ขั้นตอน การละหมาดเข้าใจง่ายๆ สำหรับผู้หญิง


331,181 ผู้ชม

การละหมาด หรือ สวด (นมาซ หรือ นมัสการ) การละหมาดหรือการนมัสการพระเจ้าคือการแสดงความเคารพต่อพระเจ้า เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้า เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้า การสำรวมจิตระลึกถึงพระเจ้า


การละหมาด หรือ สวด (นมาซ หรือ นมัสการ) การละหมาดหรือการนมัสการพระเจ้าคือการแสดงความเคารพต่อพระเจ้า เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้า เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความภักดีต่อพระเจ้า การสำรวมจิตระลึกถึงพระเจ้า การละหมาดเป็นการขัดเกลาจิตให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างพลังให้แข้มแข็ง การสำรวมจิตหรือการทำสมาธิเพื่อมิให้จิตใจวอกแวกไปในเรื่องต่างๆ การละหมาดเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด ทั้งยังฝึกตนเองให้ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ให้อยู่ในระเบียบวินัย รักษาความสะอาด และยังเป็นการบริหารร่างกายอย่างดียิ่ง หากเป็นการละหมาดรวมยังเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีพร้อมเพรียง ความเสมอภาค และภราดรภาพอีกด้วยการทำละหมาด เป็นกิจที่ต้องทำเป็นประจำในหลายวาระ คือ เวลาย่ำรุ่ง : ซุบหฺ  2 ร็อกอะ, เวลากลางวัน : ดุฮฺริอฺ 4 ร็อกอะ , เวลาเย็น : อะซัร  4 ร็อกอะ, เวลาพลบค่ำ: มัฆริบ  3 ร็อกอะ และเวลากลางคืน : อิชาอ์  4 ร็อกอะ  

ขั้นตอน การละหมาดเข้าใจง่ายๆ สำหรับผู้หญิง

วิธีทำละหมาด  ให้เริ่มด้วยการชำระร่างกายให้สะอาด และอาบน้ำละหมาดตามแบบดังนี้

1.ตั้งเจตนาว่าจะอาบน้ำละหมาด

2.ล้างมือทั้งสองข้างจนถึงข้อมือ

3.    บ้วนปากและล้างรูจมูก 3 ครั้งให้สะอาด

4.    ล้างหน้า 3 ครั้ง ให้ทั่วบริเวณหน้าให้สะอาด

5.    ล้างแขนทั้งสองข้าง 3 ครั้ง ตั้งแต่ปลายนิ้วมือถึงข้อศอกโดยล้างข้างขวาก่อนข้างซ้าย

6.    เอามือขวาชุบน้ำลูบศรีษะ 3 ครั้ง ตั้งแต่ด้านหน้าถึงด้านหลัง

7.    เอามือทั้งสองชุบน้ำเช็ดใบหูทั้งสองข้าง 3 ครั้ง ให้เปียกทั่วทั้งภายนอกและภายในโดยเช็ดพร้อมกันทั้งสองข้าง

8.    ล้างเท้าทั้ง 2 ข้าง 3 ครั้ง ให้ทั่วจากปลายเท้าถึงเลยตาตุ่ม โดยล้างเท้าขวาก่อนเท้าซ้าย
   
เมื่อเสร็จจากการอาบน้ำละหมาดก็ให้สวมเสื้อผ้าที่สะอาด และปิดอวัยวะสงวนโดย
   
             -    ผู้ชายต้องปิดระหว่างสะดือกับหัวเข่า
  
             -    ผู้หญิงปิดทั้งร่าง ยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ

วิธีละหมาด ต้องหันหน้าไปทาง "กิบละฮ์" (กะอ์บะฮ์ บัยตุบเบาะห์) ด้วยจิตใจอันสงบ มีสมาธิและมุ่งต่อพระเจ้า แล้วปฏิบัติ ดังนี้
   
1.    ตั้งเจตนาแน่วแน่ในการปฏิบัติ

2.    ยกมือจดระดับบ่า พร้อมทั้งกล่าวตักบีร กล่าวอัลลอฮูกักบัร ซึ่งแปลว่า อัลลอฮ์ ทรงยิ่งใหญ่ แล้วยกมือลงมากอดอก

3.    ยืนตรงในท่าเดิม พร้อมกับอ่าน "บางบทจากคัมภีร์อัลกุรอาน" หรือบทฟาตีฮะห์ หรือบทอื่นๆ ตามต้องการ

4.    ก้มลง ใช้มือทั้งสองจับเข่าไว้ ศีรษะทำแนวตรงกับสันหลังไม่ห้อยลงและไม่เงยขึ้นพร้อมทั้งอ่านว่า "ซุบฮานะริบบิยันอะซีวะบิฮัมดิฮฺ"  3 ครั้งเป็นอย่างน้อย

5.    เงยขึ้นมาสู่ที่ยืนตรง พร้อมทั้งกล่าวว่า "สมิอัลลฮุลิมันฮะมิดะฮ์ รอบบะนาละกัลฮั้มดุ"

6.    ก้มลงกราบโดยให้หน้าผากและจมูกจดพื้น มือวางแนบพื้นในระดับเข่า หัวเข่าทั้งสองวางบนพื้นและปลายนิ้วสัมผัสพื้นพร้อมกับอ่านว่า "ซุบฮานะรอบบิยัลอะฮฺลาวะบิฮัมดิฮี" 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย

7.    ลุกขึ้นมานั่งพักพร้อมกับอ่านบทขอพร

8.    ก้มลงกราบครั้งที่สองแบบเดียวกับครั้งแรก การกระทำตามลำดับดังกล่าวนั้นถือว่า "หนึ่งร็อกอะฮ์"

9.    จากนั้นขึ้นมายืนตรง แล้วย้อนกลับไปเริ่มต้นปฏิบัติตามลำดับ ตามที่กล่าวไว้แล้ว และในร็อกอะฮ์ที่สองให้ทำอย่างนี้

10.  เมื่อขึ้นจากการกราบครั้งที่สอง พร้อมกับอ่านตะฮียะฮ์ คือ "อัตตะฮียาตุลมูบารอกาตุสซอลาตุตตอยยิปิตุลิลลาฮ์ อัสลามุอาลัยกะอัยยุฮันนะปิยุวะ เราหมะตุลลอฮิวะบะรอกาตุฮอัสสะลามุอาลัยนาวะอะลาอิบาติซซอลิฮีนอัซฮะดุอัลา
   ฮะอิลลัลดอฮุวะอัซฮะดุอันนะมุฮัมมะดัรรอซูลุลลอฮิ อัลลอฮ์ฮุมมะซอลลิอะลามุฮำมัดอะลาอะลีมุฮัมมัด"
   
             หากละหมาดนั้นมีเพียงสองร็อกอะฮ์ ก็ไม่ต้องขึ้นให้กระทำร็อกอะฮ์ต่อไป แต่ถ้าเป็นละหมาดที่มีร็อกอะฮ์ที่มี 3-4 ก็ให้ขึ้นกระทำตามลำดับดังกล่าวจนครบจำนวนโดย
   
             -    ถ้าเป็นละหมาด 3 ร็อกอะฮ์ ถึงการกราบครั้งที่ 2 ของร็อกอะฮ์ที่ 3 ลุกมาอ่านตะฮียะฮ์
  
             -    ถ้าเป็นละหมาด 4 ร็อกอะฮ์ ก็ลุกจากการกราบครั้งที่ 2 ของร็อกอะฮ์ ขึ้นมายืนตรงทำต่อในร็อกอะฮ์ที่ 4 ตามลำดับจนถึงการนั่งอ่านตะฮียะฮ์สุดท้าย

  11. ให้สลาม คือ อ่านว่า "อัสลามุอะลัยกุม วะเราะห์มะตุลลอฮ์" ทำพร้อมกับเหลียวไปทางขวาและว่าอีกครั้งพร้อมกับเหลียวไปทางซ้าย จากนั้นก็ยกมือขึ้นลูบหน้า เป็นอันเสร็จพิธี อนึ่งก่อนพิธีละหมาดจะเริ่มขึ้นจะมีผู้บอกโดยใช้วิธีตะโกนจากหอสูง เมื่อทุกคนมาประชุมพร้อมกันแล้วหัวหน้าในพิธีการนั้นก็จะเป็นผู้นำ วันสวดมนต์ใหญ่ คือ วันศุกร์

การละหมาดสำหรับผู้หญิง เงื่อนไขในการละหมาดของสตรี สำหรับสตรีนั้นมีข้อตัดสินต่างๆ ที่เกี่ยวกับการละหมาด แยกต่างหากจากผู้ชาย ซึ่งมีดังนี้


1.ไม่มีการอะซาน  และอิกอมะฮ์สำหรับสตรี  ทั้งนี้เนื่องจากว่าการอะซานนั้นถูกบัญญัติให้มีการใช้เสียงดัง  และสตรีนั้นไม่เป็นที่อนุญาติ สำหรับนางในการใช้เสียงดัง  และไม่เป็นที่ถูกต้องในการที่นางจะทำการอะซานและอิกอมะฮ์  ได้กล่าวไว้ในอัลมุฆฺนี เล่มที่ 2  หน้าที่ 68  ว่า.... เราไม่รู้ว่ามีความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวแต่ประการใด

2. ทุกส่วนของสตรีนั่นเป็นเอาเราะฮ์ (สิ่งพึงสงวน)  นอกจากใบหน้าของนาง  และในเรื่องของฝ่ามือ  ส่วนฝ่าเท้าทั้งสองนั้นมีความเห็นที่แตกต่างกันไประหว่างนักวิชาการ  และทั้งหมดนั้นคนที่ไม่ได้เป็นมะฮฺร็อมจะไม่ได้เห็นมัน   หากว่ามีคนที่ไม่ได้เป็นมะฮฺร็อมของนางเห็น ก็จำเป็นที่จะต้องปกปิดเหมือนกับที่จะต้องปกปิดมันนอกละหมาด โดยไม่ให้พวกผู้ชายได้เห็น ดังนั้นในการละหมาด นางจะต้องปกปิดศรีษะ ต้นคอของนางและจะต้องปกปิดส่วนอื่นๆ  ของร่างกาย จนกระทั่งหลังเท้าทั้งสองข้างของนาง

ไชยคุลอิสลาม  อิบนุ ไตยมียะฮ์ได้กล่าวไว้ในมัจมั๊วอฺ  อุลฟา เล่มที่ 22 หน้าที่ 113-114 ว่า

           “แล้วผู้หญิงนั้นหากนางได้ละหมาดคนเดียวนางนั้นก็ถูกสั่งให้มีการปกปิด และในเวลานอกละหมาดอนุญาติให้นางเปิดศีรษะของนางได้ในบ้านของนาง การสวมใส่เสื้อผ้าในละหมาดนั้นเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิ์แก่คนหนึ่งคนใดในการที่จะเวียนรอบบัยตุลลอฮ์ โดยเปล่าเปลือย ถึงแม้ว่าเขาจะกระทำเพียงคนเดียวก็ตาม....ไปจนกระทั่งท่านได้กล่าว อาเราะฮ์ในการละหมาดนั้นไม่ได้มีความผูกพันกับเอาเราะฮ์ของการมองจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม”

3. ในอัลมุฆนี เล่มที่ 2 หน้าที่ 258  กล่าวไว้ว่า “ สตรีนั้นจะห่อตัวในการรูกั๊วอฺ  แทนการกางออก  จะนั่งพับเพียบแทนการตะวัรรุ๊ก  และอิฟติรอซ  เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ปกปิดให้นางได้ดีที่สุด

 อิมามซาฟีอี รอฮิมาฮุลลอฮฺ  ได้กล่าวไว้ในอัลมุ๊คตะศ็อรว่า

          “ไม่มีความแตกต่างใดๆระหว่างพวกผู้ชายกับพวกผู้หญิงในการงานของการละหมาด เว้นแต่ว่าผู้หญิงนั้นให้นางห่อตัวหรือเอาท้องของนางไปติดกับสองต้นขาในการสุญูดเพื่อให้ปกปิดมากที่สุด และชอบให้นางกระทำอย่างนั้นในการรุกั๊วอฺ  และในละหมาดทั้งหมด”

4. การละหมาดของพวกสตรีรวมกัน  โดยมีคนหนึ่งจากพวกนางเป็นอิหม่าม ในเรื่องนี้นั้นมีความเห็นที่แตกต่างกันไปในระหว่างบรรดาผู้รู้มีทั้งห้ามและอนุญาติให้  และส่วนมากนั้นเห็นว่าไม่มีข้อห้ามใดๆในการกระทำดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากท่านนะบี  ได้ใช้ให้อุมมุวะเราะเกาะฮ์ ให้นำครอบครัวของนางละหมาด (อบูดาวุดรายงาน  อิบนุคุไซมะฮฺบอกว่าเป็นหะดิษที่ซอเหี้ยะหฺ)

และบางท่านเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่ชอบ (มิใช่สุนัต)  บางท่านเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่น่าละทิ้ง (มักรูฮฺ)  และบางท่านเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ใช้ได้ในละหมาดที่เป็นสุนัต  และเป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ในการละหมาดฟัรฎู และคิดว่าทัศนะที่หนักแน่นที่สุดคือเป็นที่ชอบให้กระทำ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้นในปัญหานี้  ขอให้ไปดูในอัลมุฆฺนี เล่มที่ 2 หน้า 202  และอัลมัจมั๊วอฺ ของอิมามนะวะวียฺ เล่มที่ 4 หน้าที่ 84-85

และสตรีจะอ่านดังได้เมื่อพวกผู้ชายที่ไม่ได้เป็นมะฮฺร็อมของนางไม่ได้ยิน

5. อนุญาติให้พวกสตรีออกนอกบ้าน เพื่อไปละหมาดในมัสญิด  และการละหมาดในบ้านของนางนั้นดีที่สุด

อัพเดทล่าสุด