สอดแนมเรื่องของคนอื่นในอิสลาม ว่าอย่างไร?


2,394 ผู้ชม

ฉันทำงานอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่ง แล้วผู้จัดการขอให้ฉันเล่าเรื่องต่าง ๆ ที่บรรดาพนักงานพูดถึงเขาเป็นการส่วนตัว ทั้ง ๆ ที่เรื่องบางเรื่องที่พนักงานพูดนั้นเป็นเรื่องจริง....


สอดแนมเรื่องของคนอื่นในอิสลาม ว่าอย่างไร?

ไม่อนุญาตให้สอดแนมเรื่องของคนอื่น

คำถาม: ฉันทำงานอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่ง แล้วผู้จัดการขอให้ฉันเล่าเรื่องต่าง ๆ ที่บรรดาพนักงานพูดถึงเขาเป็นการส่วนตัว ทั้ง ๆ ที่เรื่องบางเรื่องที่พนักงานพูดนั้นเป็นเรื่องจริง ฉะนั้นแล้วอะไรคือหุก่ม ของค่าตอบแทนที่ฉันได้รับจากการสอดแนมนี้ เป็นที่หะล้าลหรือหะรอม ?

ไม่อนุญาตให้คุณทำงานที่หะรอมนี้ เพราะมันเข้าข่ายกรณี "อัน-นะมีมะฮฺ" (การยุแหย่ให้เกิดการทะเลาะกัน) และ "การสอดแนม" และค่าตอบแทนจากสิ่งดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่หะรอม
และพึงทราบเถิดว่า "อัน-นะมีมะฮฺ" นั้นเป็นบาปใหญ่จากบรรดาบาปใหญ่ต่าง ๆ นั่นคือการเอาคำพูดของบางคนไปเล่าให้อีกคนฟังเพื่อให้เกิดความเสียหายระหว่างพวกเขา

และนี่คือนิยามที่เป็นที่รู้จักของคำว่า "อัน-นะมีมะฮฺ" และคือนิยามที่ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ได้ระบุไว้ในหนังสือ "อัซ-ซะวาญิรฺ อัน อิกติรอฟ อัล-กะบาอิรฺ" และหลังจากนั้นท่านก็กล่าวอีกว่า: "และในหนังสือ "อัล-อิหฺยาอ์" กล่าวว่า "และอัน-นะมีมะฮฺไม่ได้เจาะจงเฉพาะสิ่งดังกล่าวเท่านั้น แต่มันรวมถึงการเปิดเผยในสิ่งที่เขารังเกียจให้เปิดเผย ไม่ว่าบุคคลที่รังเกียจนั้นจะเป็นผู้ที่ถูกเล่าถึงหรือผู้ที่ถูกเล่าหรือบุคคลที่สาม และไม่ว่าการเปิดเผยนั้นจะเป็นคำพูด ข้อความเขียน หรือแม้แต่รหัสหรือสัญลักษณ์ก็ตาม และไม่ว่าสิ่งที่นำมาเล่าหรือเปิดเผยนั้นจะเป็นการกระทำ คำพูด ข้อละอาย และธาตุแท้ของอัน-นะมีมะฮฺคือการแพร่งพรายความลับ และการเปิดโปงสิ่งที่เขารังเกียจให้เปิดเผย

ฉะนั้นแล้วจำเป็นที่จักต้องเงียบหรือหยุดจากการเล่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้เห็นจากพฤติกรรมของมนุษย์ นอกจากเป็นการเล่าที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่มุสลิมหรือเป็นการปัดป้องโทษ เช่นหากเขาเห็นคนหนึ่งเอาทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยทุจริต เขาก็จงเป็นพยาน ซึ่งแตกต่างกับกรณีที่เขาเห็นคน ๆ หนึ่งเก็บหรือซ่อนทรัพย์สิน แล้วเขาก็นำเรื่องดังกล่าวไปบอกคนอื่น เช่นนี้มันก็คือ "อัน-นะมีมะฮฺ" และเป็นการแพร่งพรายความลับ ส่วนหากการแพร่งพรายเป็นสิ่งที่ลดเกียรติหรือสร้างความอับอายแก่ผู้ถูกเปิดโปง เช่นนี้ถือเป็นอัล-ฆีบะฮฺ(นินทา)และอัน-นะมีมะฮฺด้วย" [บาปใหญ่ลำดับที่ 252, อัน-นะมีมะฮฺ]

และท่านได้อ้างคำพูดของอัล-หาฟิซ อัล-มุนซิรีย์ว่า: "ประชาชาติเห็นพ้องกันว่า อัน-นะมีมะฮฺเป็นที่ต้องห้าม และมันคือหนึ่งในบรรดาความผิดที่ใหญ่ ณ พระองค์อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล"
และด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ประจักษ์ว่า การที่คุณเอาคำพูดของเพื่อนร่วมงานไปเล่าให้ผู้จัดการฟังถือเป็นการแพร่งพรายความลับ เป็นความพยายามที่ก่อให้เกิดความเสียหาย และตกอยู่ในบาปใหญ่ อีกทั้งการสอดแนมก็เป็นที่ต้องห้าม.
ได้มีตัวบทหลักฐานตำหนิ อัน-นะมีมะฮฺ การสอดแนม และการสืบค้นความลับของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นที่เพียงพอแล้วที่จะเป็นการสำทับมุสลิมมิให้ประกอบกรรมชั่วที่หะรอมนี้.

1- ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:

ความว่า: ผู้ที่ทำการอันนะมีมะฮฺ จะไม่ได้เข้าสวนสวรรค์ และในบางรายงานกล่าวว่า "ก็อตตาต" [บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์, เลขที่: 6056 และมุสลิม, เลขที่: 105]

ก็อตตาต คือ นัมนาม (ผู้ที่ทำการยุแหย่ให้เกิดการทะเลาะกัน) และมีบางทัศนะกล่าวว่า นัมมาม คือผู้ที่อยู่รวมกันหลายคนพูดคุยกันแล้วเขาก็ทำการยุแหย่เพื่อให้ทะเลาะกัน

สอดแนมเรื่องของคนอื่นในอิสลาม ว่าอย่างไร?

2- ในหนังสือ "อัศ-เศาะฮีหัยนฺ" ของอัล-บุคอรีย์และมุสลิม จากท่านอิบนุ อับบาส ได้เล่าว่า:

ความว่า: ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เดินออกมาจากกำแพงมะดีนะฮฺแห่งหนึ่ง แล้วท่านก็ได้ยินเสียงของคนสองคนกำลังถูกลงโทษอยู่ในสุสาน แล้วท่านก็กล่าวว่า

“ทั้งสองกำลังถูกลงโทษ และทั้งสองไม่ได้ถูกลงโทษเพราะเรื่องที่ใหญ่โต(ในสายตาของมนุษย์)แต่แท้จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่ใหญ่โต(ในข้อตัดสินของอัลลอฮฺ) คนหนึ่งนั้นไม่ปกปิด(หรือไม่ทำให้เสร็จ)ในการปัสสาวะของเขา ส่วนอีกคนนั้น เขาเที่ยวเดินยุแหย่ตะแคงรั่ว” [บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์, เลขที่: 216 และมุสลิม, เลขที่: 292]

3- จากหนังสือ "อัศ-เศาะฮีหัยนฺ" เช่นเดียวกัน จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺได้เล่าจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งท่านได้กล่าวว่า:

ความว่า: “พวกท่านจงระวังจากคาดเดา เพราะแท้จริงการคาดเดานั้นเป็นคำพูดที่โกหกที่สุด ท่านจงอย่าฟังเรื่องเล่า (นินทาว่าร้าย) อย่าสอดแนม อย่าอิจฉา อย่าหนีหน้าซึ่งกัน อย่าโกรธเคือง และจงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺที่เป็นพี่น้องกัน”

[บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์, เลขที่: 5144, และมุสลิม, เลขที่: 2563]

4- จาการบันทึกของอิมามอัล-บุคอรีย์ (เลขที่ 7042) จากท่านอิบนุ อับบาสได้เล่าจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งท่านได้กล่าวว่า:

ความว่า: “ใครก็ตามที่อ้างว่าตัวได้ฝัน ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ฝัน เขาจะถูกบังคับให้นั่งระหว่างเมล็ดข้าวบาร์เล่ย์สองเมล็ด และเขาไม่สามารถที่จะทำได้โดยเด็ดขาด และใครก็ตามที่ฟังคำพูดของชนกลุ่มหนึ่ง ทั้งๆ ที่พวกเขารังเกียจหรือต่างเดินหนีจากเขา(ไม่ปรารถนาให้เขาได้ฟังด้วย) ในวันกิยะมะฮฺเปลวไฟจะถูกเทเข้าที่หูของเขา และใครที่ปั้นรูป เขาจะถูกลงโทษและถูกบังคับให้เป่าวิญญาณในรูปนั้น และเขาก็ไม่สามารถเป่าวิญญาณนั้นได้”

ที่มา : https://www.islamqa.com/ar/ref/26964

อัพเดทล่าสุด