ข้อห้ามในวันอีดทั้งสอง


31,358 ผู้ชม

ข้อห้ามในวันอีดทั้งสอง มีอะไรบ้าง...


วันอีด เป็นวันที่สำคัญทางศาสนาอิสลามซึ่งได้ถูกตราบัญญัติขึ้นในปีแรกแห่งฮิจญเราะฮ์ศักราช เป็นวันที่พระองค์อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงกำหนด

ให้บ่าวของพระองค์นั้นเฉลิมฉลองรื่นเริง เป็นวันแห่งการพบปะญาติพี่น้อง เป็นวันแห่งการขอมะอัฟ อภัยโทษซึ่งกันและกันระหว่างมุสลิม เป็นวันแห่งการประกาศความยิ่งใหญ่ของพระองค์อัลลอฮ์และขอบคุณพระองค์ท่านนบียังกำชับให้ทั้งมุสลิมีนและมุสลิมะฮ์ ออกมาให้ความสำคัญกับวันนี้อีกด้วย ท่านชัยค์ศอเลียห์ อัลเฟาซาน ได้กล่าวว่า :

“ที่ถูกเรียกว่าวันอีดนั้น เพราะมันจะวนเวียนกลับมาทุก ๆ ปี เพราะวันอีดนั้นจะวนเวียนกลับมาด้วยกับความดีใจ ความ ปลาบปลื้มใจ และอัลลอฮ์ทรงให้กลับมาในวันอีดก็คือความดีงามกับบ่าวที่พวกเขาปฏิบัติ เชื่อฟัง ด้วยการถิอศีลอดและประกอบพิธีฮัจญ์”

ข้อห้ามในวันอีดทั้งสอง

 3 ประเภทของวันอีด : วันอีดนั้นแบ่งออกเป็น 3 วันด้วยกัน ก็คือ :

1. วันอีดิลฟิฏร์ คือวันที่ 1 เดือนเชาวาล หรือที่รู้จักกันดีก็คือ  "วันออกบวช" เป็นวันแรกของการออก จากการถือศีลอด เป็นวันเฉลิมฉลองขอบคุณต่ออัลลอฮ์ที่พระองค์ทรงทำให้เรานั้นได้ถือศีลอดมาตลอดทั้งเดือน ในวันนี้ยังมีสิ่งที่เป็นจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนก็คือ "การจ่ายซะ กาตฟิฏเราะฮ์" บริจาคอาหารให้กับคนยากจนควบคู่ ไปกับการละหมาดอีดด้วย

2. วันอีดิลอัฎฮา คือวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะฮ์ ซึ่งเป็นวันที่ถัดมาจากวันอะรอฟะฮ์หนึ่งวัน และวัน อีดอัฎฮาเป็นวันที่อยู่ช่วง 10 วันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮ์

3. วันอีดประจำสัปดาห์  คือ วันศุกร์ วันศุกร์ เป็นวันอีดประจำสัปดาห์ของชาวมุสลิม ส่งเสริมให้ทำความสระอาด อาบน้ำชำระร่างกาย แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สระอาด พบปะกันระหว่างพี่น้องมุสลิม ซึ่งบรรดา มุสลิมจะมีการรวมตัวกันอย่างพร้อมเพรียง เพื่อทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ในการนั่งฟัง คุฏบะฮ์และละหมาดวันศุกร์

ข้อห้ามในวันอีดทั้งสอง

ข้อห้ามในวันอีดทั้งสอง

1. การเจาะจงละหมาดในค่ำคืนของวันอีด

มีรายงานอะบูอุมามะฮ์ จากท่านนะบีย์ ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า :

“บุคคลใดละหมาดในค่ำคืนของวันอีดทั้งสองโดยหวังการตอบแทนจากอัลลอฮ์ หัวใจ ของเขานั้นจะไม่ตายในวันที่หัวใจของคนอื่น ๆ ได้ตายหมด” 

(บันทึกโดยอิบนุมาญะฮ์ หมวดที่ว่าด้วยเรื่องการถือศีลอด : 1782 )

อิหม่ามนะวาวีย์ เราะฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า “ฮะดีษบทนี้เฎาะอีฟ” 

(อันนะวะวีย์ , อัลอัซการ ฮะดีษที่ : 453 หน้า : 167)

การห้ามในกรณีนี้ คือ การเจาะจงละหมาดยามค่ำคืนเฉพาะเพียงวันอีดวันเดียว โดยเชื่อว่าจะได้รับผลบุญมาก ส่วนผู้ที่ละหมาดยามค่ำคืนทุกคืนเป็นประจำก็ไม่มีข้อห้าม แต่อย่างใดที่จะละหมาดในค่ำคืนของวันอีดโดยเชื่อว่าผลบุญที่จะได้รับนั้นก็เหมือนค่ำคืน อื่น ๆ ที่ละหมาดเป็นประจำ

2. ห้ามถือศีลอดในวันอีด

ท่านเคาะลีฟะฮ์ อุมัร อิบนิ ค็อฏฏ็อบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวคุฏบะฮ์ในวันอีดว่า :

“...ความจริงแล้วสองวันนี้ ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้ามถือศีลอด วันแรกเป็นวันที่พวกท่านออกจากการถือศีลอด ส่วนอีกวันนึงคือวันที่พวก ท่านรับประทานเนื้อกุรบ่าน” 

(บันทึกโดยบุคอรีย์ หมวดที่ว่าด้วยเรื่องการถือศีลอด : 1990 / มุสลิม หมวดที่ว่าด้วยเรื่องการถือ ศีลอด : 1137)

อิหม่าม ฮาฟิซ อิบนุ ฮะญัรฺ เราะฮิมะฮุลลอฮ์กล่าวว่า :

“และในฮะดีษบทนี้นั้นได้ ห้ามการถือศีลอดในวันอีด ไม่ว่าจะเป็น การถือศีลอดนะซัร (บนบานไว้) หรือการถือศีล อดกัฟฟาเราะฮ ์(ชดใช้ในเดือนเราะมะฎอน อันเนื่องจากมีเพศสัมพันธ์ในตอนกลางวัน) หรือการถือศีลอดซุนนะฮ์ หรือการถือศีลอดชดใช้ ด้วยการเห็นพร้องต้องกันทั้งหมด” 

(อิบนุ ฮะญัร , อ้างแล้ว อธิบายฮะดีษที่ : 1990 เล่ม : 4 หน้า : 278)

อิหม่าม นะวะวีย์ ได้อธิบายว่า “บรรดาอุละมาอ์ได้มีมติเอกฉันท์ ว่าห้ามถือศีลอด ในวันอีดิลฟิฏร์และวันอีดิลอัฎฮาในทุก ๆ สภาพ ไม่ว่าจะเป็น การถือศีลอดนะซัร (บน บานไว้) หรือการถือศีลอดซุนนะฮ์ หรือการถือศีลอดกัฟฟาเราะฮ์ (ชดใช้ในเดือนเราะ มะฎอน อันเนื่องจากมีเพศสัมพันธ์ในตอนกลางวัน) ตลอดจนการถือศีลอดอื่น ๆ

นอกจากนี้ถึงแม้หากว่าเขาตั้งใจในการเจาะจงที่จะถือศีลอดนะซัรในสองวันนี้ก็ตาม อิหม่ามชาฟิอีย์และอุละมาอ์ส่วนมาก ได้กล่าวว่า :

ไม่ถือว่าการนะซัรของเขามีผลให้เขา จำเป็นต้องถือศีลอด และไม่จำเป็นต้องถือศีลอดชดเชยด้วย” 

(อันนะวะวีย์ , ชัรห์เศาะเฮียห์มุสลิม อธิบายฮะดีษที่ : 1137เล่ม : 8 หน้า 17)

มีรายงานจากท่านอะบีสะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า :

“ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ห้ามไม่ให้ถือศีลอดในวันอีดิลฟิฏร์และวันนะหัร (วันอีดิลอัฎฮา)” 

(บันทึกโดยบุคอรีย์ หมวดที่ว่าด้วยเรื่องการถือศีลอด : 1991 / มุสลิม หมวดที่ว่าด้วยเรื่องการถือ ศีลอด : 1138 / อะหมัด มุสนัดอะบีซะอีดอัลคุดรีย์ : 11503 / อิบนุมาญะฮ์ หมวดที่ว่าด้วยเรื่องการ ถือศีลอด : 1721)

มีรายงานจากท่านอะบูฮุร็อยเราะฮ์เราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า :

“แท้จริงท่านเราะซูลุลลอฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้ามจากการถือศีลอด 2 วัน คือ วันอีดิลฟิฏร์และวันอีดิลอัฎฮา” 

(บันทึกโดยมุสลิม หมวดที่ว่าด้วยเรื่องการถือศีลอด : 1138)

การถือศีลอดในวันอีดทั้งสองนั้น ฮะรอม ตามการเห็นพร้องต้องกันของบรรดา นักวิชาการ และใช้ไม่ได้ ไม่นับว่าเป็นการถือศีลอดตามบทบัญญัติ ถึงแม้จะเป็น การถือ ศีลอดชดใช้ ถือศีลอดบนบาน ถือศีลอดซุนนะฮ์หรืออื่นจากนี้ การถือศีลอดของเขาใช้ ไม่ได้ และไม่ได้รับการตอบแทนด้วย 

(อับดุลลอฮ์ อิบนิ อับดุรเราะห์มาน อัลบัสซาม , อ้างแล้ว อธิบายฮะดีษที่ : 571 เล่ม : 2 หน้า : 593)

เพราะเป็นวันเฉลิมฉลองของมุสลิมทุกคน เป็น วันขอบคุณ เป็นวันที่ให้ความยิ่งใหญ่ต่ออัลลอฮ์ ที่พระองค์ทรงให้เราได้ปฏิบัติอิบาดะฮ์ที่ ยิ่งใหญ่สองประการเสร็จสิ้น (ถือศีลอดและประกอบพิธีฮัจญ์) วันอีดทั้งสองจึงเป็นวัน แห่งการกิน การดื่ม

ข้อห้ามในวันอีดทั้งสอง

3. การเยื่ยมเยือนกุโบร์ญาติพี่น้องที่ล่วงลับ พร้อมกับอ่านอัลกุรอ่าน และพิธีกรรมอื่น ๆ

การเจาะจงเยื่ยมเยือนกุโบร์ญาติพี่น้องที่ล่วงลับนั้นในวันอีดนั้น เป็นการกระทำที่ไม่มีแบบฉบับจากสมัยท่านนบี อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ขัดกับเจตนารมณ์ในวันอีดอย่าง ชัดเจน เพราะวันอีดนั้นเป็นวันรื่นเริง

ส่วนการเยี่ยมเยือนกุโบร์นั้นเป็นการรำลึกถึงความตาย และโดยเฉพาะการกระทำของมุสลิมในบ้านเมืองเรา นั้นขัดต่อหลักคำสอนของอิสลาม มีการทำพิธีกรรมทางศาสนา อ่านซูเราะฮฺยาซีนในกุโบร์ เอาน้ำอบรดลงที่กุโบร์ เป็นต้น สิ่งดังกล่าวนี้นั้นไม่มีแบบคำสอนจากท่านนบี ซึ่งการเยี่ยมเยือนกุโบร์นั้น ศาสนาได้ส่งเสริมให้กระทำ เพื่อให้รำลึกถึงความตาย แต่ไม่ใช่เจาะจงในวันอีดหรือวันใดวันหนึ่งเป็นการเฉพาะ

 ชัยค์นาศีรุดดีน อัลบานีย์ เราะฮิมะฮุลลอฮ์กล่าวว่า :

“เราขอกล่าวว่า การอนุญาตให้คนเป็นเยี่ยมคนตาย ในวันอีดนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากกิจการที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ เพราะหมายถึง การจำกัดสิ่งที่ผู้บัญญัติศาสนาบัญญัติผู้ปรีชาญาน ได้กล่าวเอาไว้กว้าง ๆ ,ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวไว้ในหะดิษเศาะเฮียห์ว่า

“ฉันเคยห้ามพวกท่านจากการเยี่ยมกุบูร พึงทราบเถิดว่า พวกท่านจงเยี่ยมมันเถิด เพราะมันจะทำให้พวกท่านระลึกถึงวันอาคีเราะฮ์” แล้วคำว่า (พวกท่านจงเยี่ยมมันเถิด) เป็นคำสั่งทั่วไป ไม่ได้จำกัดเวลา หรือ สถานที่ เพราะการจำกัดความหมายตัวบทและการกล่าวไว้กว้าง ๆ นั้น ไม่ใช่เป็นส่วน หนึ่งของหน้าที่มนุษย์ แต่ความจริง มันเป็นหน้าที่ของพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล ผู้ซึ่งมอบภาระแก่เราะซูลผู้ทรงเกียรติ โดยตรัสแก่ท่านเราะซูลว่า

“เราได้ประทานอัลกุรอ่านให้แก่เจ้า เพื่อเจ้าจะได้อธิบายแก่มนุษย์ สิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่พวกเขา”  (ฟะตาวาอัลบานีย์หน้า : 61)

ข้อห้ามในวันอีดทั้งสอง

4. การจับมือสลามกันระหว่างมุสลิมีน-มุสลิมะฮ์

ในวันอีดนั้นสิ่งที่ต้องระวัง และเกิดขึ้นมากมายอีกประการหนึ่งก็คือ การปะปน ระหว่างชาย-หญิง และการจับมือให้สลามกัน

มีรายงานจาก มะอ์กิล อิบนิ ยะซาร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุจากท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แท้จริงท่านได้กล่าวว่า :

"การที่คนใดคนหนึ่งจากพวกท่านจะถูกเหล็กแหลมแทงเข้าไปในศรีษะนั้น ยังดีกว่า การที่จะไปสัมผัสผู้หญิงที่ไม่ได้รับอนุญาติให้สัมผัส" 

(บันทึกโดยอัฏฏ็อบรอนีย์ มัวอ์ญัมอัลกะบีร : 486 / อัลมุนซีรีย์ ระบุว่า บันทึกจากอัฏฏ็อบรอนีย์ และบัยฮากีย์ และผู้รายงานจากการบันทึกของอัฏฏ็อบรอนีย์นั้น เชื่อถือได้ ผู้รายงานถูกต้อง = ในอัตตัฆฆีบวัตตัรฮีบ : 657/22 / อัลบานีย์ ฆอยะตุลมะรอม : 196 อัลอะฮาดีษ อัศเศาะฮีฮะฮฺ : 226)

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การจับมือนั้น เป็นการทำซินาทางมือ ดังที่ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

"ส่วนแบ่งจากการผิดประเวณีถูกกำหนดให้แก่ลูกหลานอาดัม ซึ่งต้องเกิดขึ้นโดยมิ อาจเลี่ยงได้ ดังนั้นด้วยกับสองตาผิดประเวณี โดยการมอง สองหูผิดประเวณีโดย การฟัง ลิ้นผิดประเวณีโดยการพูด มือผิดประเวณีโดยการสัมผัส เท้าผิดประเวณี โดยการเก้าย่าง และหัวใจโดยการใฝ่ฝันและจิตนาการ ส่วนจะเกิดขึ้นหรือไม่อยู่ที่ อวัยวะเพศ"  (บันทึกโดยมุสลิม หมวดที่ว่าด้วยเรื่องการก าหนดสภาวะการณ์ : 2567 )

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า :

“...แท้จริงฉัน จะไม่จับมือ (สลาม) กับผู้หญิง...” 

(บันทึกโดยอิบนุมาญะฮ์ หมวดที่ว่าด้วยเรื่องการญิฮาด : 2874 / อะหมัด ฮะดีษอุมัยมะฮ์ บินติ รุก็อยเกาะฮ์ : 27546 , 27548 , 27549 , 27550)

มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า : ِ

“...ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า มือของท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะไม่สัมผัสกับมือของผู้หญิงคนใดเด็ดขาด นอกจากเป็นการที่พวกเธอให้สัตยาบัน ด้วยคำพูด” 

(บันทึกโดยมุสลิม หมวดที่ว่าด้วยเรื่องการก าหนดสภาวะการณ์ : 2567)

ข้อห้ามในวันอีดทั้งสอง

5. การแต่งกายด้วยความยะโส โอหัง โอ้อวด และยั่วยวน

มุสลิมเป็นจำนวนมากที่แต่งกายในวันอีด ด้วยเสื้อผ้าที่ใหม่ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดีงาม แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีหลายคนที่แต่งกายในวันอีดที่ผิดหลักศาสนา มุสลิมีนหลายคน ปล่อยชายผ้าโสร่งหรือโต๊บยาวหลากพื้น สิ่งนี้เป็นสิ่งที่อันตรายมากเพราะมีรายงานจาก

อับดุลลอฮ์ อิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา : เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะซัลลัม ได้กล่าวว่า :

“บุคคลใดปล่อยริมผ้านุ่งยาวลากพื้น อัลลอฮ์จะไม่ทรงมองดูเขาในวันกิยามะฮฺ” 

บันทึกโดยบุคอรีย์ หมวดที่ว่าด้วยเรื่องอาภรณ์ : 5783 , 5784 / มุสลิม หมวดที่ว่าด้วยเรื่อง อาภรณ์และเครื่องประดับ : 2085 / อิบนุมาญะฮ์ หมวดที่ว่าด้วยเครื่องนุ่งห่ม : 3569 / อะหมัด มุ สนัดอับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัร อิบนุ อัลค็อฏฏอบ : 5173 , 5248 มุสนัดอะบูฮุร็อยเราะฮ์ : 10541)

รายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอ ฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า : “ชายผ้าที่ยาวเลยตาตุ่ม คือสิ่งที่อยู่ในไฟนรก” 

(บันทึกโดยบุคอรีย์ หมวดที่ว่าด้วยเรื่องอาภรณ์ : 5787)

ส่วนบรรดามุสลิมะฮ์ นั้นต้องระวังเรื่องการโอ้อวดการแต่งกายหรือเครื่องประดับ และที่สำคัญอย่างยิ่งยวด คือ การแต่งกายรัดรูป ยั่วยวน เห็นเอาเราะฮ์สวมใส่ชุดที่มีสีสัน ดึงดูดสายตาของมุสลิมีน มีรายงานจากท่านอะบูฮุร็อยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุกล่าว ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า :

“คนสองกลุ่มด้วยกันที่เป็นชาวนรก ซึ่งฉันไม่เคยเห็นมาก่อน (ไม่มีในสมัยนบี) กลุ่ม หนึ่งมีแส้เหมือนหางวัว พวกเขาใช้มันตีผู้คน อีกกลุ่มหนึ่งคือบรรดาสุภาพสตรีที่สวม ใส่เสื้อผ้าแต่ก็เปลือยกายที่ยั่วยวน (ใส่เหมือนไม่ใส่) โดยหันเหออกจากแนวทางทำศรีษะของพวกเธอ สูงดังเช่นตระโหนกอูฐที่เอียง (ทำผมสูง) พวกนางเหล่านี้จะไม่ได้ เข้าสวรรค์ อีกทั้งไม่ได้พบกลิ่นของสวรรค์ แท้จริงกลิ่นของสวรรค์นั้นจะพบได้ด้วย ระยะการเดินทาง เท่านี้ เท่านี้” 

ข้อห้ามในวันอีดทั้งสอง

(บันทึกโดยบุคอรีย์ หมวดที่ว่าด้วยเรื่องอาภรณ์ : 5784 / มุสลิม หมวดที่ว่าด้วยเรื่องอาภรณ์และ เครื่องประดับ :  2128)

ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ์ เราะฮิมะฮุลลอฮ์ “ได้อธิบายความหมายที่ท่านนบี ได้กล่าวในหะดีษว่า

“บรรดาสุภาพสตรีที่สวมใส่เสื้อผ้าแต่ก็เปลือยกายที่ยั่วยวน ”ว่า นางนั้นสวมเสื้อผ้า แต่ความจริงแล้วนางเปลือกาย ดังเช่น สตรีที่สวมใส่เสื้อผ้าบาง ๆ ทำให้เห็นผิวหนังของนาง หรือเสื้อผ้าที่รัดรูป ซึ่งที่เปิดเผยสัดส่วนต่าง ๆ ของนาง ไม่ว่าจะ เป็นก้น หรือแขนของนาง หรือส่วนอื่น ๆ

และแท้จริงสิ่งที่จะเป็นเครื่องแต่งกายของสตรี นั้นต้องเป็นสิ่งที่ปกปิดตัวของนาง ไม่เปิดเผยร่างกายของนาง และขนาดอวัยวะของนาง เพราะมันเป็นเครื่องสวมใส่ที่หนาและกว้าง”

(อิบนุ ตัยมียะฮ์ , อ้างแล้ว เล่มที่ : 22 หน้า : 146)

และโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยรุ่นมุสลีมะฮ์ยุคปัจจุบันนี้นั้น มีแฟชั่นการแต่งกายที่ผิด หลักการหลายแบบด้วยกัน การนุ่งกางเกงยืนที่รัดรูปมาก ใส่เสื้อแขนสั้น ใส่เสื้อตัวเล็ก รัดรูป ใส่เสื้อบาง ๆ ใส่ฮิญาบเล็ก ๆ บาง ๆ หรือฮิญาบที่มีสีสันดึงดูดความสนใจจากเพศ ตรงข้าม สิ่งดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่อันตรายเป็นอย่างมาก

ที่มา:  วะเราะษะตุซซุนนะฮฺ

https://islamhouse.muslimthaipost.com

อัพเดทล่าสุด