเกินไป
คำถาม ทำไมอิสลามต้องละหมาดวันละ 5 เวลา ??
คำตอบ
1. เพื่อทำตามคำสั่งใช้ของพระเจ้า
2. เพื่อให้เกิดผลดีต่อจิตใจของผู้กระทำ
3.เพื่อดำรงไว้ซึ่งศาสนา และจริยธรรมความดี
4.เพื่อให้พ้นจากการทำบาป ขัดเกลาจิตใจ
ความสำคัญของการละหมาด
การละหมาด (อัศ-ศ่อลาฮฺ) ถือเป็นเครื่องสำแดงความเป็นอิสลามอันดับแรกในวิถีชีวิตของชนมุสลิม ดังนั้นเมื่อมุสลิมละทิ้งการละหมาด ก็เท่ากับว่ามุสลิมผู้นั้นกำลังนำพาตนเองไปสู่การปฏิเสธ(กุฟร์)
ซึ่งท่านนบีฯ (صلى الله عليه وسلم) ได้กล่าวว่า:
إِنَّ بَيْنَ الَّرجُلِ و بَيْنَ الشِّرْكِ وَالْكُفِر تَركَ الصَّلاَ ةِ
“แท้จริงระหว่างบุคคลและระหว่างการตั้งภาคีกับการปฏิเสธนั้นคือการละทิ้งการ ละหมาด” (รายงานโดยมุสลิม 82)
ประโยชน์ของการละหมาดมีมากมายหลายประการ ซึ่งสรุปได้ดังนี้ :
1. เป็นการเตือนให้มนุษย์รู้จักตนเองว่าเป็นบ่าวของอัลเลาะฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร เพื่อระลึกไว้ตลอดไป โดยที่กิจการงานในทางโลกและความสัมพันธ์กับผุ้อื่นอาจทำให้มนุษย์หลงลืมตน เอง แต่เมื่อถึงเวลาละหมาดมันจะทำให้เขานึกขึ้นได้อีกครั้งหนึ่งว่าตนเป็นบ่าว ของอัลเลาะฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร
2. เพื่อให้ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของมนุษย์ว่า ไม่มีผู้ที่จะให้ความช่วยเหลือและให้ความสุขที่แท้จริงนอกจากอัลเลาะฮ์ ผู้ทรงเกรียงไกรเท่านั้น แม้เขาจะพบเห็นในโลกนี้ว่ามีสื่อและสาเหตุมากมายที่ดูเพียงผิวเผินแล้ว ช่วยเหลือและให้ความสุข แต่แท้ที่จริงแล้วอัลเลาะฮ์ตะอาลาได้ให้สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงเครื่องอำนวย ความสะดวกสบายแก่มนุษย์เท่านั้น ทุกครั้งที่มนุษย์หลงลืมและปล่อยตัวไปกับสื่อต่าง ๆ ที่เป็นเพียงผิวเผิน การละหมาดจะเป็นสิ่งคอยเตือนเขาว่าที่แท้จริงนั้นมาจากอัลเลาะฮ์ตะอาลาเพียง องค์เดียว พระองค์ทรงช่วยเหลือ ทรงให้ความสุข ทรงให้โทษ ทรงให้คุณ ทรงให้เป็น และทรงให้ตาย
3. มนุษย์จะได้ใช้ละหมาดเป็นช่วงเวลาของการสำนึกผิด จากความผิดต่าง ๆ ที่เขาได้ก่อขึ้นเนื่องจากในช่วงวันหนึ่งกับคืนหนึ่งนั้น มนุษย์ต้องเผชิญกับบาปและความผิดต่าง ๆ มากมาย ทังที่เขารู้ตัวและอาจไม่รู้ตัว ดังนั้นการละหมาดระหว่างเวลาหนึ่ง จะช่วยขัดเกลาเขาให้สะอาดบริสุทธิ์จากบาปและความผิดต่าง ๆ ได้ ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวอธิบายเรื่องดังกล่าวไว้ในฮะดิษซึ่งรายงานโดยมุสลิม (668) จากท่านญาบิร บุตร อับดิ้ลลาห์ ได้กล่าวว่า :
(หมายความว่า "สิ่งสกปรก" ในที่นี้หมายถึงบาปต่างๆ) รายงานโดยของอะบีฮุรอยเราะฮ์ (ร.ด.) ที่มุสลิม (667)
ได้บ่งชี้เช่นนั้น คือ "นั่นก็เหมือนกับละหมาดหน้าเวลาที่อัลเลาะฮ์จะทรงใช้มันลบล้างบาปต่าง ๆ"
4. ละหมาด เป็นเสมือนอาหารที่หล่อเลี้ยงหลักศรัทธา (อะกีดะฮ์) ที่อยู่ในจิตใจ ความเพลิดเพลินในโลกนี้และการลวงล่อของชัยตอนมารร้าย จะทำให้มนุษย์หลงลืมหลักอะกีดะฮ์นี้ ถึงแม้จะถูกปลูกฝังอยู่ในจิตใจแล้วก็ตาม และเมื่อมนุษย์ตกอยู่ในความหลงลืม ในลักษณะเช่นนี้อย่างต่อเนื่องด้วยเหตุที่จมปลักอยู่ในอารมณ์ใฝ่ต่ำ และเพื่อนฝูงที่เลวคอยชัดนำ ความหลงลืมนี้จะเปลี่ยนเป็นการปฏิเสธและไม่ยอมรับเหมือนต้นไม้ที่ขาดน้ำล่อ เลี้ยงก็จะเหี่ยวเฉาและตายไปในที่สุด และในไม่ช้าต้นไม้นั้นก็จะกลายเป็นฟืนที่ไร้ค่า แต่มุสลิมที่ยืนหยัดปฏิบัติละหมาดอย่างสม่ำเสมอ ละหมาดนั้นก็จะเป็นอาหารคอยหล่อเลี้ยงความมีศรัทธาของเขาให้สดชื่นและงอกงาม ความเพลิดเพลินในดุนยาไม่อาจทำให้ศรัทธาของเขาอ่อนแอและตายได้ (อัลฟิกห์ 1/88-89)
ละหมาดกับผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
การนมาซสามารถทำให้จิตใจโอบอ้อมอารีและสมองส่วน DMN ทำงาน
ดร.วัดสัน บริวเวอร์ (2554:10) นักวิจัยแห่งภาควิชาประสาทวิทยาบำบัด มหาวิทยาลัยเยล มีชื่อเสียงด้านการแพทย์เป็นอันดับต้นๆของอเมริกา ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพการทำงานของผู้ที่ทำสมาธิ กับผู้ที่มิได้ทำสมาธิรวม 23 คน โดยใช้เครื่องมือสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก ในการตรวจสอบการทำงานของสมองกลุ่มตัวอย่างพบผลที่น่าทึ่งในกลุ่มผู้ทำสมาธิในขั้นต้นสามประการดังนี้
1.การจดจ่อ
2.การทำให้จิตใจโอบอ้อมอารี
3.การไม่เลือกปฏิบัติ
โดยกลุ่มตัวอย่างชาวตะวันตกที่ทำสมาธิมีการทำงานของสมองในส่วนที่เรียกว่า Default Mode Network (DMN) ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่จะทำงาน เมื่อเราเผชิญกับโลกภายนอก มีการทำงานมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ทำสมาธิ
ผลการวิจัยของนักวิจัยกลุ่มอื่นยังเผยอีกว่า การทำสมาธิ (การละหมาดที่มีคูซูอฺ) นั้นสามารถสร้างเครือข่ายการทำงานของกระแสประสาทใน DMN ได้ดีขึ้น และยังช่วยป้องกันโรคอัลซัลเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมได้เป็นอย่างดี
ที่มาของข้อมูล : หนังสือ "อิสลาม กับคำถามที่ต้องตอบ
www.oknation.net/blog/naichumpol
อ้างอิงข้อมูลจาก sunnahstudent.com
ดร.วัดสัน บริวเวอร์ 2554 “รายงานการวิจัย” มติชน 26 พฤษจิกายน หน้า 10
www.muslimthaipost.com