มีคนถาม เชคมุหัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด ว่า ผมได้ซื้อบ้านเพื่อให้เช่า ตอนนั้นผมอยู่ต่างประเทศ ผมก็ฝากให้ตัวแทนจัดการเรื่องให้เช่าบ้านให้กับคนที่ดีๆ ตัวแทนก็บอกว่า มีผู้จัดการในบริษัทแห่งหนึ่งจะเช่าบ้าน ผมก็ได้ตกลงไว้ แต่พอผมกลับมา ได้รู้ว่า คนที่เช่าบ้านนั้น เขาเปิดการค้าประเวณี ผมก็ไล่เขาออกไป
มุสลิมเปิดบ้านเช่าให้ต่างศาสนิก ได้หรือไม่?
มีคนถาม เชคมุหัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด ว่า ผมได้ซื้อบ้านเพื่อให้เช่า ตอนนั้นผมอยู่ต่างประเทศ ผมก็ฝากให้ตัวแทนจัดการเรื่องให้เช่าบ้านให้กับคนที่ดีๆ ตัวแทนก็บอกว่า มีผู้จัดการในบริษัทแห่งหนึ่งจะเช่าบ้าน ผมก็ได้ตกลงไว้ แต่พอผมกลับมา ได้รู้ว่า คนที่เช่าบ้านนั้น เขาเปิดการค้าประเวณี ผมก็ไล่เขาออกไป
คำถามของผมคือ เงินที่ได้มานั้นฮะรอมหรือไม่?
คำตอบ : การให้เช่าบ้านกับคนที่ทำสิ่งฮะรอมนั้น มี 3 แบบ
1. เขาเจตนา(ยินยอม)เปิดเช่าเพื่อให้คนเปิดการค้าประเวณี หรือ ให้เป็นที่ดื่มสิ่งมึนเมา หรือใหแป็นที่เต้นรำและอื่นๆ แบบนี้ถือว่า ไม่ฮาลาล และเงินที่ได้มาก็เป็นฮะรอม
وفي " الموسوعة الفقهية " (8/228) : " فَلاَ يَجُوزُ عِنْدَ جُمْهُورِ الْفُقَهَاءِ إِجَارَةُ الْبَيْتِ لِغَرَضٍ غَيْرِ مَشْرُوعٍ ، كَأَنْ يَتَّخِذَهُ الْمُسْتَأْجِرُ مَكَانًا لِشُرْبِ الْخَمْرِ أَوْ لَعِبِ الْقِمَارِ ، أَوْ أَنْ يَتَّخِذَهُ كَنِيسَةً أَوْ مَعْبَدًا وَثَنِيًّا .
وَيَحْرُمُ حِينَئِذٍ أَخْذُ الأْجْرَةِ كَمَا يَحْرُمُ إِعْطَاؤُهَا ، وَذَلِكَ لِمَا فِيهِ مِنَ الإْعَانَةِ عَلَى الْمَعْصِيَةِ " انتهى .
และในอัลเมาซูอะห์ อัลฟิกฮียะห์ เล่ม 8 หน้า 228 ว่า
ทัศนะของนักวิชาการด้านนิติศาสตร์อิสลามส่วนใหญ่ ไม่อนุญาตให้ปล่อยเช่าบ้าน เพื่อจุดประสงค์ที่กฎหมายอิสลามไม่อนุญาต เช่นผู้เข่าให้เป็นที่ ดื่มเหล้า เล่น การพนัน หรือเป็นที่กราบไหว้สักการะ รูปปั้น ทั้งหมดนั้นถือว่าฮารอม ทั้งให้และรับ เพราะเป็นการสนับสนุนในการทำบาป
2. ให้เช่าบ้านเพื่อให้ผู้เช่าใช้ในทางที่ดีและอนุญาต แบบนี้ถือว่า ถูกต้อง แต่ถ้าผู้เช่าไปทำในสิ่งที่ผิดหรือไม่ดีนั้น ไม่ได้ทำให้การเช่านั้นเป็นโมฆะ และไม่ได้เป็นฮะรอมแต่อย่างใด
قال السرخسي رحمه الله : " ولا بأس بأن يؤاجر المسلم دارا من الذمي ليسكنها ، فإن شرب فيها الخمر ، أو عبد فيها الصليب ، أو أدخل فيها الخنازير : لم يلحق المسلم إثم في شيء من ذلك ، لأنه لم يؤاجرها لذلك ، والمعصية في فعل المستأجر ، وفعله دون قصد رب الدار ؛ فلا إثم على رب الدار في ذلك " انتهى من " المبسوط " (16/39) .
เชคอัซซัรคอซี (ร.ฮ.) กล่าวว่า อนุญาตให้มุสลิมให้เช่าบ้านให้แก่กาฟิร ซิมมีย์เพื่อเป็นที่พักอาศัยได้ หากเขาดื่มเหล้าในบ้าน หรือ กราบไหว่ไม้กางเขน หรือ นำหมูเข้ามาในบ้าน มุสลิมไม่ต้องแบกบาปจากการกระทำดังกล่าว เพราะการกระทำไม่ใช่จากการเจตนาของเจ้าของบ้าน และเจ้าของบ้านไม่บาป
3. ให้เช่าบ้านเพื่อให้ผู้เช่าใช้ในทางที่ดีและอนุญาต แต่ผู้เช่าทำผิดสัญญาเอง หรือเปลี่ยนแปลงสัญญา ไปทำสิ่งฮะรอม(เช่นเปิดการค้าประเวณี ที่ดื่มมึนเมาและอื่นๆ )เปิดโดยเจ้าของบ้านไม่รู้เรื่องอะไรเลย แบบนี้เงินที่ได้มาถือว่าอนุญาตให้เอาเงินเช่าที่ผ่านๆ มา และต้องเลิกสัญญาและให้ออกจากบ้านเช่า
قال الشيخ عطية صقر رحمه الله : " لا يخلو حال المؤجر من أمرين :
إما أن يكون عالما بارتكاب المستأجر للمحرم ، كأن شرط في العقد أن الإجارة لهذا العمل ، أو لم يشترط ، ولكن يَعرف أن المحرم سيرتكب فيه .
وإما ألا يكون عالما بذلك .
وفى الحالة الثانية : الإجارة صحيحة ، والأجرة مستحقة وحلال ، باتفاق الأئمة .
وفى الحالة الأولى : قال الأئمة الثلاثة ووافقهم أبو يوسف ومحمد من أصحاب أبي حنيفة : بطلت الإجارة ؛ لأنها وقعت على معصية " انتهى من " فتاوى دار الإفتاء المصرية " (9/ 374 ) - بترقيم الشاملة - ..
เชคอาฏียยะห์ ซอครฺ ได้กล่าวว่า การเปิดให้เช่า คนให้เช่านั้นมี 2 แบบ
1. เขารู้ว่า คนที่เช่านั้นจะทำอะไรบ้างในสิ่งที่ฮะรอม เขาทำสัญญาเช่าเพื่องานนั้นๆ หรือไม่ทำสัญญา แต่เขารู้ว่า คนที่เช่าจะทำสิ่งฮะรอม
2. เขาไม่รู้
แบบที่สอง นักวิชาการเห็นตรงกันว่า การเช่านั้นฮาลาล
แบบที่หนึ่ง อีหม่ามทั้งสาม และอาบูยูซุฟ และมูฮำหมัดจากสาวกของอาบูฮานีฟะฮฺว่า เป็นโมฆะ เพราะเป้นการกระทำบาป
และที่ท่านได้ไล่คนเช่าออกจากบ้านของท่านนั้น (เพราะเขาเปิดการค้าประเวณี) ถือว่าท่านทำดีมากแล้ว
และขอให้อัลลอฮฺให้ความบารอกะหฺในสมบัติของท่าน และได้ริสกีที่ฮาลาล
والله أعلم
แปลโดย Rusdi Saemasae
ที่มา : slamqa.info