ประมูลสินค้า อิสลามอนุมัติหรือไม่?


3,999 ผู้ชม

อยากรู้ว่า ประมูลสินค้า อิสลามอนุมัติหรือไม่?


อยากรู้ว่า ประมูลสินค้า อิสลามอนุมัติหรือไม่?

ตอบโดย: อาลี เสือสมิง

คำว่า “ประมูล” เป็นคำกริยา หมายถึง แข่งขันเสนอราคาหรือสิ่งอื่นเพิ่มเติมสู้กันในการซื้อหรือการขาย (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 509)

ประมูลสินค้า อิสลามอนุมัติหรือไม่?

ในภาษาอาหรับ เรียกว่า อัล-มุซายะดะฮฺ ฟิล บัยอฺ (اَلْمُزَايَدَةُفِى الْبَيْعِ)

ซึ่งนักวิชาการระบุว่า การประมูลในอิสลามเป็นสิ่งที่อนุญาต (جَائِزَةٌ)

ทั้งนี้เพราะการทำข้อตกลงในการซื้อขายยังไม่แน่นอน กล่าวคือ ราคาที่ฝ่ายผู้ซื้อเสนอยังไม่นิ่ง ผู้ขายก็ยังไม่ตกลงในราคาที่ถูกเสนอมา

รูปของการประมูลนี้จึงแตกต่างจากการซื้อขายแบบ อัล-บัยอฺ อะลัลบัยอฺ (اَلْبَيْعُ عَلَى الْبَيْعِ) ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามเพราะการซื้อขายแบบ อัล-บัยอฺ อะลัลบัยอฺ เป็นการทำข้อตกลงที่เสร็จสิ้นสมบุรณ์แล้วระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย แต่มีเงื่อนไขว่าผู้ซื้อและผู้ขายมีสิทธิในการตัดสินใจในการยกเลิกการทำข้อตกลงนั้นได้เมื่อมีผู้เสนอราคาใหม่ที่น้อยหรือมากกว่า

ส่วนการประมูลมิใช่เช่นนั้น เพราะการเสนอราคายังไม่เสร็จสิ้นและการทำข้อตกลงในการซื้อขายก็ยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าการแข่งขันเสนอราคานั้นจะเป็นที่พอใจของสถานที่ประมูลและยุติลงที่ราคาซึ่งเหมาะสมที่สุด

หลักฐานการที่ยืนยันว่า การประมูลสินค้าเป็นสิ่งอนุมัติตามศาสนบัญญัติ คือ มีรายงานว่ารสูล (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้เคยเสนอสินค้าบางอย่างและท่านก็กล่าวว่า “ผู้ใดจะเพิ่มอีก (مَنْ يَزِيْدُ) (ฟิกฮุสสุนนะฮฺ; อัส-สัยยิด สาบิก เล่มที่ 3 หน้า 242 สำนักพิมพ์ ดารุส-รอยย็าน ลิตตุรอซฺ)

อัพเดทล่าสุด