บุรุษที่เป็นที่ยอมรับหลายท่าน ที่เป็นที่ยอมรับที่สุดในหมู่พวกเขาสำหรับฉันก็คือท่านอุมัรฺ
เวลาที่ห้ามทำการละหมาด โดยสรุปแล้วมี 3 ช่วง ดังนี้:
1. ตั้งแต่หลังละหมาดศุบหฺ กระทั่งหลังดวงอาทิตย์ขึ้นประมาณ 15 นาที
2. ขณะที่ดวงอาทิตย์อยู่กึ่งกลางท้องฟ้า (ช่วงเวลาประมาณ 5-10 นาทีก่อนได้เวลาละหมาดซุฮรฺ)
3. ตั้งแต่หลังละหมาดอัศรฺ จนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
โดยมีหลักฐานหลักๆ ดังนี้ :
1. ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮฺ กล่าวว่า :
شَهِدَ عِنْدِي رِجَالٌ مَرْضِيُّونَ وَأَرْضَاهُمْ عِنْدِي عُمَرُ أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ نَهَى عَنْ الصَّلاةِ بَعْدَ الصُّبْحِ حَتَّى تَشْرُقَ الشَّمْسُ وَبَعْدَ الْعَصْرِ حَتَّى تَغْرُبَ
“บุรุษที่เป็นที่ยอมรับหลายท่าน ที่เป็นที่ยอมรับที่สุดในหมู่พวกเขาสำหรับฉันก็คือท่านอุมัรฺ ได้กล่าวยืนยันกับฉันว่า ท่านนบี Sallallahu ‘alaihi wa sallam: ห้ามให้ทำการละหมาดหลังละหมาดศุบหฺ จนกว่าดวงอาทิตย์จะขึ้น และั หลังละหมาดอัศรฺ จนกว่าดวงอาทิตย์จะตกดิน” [บันทึกโดย บุคอรี 547 และมุสลิม 1367]
2. ท่านอบูสะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ฉันได้ยินท่านนบี Sallallahu ‘alaihi wa sallam: กล่าวว่า :
لا صَلاةَ بَعْدَ الصُّبْحِ حَتَّى تَرْتَفِعَ الشَّمْسُ وَلا صَلاةَ بَعْدَ الْعَصْرِ حَتَّى تَغِيبَ الشَّمْسُ
“ไม่มีการละหมาดหลังจากละหมาดศุบหฺ จนกว่าดวงอาทิตย์จะขึ้นสูง และไม่มีการละหมาดหลังละหมาดอัศรฺ จนกว่าดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้า” [บันทึกโดย บุคอรี 511]
3. ท่านอุกบะฮฺ บิน อามิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า :
ثَلاثُ سَاعَاتٍ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَنْهَانَا أَنْ نُصَلِّيَ فِيهِنَّ أَوْ أَنْ نَقْبُرَ فِيهِنَّ مَوْتَانَا : حِينَ تَطْلُعُ الشَّمْسُ بَازِغَةً حَتَّى تَرْتَفِعَ وَحِينَ يَقُومُ قَائِمُ الظَّهِيرَةِ حَتَّى تَمِيلَ الشَّمْسُ وَحِينَ تَضَيَّفُ الشَّمْسُ لِلْغُرُوبِ حَتَّى تَغْرُبَ
“มีสามช่วงเวลา ที่ท่านเราะสูล Sallallahu ‘alaihi wa sallam: ได้ห้ามให้เราทำการละหมาดหรือฝังคนตาย : ขณะดวงอาทิตย์กำลังขึ้น จนกว่ามันจะขึ้นสูงไปในระดับหนึ่ง และขณะที่ดวงอาทิตย์อยู่กึ่งกลางท้องฟ้า จนกว่ามันจะคล้อยเล็กน้อย และขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังจะตก จนกว่ามันจะลับหายไป” [บันทึกโดย มุสลิม 1373]
** หมายเหตุ : การห้ามในที่นี้ครอบคลุมเฉพาะการละหมาดสุนัตในช่วงเวลาดังกล่าวโดยไม่มีสาเหตุนำ (เช่น อยู่ๆก็อยากละหมาดสุนัต 2 ร็อกอัตในช่วงเวลาดังกล่าว)
แต่ถ้าเป็นละหมาดที่มีสาเหตุนำ (เช่น ละหมาดตะหิยะตุลมัสยิด เมื่อเข้าสู่มัสยิด หรือละหมาดญะนาซะฮฺ) หรือละหมาดฟัรฎฺ/ชดละหมาดฟัรฎฺ เช่นนี้ก็อนุญาตให้ทำในช่วงเวลาดังกล่าวได้ (ตามทัศนะที่มีน้ำหนักมากกว่าอินชาอัลลอฮฺ)