มีครอบครัวหนึ่งรับลูกซีนามา (ลูกชาย) เป็นลูกบุญธรรม แต่ยังไม่ได้อากีเกาะอีก แล้วพ่อบุญธรรมจะอากีเกาะให้เขาได้ไหม (รบกวนหาหลักฐานด้วยน่ะครับ)
ความหมายของ อากีเกาะฮ์
อากีเกาะฮ์ คือ สิ่งที่จะถูกนำมาเชือดในวันที่ 7 ของเด็กแรกเกิด โดยจะเชือดให้กับเด็กผู้ชายคือแกะ 2 ตัว และให้กับเด็กผู้หญิงคือแกะ 1 ตัว อากีเกาะฮ์ตามหลักภาษาแล้ว คือ ชื่อของเส้นผมที่อยู่บนหัวของเด็กแรกเกิด และความหมายของอากีเกาะฮ์ตามหลักนิติบัญญัติ คือ ชื่อของสิ่งที่จะถูกเชือดในวันที่ 7 ของเด็กแรกเกิด ซึ่งเป็นวันที่มีการโกนผมไฟ
ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า : เด็กนั้นถูกประกันด้วยกับอากีเกาะห์ของเขา ซึ่งอากีเกาะห์ของเขาจะถูกเชือดแทนเขาในวันที่ 7 (ของวันที่เด็กเกิด) และเด็กจะถูกโกนผมไฟ และถูกตั้งชื่อ (ในวันนั้น)
อากีเกาะฮ์จะเชือดให้กับเด็กผู้ชายด้วยกับแกะ 2 ตัว และให้กับเด็กผู้หญิงแกะ 1 ตัว ดังที่มีรายงานจากอุมมู่กัรซฺ ว่า
أن النبي - صلى الله عليه وسلم - قال (( عَنِ الغُلاَمِ شَاتَانِ وعَنِ الجَارِيةِ شَاةٌ )) أخرجه أبو داود.
ความว่า: แท้จริงท่านนะบี ได้กล่าวว่า จะแทนเด็กผู้ชาย 2 ตัวแกะ และจะแทนเด็กผู้หญิง 1 ตัวแกะ
คำถาม: มีครอบครัวหนึ่งรับลูกซีนามา (ลูกชาย) เป็นลูกบุญธรรม แต่ยังไม่ได้อากีเกาะอีก แล้วพ่อบุญธรรมจะอากีเกาะให้เขาได้ไหม (รบกวนหาหลักฐานด้วยน่ะครับ)
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛
ผู้ที่มีสิทธิ์ ทำอะกีเกาะฮ์ให้เด็กนั้น มี พ่อ, ปู่, และแม่ ของเด็กเท่านั้น ส่วนลูกซินานั้น สุนัตให้ผู้เป็นแม่ทำอะกีเกาะฮ์ให้เท่านั้น ส่วนผู้ที่นำลูกซินามาอุปการะเลี้ยงดูนั้น ไม่มีสิทธิที่จะทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่เด็ก เพราะการนำลูกซินามาอุปการะเลี้ยงดูนั้น เป็นเพียงสุนัตเท่านั้นเอง แต่เมื่อลูกซินา บรรลุศาสนภาวะแล้ว ก็ให้เขาทำอะกีเกาะฮ์แก่ตัวเอง
ท่านชัยคุลอิสลาม อับดุลเลาะฮ์ อัชชัรกอวีย์ กล่าวว่า
وَالْمُخَاطَبُ بِالْعَقِيْقَةِ مَنْ عَلَيْهِ نَفَقَةُ الْوَلَدِ لَوْ كَانَ فَقِيْراً مِنْ مَالِهِ لاَ مِنْ مَالِ الْوَلَدِ لَوْ كَانَ لَهُ مَالٌ؛ لأَنَّهَا، فَإِنْ فَعَلَ ضَمِنَ، وَلاَ تُخَاطَبُ بِهَا اَلأُمُّ إِلاَّ عِنْدَ إِعْسَارِ الأَبِ، لَكِنْ يُسَنُّ لَهَا أَنْ تَعُقَّ عَنْ وَلَدِهَا مِنَ الزِّنَا حَيْثُ لاَ عَارَتَبَرُّعٌ
“ผู้ที่ถูกสั่งใช้ให้ทำอะกีเกาะฮ์ คือผู้ที่จำเป็นบนเขาต้องเลี้ยงดูบุตร (เช่น พ่อ , ปู่, และแม่) หากแม้ว่าผู้นั้น เป็นคนยากจนก็ตาม ซึ่งให้ทำอะกีเกาะฮ์ จากทรัพย์ของผู้เลี้ยงดูเท่านั้น มิใช่ทำอะกีเกาะฮ์จากทรัพย์ของบุตร ในกรณีที่ลูกมีทรัพย์ (เช่น ผู้เป็นปู่ได้ยกทรัพย์บางส่วน ให้แก่หลาน หรือมีญาติพี่น้องได้ศ่อดะเกาะฮ์เงิน เป็นจำนวนมากให้เด็กที่เกิดมา) เพราะการทำอะกีเกาะฮ์นั้น เป็นการเสียสละทรัพย์ ดังนั้น ถ้าหากผู้เลี้ยงดูได้ทำอะกีเกาะฮ์ จากทรัพย์ของบุตร เขาก็จะต้องชดใช้, สำหรับแม่นั้น ไม่ถูกสั่งใช้ให้ทำอะกีเกาะฮ์ นอกจากกรณีที่ผู้เป็นพ่อมีความขัดสน แต่สุนัตแก่นาง ทำอะกีเกาะฮ์ให้แก่บุตรของนาง ที่เกิดจากซินา ให้ทำในสถานที่ (ลับๆ) ไม่ให้เกิดความอับอาย” หนังสือ ฮาชียะฮ์ อัชชัรกอวีย์ อะลา ตั๊วะห์ฟะติฏุลล้าบ อะลัตตะห์รีร เล่ม 4 หน้า 431
ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนะฮะญัร อัลฮัยตะมีย์ ได้กล่าวว่า
وَمِمَّنْ تَلْزَمُهُ النَّفَقَةُ اَلأُمَّهَاتُ فِيْ وَلَدِ زِناً
“และส่วนหนึ่งจากผู้ที่จำเป็นต้องให้ค่าเลี้ยงดูแก่ลูกซินานั้น คือผู้เป็นแม่” หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ เล่ม 9 หน้า 371
ส่วนลูกซินาคนนี้ ถือว่าเป็นการดีสำหรับการทำอะกีเกาะห์ให้แก่ตนเอง เมื่อบรรลุศาสนภาวะแล้ว เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เคยเชือดอะกีเกาะห์ เพื่อแสดงความยินดีแก่วันเกิด (เมาลิด) ของตัวท่านเอง ดังที่มีฮะดีษระบุว่า
إِنَّ النَّبِيَّ صَلّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَقَّ عَنْ نَفْسِهِ بَعْدَ النُبُوَّةِ
"แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำอะกีเกาะห์แก่ตัวท่านเองหลังจากเป็นนบี" รายงานโดยอัลบัยฮะกีย์ (19056)
ท่านอิบนุฮะญัร อัลฮัยตะมีย์ ได้กล่าวว่า "ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวว่า ฮะดิษนี้ฏออีฟซึ่งเหมือนกับว่าท่านได้ทำการตำหนิฮะดิษโดยตามท่านอัลบัยฮะกีย์ แต่ความจริงมิใช่เป็นเช่นนั้นในทุกสายรายงานของฮะดิษ เพราะฮะดิษนี้ได้รายงานอะห์มัด , อัลบัซซาร , อัฏฏ็อบรอนีย์ , ด้วยหลายสายรายงานด้วยกัน ซึ่งท่านอัลฮาฟิซฺนูรุดดีน อัลฮัยตะมีย์ ได้กล่าวในบางสายรายงานว่า บรรดานักรายงานฮะดิษนี้ซอฮิห์นอกจากมีเพียงหนึ่งท่านที่ษิเกาะห์(เชื่อถือได้)" หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ เล่ม 9 หน้า 371. ยิ่งกว่านั้นอัลบานีย์เองก็ยังตัดสินว่าฮะดิษดังกล่าวซอฮิห์ ดู : หนังสืออัซซัลซิละห์อัศศ่อฮีฮะห์ ฮะดิษที่ (2726)
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
www.sunnahstudent.com, www.islammore.com