จากที่มาและเหตุผลของการจัดประเพณีลอยกระทง ล้วนมีที่มาจากความเชื่อทางศาสนา มุสลิมจะเข้าร่วมในเทศกาลดังกล่าวไม่ได้อย่างเด็ดขาด ดังที่พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ในอัล-กุรฺอานว่า
อิสลามห้ามร่วมงานลอยกระทงเด็ดขาด อาจตกศาสนาโดยไม่รู้ตัว!!!
ที่มาของประเพณีลอยกระทง
พิธีลอยกระทง เดิม เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย
เหตุผลของการลอยกระทง
- เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสามคือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ตามความเชื่อของลัทธิพราหมณ์
-เพื่อบูชารอบพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
-เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
-เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้าในวันเสด็จจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาธรรมโปรดพระพุทธมารดา
-เพื่อขอบคุณพระแม่คงคา หรือเทพเจ้าแห่งน้ำที่ให้อาศัย น้ำดื่ม น้ำใช้
- เพื่อแสดงความคารวะขออภัยต่อพระแม่คงคาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไป ไม่ว่าจะโดยมีเจตนาหรือไม่ก็ตาม
- เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา
สำหรับการวางเศษสตางค์และสิ่งอื่นๆ ไว้บนกระทงเนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นการปลดเปลื้องความ
การร่วมเทศการเป็นที่ต้องห้ามในอิสลาม
จากที่มาและเหตุผลของการจัดประเพณีลอยกระทง ล้วนมีที่มาจากความเชื่อทางศาสนา มุสลิมจะเข้าร่วมในเทศกาลดังกล่าวไม่ได้อย่างเด็ดขาด ดังที่พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ในอัล-กุรฺอานว่า
“สำหรับพวกท่านคือศาสนาของพวกท่าน และสำหรับฉันคือศาสนาของฉัน(หมายถึงศาสนาอิสลาม)" (สูเราะฮฺ อัล-กาผิรูน : 6)
หลักการอิสลามได้กำหนดขอบเขตในเรื่องของศาสนาไว้อย่างชัดเจน และเด็ดขาด เพราะฉะนั้นมุสลิมจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลลอยกระทง ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธอย่างเด็ดขาด
มุสลิมผู้ศรัทธาจะต้องไม่นำแบบฉบับ หรือพิธีกรรมของศาสนาอื่นมาปะปนกับวิถีชีวิตของมุสลิม
ครั้งหนึ่งท่านก็อยซ์บุตรของท่านอุบาดะฮฺ อัลอันศอรีย์กล่าวว่า :
“ฉันเดินทางมายังเมืองฮีเราะฮฺ (ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับเมืองกูฟะฮฺ) ฉันเห็นชาวเมืองดังกล่าวกราบไหวต่อหัวหน้าเผาของพวกเขา ฉันจึงกล่าวว่า ท่านนบีมุหัมมัดสมควรได้รับการกราบไหว้ยิ่งกว่าหน้าเผาของพวกเขาเสียอีก จากนั้น(ภายหลังเดินทางกลับ) ฉันจึงมาหาท่านนบีมุหัมมัดพลางกล่าวว่า แท้จริงฉันเดินทางไปยังเมืองฮีเราะฮฺ ฉันเห็นชาวเมืองกราบไหว้ต่อหัวหน้าเผ่าของพวกเขา ที่จริงท่านสมควรได้รับการกราบไหว้มากกว่าเขาเสียอีก ท่านนบีจึงกล่าวแก่ฉันว่า ท่านมีความคิดเห็นเช่นไรหากท่านเดินทางผ่านหลุมฝังศพของฉันแล้ว ท่านจะกราบไหว้ต่อหลุมฝังศพของฉันไหม ? ฉันกล่าวตอบว่า ฉันคงไม่ทำเช่นนั้น ท่านนบีกล่าวต่อว่า พวกท่านจงอย่าทำเช่นนั้น” (บันทึกโดยอบู ดาวูด)
ครั้งหนึ่งท่านนบี ได้กล่าวถาม ท่านมุอาซว่า :
“ท่านทราบไหมว่าสิ่งใดคือสิทธิของพระองค์ที่จะได้รับจากปวงบ่าวของพระองค์ ? ท่านมุอาซ กล่าวตอบว่าพระองค์อัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์ย่อมรู้ดียิ่ง ท่านนบีจึงเฉลยว่า หมายถึงปวงบ่าวของพระองค์จะต้องเคารพภักดีต่อพระองค์ และไม่ตั้งสิ่งใดเป็นภาคีสำหรับพระองค์” (เล่าโดยมุอาซ บุตรของญะบัล บันทึกโดยบุคอรีย์, มุสลิม, อิบนุ มาญะฮฺ และอิบนุ หิบบาน)
ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า
“วันสิ้นโลกจะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่ากลุ่มหนึ่งจากประชาชาติของฉันจะปฏิบัติตามบรรดาผู้ที่ตั้งภาคี จนกระทั่งว่าพวกเขา (หมายถึงมุสลิมกลุ่มนั้น) เคารพภักดีบรรดารูปเจว็ด (เช่นเดียวกับผู้ตั้งภาคี)" (เล่าโดยเษาบาน บันทึกโดยอบู ดาวูด และติรฺมิซีย์)