ซุนนะฮ์ต่างๆ ในท่าละหมาด ที่หลายคนทำผิดพลาด!!


19,364 ผู้ชม

ซุนนะฮ์ต่างๆ ในละหมาด ที่เป็นอิริยาบถ (ท่าทาง) ที่หลายคนทำผิดพลาด!!


ซุนนะฮ์ต่างๆ ในละหมาด ที่เป็นอิริยาบถ (ท่าทาง)

1. การยกมือทั้งสองขึ้นในขณะตักบีรอตุ้ลเอี๊ยะห์รอม

2. ยกมือทั้งสองขณะรุกั๊วะอ์

3. ยกมือทั้งสองขณะเงยจากรุกั๊วะอ์

4. ยกมือทั้งสองขณะลุกขึ้นยืนในร็อกอะฮ์ที่สาม

5. ขณะยกมือนิ้วต้องชิดกัน

6. ขณะยกมือต้องให้ฝ่ามือตรงกับกิบละฮ์

7. ยกมือให้สูงระดับไหล่ หรือให้ปลายนิ้วอยู่ในระดับติ่งหู

8. การกอดอกมือขวาจะต้องทับมือซ้าย หรือใช้มือขวาจับที่ข้อมือซ้าย

9. สายตาต้องมองตรงที่สุญูด

10. ขณะยืนต้องให้เท้าแยกออกจากกันเล็กน้อย (ขาไม่ชิดกัน)

11. อ่านกุรอานอย่างพิถีพิถัน พร้อมคำนึงถึงความหมายตามไปด้วย

ซุนนะฮ์ในการรุกั๊วะอ์

1. ขณะก้ม ต้องใช้มือทั้งสองจับที่หัวเข่า พร้อมแผ่มือออก

2. ต้องให้หลังยึดตรง

3. ให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับหลัง ไม่เงยหัว หรือก้มหัวมุดลงต่ำ

4. แขนทั้งสองต้องยึดตรง โดยไม่ให้ลำแขนแนบกับตัว

ซุนนะฮ์ต่างๆ ในท่าละหมาด ที่หลายคนทำผิดพลาด!!

ซุนนะฮ์ในการสูญูด

1. แขนทั้งสองข้างต้องกางออกสำหรับเพศชาย สำหรับเพศหญิงให้แนบกับตัว

2. ขณะก้มสุญูด ต้องให้ท้องอยู่ระหว่างหน้าขาทั้ง 2 ข้าง

3. หน้าขาทั้งสองข้างต้องอยู่ตั้งฉากกับหน้าแข้งทั้งสองข้าง

4. หัวเข่าทั้งสองข้างต้องแยกออกจากกัน

5. ปลายเท้าทั้งสองข้างต้องตั้งตรงขณะสุญูด

6. ฝ่ามือทั้งสองข้างต้องแนบพื้น

7. ปลายเท้าสองข้างแตะอยู่กับพื้น

8. ฝ่ามือต้องแตะพื้นโดยวางอยู่ในระดับไหล่

9. มือต้องแผ่ออกขณะสุญูด

10. นิ้วทุกนิ้วต้องชิดกัน และยืดออก

11. มือทั้งสองต้องวางตรงมุ่งไปยังทิศกิบละฮ์

ซุนนะฮ์ต่างๆ ในท่าละหมาด ที่หลายคนทำผิดพลาด!!

ซุนนะฮ์การนั่งพักระหว่างสองสุญด

การนั่งระหว่างสองสุญูดนั้นมี 2 ลักษณะ ได้แก่

1. การนั่งโดยใช้ปลายเท้า 2 ข้างยันพื้น และก้นนั่งทับลงบนส้นเท้า

2. นั่งพับเพียบ หมายถึง การนั่งก้นแนบพื้น โดยให้เท้าซ้ายสอดไปทางใต้เท้าขวาพร้อมให้ปลายเท้าขวายันพื้น

ท่านนบี (ซ.ล.) จะนั่งระหว่างสองสุญูดนาน จนกระทั่ง บางท่านนึกว่าท่านนบี (ซ.ล.)  ลืม

การนั่งพัก

หมายถึง การนั่งพักเพียงเล็กน้อย หลังการสุญูดครั้งที่ 2 เพื่อจะขึ้นร็อกอะฮ์ที่ 2 หรือ ร็อกอะฮ์ที่ 3 จะขึ้นร็อกอะฮ์ ที่ 4 การนั่งเพียงเล็กน้อยนี้ไม่ต้องอ่านดุอาอฺใดๆ

ซุนนะฮ์ต่างๆ ในท่าละหมาด ที่หลายคนทำผิดพลาด!!

ซุนนะฮ์ต่างๆ ในท่าละหมาด ที่หลายคนทำผิดพลาด!!

ซุนนะฮ์ในการนั่งตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย

การนั่งตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย มีการนั่ง 3 ลักษณะ

1. นั่งโดยให้ปลายเท้ายันพื้น ให้เท้าซ้ายสอดใต้เท้าขวา และนั่งโดยให้ก้นแนบพื้น

2. นั่งเช่นเดียวกับลักษณะที่ 1 ไม่ต้องให้เท้าขวายันพื้น แต่ให้นั่งลักษณะพับเพียบ ให้เท้าขวาเอนไปทางแนวเดียวกับเท้าซ้าย

3. นั่งโดยเอาเท้าขวายันพื้น โดยให้เท้าซ้ายอยู่ระหว่างหน้าขากับหน้าแข้งด้านขวา

ชุนนะฮ์ต่างๆใน การนั่งตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย

1. วางมือทั้งสองข้างลงบนหน้าขา โดยให้มือขวาอยู่บนขาขวา มือซ้ายอยู่บนขาซ้าย แบมือและยืดนิ้วออก

2. ชี้นิ้ว โดยใช้นิ้วชี้ขณะกล่าว อัชฮะดุอัลลาอิลา ฮะอิลลัลลอฮ์ เรื่อยไปจนจบการตะชะฮ์ฮุด การชี้นิ้วให้กำมือขวา โดยใช้นิ้วโป้งแตะกับนิ้วกลางเป็นรูปวงกลม และให้สายตามองไปตรงจุดที่ชี้

3. หันหน้าไปทางด้านขวาและด้านซ้ายเมื่อกล่าวสลาม

ซุนนะฮ์ต่างๆ ในท่าละหมาด ที่หลายคนทำผิดพลาด!!

ซุนนะฮ์ต่างๆ ในท่าละหมาด ที่หลายคนทำผิดพลาด!!

ซุนนะฮ์ที่เป็นอิริยาบถนั้นมี 25 ครั้งในทุกๆ ร็อกอะฮ์ ของการละหมาด ดังนั้น เมื่อละหมาด 5 เวลา เขาก็จะได้ปฏิบัติสิ่งที่เป็นซุนนะฮ์มากถึง 425 ครั้ง และหากเขาได้ละหมาดซุนนะฮ์ 25 ร็อกอะฮ์ในหนึ่งวัน เขาก็จะได้ปฏิบัติซุนนะฮ์ที่เป็นอิริยาบถ 625 ครั้ง และทุกๆครั้งที่เขาทำการละหมาดซุนนะฮ์เพิ่ม ซุนนะฮ์ดังกล่าวก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ซุนนะฮ์ที่เป็นอิริยาบถที่ทำในละหมาดเพียง 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง ได้แก่

1. ยกมือตักบีร่อตุ้ลเอี้ยะห์รอม (มีครั้งเดียวในละหมาด)

2. ยกมือตักบีร เมื่อขึ้นร็อกอะฮ์ที่ 3 (มีครั้งเดียวในละหมาด)

3. การชี้นิ้วในการนั่งตะชะฮ์ฮุด (มี 1 และ 2 ครั้งในละหมาด)

4. การหันหน้าไปทางด้านขวา และด้านซ้ายขณะสลาม (มีครั้งเดียวในละหมาด)

5. การนั่งอิสติรอฮะฮ์ (มี 2 ครั้ง ในละหมาด 4 ร็อกอะฮ์ มีครั้งเดียวในละหมาด 3 และ 2 ร็อกอะฮ์)

6. การนั่งพับเพียบในตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย คือ การนั่งโดยใช้เท้าขวายันพื้น สอดขาซ้ายใต้ขาขวา และนั่งให้ก้นแนบกับพื้น

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการปฏิบัติซุนนะฮ์ในละหมาดที่กระทำเพียงหนึ่งครั้งหรือสองครั้งเท่านั้นในละหมาด ซึ่งเมื่อรวมซุนนะฮ์ที่มีครั้งเดียวหรือ 2 ครั้งในละหมาด ก็จะได้จำนวนดังต่อไปนี้

มัฆริบ 7 ครั้ง - ซุบฮิ 5 ครั้ง – อิชาอ์ 8 ครั้ง ดุฮ์ริ 8 ครั้ง – อัสริ 8 ครั้ง

(ถ้าทำละหมาด 5 เวลา จะทำซุนนะฮ์ได้ถึง 34 ครั้ง)

ประโยชน์ที่ได้รับ

ท่านอิมามอิบนิลก็อยยิม ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ได้กล่าวว่า : บ่าวของอัลลอฮ์นั้นจะอยู่ต่อหน้าพระองค์ใน 2 สภาพได้แก่ :

1. ขณะละหมาด

2. เมื่อพบกับอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ในวันกิยามะฮ์

สำหรับผู้ที่ดำรงละหมาดอยู่เป็นประจำก็จะเป็นเรื่องง่ายดายสำหรับเขาในการที่จะพบกับอัลลอฮ์ (ซ.บ.)ในวันกิยามะฮ์ และแน่นอน เป็นไปไม่ได้เลยที่บ่าวจะได้พบอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ในสภาพที่ไม่ได้ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด

จากหนังสือ มากกว่า 1,000 ซุนนะฮ์ที่มุสลิมปฏิบัติได้ในหนึ่งวัน

ภาพจาก:  salaah.learnislam.org.uk

https://islamhouse.muslimthaipost.com/

อัพเดทล่าสุด