ธุรกิจต้องห้ามในศาสนาอิสลาม


153,923 ผู้ชม

โดยทั่วไปการดำเนินธุรกิจ หรือการทำธุรกรรมในศาสนาอิสลามตามหลักชะรีอะห์นั้นจะต้องไม่ไปเกี่ยวข้องกับธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ไม่ถูกหลักศาสนาอิสลามตามหลักชะรีอะห์


ธุรกิจต้องห้าม (HARAM BUSINESS) ในระบบการเงินอิสลาม

โดยทั่วไปการดำเนินธุรกิจ หรือการทำธุรกรรมในศาสนาอิสลามตามหลักชะรีอะห์นั้นจะต้องไม่ไปเกี่ยวข้องกับธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ไม่ถูกหลักศาสนาอิสลามตามหลักชะรีอะห์ ระบบการเงินอิสลามก็เช่นเดียวกันที่ยึดตามหลักชะรีอะห์ในไม่ยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจต้องห้ามต่างๆ (Haram Business) เช่นธนาคารหรือสถาบันการเงิน จะไม่อำนวยสินเชื่อให้ธุรกิจต้องห้ามหรือรับเงินฝากจากธุรกิจต้องห้าม หรือ กองทุนอิสลาม จะไม่ไปซื้อหุ้นของบริษัทต้องห้าม เป็นต้น ธุรกิจต้องห้ามหลักๆ (Haram Business)ที่มักถูกกล่าวถึงในระบบการเงินอิสลามมีดังต่อไปนี้ คือ

ธุรกิจต้องห้ามในศาสนาอิสลาม

1. ธุรกิจเครื่องดื่มมึนเมา(Alcoholic beverages)  เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ ที่ทำให้ขาดสติ หรืออาการมึนเมา  ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัทขายเหล้า เบียร์ สุรา หรือไวน์  บริษัทที่ผลิตขายบรรจุภัณฑ์สุรา เหล้า เบีบร์ หรือไวน์ เป็นต้น

2. ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวกับสุกร (Pork products)   ได้แก่ อาหารที่ทำจากหมูหรือสุกร อาหารที่มีส่วนผสมของสุกร เครื่องสำอางค์ เวชสำองค์ ที่มีส่วนผสมของสุกร เป็นต้น

3. ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับยาสูบ(Tobacco products)   เช่น บุหรี่ หรือยาสูบซึ่งมีอันตรายต่อสุขภาพ  หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยาสูบ หรือบุหรี่ เป็นต้น

4. ธุรกิจเกี่ยวข้องกับการผลิตและจำหน่ายดนตรี(Production and Distribution of Music media)   ได้แก่ ธุรกิจผลิตดนตรีเพลงหรือเกี่ยวข้องกับการผลิตดนตรี ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายดนตรี  เป็นต้น

5. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพนัน หรือบ่อนการพนัน (Gambling / Casinos)  ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพนันหรือการเสี่ยงดวงได้แก่ สลากกินแบ่งรัฐบาล หวยออนไลน์ การพนันบอล การพนันมวย การพนันม้า ตู้ม้า  ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพนัน ได้แก่ ธุรกิจที่ผลิตอุปกรณ์การพนันต่างๆ ธุรกิจที่ให้เช่าพื้นที่เพื่อเปิดคาสิโน เป็นต้น

ธุรกิจต้องห้ามในศาสนาอิสลาม

6. การให้บริการทางการเงินทั่วไป(Financial Services)   ธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงินทั่วไปที่เป็นระบบดอกเบี้ย ธุจกิจที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินที่มีรายได้หลักจากดอกเบี้ยเป็นต้น

7. ธุรกิจประกันภัยทั่วไป(Conventional Insurance)  ซึ่งเป็นธุรกิจที่อยู่พื้นฐานของความไม่แน่นอน(Gharar) และเกมแห่งโอกาส(Maisir)

8. ธุรกิจโรงแรมที่มีรายได้จากเครื่องดืมแอลกอฮอล หรือ คาสิโน (Hotels serving alcohol or operating casinos) โรงแรมส่วนใหญ่จะมีร้านอาหาร หรือสถานบันเทิงที่จำหน่ายสุรา เหล้า เบียร์ หรือไวน์ หรือ โรงแรมบางแห่งจะให้บริการคาสิโนด้วย  

9. ธุจกิจสื่อลามก หรือธุรกิจอนาจาร(Adult Entertainment / Pornography)  ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อลามก อนาจาร  หรือธุรกิจที่ผิดหลักศิลธรรมทางเพศหรือทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศ เช่น ธุรกิจหนังสือโป๊ หนังโป๊ ธุรกิจอาบอบนวด นวดพริตตี้ ธุรกิจสปาที่ไม่มีการแยกเพศในการให้บริการ เป็นต้น

10. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาวุธ(Weapons)  เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับการค้าอาวุธสงคราม ธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิตอาวุธสงคราม ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือสารเสพติด(Drugs) เช่นฝิ่น กัญชา มอร์ฟีน เป็นต้น

หากสถาบันการเงินอิสลาม ธนาคารอิสลาม หรือกองทุนอิสลาม ได้ตรวจสอบภายหลังว่ามีการผิดพลาดไปลงทุนหรือให้บริการในธุรกิจต้องห้ามไปแล้วนั้น กำไรที่ได้จากการอำนวยสินเชื่อ หรือการซื้อหุ้นของธุรกิจต้องห้าม จะต้องนำไปบริจาคเพื่อสาธารณะประโยชน์เท่านั้น ( เช่น สร้างถนน สร้างสุขา ไฟถนน สร้างสะพาน เป็นต้น) เพราะไม่สามารถที่จะนำมาเป็นรายได้ขององค์กรได้ เนื่องจากเป็นรายได้ที่ไม่ฮาลาลนั้นเอง

วัลลอฮุอะลัม

เรียบเรียงโดย Muhammad Azmii Mahamad
www.islamicfinancethai.com

มุสลิมไทยโพสต์

อัพเดทล่าสุด