อินทผาลัมนบี ประโยชน์อินทผาลัมอัจวะฮฺ ประวัติอินทผาลัม


6,998 ผู้ชม

อินทผาลัม มีหลายสายพันธุ์และผลอินทผาลัม มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น อัลบะละฮฺ ซึ่งเป็นผลอินทผาลัมช่วงก่อนสุก....


อินทผาลัมนบี ประโยชน์อินทผาลัมอัจวะฮฺ ประวัติอินทผาลัม

อินทผาลัมที่เราเห็นกันในรูปแบบของ ผลไม้แห้ง หรือผลไม้สด ใช้ในการละศีลอด หรือทานตามสุนนะฮฺของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม 

อินทผาลัม (อ่านว่า อินทะผะลำ) เป็นชื่อปาล์มชนิด Phoenix dactylifera Linn ในวงศ์ Plamae ผลกินได้ ภาษาปากมักเรียกว่า อินทผาลัม ในภาษาอาหรับ เรียกว่า อันนัคลุ้ หรือ อันนะคีลฺ เป็นไม้ยืนต้นชอบขึ้นในเขตร้อน มีลำต้นตั้งตรงและยาว มีผลออกเป็นทะลาย ผลของมันมีรสชาติอร่อย ใช้ทำแยมและบางชนิดใช้หมัก เรียกว่า นะบีซฺ อัลบะละฮฺ นักภาษาศาสตร์บอกว่า เหตุที่เรียกอินทผลัมว่า อันนะคีล เพราะมันมีรากศัพท์มาจากคำว่า นัคลฺ ซึ่งหมายถึง คัดเลือก กลั่นกรอง เพราะอินทผลัมจัดเป็นพืชยืนต้นที่มีเกียรติที่สุดในประดาพืชยืนต้นด้วยกัน 

อินทผาลัมนบี ประโยชน์อินทผาลัมอัจวะฮฺ ประวัติอินทผาลัม

ในคัมภีร์อัลกุรอาน ได้กล่าวถึงเรื่องของอินทผลัมเอาไว้หลายแห่งและหลายรูปคำ กล่าวคือ ใช้คำว่า “อันนัคลุ้”  10 แห่ง และใช้คำว่า“นัคลัน” 1 แห่งในบทอะบะสะ อายะฮฺที่ 29, และใช้คำว่า  “อันนัคละฮฺ”  2 แห่งคือในบทมัรยัม อายะฮฺที่ 23 และ 25, และใช้คำว่า “นะคีล” 7 แห่งด้วยกัน รวม 20 แห่ง

อินทผาลัม มีหลายสายพันธุ์และผลอินทผาลัม มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น อัลบะละฮฺ ซึ่งเป็นผลอินทผาลัมช่วงก่อนสุก เมื่อเริ่มเข้าสีเรียกว่า อัลบุสรุ้  พอเริ่มสุกเรียกว่า อัรรุฏ่อบุ้ ส่วนอินทผาลัมแห้งอย่างที่วางขายทั่วไปนั้นเรียกว่า ตัมรฺ ส่วนหนึ่งจากสายพันธุ์ของอินทผาลัม คือ ซุกกะรีย์ และอัจญ์วะฮฺ เป็นต้น  

อัจวะฮฺ (عَجْوَةٌ) อินทผาลัมนบี หมายถึง อินทผลัมชนิดหนึ่ง ที่ดีที่สุดของเมืองมะดีนะฮฺ มีรสชาติอร่อย ไม่หวานมาก มีประโยชน์ต่อร่างกายและเป็นยารักษาโรคได้

อินทผาลัมนบี ประโยชน์อินทผาลัมอัจวะฮฺ ประวัติอินทผาลัม

รายงานจากท่านซะอฺด บินอะบีวักกอส รอฎอยัลลอฮุอันฮุ ว่าแท้จริง ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า:

“ผู้ใดรับประทานอินทผาลัมอัจวะฮฺ 7 เม็ดในยามเช้า พิษต่างๆและไสยศาสตร์ไม่สามารถทำอันตรายแก่เขาได้ในวันนั้น” (บันทึกโดยบุคอรี)

รายงานจากท่าน อบีสะอีด ว่า ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า:

“อินทผาลัมอัจวะฮฺ นั้นมาจากสวนสวรรค์  และมันเป็นยาบำบัดพิษต่างๆ”  (บันทึกโดย อันนะซาอี และอิบนุมาญะฮฺ)

อินทผาลัมนบี ประโยชน์อินทผาลัมอัจวะฮฺ อินทผาลัมอัจวะฮฺนั้น สามารถรักษาโรคได้ดังนี้

1. ทำให้ร่างกายแข็งแรง พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ ถ้ารับประทานประจำ

2. ป้องกันไสยศาสตร์ โดยรับประทานวันละ 7 เม็ด

3. รักษาพิษต่างๆ โดยรับประทานวันละ 7 เม็ด

คุณค่าที่ได้รับจากอินทผาลัมอัจวะฮฺ อินทผาลัมนบี

ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม รับประทานอัจวะฮฺทุกวัน วันละ 7 เม็ด และท่านยืนยันว่า มันป้องกันไสยศาสตร์และพิษต่างๆได้ ด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺ ที่มีต่อประชาชาติของท่าน นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม 

อินทผาลัมนบี ประโยชน์อินทผาลัมอัจวะฮฺ ประวัติอินทผาลัม

ประวัติอินทผาลัม

อินทผาลัม เป็นผลไม้ที่เก่าแก่ที่สุดที่ได้มีการเพาะปลูกกันมาในแอฟริกาเหนือ และตะวันออกกลาง เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5000 ปี หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดเป็นหลักฐานการบันทึกการเกษตรกรรมของอิรักในสมัยอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นช่วงเวลา 3000 ปีก่อนคริสตศักราช แต่ก็ยังไม่สามารถระบุต้นกำเนิดที่แน่นอนของอินทผลัมได้ เนื่องจากได้มีการเพาะปลูกกระจายอยู่ทั่วไปบริเวณอารยธรรมเมโสโปเตเมีย (หรือทางตอนใต้ของอิรัก) ไปจนถึงบริเวณอินเดียตะวันตก

หลังจากนั้นการเพาะปลูกอินทผาลัมก็แพร่ขยายมาตามคาบสมุทรอาหรับ แอฟริกาเหนือ และตะวันออกกลาง และในช่วง 2000 ปีก่อนคริสตศักราช อินทผลัมได้ถูกนำเข้าไปเพาะปลูกในอียิปต์ การแพร่ขยายของอินทผาลัมขยายตัวไปพร้อมกับการเผยแพร่ศาสนาอิสลามไปจนถึงทางตอนใต้ของสเปน และปากีสถาน โดยชาวสเปนเป็นชนกลุ่มแรกที่นำอินทผาลัมจากคาบสมุทรอาหรับ แอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลาง และตอนใต้ของเอเชีย ไปยังอเมริกา

อินทผาลัม เป็นพืชที่มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของชาวตะวันออกกลางเป็นอันมาก หากปราศจากอินทผลัมแล้ว ในดินแดนทะเลทรายคงไม่สามารถจะมีกลุ่มคนไปตั้งรกรากจนเป็นชุมชนขนาดใหญ่ได้ เส้นทางการเดินทางของกองคาราวานที่มีอายุนานนับศตวรรษได้ใช้ไปเพื่อการขนส่งอินทผลัมเป็นหลัก

อินทผาลัมถูกยกย่องว่า เป็นสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์ และความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญทางจิตวิญญาณ และวัฒนธรรมของชาวตะวันออกกลางเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังปรากฎแผ่นจารึกภาพของอินทผลัม และการเพาะปลูกอินทผลัม จารึกในอารยธรรมของชาว อัสซิเรียน (Assyrian) บาบิโลเนียน (Babylonian) รวมถึงในประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (Code of Hammurabi) ซึ่งได้บัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการเพาะปลูก และค้าขายอินทผลัมด้วย นอกจากนี้ยังมีการกล่าวอ้างในงานเขียนมากมายของชาวอียิปต์โบราณ ชาวซีเรีย ชาวลิเบียและชาวปาเลสไตน์

มุสลิมไทยโพสต์

ที่มา: www.annisaa.com , www.datepalm.in.th

https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/23141

อัพเดทล่าสุด