เพราะการทำบุญเลี้ยงอาหาร เป็นทานซอดาเกาะฮ์นั้น คือการทำอาหารเลี้ยงเพื่อเป็นทานศอดาเกาะฮ์ หรือทำเป็นทานเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย โดยมีการล้อมวงซิกิร อ่านอัลกุรอาน อิสติฆฟาร และขอดุอาอ์ให้แก่ผู้ทำอาหารเลี้ยง ขอดุอาอ์ให้แก่บรรดามุสลิมที่มีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว
อิสลามกับการทำบุญให้กับคนตาย
กรณีทำบุญเป็นทานซอดาเกาะฮ์ที่บ้านครอบครัวผู้ตายนั้น เป็นประเด็นที่สร้างความกระด้างกระเดื่องในบรรดาพี่น้องมุสลิมด้วยกัน อันเนื่องจากการมีทัศนะที่แตกต่างกันและขาดความเข้าใจ ถึงปัญหาเหล่านี้ ที่จริงเราน่าจะมาสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันในหมู่พี่น้องมุสลิมจะดีกว่า และก็พยายามชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวเพราะการทำบุญเลี้ยงอาหาร เป็นทานซอดาเกาะฮ์นั้น คือการทำอาหารเลี้ยงเพื่อเป็นทานศอดาเกาะฮ์ หรือทำเป็นทานเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ผู้ตาย โดยมีการล้อมวงซิกิร อ่านอัลกุรอาน อิสติฆฟาร และขอดุอาอ์ให้แก่ผู้ทำอาหารเลี้ยง ขอดุอาอ์ให้แก่บรรดามุสลิมที่มีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว
การรวมตัวกันปลอบใจครอบครัวผู้ตายและครอบผู้ตายทำอาหารให้
การรวมตัวที่บ้านครอบครัวมัยยิด เพื่อทำการปลอบใจและครอบมัยยิดต้องทำอาหารเลี้ยงนั้น ถือว่า เป็นสิ่งที่มักโระฮ์ (ไม่ควรกระทำ) ตามทัศนะของปวงปราชญ์ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการสร้างความโศกเศร้ายิ่งขึ้นให้กับครอบครัวมัยยิด ตามประเพณีชนอาหรับในยุคก่อนนั้น เมื่อมีญาติพี่น้องของพวกเขาได้เสียชีวิต พวกเขาจะไปรวมตัวกันที่บ้านครอบครัวผู้ตาย เพื่อทำการปลอบใจและไว้อาลัย เมื่อมีผู้คนมารวมตัวกัน ด้วยความละอายของครอบครัวผู้ตาย จึงต้องทำอาหารเลี้ยง ซึ่งดังกล่าวย่อมเป็นสิ่งที่ศาสนาไม่ส่งเสริมแต่อย่างไร เนื่องจากจะเป็นการตอกย้ำความโศรกเศร้าให้แก่ครอบมัยยิดแล้ว ก็ยังต้องเป็นภาระแก่พวกเขาในการทำอาหารเลี้ยงอีกด้วย
ท่านอิมามอะหฺมัด และท่านอิบนุมาญะฮ์ ได้รายงาน ด้วยสายสืบที่ซอฮิหฺ จากท่าน ญะรีร บิน อับดุลและฮ์ ว่า
كنا نعد الإجتماع إلى أهل الميت وصنعهم الطعام من النياحة
" เราเคยถือว่า การรวมตัวกัน ที่ครอบครัวของผู้ตาย และการที่พวกเขาทำอาหารนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการ คร่ำครวญถึงผู้ตาย"
ตามนี้นั้น บรรดาอุลามาอ์หะนะฟีย์กล่าวว่า เป็นการมักโระฮ์ ต่อการทำอาหารในวันที่หนึ่ง สอง และสาม และหลังจากหนึ่งสัปดาห์" ดู หาชียะฮ์ อิบนุ อาบิดีน เล่ม2 หน้า240
อิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า
وأما صنعة أهل الميت طعاما يدعون الناس إليه، فهذا غير مشروع وإنما هو بدعة، بل قد قال جرير بن عبد كنا نعد الاجتماع إلى أهل الميت، وصنعتهم الطعام للناس من النياحة
"สำหรับการที่ครอบครัวผู้ตายทำอาหาร เชิญผู้คนมานั้น ถือว่าสิ่งนี้ ไม่มีบัญญัติใช้ และแท้ที่จริงมันเป็น บิดอะฮ ยิ่งไปกว่านั้น ท่านญะรีร บุตร อับดุลลอฮ(ร.ฏ.) ได้กล่าวว่า“พวกเราเคยนับ การชุมนุมกันที่ครอบครัวผู้ตายและการที่พวกเขาทำอาหาร ให้ผู้คนกินกันนั้น เป็นสวนหนึ่งจากการคคร่ำครวญ"
ดู ฟะตาวาอิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม24 หน้า316
ในหนังสือ อิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน ได้กล่าวรูปแบบของอาหรับเอาไว้ว่า
فى العرف الخاص فى بلدة لمن بها من الأشخاص إذا إنتقل إلى دار الجزاء وحضر معارفه وجيرانه العزاء، جرى العرف بأنهم ينتظرون الطعام، ومن غلبة الحياء على أهل الميت يتكلفون التكليف التام، ويهيئون لهم أطعمة عديدة، ويحضرونها لهم بالمشقة الشديدة
"ถือเป็นประเพณีที่เฉพาะ ในเมืองหนึ่งเมื่องใดแก่บรรดาบุคคลต่างๆ ที่อยู่เมืองนั้นๆ เพราะเมื่อมีผู้ที่กลับไปสู่โลกแห่งการตอบแทน(กลับไปสู่ความเมตตาของอัลเลาะฮ์) บรรดาคนรู้จักและบรรดาเพื่อนบ้านก็จะมารวมตัวกัน(ที่บ้านครอบครัวผู้ตาย)เพื่อจะทำการปลอบใจ ประเพณีนี้ก็มีอยู่ว่า พวกเขาเหล่านั้นจะรอรับประทานอาหารกัน และเนื่องจากความละอายอย่างยิ่งที่มีต่อครอบครัวผู้ตาย พวกเขาจึงรับภาระในค่าใช้จ่ายแบบเสร็จสรรพ แล้วครอบครัวผู้ตายก็ทำการตระเตรียมอาหารให้แก่พวกเขาหลายอย่าง และครอบครัวผู้ตายก็นำอาหารเหล่านั้นมาให้กับพวกเขาด้วยความลำบากอย่างที่สุด"
ดู เล่ม2 หน้า228
ในหนังสือ อิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน กล่าวระบุไว้ว่า
ويكره لأهل الميت الجلوس للتعزية ، وصنع طعام يجمعون الناس عليه ، لما روى أحمد عن جرير بن عبد الله الجبلى ، قال : كنا نعد الإجتماع إلى أهل الميت وصنعهم الطعام بعد دفنه من النياحة...ويستحب لجيران أهل الميت...أن يصنعوا لأهله طعاما يكفيهم يوما وليلة ، وأن يلحوا عليهم فى الأكل . ويحرم صنعه للنائحة، لأنه إعانة على معصية
"ถือเป็นมักโระฮ์(ไม่ทำจะเป็นการดี) สำหรับครอบครัวผู้ตาย กับการนั่งเพื่อทำการปลอมใจ และ(ครอบครัวผู้ตาย)ทำอาหารโดยที่พวกเขาทำการรวมผู้คน(ที่มาปลอบใจ)มารับประทานอาหาร เพราะมีร่องรอยที่รายงานโดย ท่านอะหฺมัด จากท่าน ญะรีร บิน อับดิลลาฮ์ อัล-ญะบะลีย์ เขาได้กล่าวว่า เราถือว่า การรวมตัวที่บ้านผู้ตายและการที่ครอบครัวผู้ตายต้องทำอาหารหลังจากฝังมัยยิดแล้วนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากการไว้อาลัย.....และสุนัติให้กับเพื่อนบ้านของครอบครัวผู้ตาย ทำอาหารให้แก่ครอบครัวมัยยิด ให้เพียงพอกับพวกเขาในวันหนึ่งและคืนหนึ่ง และทำการคะยั้นคะยอให้พวกเขารับประทาน ,และหะรอมทำอาหารแก่หญิงที่ทำการคร่ำครวญไว้อาลัย เพราะมันเป็นการช่วยให้ทำกับสิ่งที่ฝ่าฝืน"
ดู เล่ม2 หน้า227 ดารุลฟิกรฺ
ท่าน อัลลามะฮ์ ญะมัล ได้กล่าวไว้ใน ชัรหฺ อัลมันฮัจญฺ ว่า
"แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น อาจกลายเป็นหะรอม หากเอามาจากทรัยพ์ที่ถูกอายัดไว้ หรือจากทรัพย์ที่จะชดใช้หนี้ให้แก่มัยยิด หรือทรัพย์ที่ทำให้เกิดโทษ(เดือดร้อน) และอื่นๆ ที่เหมือนกับสิ่งดังกล่าว"
ดู อิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน เล่ม2 หน้า228
ท่าน อะหฺมัด บิน ซัยนีย์ ดะหฺลาน กล่าวฟัตวาไว้ว่า
"ไม่เป็นที่สงสัยว่า การห้ามผู้คนจากการทำบิดอะฮ์ที่น่าตำหนินี้ เป็นการฟื้นฟูซุนนะฮ์ และทำให้บิดอะฮ์ตายไปนั้น(คือการที่ไปรวมตัวกันปลอมใจและรออาหารเลี้ยงจากครอบครัวผู้ตาย) และเป็นการเปิดประตูแห่งความดี และปิดประตูแห่งความชั่ว เพราะแท้จริง บรรดาผู้คน(ครอบครัวผู้ตาย) ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากจนอาจจะทำให้การทำอาหารนั้นเป็นสิ่งที่หะรอม" ดู อิอานะฮ์ อัฏฏอลิบีน เล่ม2 หน้า228
ท่านอิมามรอมลีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ นะฮายะตุลมั๊วะตาจญฺ ว่า
ويكره كما فى الأنوار وغيره أخذا من كلام الرافعى والمصنف أنه بدعة لأهله صنع طعام يجمعون الناس عليه قبل الدفن وبعده لقول جرير : كنا نعد ذلك من النياحة، والذبح والعقر عند القبر مذموم للنهى
" และถือว่าเป็นมักโระฮ์- ดังที่ได้ระบุไว้ในหนังสือ อัลอันวารและหนังสือเล่มอื่นๆ- โดยเอามาจาก คำกล่าวของ ท่านอัรรอฟิอีย์และผู้ประพันธ์หนังสือมินฮาจ(คืออิมามนะวาวีย์) ว่า มันเป็นบิดอะฮ์(ที่มักโระฮ์)แก่ครอบครัวผู้ตาย ที่ทำอาหารโดยที่ผู้คนได้รวมตัว(เพื่อมาปลอบใจและไว้อาลัย)กันเพื่อรับประทานอาหารนั้น ไม่ว่าจะก่อนฝังหรือหลังฝังมัยยิด เพราะคำกล่าวของท่านญะรีรที่ว่า"เราถือว่าสิ่งดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากการไว้อาลัย" และการเชือดสัตว์ที่กุบูร ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ เพราะได้มีบัญญัติห้ามมัน"
ดู เล่ม3 หน้า42 ตีพิมพ์ มุสต่อฟา หะละบีย์
และเป้าหมายที่บิดอะฮ์น่าตำหนิหรือบิดอะฮ์มักโระฮ์นี้ ท่านอัล-หาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ ได้กล่าวอธิบายไว้ว่า
لما صح عن جرير رضى الله عنه كنا نعد الإجنماع إلى أهل الميت وصنعهم الطعام بعد دفنه من النياحة ووجه عده من النياحة ما فيه من شدة الإهتمام بأمر الحزن ومن ثم كره اجتماع أهل الميت ليقصدوا بالعزاء
"เพราะว่า มีสายรายงานที่ซอฮิหฺจากท่านญะรีร(ร.ฏ.) ที่ว่า"เราถือว่าการรวมตัวกันที่ครอบครัวผู้ตาย และครอบครัวผู้ตายทำอาหารให้หลังจากฝังมัยยิดแล้วนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากการไว้อาลัยคร่ำครวญ" หนทางที่นับว่ามันเป็น การอาลัยคร่ำครวญ คือ สิ่งที่ได้มาจากการไปเน้นหนักสิ่งที่ทำให้โศรกเศร้า และจากดังกล่าวนั้น จึงถือเป็นมักโระฮ์ต่อการรวมตัวไปยังบ้านครอบครัวผู้ตายโดยที่พวกเขาตั้งใจจะทำการปลอมใจ"
ดู หนังสือตั๊วะหฺ ฟะตุลมั๊วะหฺตาจญฺ เล่ม3 หน้า207 ตีพิมพ์ ดาร. เอี๊ยะหฺยา อัตตุร๊อษ อัลอะร่อบีย์
และอ่านไปอีก หนึ่งบรรทัด ท่านอัล-หาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ กล่าวต่อว่า
نعم ان فعل لأهل الميت مع العلم بأنهم يطعمون من حضرهم لم يكره
" แต่ว่า หาก(อาหาร)ที่ถูกทำให้แก่ครอบครัวผู้ตาย พร้อมกับรู้ว่า ครอบครัวมัยยิด จะนำไปเลี้ยงอาหาร แก่ผู้ที่มาหาพวกเขา ก็ถือว่าไม่มักโระฮ์"
ดู หนังสือตั๊วะหฺ ฟะตุลมั๊วะหฺตาจญฺ เล่ม3 หน้า207 - 208
ดังนั้น จากที่ได้กล่าวมาแล้ว เราพอสรุปได้ว่า การรวมตัวที่บ้านครอบครัวผู้ตายเพื่อการนั่งกันปลอบใจและครอบครัวผู้ตายต้องทำอาหารเลี้ยงเพียงลำพังนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ศาสนาไม่ส่งเสริมแต่ประการใด แต่หากเราทำอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ตาย ทั้งที่รู้ว่า ครอบครัวผู้ตายจะนำอาหารนั้นไปให้กับผู้ที่มาเยี่ยมเยือนพวกเขาก็ถือว่าเป็นที่อนุญาติและไม่เป็นมักโระฮ์แต่ประการใดตามที่อิบนุหะญัรอัลฮัยตะมีย์ได้วินิจฉัยเอาไว้