ดุอาอ์ที่ท่านนบี(ซล.) เลือกและขอ บ่อยที่สุด


4,624 ผู้ชม

ดุอาอ์บางส่วนของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม


ดุอาอ์บางส่วนของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

จากอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

«إذَا دَعَا أَحَدُكُمْ فَلْيَـعْزِمِ المَسْأَلَةَ وَلا يَـقُولَنَّ: اللَّهُـمَّ إنْ شِئْتَ فَأَعْطِنِي، فَإنَّهُ لا مُسْتَـكْرِهَ لَـهُ». متفق عليه.

ความว่า “เมื่อพวกท่านคนหนึ่งคนใดขอดุอาอ์ ก็ให้ขออย่างมุ่งมั่นจริงจัง และอย่าได้กล่าวว่า ‘โอ้ อัลลอฮฺ หากพระองค์ประสงค์ก็ทรงประทานให้ข้าเถิด’ เพราะแท้จริงไม่มีใครที่อาจหาญจะบังคับพระองค์ได้” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6338 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 2678)

และนี่ก็คือดุอาอ์ที่เศาะฮีหฺบางส่วนที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ใช้ขอดุอาอ์ ซึ่งมุสลิมควรใช้ในการขอดุอาอ์กับมัน และเลือกอ่านที่เหมาะกับสภาพของเขา รวมทั้งให้ใช้ปัจจัยอื่นๆ ที่อนุญาตพร้อมกันไปด้วย

«اللَّهُـمَّ رَبَّنَا لَكَ الحَـمْدُ، أَنْتَ قَيِّمُ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ، وَلَكَ الحَـمْدُ أَنْتَ رَبُّ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ وَمَنْ فِيهِنَّ، وَلَكَ الحَـمْدُ، أَنْتَ نُورُ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ وَمَنْ فِيهِنَّ، أَنْتَ الحَقُّ، وَقَولُكَ الحَقُّ، وَوَعْدُكَ الحَقُّ، وَلِقَاؤُكَ الحَقُّ، وَالجَنَّةُ حَقٌّ، وَالنَّارُ حَقٌّ، وَالسَّاعَةُ حَقٌّ.

اللَّهُـمَّ لَكَ أَسْلَـمْتُ، وَبِكَ آمَنْتُ، وَعَلَيكَ تَوَكَّلْتُ، وَإليكَ خَاصَمْتُ، وَبِكَ حَاكَمْتُ، فَاغْفِرْ لِي مَا قَدَّمْتُ وَمَا أَخَّرْتُ، وَأَسْرَرْتُ وَأَعْلَنْتُ، وَمَا أَنْتَ أَعْلَـمُ بِـهِ مِنِّي لا إلَـهَ إلَّا أَنْتَ». متفق عليه.

ความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งเรา สำหรับพระองค์นั้นคือมวลการสรรเสริญทั้งหลาย พระองค์เป็นผู้บริหารจัดการชั้นฟ้าและแผ่นดิน และสำหรับพระองค์นั้นคือมวลการสรรเสริญทั้งหลาย พระองค์เป็นพระเจ้าแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน และมวลผู้ที่อาศัยในอยู่นั้น และสำหรับพระองค์นั้นคือมวลการสรรเสริญทั้งหลาย พระองค์เป็นแสงรัศมีแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน และผู้ที่อาศัยอยู่ในนั้น พระองค์เป็นผู้สัจจริง ถ้อยคำของพระองค์เป็นสิ่งสัจจริง สัญญาของพระองค์เป็นเรื่องที่สัจจริง การพบพระองค์ในโลกหน้าเป็นสิ่งที่สัจจริง สวรรค์ก็เป็นสิ่งที่สัจจริง นรกก็เป็นสิ่งที่สัจจริง การเกิดขึ้นของวันสิ้นโลกก็เป็นสิ่งที่สัจจริง

โอ้ อัลลอฮฺ แด่พระองค์ข้าขอจำนน ต่อพระองค์ข้าขอศรัทธา ยังพระองค์ข้าขอมอบหมาย ยังพระองค์ข้าร้องเรียนการโต้เถียง(กับผู้ปฏิเสธ) ด้วยพระองค์ข้าขอให้มีการพิพากษาวินิจฉัย ขอพระองค์อภัยให้แก่ข้า ทั้งบาปที่ข้าได้ทำมาก่อนหน้าและหลังจากนี้ ทั้งที่ข้าปกปิดและเปิดเผย และที่พระองค์ทรงรู้ดีกว่าตัวข้า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 7442 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และมุสลิม 769)

ดุอาอ์ที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ใช้ขอบ่อยมากคือ

«اللَّهُـمَّ آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً، وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً، وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ». متفق عليه.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา ขอทรงประทานแก่เราในโลกนี้ซึ่งความดีงาม(หมายถึงความดีงามทั้งหลายทั้งปวง) และขอทรงประทานแก่เราในโลกอาคิเราะฮฺซึ่งความดีงาม(หมายถึงการได้รับผลตอบแทนที่ดี) และขอทรงปกป้องเราให้พ้นจากไฟนรก” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6389 และ มุสลิม 2688)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ العَجْزِ وَالكَسَلِ، وَالجُبْنِ وَالهَرَمِ وَالبُـخْلِ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ عَذَابِ القَبْرِ، وَمِنْ فِتْنَةِ المَـحْيَا وَالمَـمَاتِ». متفق عليه.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากความอ่อนแอ ความเกียจคร้าน ความขยาด ความแก่เฒ่า ความตระหนี่ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากการทรมานในหลุมศพ จากการทดสอบในชีวิตและความตาย” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 2823 และ มุสลิม 2706 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

وكان رسول الله صلى الله عليه وسلم «يتعوذ بِالله مِنْ جَهْدِ البَلاءِ، وَدَرَكِ الشَّقَاءِ، وَسُوءِ القَضَاءِ، وَشَمَاتَةِ الأَعْدَاءِ». متفق عليه.

ความว่า “ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เคยขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ จากความยุ่งยากของการทดสอบ/ภัยพิบัติ จากการประสบกับความโชคร้าย จากความเลวร้ายของกำหนดสภาวะ และจากความยินดีของข้าศึก(ต่อสภาพความทุกข์ยากของชาวมุสลิม)” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6616 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และมุสลิม 2707)

«اللَّهُـمَّ أصْلِـحْ لِي دِينِي الَّذِي هُوَ عِصْمَةُ أَمْرِي، وَأصْلِـحْ لِي دُنْيَايَ الَّتِي فِيهَا مَعَاشِي، وَأصْلِـحْ لِي آخِرَتِي الَّتِي فِيهَا مَعَادِي، وَاجْعَلِ الحَيَاةَ زِيَادَةً لِي فِي كُلِّ خَيرٍ، وَاجْعَلِ المَوتَ رَاحَةً لِي مِنْ كُلِّ شَرٍّ». أخرجه مسلم.

ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลแห่งข้า ขอทรงปรับปรุงแก้ไขศาสนาของข้าซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวของข้าพระองค์ ขอทรงปรับปรุงโลกดุนยาของข้าซึ่งเป็นที่แห่งการมีชีวิตของข้าพระองค์ และขอทรงปรับปรุงโลกอาคิเราะฮฺของข้า ซึ่งเป็นที่คืนกลับของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงประทานให้ชีวิตของข้าเป็นการเพิ่มพูนความดีทุกประการแก่ข้าพระองค์ และขอทรงประทานให้ความตายนั้นเป็นการพักผ่อนแก่ข้าพระองค์จากสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งหลาย” (บันทึกโดย มุสลิม 2720)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَسْأَلُكَ الهُدَى وَالتُّقَى وَالعَفَافَ وَالغِنَى». أخرجه مسلم.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าพระองค์ขอจากพระองค์ซึ่งการชี้ทาง ความยำเกรง ความบริสุทธิ์(จากราคะ) และความมั่งมี” (บันทึกโดย มุสลิม 2721)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ العَجْزِ وَالكَسَلِ، وَالجُبْنِ وَالبُـخْلِ، وَالهَرمِ وَعَذَابِ القَبْرِ، اللَّهُـمَّ آتِ نَفْسِي تَقْوَاهَا، وَزَكِّهَا أَنْتَ خَيْرُ مَنْ زَكَّاهَا، أَنْتَ وَلِيُّهَا وَمَولاهَا، اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ عِلْـمٍ لا يَنْفَعُ، وَمِنْ قَلْبٍ لا يَـخْشَعُ، وَمِنْ نَفْسٍ لا تَشْبَـعُ، وَمِنْ دَعْوَةٍ لا يُسْتَـجَابُ لَـهَا». أخرجه مسلم.

ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริง ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์ จากความอ่อนแอ ความขี้เกียจ ความขี้ขลาด ความตระหนี่ ความแก่เฒ่า(จนมากเกินควร) และจากการทรมานในหลุมฝังศพ โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า จงประทานแก่จิตใจข้าซึ่งความยำเกรงต่อพระองค์ และขอทรงชำระมันให้บริสุทธิ์ พระองค์เป็นผู้ที่ชำระมันได้ดีที่สุด พระองค์เป็นผู้ช่วยและเป็นผู้อภิบาลมัน โอ้พระผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ จากความรู้ที่ไม่เป็นประโยชน์ จากหัวใจที่ไม่นอบน้อม จากความต้องการของอารมณ์ที่ไม่รู้จักอิ่มพอ และจากดุอาอ์ที่ไม่ถูกตอบรับ” (บันทึกโดย มุสลิม 2722)

«اللَّهُـمَّ اهْدِنِي وَسَدِّدْنِي» «اللَّهُـمَّ إنِّي أَسْأَلُكَ الهُدَى وَالسَّدَادَ». أخرجه مسلم.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ขอทรงประทานทางนำแก่ข้าพระองค์ และขอทรงประทานความเที่ยงตรงแก่ข้าพระองค์” “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าพระองค์ขอจากพระองค์ซึ่งทางนำและความเที่ยงตรง” (บันทึกโดย มุสลิม 2725)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَاعَمِلْتُ، وَمِنْ شَرِّ مَا لَـمْ أَعْمَلْ». أخرجه مسلم.

ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความชั่วของสิ่งต่างๆ ที่ข้าพระองค์ได้ทำมาแล้ว และจากความชั่วของสิ่งต่างๆ ที่ข้าพระองค์ยังไม่ได้ทำ” (บันทึกโดย มุสลิม 2716)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ الهَـمِّ وَالحَزَنِ، وَالعَجْزِ وَالكَسَلِ، وَالجُبْنِ وَالبُـخْلِ، وَضَلَعِ الدَّيْنِ، وَغَلَبَةِ الرِّجَالِ». أخرجه البخاري.

ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความกังวลใจและความโศกเศร้า ความอ่อนแอและความเกียจคร้าน ความขยาดและความตระหนี่ การติดหนี้ที่มากมายจนล้นตัว และการพ่ายแพ้ต่อผู้อื่น” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6369)

«لا إلَـهَ إلَّا الله العَظِيمُ الحَلِيمُ، لا إلَـهَ إلَّا الله رَبُّ العَرْشِ العَظِيمِ، لا إلَـهَ إلَّا الله رَبُّ السَّمَاوَاتِ، وَرَبُّ الأَرْضِ، وَرَبُّ العَرْشِ الكَرِيمِ». متفق عليه.

ความว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่และผู้ทรงอารี ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งบัลลังก์อัรช์ที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งชั้นฟ้า และพระผู้อภิบาลแห่งแผ่นดิน และพระผู้อภิบาลแห่งบัลลังก์อัรช์อันทรงเกียรติ” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6346 และ มุสลิม 2723)

«اللَّهُـمَّ مُصَرِّفَ القُلُوبِ صَرِّفْ قُلُوبَنَا عَلَى طَاعَتِكَ». أخرجه مسلم.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา ผู้ทรงควมคุมพลิกแพลงหัวใจทั้งหลาย ขอทรงพลิกหัวใจของเราสู่การเชื่อฟัง/ปฏิบัติตามพระองค์เถิด” (บันทึกโดย มุสลิม 2654)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ الجُبنِ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنَ البُـخْلِ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ أَنْ أُرَدَّ إلَى أَرْذَلِ العُمُرِ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ فِتْنَةِ الدُّنْيَا وَعَذَابِ القَبْرِ». أخرجه البخاري.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากความขยาด และข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากความตระหนี่ และข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากความแก่เฒ่า และข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากการทดสอบในชีวิตและการทรมานในหลุมฝังศพ” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6374)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ الكَسَلِ وَالهَرَمِ، وَالمَغْرَمِ، وَالمَأْثَمِ، اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ عَذَابِ النَّارِ، وَفِتْنَةِ النَّارِ، وَفِتْنَةِ القَبْرِ، وَعَذَابِ القَبْرِ، وَشَرِّ فِتْنَةِ الغِنَى، وَشَرِّ فِتْنَةِ الفَقْرِ، وَمِنْ شَرِّ فِتْنَةِ المَسِيحِ الدَّجَّالِ.

اللَّهُـمَّ اغْسِلْ خَطَايَايَ بِمَاءِ الثَّلْـجِ وَالبَرَدِ، وَنَقِّ قَلْبِي مِنَ الخَطَايَا كَمَا يُنَقَّى الثَّوبُ الأَبْيَضُ مِنَ الدَّنَسِ، وَبَاعِدْ بَيْنِي وَبَينَ خَطَايَايَ كَمَا بَاعَدْتَ بَينَ المَشْرِقِ وَالمَغْرِبِ». متفق عليه.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากความเกียจคร้าน ความแก่เฒ่า การติดหนี้สิน การติดบาป โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากการทรมานและการทดสอบในนรก จากการทดสอบและการทรมานในหลุมศพ จากความเลวร้ายในการทดสอบของความร่ำรวยและความยากจน ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากความชั่วร้ายในการทดสอบของดัจญาล

โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ขอทรงชะล้างความผิดของข้าพระองค์ด้วยหิมะน้ำแข็งและก้อนเห็บ ขอทรงชำระหัวใจของพระองค์จากความผิดทั้งหลายเหมือนที่ผ้าขาวได้รับการซักล้างจากสิ่งสกปรก ขอทรงทำให้ข้าพระองค์ห่างจากความผิดทั้งหลายเช่นที่พระองค์ทรงแยกห่างระหว่างทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6375 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 589 ในบทว่าด้วยการซิกิร)

«اللَّهُـمَّ إنِّي ظَلَـمْتُ نَفْسِي ظُلْـماً كَثِيراً، وَلا يَـغْفِرُ الذُّنُوبَ إلَّا أَنْتَ، فَاغْفِرْ لِي مَغْفِرَةً مِنْ عِنْدِكَ، وَارْحَـمْنِي إنَّكَ أَنْتَ الغَفُورُ الرَّحِيمُ». متفق عليه.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าได้อธรรมต่อตัวเองด้วยการอธรรมที่มากมาย และไม่มีผู้ใดที่จะอภัยโทษทั้งหลายได้นอกจากพระองค์เท่านั้น ดังนั้น ขอทรงอภัยให้ข้าพระองค์ด้วยการอภัยจากพระองค์ด้วยเถิด ขอทรงเมตตาข้าพระองค์ แท้จริงแล้ว พระองค์นั้นเป็นผู้ที่ทรงอภัยและทรงเมตตายิ่ง” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 834 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 2705 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

«اللَّهُـمَّ لَكَ أَسْلَـمْتُ، وَبِكَ آمَنْتُ، وَعَلَيكَ تَوَكَّلْتُ، وَإلَيكَ أَنَبْتُ، وَبِكَ خَاصَمْتُ، اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِـعِزَّتِكَ لا إلَـهَ إلَّا أَنْتَ أَنْ تُضِلَّنِي، أَنْتَ الحَيُّ الَّذِي لا يَـمُوتُ، وَالجِنُّ وَالإنْسُ يَـمُوتُونَ». متفق عليه.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แด่พระองค์ข้ายอมจำนน ต่อพระองค์ข้าศรัทธาและเชื่อมั่น แด่พระองค์ข้าได้มอบหมายการงาน ยังพระองค์ข้าได้กลับไปหา(เพื่อจัดการทุกเรื่องในชีวิต) และด้วย(หลักฐานของ)พระองค์ข้าได้โต้เถียง(กับผู้ปฏิเสธ) โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าขอความคุ้มครองด้วยเดชานุภาพของพระองค์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรแก่การสักการะนอกจากพระองค์เท่านั้น (ข้าขอความคุ้มครอง)จากการที่พระองค์จะทำให้ข้าหลงทาง(หลงผิด) พระองค์ทรงมีชีวิตยั่งยืนไม่มีวันตาย ในขณะที่มวลญินและมนุษย์ทั้งหลายนั้นย่อมประสบกับความตายทั้งสิ้น” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 7383 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 2717 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

«اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لِي خَطِيْئَتِي وَجَهْلِي، وَإسْرَافِي فِي أَمْرِي، وَمَا أَنْتَ أَعْلَـمُ بِـهِ مِنِّي، اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لِي جِدِّيْ وَهَزْلِيْ، وَخَطَئِي وَعَمْدِي وَكُلُّ ذَلِكَ عِنْدِي اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لِي مَا قَدَّمْتُ وَمَا أَخَّرْتُ، وَمَا أَسْرَرْتُ وَمَا أَعْلَنْتُ، وَمَا أَنْتَ أَعْلَـمُ بِـهِ مِنِّي، أَنْتَ المُقَدِّمُ وَأَنْتَ المُؤَخِّرُ، وَأَنْتَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ». متفق عليه.

ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลแห่งข้า ขอทรงอภัยโทษแก่ข้าพระองค์ซึ่งความผิด ความไม่รู้ และความเลยเถิดในการงานของข้าพระองค์ ตลอดจนเรื่องที่พระองค์ทรงรู้ดียิ่งเกี่ยวกับข้าพระองค์ โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ขอทรงอภัยโทษแก่ข้าในสิ่งที่ข้าพระองค์จริงจังและทำเล่นๆ ในสิ่งที่ข้าพระองค์ผิดพลาดและเจตนา และทั้งหมดนั้นที่มาจากข้าพระองค์ โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ขอทรงอภัยแก่ข้าพระองค์ในสิ่งที่แล้วมาในอดีตและในอนาคต สิ่งที่ซ่อนเร้นและสิ่งที่เปิดเผย ตลอดจนเรื่องที่พระองค์รู้ดียิ่งเกี่ยวกับข้าพระองค์ พระองค์เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหน้าและเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง และพระองค์ทรงปรีชาสามารถเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 6398 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 2719 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ زَوَالِ نِعْمَتِكَ، وَتَـحَوُّلِ عَافِيَتِكَ، وَفُجَاءَةِ نِقْمَتِكَ، وَجَـمِيعِ سَخَطِكَ». أخرجه مسلم.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ จากความสูญเสียนิอฺมัต(การประทาน)ของพระองค์ จากความเปลี่ยนแปลงของการปกป้องให้ความปลอดภัยของพระองค์ จากการลงโทษของพระองค์อย่างฉับพลันโดยไม่ทันรู้ตัว และจากความพิโรธทุกประการของพระองค์” (บันทึกโดย มุสลิม 2739)

«اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لِي وَارْحَـمْنِي، وَاهْدِنِي، وَعَافِنِي، وَارْزُقْنِي». أخرجه مسلم.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ขอทรงอภัยโทษให้ข้าพระองค์ ขอทรงเมตตาข้าพระองค์ ขอชี้ทางแก่ข้าพระองค์ ขอทรงประทานความปลอดภัยแก่ข้าพระองค์ และขอทรงประทานริซกีแก่ข้าพระองค์” (บันทึกโดย มุสลิม 2697)

«اللَّهُـمَّ إنِّي عَبْدُكَ وابْنُ عَبْدِكَ وَابْنُ أَمَتِكَ، نَاصِيَتِي بِيَدِكَ، مَاضٍ فِيَّ حُكْمُكَ، عَدْلٌ فِيَّ قَضَاؤُكَ، أَسْأَلُكَ بِكُلِّ اسْمٍ هُوَ لَكَ، سَمَّيْتَ بِـهِ نَفْسَكَ، أَوْ أَنْزَلْتَـهُ فِي كِتَابِكَ أَوْ عَلَّمْتَـهُ أَحَداً مِنْ خَلْقِكَ، أَوْ اسْتَأْثَرْتَ بِـهِ فِي عِلْـمِ الغَيبِ عِنْدَكَ، أَنْ تَـجْعَلَ القُرآنَ رَبِيعَ قَلْبِي، وَنُورَ صَدْرِي، وَجَلاءَ حُزنِي، وَذَهَابَ هَـمِّي». أخرجه أحمد.

ความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ ข้าคือบ่าวของพระองค์ บุตรของบ่าวชายของพระองค์ บุตรของบ่าวหญิงของพระองค์ ขม่อมของข้าอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ กำหนดการของพระองค์ดำเนินบนตัวข้า ลิขิตแห่งพระองค์นั้นยุติธรรมแก่ข้าแล้ว ข้าขอต่อพระองค์ด้วยพระนามทุกนามของพระองค์ ที่ซึ่งพระองค์ได้ตั้งไว้สำหรับตัวพระองค์เอง หรือที่พระองค์ได้สอนมันแก่บ่าวผู้ใดผู้หนึ่งของพระองค์ หรือที่พระองค์เก็บไว้เป็นความลับในความรอบรู้ของพระองค์ ข้าขอให้พระองค์ทรงโปรดประทานให้อัลกุรอานเป็นสิ่งที่รื่นรมย์แก่ใจข้า เป็นรัศมีแก่อกข้า เป็นสิ่งที่ขจัดความโศกเศร้าของข้า และเป็นสิ่งที่ลบความกังวลของข้าให้หมดไป” (หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย อะห์มัด 4318 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 199)

«يَا مُقَلِّبَ القُلُوبِ ثَبِّتْ قَلْبِي عَلَى دِينِكَ». أخرجه أحمد والترمذي.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ผู้ทรงพลิกปรับเปลี่ยนหัวใจทั้งหลาย ได้โปรดทำให้หัวใจข้ามั่นอยู่ในศาสนาของพระองค์ด้วยเถิด” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อะห์มัด 12107 และ อัต-ติรมิซีย์ 2140)

قال صلى الله عليه وسلم : «اسْأَلُوا الله العَفْوَ وَالعَافِيَةَ، فَإنَّ أَحَداً لَـمْ يُـعْطَ بَـعْدَ اليَـقِينِ خَيراً مِنَ العَافِيةِ». أخرجه الترمذي.

ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “จงขอการอภัยโทษและความปลอดภัยไร้โรค (อัล-อัฟวะ วะ อัล-อาฟิยะฮฺ) เพราะแท้จริงคนผู้หนึ่งไม่มีสิ่งใดจะถูกให้หลังจากความมั่นใจที่จะดีกว่าความปลอดภัยไร้โรค” (หะดีษ หะสัน เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ 3558)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّ سَمْعِي، وَمِنْ شَرِّ بَصَرِي، وَمِنْ شَرِّ لِسَانِي، وَمِنْ شَرِّ قَلْبِي وَمِنْ شَرِّ مَنِيِّي». أخرجه الترمذي والنسائي.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ จากความชั่วร้ายของการฟังของข้าพระองค์ จากความชั่วร้ายของการมองของข้าพระองค์ จากความชั่วร้ายของลิ้นของข้าพระองค์ จากความชั่วร้ายของหัวใจของข้าพระองค์ และจากความชั่วร้ายของอสุจิ(อวัยวะสืบพันธุ์)ของข้าพระองค์” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ 3492 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ อัน-นะสาอีย์ 5455)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ البَرَصِ وَالجُنُونِ وَالجُذَامِ وَمِنْ سَيِّئِ الأَسْقَامِ». أخرجه أبو داود والنسائي.

ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากโรคเรื้อน โรคบ้า โรคจุดดำขนหลุดร่วง และโรคภัยที่เลวร้ายทั้งหลาย” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด 1554 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ อัน-นะสาอีย์ 5493)

اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ مُنْكَرَاتِ الأَخْلاقِ وَالأَعْمَالِ وَالأَهْوَاءِ». أخرجه الترمذي.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากมารยาท พฤติกรรม และอารมณ์ ทั้งหลายที่เลวทราม” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ 3591)

«رَبِّ أَعِنِّي وَلا تُعِنْ عَلَيَّ، وَانْصُرنِي وَلا تَنْصُرْ عَلَيَّ، وَامْكُرْ لِي وَلا تَـمْكُر عَلَيَّ، وَاهْدِنِي وَيَسِّرِ الهُدَى لِي، وَانْصُرْنِي عَلَى مَنْ بَـغَى عَلَيَّ، رَبِّ اجْعَلْنِي لَكَ شَكَّاراً، لَكَ ذَكَّاراً، لَكَ رَهَّاباً، لَكَ مِطْوَاعاً، لَكَ مُـخْبِتاً، إليكَ أَوَّاهاً مُنِيباً.

رَبِّ تَقَبَّلْ تَوْبَتِي، وَاغْسِلْ حَوْبَتِي، وَأَجِبْ دَعْوَتِي، وَثَبِّتْ حُجَّتِي، وَسَدِّدْ لِسَانِي، وَاهْدِ قَلْبِي، وَاسْلُلْ سَخِيمَةَ صَدْرِي». أخرجه أبو داود والترمذي.

ความว่า โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ ขอทรงสนับสนุนข้าพระองค์ และอย่าได้สนับสนุน(ศัตรูให้ชนะ)เหนือตัวข้าพระองค์ ขอทรงประทานความช่วยเหลือแก่ข้าพระองค์ และอย่าได้ช่วยเหลือ(ศัตรูให้ชนะ)เหนือข้าพระองค์ ขอทรงวางแผนเพื่อข้าพะองค์และอย่าได้ทรงวางแผน(เพื่อศัตรูให้ชนะ)เหนือข้าพระองค์ ขอทรงชี้นำข้าพระองค์และทรงทำให้การชี้นำเป็นสิ่งง่ายดายแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ขอพระองค์ช่วยเหลือข้าพระองค์เหนือผู้ที่ละเมิดต่อข้าพระองค์ โอ้ พระผู้อภิบาล ขอทรงทำให้ข้าพระองค์เป็นผู้ที่ขอบคุณพระองค์อย่างมากมาย เป็นผู้ที่รำลึกถึงพระองค์สม่ำเสมอ เป็นผู้ที่เคารพภักดีต่อพระองค์ เป็นผู้ที่เชื่อฟังพระองค์อย่างสุดใจ เป็นผู้นอบน้อมต่อพระองค์ เป็นผู้ที่วิงวอนต่อพระองค์และกลับตัวกลับใจต่อพระองค์อย่างอาดูร โอ้พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์

ขอทรงตอบรับการขออภัยโทษแห่งข้า ขอทรงชำระล้างบาปของข้า ขอทรงตอบรับการวอนขอแห่งข้า ขอทรงทำให้สัจจะวาจาของข้ามั่นคง(ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า) ขอทรงทำให้ลิ้นข้าเที่ยงตรง ขอทรงชี้นำแก่หัวใจข้า และขอทรงถอนความเคียดแค้นชิงชังออกจากอกของข้า” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด 1510 และ อัต-ติรมิซีย์ 3551 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَسْأَلُكَ مِنَ الخَيرِ كُلِّهِ، عَاجِلِـهِ وَ آجِلِـهِ، مَا عَلِـمْتُ مِنْـهُ وَمَا لَـمْ أَعْلَـمْ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنَ الشَّرِّ كُلِّهِ، عَاجِلِـهِ وَ آجِلِـهِ، مَا عَلِـمْتُ مِنْـهُ وَمَا لَـمْ أَعْلَـمْ، اللَّهُـمَّ إنِّي أَسْأَلُكَ مِنْ خَيرِ مَا سَأَلَكَ عَبْدُكَ وَنَبِيُّكَ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا عَاذَ بِـهِ عَبْدُكَ وَنَبِيُّكَ.

اللَّهُـمَّ إنِّي أَسْأَلُكَ الجَنَّةَ ومَا قَرَّبَ إلَيْـهَا مِنْ قَولٍ أَوْ عَمَلٍ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنَ النَّارِ وَمَا قَرَّبَ إلَيْـهَا مِنْ قَولٍ أَوْ عَمَلٍ، وَأَسْأَلُكَ أَنْ تَـجْعَلَ كُلَّ قَضَاءٍ قَضَيْتَـهُ لِي خَيْراً». أخرجه أحمد وابن ماجه.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ขอจากพระองค์ซึ่งความดีทุกประการ ทั้งที่ด่วนและล่าช้า ที่ข้าพระองค์รู้และที่ข้าพระองค์ไม่รู้ และข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความชั่วร้ายทุกประการ ทั้งที่ด่วนและล่าช้า ที่ข้าพระองค์รู้และที่ข้าพระองค์ไม่รู้ โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ซึ่งสิ่งที่ดีที่สุดที่บ่าวและนบีของพระองค์ได้เคยขอจากพระองค์ และข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากสิ่งที่ชั่วร้ายที่สุดที่บ่าวและนบีของพระองค์เคยขอความคุ้มครองต่อพระองค์

โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ซึ่งสวนสวรรค์ และสิ่งที่ทำให้ใกล้กับสวรรค์ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำ และข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากนรก และสิ่งที่ทำให้ใกล้กับนรก ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำ และข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ ให้ทรงโปรดทำให้กำหนดการทุกประการที่พระองค์ได้ลิขิตแก่ข้าพระองค์เป็นสิ่งที่ดี” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อะห์มัด 25533 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 1542 และ อิบนุ มาญะฮฺ 3846 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

«اللَّهُـمَّ اقْسِمْ لَنَا مِنْ خَشْيَتِكَ مَا يَـحُولُ بَيْنَنَا وَبَينَ مَعَاصِيكَ، وَمِنْ طَاعَتِكَ مَا تُبَلِّغُنَا بِـهِ جَنَّتَـكَ، وَمِنَ اليَـقِينِ مَا تَـهُوِّنُ بِـهِ عَلَينَا مُصِيبَاتِ الدُّنْيَا، وَمَتِّعْنَا بِأَسْمَاعِنَا، وَأَبْصَارِنَا، وَقُوَّتِنَا، مَا أَحْيَيْتَنَا، وَاجْعَلْـهُ الوَارِثَ مِنَّا، وَاجْعَلْ ثَأْرَنَا عَلَى مَنْ ظَلَـمَنَا، وَانْصُرْنَا عَلَى مَنْ عَادَانَا، وَلا تَـجْعَلْ مُصِيبَتَنَا فِي دِينِنَا، وَلا تَـجْعَلِ الدُّنْيَا أَكْبَرَ هَـمِّنَا، وَلا مَبْلَغَ عِلْـمِنَا، وَلا تُسَلِّطْ عَلَيْنَا مَنْ لا يَرْحَـمُنَا». أخرجه الترمذي.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา ขอทรงแบ่งแก่เราจากความเกรงกลัวต่อพระองค์ให้พอแก่การกีดขวางระหว่างเราและการทำผิดต่อพระองค์ด้วยเถิด และจากการเชื่อฟังพระองค์ให้เพียงพอแก่การส่งเราให้บรรลุถึงสวรรค์ของพระองค์ และจากความเชื่อมั่นต่อพระองค์ให้เพียงพอแก่การบรรเทาการทดสอบอันแสนเข็ญของโลกดุนยา และขอทรงประทานความสำราญแก่เราด้วยการได้ยินของเรา และการมองเห็นของเรา และพละกำลังของเรา ตราบเท่าที่พระองค์ทรงให้เรามีชีวิตอยู่ ทรงโปรดให้สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งสืบทอดจากเรา(ไปยังลูกหลาน) ทรงโปรดชำระแค้นต่อผู้ที่อธรรมแก่เรา ทรงโปรดช่วยเหลือให้เรามีชัยเหนือศัตรูผู้ละเมิด และอย่าได้กำหนดให้มีบททดสอบอันแสนเข็ญของเราในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา อย่าได้ทำให้ดุนยาเป็นประเด็นที่เรากังวลกับมันมากที่สุด อย่าให้ดุนยาเป็นจุดประสงค์สูงสุดของความรู้ที่เราพร่ำเรียนมา และอย่าปล่อยให้คนที่ไร้ความเมตตามีอำนาจปกครองเหนือพวกเรา” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ 3502)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ الهَدْمِ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنَ التَّرَدِّي، وَأَعُوذُ بِكَ مِنَ الغَرَقِ وَالحَرَقِ والهَرَمِ، وَأَعُوذُ بِكَ أَنْ يَتَـخَبَّطَنِيَ الشَّيْطَانُ عِنْدَ المَوتِ، وَأَعُوذُ بِكَ أَنْ أَمُوتَ فِي سَبِيلِكَ مُدْبِراً، وَأَعُوذُ بِكَ أَنْ أَمُوتَ لَدِيغاً». أخرجه أبو داود والنسائي.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริง ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองจากการถูกถมทับ การตกเหว การจมน้ำ การถูกเผาไหม้ การแก่เฒ่า และขอความคุ้มครองจากการครอบงำของชัยฏอนขณะใกล้ตาย และขอความคุ้มครองจากการตายในหนทางของพระองค์(ในสมรภูมิรบ)ในสภาพที่ผินหลังหนี และขอความคุ้มครองจากตายเนื่องด้วยถูกสัตว์พิษกัด” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด 1552 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ อัน-นะสาอีย์ 5531)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ الجُوعِ فَإنَّهُ بِئْسَ الضَّجِيعُ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنَ الخِيَانَةِ فَإنَّهَا بِئْسَتِ البِطَانَةُ». أخرجه أبو داود والنسائي.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริง ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองจากความหิวโหย ซึ่งมันเป็นเพื่อนร่วมนอนที่โหดร้ายที่สุด(หมายถึงรบกวนไม่ให้หลับนอนได้) และขอความคุ้มครองจากความทรยศ ซึ่งมันเป็นเพื่อนสนิทที่เลวที่สุด” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดย อบู ดาวูด 1547 และ อัน-นะสาอีย์ 5468)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ من الفَقْرِ، وَالقِلَّةِ وَالذِّلَّةِ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ أَنْ أَظْلِـمَ أَوْ أُظْلَـمَ». أخرجه أبو داود والنسائي.

ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความยากจน ความขาดแคลน ความต่ำต้อย และขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากการก่ออธรรมต่อผู้อื่นหรือเป็นผู้ที่ถูกกระทำการอธรรมโดยผู้อื่น” ” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด 1544 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ อัน-นะสาอีย์ 5460)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَسْأَلُكَ يَا الله بِأَنَّكَ الوَاحِدُ الأَحَدُ الصَّمَدُ، الَّذِي لَـمْ يَلِدْ وَلَـمْ يُولَدْ، وَلَـمْ يَكُنْ لَـهُ كُفُواً أَحَدٌ أَنْ تَغْفِرَ لِي ذُنُوبِي إنَّكَ أَنْتَ الغَفُورُ الرَّحِيمُ». أخرجه أبو داود والنسائي.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริง ข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ โอ้อัลลอฮฺ ด้วยการที่พระองค์นั้นคือผู้เป็นเอกะหนึ่งเดียวที่ทรงจัดการดูแลทุกสรรพสิ่ง ผู้ที่ไม่ทรงมีบุตรและไม่ทรงถูกให้กำเนิด และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์ ขอพระองค์ทรงอภัยให้แก่บาปทั้งหลายของข้าพระองค์ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ที่อภัยและเมตตายิ่ง” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด 985 และ อัน-นะสาอีย์ 1301 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَسْأَلُكَ بِأَنَّ لَكَ الحَـمْدُ، لا إلَـهَ إلَّا أَنْتَ المنَّانُ بَدِيعُ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ، يَاذَا الجَلالِ وَالإكْرَامِ، يَا حَيُّ يَا قَيُّومُ إنِّي أَسْأَلُكَ». أخرجه أبو داود والنسائي.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริง ข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ ด้วยเหตุที่การสรรเสริญสดุดีทั้งหลายนั้นเป็นของพระองค์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ผู้ทรงให้อย่างมากมาย ผู้ทรงเสกสรรค์ชั้นฟ้าและแผ่นดิน โอ้ ผู้ทรงยิ่งด้วยศักดิ์และเกียรติ์อันสูงส่ง โอ้ ผู้ทรงชีวิน โอ้ ผู้ทรงยืนหยัดจัดการทุกสิ่ง แท้จริง ข้าได้วอนขอต่อพระองค์” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด 1495 และ อัน-นะสาอีย์ 1300 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَسْأَلُكَ بِأَنِّي أَشْهَدُ أَنَّكَ أَنْتَ الله لا إلَـهَ إلَّا أَنْتَ الأَحَدُ الصَّمَدُ الَّذِي لَـمْ يَلِدْ، وَلَـمْ يُولَدْ، وَلَـمْ يَكُنْ لَـهُ كُفُواً أَحَدٌ». أخرجه الترمذي وابن ماجه.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ ด้วยการที่ข้าปฏิญาณว่าพระองค์คืออัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ผู้เป็นเอกะหนึ่งเดียวที่ทรงจัดการดูแลทุกสรรพสิ่ง ผู้ที่ไม่ทรงมีบุตรและไม่ทรงถูกให้กำเนิด และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ 3475 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ อิบนุ มาญะฮฺ 3857)

«رَبِّ اغْفِرْ لي وَتُبْ عَلَيَّ إنَّكَ أَنْتَ التَّوَّابُ الرَّحِيمُ». أخرجه الترمذي وابن ماجه.

ความว่า “พระผู้อภิบาลแห่งข้า ขอทรงอภัยให้แก่ข้าพระองค์ และขอทรงประทานเตาบะฮฺแก่ข้าพระองค์ แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยและเมตตายิ่ง” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ 3434 และ อิบนุ มาญะฮฺ 3814 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

«اللَّهُـمَّ بِـعِلْـمِكَ الغَيْبَ، وَقُدْرَتِكَ عَلَى الخَلْقِ، أَحْيِنِي مَا عَلِـمْتَ الحَيَاةَ خَيراً لِي، وَتَوفَّني إذَا عَلِـمْتَ الوَفَاةَ خَيْراً لِي، اللَّهُـمَّ وَأَسْأَلُكَ خَشْيَتَـكَ فِي الغَيبِ وَالشَّهَادَةِ، وَأَسْأَلُكَ كَلِـمَةَ الحَقِّ فِي الرِّضَا وَالغَضَبِ، وَأَسْأَلُكَ القَصدَ فِي الفَقْرِ وَالغِنَى.

وَأَسْأَلُكَ نَعِيماً لا يَنْفَدُ، وَأَسْأَلُكَ قُرَّةَ عَينٍ لا تَنْقَطِعُ، وَأَسْأَلُكَ الرِّضَا بَـعْدَ القَضَاءِ، وَأَسْأَلُكَ بَرْدَ العَيْشِ بَـعْدَ الموْتِ، وَأَسْأَلُكَ لَذَّةَ النَّظَرِ إلَى وَجْهِكَ، وَالشَّوقَ إلَى لِقَائِكَ، فِي غَيْرِ ضَرَّاءَ مُضِرَّةٍ، وَلا فِتْنَةٍ مُضِلَّةٍ، اللَّهُـمَّ زَيِّنَّا بِزِينَةِ الإيمَانِ، وَاجْعَلْنَا هُدَاةً مُهْتَدِينَ». أخرجه النسائي.

ความว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ด้วยความรอบรู้ของพระองค์ต่อสิ่งเร้นลับ และพลังอำนาจของพระองค์เหนือทุกสรรพสิ่ง ขอพระองค์ทรงทำให้ข้าพระองค์มีชีวิตอยู่ตราบที่พระองค์ทราบว่าการมีชีวิตนั้นดีต่อตัวข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงเอาชีวิตข้าพระองค์เมื่อพระองค์ทราบว่าการตายนั้นดีต่อตัวข้าพระองค์ โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าขอต่อพระองค์ซึ่งความเกรงกลัวต่อพระองค์ทั้งในที่ลับและที่เปิดเผย และขอต่อพระองค์ซึ่งถ้อยคำแห่งสัจทั้งในยามพอใจและยามโกรธ และขอต่อพระองค์ซึ่งความพอดีทั้งในยามขัดสนและมั่งมี

ข้าขอต่อพระองค์ซึ่งนิอฺมัตที่ไม่หมด ข้าขอต่อพระองค์ซึ่งความรื่นรมย์แก่สายตาที่ไม่ขาดสาย ข้าขอต่อพระองค์ซึ่งความพอใจต่อกำหนดลิขิตของพระองค์ ข้าขอต่อพระองค์ซึ่งชีวิตที่ร่มเย็นหลังจากความตาย ข้าขอต่อพระองค์ซึ่งความสุขในการมองต่อพระพักตร์ของพระองค์ และความใฝ่หาที่จะได้พบกับพระองค์ โดยไม่มีทุกข์ภัยใดๆ ที่เกินแก่ความอดทน และไม่มีบททดสอบใดๆ ที่ทำให้หลงทาง โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ขอทรงตกแต่งพวกเราด้วยการประดับประดาของอีมาน ขอทรงทำให้เราเป็นผู้ชี้ทางที่ได้รับทางนำ” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัน-นะสาอีย์ 1305)

«اللَّهُـمَّ مَتِّعْنِي بِسَمْعِي وَبَصَرِي، وَاجْعَلْـهُـمَا الوَارِثَ مِنِّي، وَانْصُرْنِي عَلَى مَنْ يَظْلِـمُنِي، وَخُذْ مِنْـهُ بِثَأرِي». أخرجه الترمذي.

ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลแห่งข้า ขอพระองค์ทรงประทานความสำราญแก่ข้าพระองค์ด้วยการได้ยินของข้าพระองค์ และการมองเห็นของข้าพระองค์ และทรงโปรดให้ทั้งสองเป็นสิ่งสืบทอดจากข้าพระองค์(ไปยังลูกหลานของข้าพระองค์) และทรงโปรดช่วยข้าพระองค์เหนือศัตรูของข้าพระองค์ และทรงโปรดให้ข้าพระองค์ได้ชำระแค้นของข้าพระองค์ต่อศัตรูนั้น” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ 3604)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ غَلَبَةِ الدَّينِ، وَغَلَبَةِ العَدُوِّ، وَشَمَاتَةِ الأَعْدَاءِ». أخرجه أحمد والنسائي.

ความว่า “ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากการล้มเหลวต่อการจ่ายหนี้ และความพ่ายแพ้ต่อศัตรู และการหัวเราะเยาะเย้ยของศัตรู” (หะดีษ หะสัน บันทึกโดย อะห์มัด 6618 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ 1541 และ อัน-นะสาอีย์ 5475 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِـعَظَمَتِكَ أَنْ أُغْتَالَ مِن تَـحْتِي». أخرجه أبو داود والنسائي.

ความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยความยิ่งใหญ่ของพระองค์จากการโดนเอาชีวิตจากเบื้องล่างของข้าพระองค์(ด้วยภัยพิบัติต่างๆ เช่น โดนธรณีสูบ เป็นต้น)” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู อาวูด 5074 และ อัน-นะสาอีย์ 5529 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

«اللَّهُـمَّ لَكَ الحَـمْدُ كُلَّهُ، اللَّهُـمَّ لا قَابِضَ لِـمَا بَسَطْتَ، وَلا بَاسِطَ لِـمَا قَبَضْتَ، وَلا هَادِي لِـمَا أَضْلَلْتَ، وَلا مُضِلَّ لمن هَدَيْتَ، وَلا مُعْطِيَ لِـمَا مَنَعْتَ، وَلا مَانِعَ لِـمَا أَعْطَيتَ، وَلا مُقَرِّبَ لِـمَا بَاعَدْتَ، وَلا مُبَاعِدَ لِـمَا قَرَّبْتَ، اللَّهُـمَّ ابْسُطْ عَلَيْنَا مِنْ بَرَكَاتِكَ وَرَحْـمَتِكَ وَفَضْلِكَ وَرِزْقِكَ.

اللَّهُـمَّ إنِّي أَسْأَلُكَ النَّعِيمَ المُقِيمَ الَّذِي لا يَـحُولُ وَلا يَزُولُ، اللَّهُـمَّ إنِّي أَسْأَلُكَ النَّعِيمَ يَومَ العَيْلَةِ، وَالأَمْنَ يَومَ الخَوفِ، اللَّهُـمَّ إنِّي عَائِذٌ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا أَعْطَيْتَنَا وَشَرِّ مَا مَنَعْتَ، اللَّهُـمَّ حَبِّبْ إلَينَا الإيمَانَ، وَزَيِّنْـهُ فِي قُلُوبِنَا، وَكَرِّهْ إلَينَا الكُفْرَ وَالفُسُوقَ وَالعِصْيَانَ، وَاجْعَلْنَا مِنَ الرَّاشِدِينَ.

اللَّهُـمَّ تَوَفّنَا مُسْلِـمِينَ، وَأَحْينَا مُسْلِـمِينَ، وَأَلْـحِقْنَا بِالصَّالحينَ، غَيرَ خَزَايَا وَلا مَفْتُونِينَ، اللَّهُـمَّ قَاتِلِ الكَفَرَةَ الَّذِينَ يُكَذِّبُونَ رُسُلَكَ، وَيَصُدُّونَ عَنْ سَبِيلِكَ، وَاجْعَلْ عَلَيهِـمْ رِجْزَكَ وَعَذَابَكَ، اللَّهُـمَّ قَاتِلِ الكَفَرَةَ الَّذِينَ أُوتُوا الكِتَابَ إلَـهَ الحَقِّ». أخرجه أحمد والبخاري في الأدب المفرد.

ความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ สำหรับพระองค์นั้นคือมวลการสรรเสริญทั้งหมดทั้งมวล ไม่มีผู้ที่สามารถกักเก็บสิ่งที่พระองค์เผื่อแผ่ และไม่มีผู้ที่สามารถแผ่ให้ในสิ่งที่พระองค์กักเก็บไว้ ไม่มีผู้ที่สามารถชี้ทางในสิ่งที่พระองค์ได้ทำให้หลง และไม่มีผู้ที่สามารถทำให้หลงในสิ่งที่พระองค์ทรงชี้ ไม่มีผู้ที่สามารถให้ในสิ่งที่พระองค์กีดขวาง และไม่มีผู้ใดที่สามารถขวางในสิ่งที่พระองค์ทรงให้ ไม่มีผู้ใดที่สามารถทำให้ใกล้ต่อสิ่งที่พระองค์ได้ทำให้มันไกล และไม่มีผู้ใดสามารถทำให้ไกลซึ่งสิ่งที่พระองค์ได้ทำให้มันใกล้ โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงเผื่อแผ่แก่เราอย่างกว้างขวาง จากความจำเริญอันมากมายของพระองค์ ความเมตตาของพระองค์ ความประเสริฐของพระองค์ และการประทานริซกีของพระองค์

โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงข้าขอต่อพระองค์ซึ่งนิอฺมัตที่ยั่งยืน ที่ไม่เปลี่ยนแปลงและไม่สูญหาย โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงข้าขอต่อพระองค์ซึ่งนิอฺมัตในวันแห่งความลำบาก ความปลอดภัยในวันแห่งความหวาดกลัว โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความชั่วร้ายของสิ่งที่พระองค์ประทานให้เรา และความชั่วร้ายของสิ่งที่พระองค์ห้ามมันจากเรา โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงทำให้อีมานความศรัทธาเป็นที่รักแก่เรา ขอทรงประดับประดามันในหัวใจของเรา และขอทรงทำให้เรารังเกียจการปฏิเสธศรัทธา การทรยศ และการฝ่าฝืนทำความผิดบาป และขอทรงทำให้เราเป็นผู้ที่ดำเนินบนแนวทางที่ถูกต้อง

โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงให้เราเสียชีวิตในสภาพที่เป็นมุสลิม และขอทรงให้เรามีชีวิตในสภาพที่เป็นมุสลิม และขอทรงให้เราได้อยู่ร่วมกับบรรดาผู้มีคุณธรรม โดยไม่มีความต่ำต้อยอับอายและไม่ถูกทดสอบ โอ้ อัลลอฮฺขอทรงเอาชีวิตเหล่าผู้ปฏิเสธศรัทธาที่กล่าวอ้างเท็จต่อบรรดาศาสนทูตของพระองค์และพวกเขากีดขวางเส้นทางของพระองค์ ขอทรงให้พวกเขาพบกับหายนะและการลงโทษของพระองค์ โอ้ อัลลอฮฺขอทรงจัดการกับเหล่าผู้ปฏิเสธศรัทธาจากหมู่ชนชาวคัมภีร์ โอ้ พระผู้เป็นเจ้าแห่งสัจธรรม” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อะห์มัด 15573 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ อัล-บุคอรีย์ ใน อัล-อะดับ อัล-มุฟร็อด 720)

«اللَّهُـمَّ إنَّكَ عَفُوٌّ كَرِىمٌ تُـحِبُّ العَفْـوَ فَاعْـفُ عَنِّي». أخرجه الترمذي وابن ماجه.

ความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยและทรงเกียรติยิ่ง พระองค์รักการให้อภัย ดังนั้นขอทรงประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ 3513 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ อิบนุ มาญะฮฺ 3850)

«اللَّهُـمَّ أَعُوذُ بِرِضَاكَ مِنْ سَخَطِكَ، وَبِمُعَافَاتِكَ مِنْ عَقُوبَتِكَ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْكَ لا أُحْصِي ثَنَاءً عَلَيكَ، أَنْتَ كَمَا أَثْنَيْتَ عَلَى نَفْسِكَ». أخرجه مسلم.

ความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยความโปรดปรานของพระองค์จากความกริ้วโกรธของพระองค์ ขอความคุ้มครองด้วยการคุ้มครองของพระองค์จากการลงโทษของพระองค์ ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากพระองค์เอง ข้าพระองค์มิอาจบรรลุถึงการกล่าวสรรเสริญพระองค์ได้โดยสมบูรณ์ พระองค์นั้น(ทรงสูงส่งและสมบูรณ์ยิ่ง) เป็นดังที่ทรงได้กล่าวสรรเสริญพระองค์เอง” (บันทึกโดย มุสลิม 486)

«اللَّهُـمَّ بَارِكْ لَنَا فِي مَدِينَتِنَا وَفِي ثِمَارِنَا وَفِي مُدِّنَا وَفِي صَاعِنَا، بَرَكَةً مَعَ بَرَكَةٍ». أخرجه مسلم.

ความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงประทานความจำเริญแก่เมืองของเรา แก่พืชผลของเรา แก่ มุดด์ และ ศออฺ ของเรา (มุดด์และศออฺ เป็นเครื่องมือที่ใช้ตวง) ด้วยความจำเริญที่ซ้อนด้วยความจำเริญ” (บันทึกโดยมุสลิม 1373)

มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

แปลโดย : ซุฟอัม อุษมาน

ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา

ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

อัพเดทล่าสุด