ฝึกออกเสียงพยัญชนะในภาษาอาหรับ พร้อมบอกวิธีการออกเสียงที่ถูกต้อง


52,906 ผู้ชม

ภาษาอาหรับ มีพยัญชนะ 29 ตัว เป็นภาษาที่ให้อ่านจากขวาไปซ้าย คือ อะลิฟ บา ตา ษา ถึงยา พยายามท่องจำให้ขึ้นใจ


ภาษาอาหรับ มีพยัญชนะ 29 ตัว เป็นภาษาที่ให้อ่านจากขวาไปซ้าย คือ อะลิฟ บา ตา ษา ถึงยา พยายามท่องจำให้ขึ้นใจ พร้อมทั้งหัดอ่านและหัดเขียนให้ชำนาญ ส่วนตัวยา (คืออักษร 2 ตัวสุดท้าย) นั้นเป็นอักษรเดียวกัน

ฝึกออกเสียงพยัญชนะในภาษาอาหรับ พร้อมบอกวิธีการออกเสียงที่ถูกต้อง

ฝึกออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับตามแหล่งออกเสียง (ไม่ได้เรียงลำดับพยัญชนะ อลีฟ-ยา)

(1) พยัญชนะ ذ (ซาล, dhāl), ز (ซาย, zayn / zāy /Zaa) และ ظ (ซออ์, ẓā’ / Zaa)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ز ปลายลิ้นอยู่ใน พ่นลมออกผ่านไรฟัน เสียงมันจะสั่น อย่าออกเสียงเหมือนตัว س (ซีน) หรือ ตัว ซ.โซ้ ز ไม่มีเสียงพยัญชนะเทียบในภาษาไทย ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษ ก็คือตัว Z

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ذ อ่านออกเสียงเหมือนตัว ز เพียงปลายลิ้นอยู่นอก เอาปลายลิ้นไปแตะปลายฟันหน้า

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ظ อ่านออกเสียงเหมือนตัว ز เพียงแต่ต้องพอกปาก มีลักษณะเสียงหนา

(2) พยัญชนะ ث (ษาอ์, thā’ /thaa), س (ซีน,sīn / seen)และ ص (ศอด, ṣād / saad)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ س ปลายลิ้นอยู่ใน พ่นลมออกผ่านลิ้น เทียบเสียงพยัญชนะภาษาไทยคือ ตัวอักษร ซ.โซ้ ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอะ อ่านว่า ซา

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ث อ่านออกเสียงเหมือนตัว س เพียงปลายลิ้นอยู่นอก (ปลายลิ้นแตะกับฟันหน้า) และพ่นลมออกมาผ่านลิ้น

และการอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ص อ่านออกเสียงเหมือนตัว س เพียงแต่ต้องพอกปาก มีลักษณะเสียงหนา (การทำให้เสียงหน้านั้นคือการพอกปากให้เยอะๆ)

(3) พยัญชนะ د (ดาล, dāl / daal), และ ض (ฎอด, ḍād / daad)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ د ปลายลิ้นอยู่ที่เพดาน และพยัญชนะใดเจอ د ตาย จะต้องมีเสียงสะท้อนตัว د ด้วย เทียบเสียงพยัญชนะภาษาไทยคือ ตัวอักษร ด.เด็ก ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอา อ่านว่า ดา

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ض อ่านออกเสียงเหมือนตัว د เพียงแต่ต้องพองปาก ริมฝีปากไม่ปิด และและพยัญชนะใดเจอ ض ตาย จะไม่มีเสียงสะท้อน

(4) พยัญชนะ ت (ตาอ์, tā’/ taa), และ ط (ฏออ์, ṭā’ / taa)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ت ปลายลิ้นแตะโคนฟัน และพ่นลม เทียบเสียงพยัญชนะภาษาไทยคือ ตัวอักษร ต.เต่า ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอา อ่านว่า ตา และพยัญชนะใดเจอ ت ตาย จะมีลักษณะพ่นลม

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ط อ่านออกเสียงเหมือนตัว ت เพียงแต่ต้องพองปาก ให้มีเสียงหนา และและพยัญชนะ ط เจอสระตาย หรือสูกูน จะมีเสียงสะท้อนของตัว ط ด้วย

(5) พยัญชนะ ن (นูน,nūn/ ืnoon), ل (ลาม, tā’/ laam) และ ر (รออ์, rā’ / raa)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ن ลมออกที่ปลายลิ้น และหางลมอยู่ที่จมูก เทียบเสียงพยัญชนะภาษาไทยคือ ตัวอักษร น.หนู ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอา อ่านว่า นา และพยัญชนะ ن เจอสระตาย หรือสูกูน ปลายลิ้นจะจดกับโคนฟันหน้า อย่าไปจดกับปลายฟัน จะไปสลับกับตัว ل

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ل อ่านออกเสียงเหมือนตัว ن เพียงแต่หางลมอยู่ที่ลิ้น ไม่ใช่ที่จมูก และพยัญชนะ ل เจอสระตาย หรือสูกูน ปลายลิ้นจะจดกับปลายฟัน

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ر ปลายลิ้นจะรัว (ไม่ต้องรัวมาก เพียงครั้งเดียว) และพองปากเมื่อมีฟัตหะฮฺ หรือฎ็อมมะฮฺ (เพื่อจะให้เสียงหนา) เทียบเสียงพยัญชนะภาษาไทยคือ ตัวอักษร ร.เรือ ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอา อ่านว่า รอ

(6) พยัญชนะ ك (กัฟ, kāf) และ ق (กอฟ, qāf)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ك ลมออกที่โคนลิ้น และพ่นลม เทียบพยัญชะภาษาไทย คือเสียง ก.ไก่ ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอะ อ่านว่า "กา" เมื่อเจอกับ ك ตาย ต้องอ่านพ่นลมออกมาด้วย

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ق จะยึดเสียงตัว ك เป็นหลัก คืออ่านลมออกที่โคนลิ้น และพ่นลม แต่ต้องพองปาก เพราะมีลักษณะเสียงหนา เมื่อเจอกับ ق ตาย จะต้องอ่านออกเสียงสะท้อน และเสียงหนาด้วย

(7) พยัญชนะ ش (ชีน, shīn)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ش ลมจะออกมากลางลิ้น ลมออกก่อนเสียง และพ่นลมด้วย เสียงตัว ش ไม่มีในภาษาไทย และไม่มีในภาษาอักกฤษด้วย ต้องออกเสียงให้ถูก ไม่ใช่เสียง ช.ช้าง ถ้าออกเสียง ช.ช้าง จะถือว่าผิด

(8) พยัญชนะ ي(ยะ, ยา,yā’) ج(ญีม ,jīm)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ي (ย.ยักษ์) ลมจากกลางลิ้น ไม่กดลิ้น ปากฉีก (ปากเยื่องมาด้านข้าง) ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอะ อ่านว่า ยา

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ج เหมือน ي แต่ต้องกดลิ้น มีเสียงสะท้อน เมื่อ ج ตาย เสียงตัว ج ไม่มีในภาษาไทย

(9) พยัญชนะ غ (ฆอยนฺ ไม่ใช่เฆน, ghayn / ghayn), และ خ (คออ์, khā’ / khaa)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ غ มีลักษณะน้ำเดือด พองปาก ไม่มีตัวเทียบในภาษาไทย เมื่อเจอ غ ตายจะไม่พ่นลมออกมา

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ خ อ่านออกเสียงเหมือนตัว غ คือ น้ำเดือด พองปาก แต่ให้พ่นลมด้วย คล้าย ค.ควย ในภาษาไทย เสียง خ เกิดจากบริเวณลำคอ แต่อย่าลึกเกินไป เมื่อเจอ خ ตายจะต้องพ่นลมออกมาด้วย

(10) พยัญชนะ ع (อัยนฺ , ‘ayn / ayn), และ ﺀ (ฮัมซะฮฺ, hamza)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ع ตำแหน่งออกเสียงตัว ع จะอยู่ในตำแหน่งกลางลำคอ เสียงมันจะนุ่ม เทียบกับภาษาไทย คือ อ.อ่าง ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอา อ่านว่า อา

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ﺀ อ่านออกเสียงเหมือนตัว ع แต่เสียงแข็ง ต้องอ้าปากกว้างไว้ ไม่สามารถเทียบได้กับเสียงในภาษาไทย เสียง ﺀ เกิดจากบริเวณส่วนลึกของลำคอ

(11) พยัญชนะ ح (หาออ์ (เล็ก), ḥā’ / haa), และ ه (ฮาอ์ (ใหญ่), hā’ / ha)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ح ตำแหน่งออกเสียงตัว ح จะอยู่ในตำแหน่งกลางลำคอ มีลักษณะการพ่นลม เสียงจะบางกว่าเสียงตัว ه

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ه อ่านออกเสียงเหมือนตัว ح คือมีลักษณะพ่นลม แต่ต้องอ่าปากกว้างๆ ตำแหน่งออกเสียงตัว ه จะอยู่ในตำแหน่งบริเวณส่วนลึกของลำคอ

(12) พยัญชนะที่มาจากริบฝีปาก(ชาฟาวี) ได้แก่ พยัญชนะ ب (บาอ์, bā’/ baa), و (วาว , wāw / wow), م (มีม, mīm / meem), และ ف (ฟาอ์ , fā’ / faa)

-การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ب มีลักษณะปิดและเปิดปาก มีเสียงสะท้อน (เมื่อ ب ตาย)

-การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ و มีลักษณริมฝีปากแหลมเสมอ

-การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ م มีลักษณะเปิดและปิดปาก (ตรงข้ามกับตัว ب) มีเสี่ยงหน่วง (เสียงตัวมีมมีลักษณะขึ้นไปยังจมูก)

-การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ف มีลักษณะฟันบนแตะริมฝีปากล่าง และพ่นลม

(13) พยัญชนะที่มาจากโพรงจมูก(ค็อยชูมียฺ) คือมีเสียงหน่วงได้แก่ พยัญชนะ ن (นูน,nūn/ noon) และ م (มีม, mīm / meem)

การหน่วงเสียง ก็คือ มันจะมีลมขึ้นไปที่โพรงจมูก

(14) เสียงสระที่ออกมาจากโพรงปาก (เญาฟียฺ) ได้แก่ พยัญชนะ ا (อลิฟ,’alif/ ืalif), و (วาว , wāw / wow) , และ ي (ยะ, ยา,yā’)

ในกรณีตัว ا, و , ي  กลายเป็นเสียงสระ กรณีที่อยู่ท้ายพยัญชนะตัวอื่น คือ จะออกเสียง อา, อี, อู มีแหลงกำเนิดมาจากโพรงปาก

อัพเดทล่าสุด