มะฮัร 125 คือ? มะฮัรกับสินสอด งานแต่งอิสลาม ใส่ซอง : islamhouses


67,322 ผู้ชม

ศาสนาอิสลาม ให้ความสำคัญกับเรื่องสินสอดทองหมั้น ที่ฝ่ายชายต้องมอบ ให้กับฝ่ายหญิงเพื่อเป็นของขวัญวันแต่งงานอย่างมากทีเดียว...


มะฮัร 125 คือ? มะฮัรกับสินสอด งานแต่งอิสลาม ใส่ซอง

มะฮัรกับสินสอด  มอบสินสอดตามประเพณี

ศาสนาอิสลาม ให้ความสำคัญกับเรื่องสินสอดทองหมั้น ที่ฝ่ายชายต้องมอบ ให้กับฝ่ายหญิงเพื่อเป็นของขวัญวันแต่งงานอย่างมากทีเดียว ถ้าฝ่าย ชายละเลยในเรื่องของสินสอด การแต่งงานก็ถือเป็นอันต้องโมฆะไป ซึ่งตาม หลักแล้ว มูลค่าของสินสอดที่ว่า จะเป็นเรื่องที่ตกลงกัน ระหว่างผู้ปกครอง ของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในรูปของเงินทอง เพชรนิลจินดาเสมอไป อาจแทนด้วยสิ่งมีค่าที่เป็นนามธรรม เช่น การสอนอ่าน พระคัมภีร์อัลกุรอ่านอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น

แต่ทั้งนี้ มะฮัรกับสินสอด  ที่ฝ่ายชาย นำมามอบในพิธี จะถือเป็นสมบัติของฝ่ายหญิง ในทันที เมื่อทำการมอบให้แล้ว การมอบสินสอดของศาสนาอิสลาม ไม่เหมือน กับประเพณี ของบางศาสนา ที่จะต้องให้ผู้ปกครองของฝ่ายหญิง เป็นผู้มอบสินสอด ให้กับฝ่าย ชาย เพื่อมาแต่งงานกับลูกสาวของตน ซึ่งค่านิยมเช่นนี้ ไม่มีให้เห็นใน ศาสนา อิสลาม และซ้ำยังถูกว่า เป็นการไม่ให้เกียรติ กับสตรีเพศ อีกด้วย

มะฮัร 125 คือ? มะฮัรกับสินสอด งานแต่งอิสลาม ใส่ซอง

มะฮัรกับสินสอด คืออะไร

อัลกุรอาน ความว่า:  “พวกเจ้าจงมอบปัจจัยทานเป็นของขวัญแก่เหล่าสตรีเถิด” (อันนิสาอฺ : 4)

อัลหะดีษ ความว่า: “นะบีมูฮัมมัดได้กล่าวแก่ชายคนหนึ่งที่ต้องการแต่งงานกับสตรีนางหนึ่งว่า จงหาค่ามะฮัรถึงแม้จะเป็นแหวนเหล็กเพียงวงหนึ่งก็ตาม แต่ชายคนนั้นไม่สามารถหาได้เช่นเดียวกัน ท่านนบี จึงแต่งงานด้วยการให้ชายคนนั้นสอนบางซูเราะฮ์ในอัลกุรอานให่แก่สตรีที่จะแต่งงานด้วย” (รายงานโดยอัลบุคอรีย์/5135)

นิยาม มะฮัรกับสินสอด  

"สินสอด" หมายถึง ทรัพย์น้ำใจที่ทางฝ่ายสามีจะมอบให้แก่บิดามารดาของฝ่ายหญิงในพิธีสมรส ในฐานะที่ทั้งยอมยกลูกสาวให้ตน"

ส่วน "มะฮัร" หมายถึง "ทรัพย์ที่ทางสามีจะมอบแก่ภารยาของตนในพิธีสมรส ไม่ใช่บิดามารดาของเธอ" แต่เมื่อเธอได้รับมันแล้ว เธอก็สามารถที่จะมอบทรัพย์บางส่วนแก่ใครก็ได้ที่เธอต้องการ

อีกหนึ่ง คำนิยาม มะฮัรกับสินสอด  

สินสอด มอบให้พ่อแม่เจ้าสาว เหมือนเป็นค่าน้ำนม

มะฮัรฺ มอบให้เจ้าสาวในวันแต่งงาน, เมื่อผ่านการนิกาหฺแล้ว เป็นของเจ้าสาวครึ่งหนึ่ง เมื่อมีเพศสัมพันธ์แล้ว เป็นของเจ้าสาวทั้งหมด [อ้างอิง อาจารย์ อิสมาแอล วิสุทธิปราณี ]

**ไม่ควรจะใช้คำว่า สินสอด เพราะท่านเกรงว่าจะไม่เซาะฮ์ เนื่องจากในอิสลามไม่มีค่าน้ำนม

มะฮัร 125 คือ? มะฮัรกับสินสอด งานแต่งอิสลาม ใส่ซอง

มะฮัร 125 คือ? 

ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ได้ทำการสมรสบรรดาบุตรีและภรรยาของท่านจำนวน  500 ดิรฮัม  ดังนั้น โต๊ะครูสมัยก่อนได้ตีราคามะฮัรจำนวน  500  ดิรฮัมว่า  1  ดิรฮัมเท่ากับ  1  สลึง  (ซึ่งในสมัยนั้น 1 สลึง ก็มีค่าพอสมควร) 4  สลึงเป็น  1  บาท  เอา  4  หารด้วยกับ  500  =  125  บาท  บรรดาผู้ใหญ่สมัยก่อนจึงกำหนดมะฮัรที่ฝ่ายชายต้องมอบให้แก่ฝ่ายหญิงเป็นจำนวน  125  บาท  ซึ่งก็ถือว่ามีจำนวนมากอยู่(ที่นาสมัยก่อนราคาไม่กี่ร้อยบาท) ซึ่งธรรมเนียมดังกล่าวก็ได้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน

แต่เนื่องจากสมัยท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) มีการใช้ดินาร(ทองคำ) และดิรฮัม(โลหะเงิน) เป็นเงินตราใช้แลกเปลี่ยนและมีค่าในตัวของมันเอง ซึ่งต่างจากในปัจจุบันที่แต่ละประเทศมีการใช้สกุลเงินเป็นของตนเองแต่เป็นสกุลเงินที่ไม่มีค่าในตัวของมันเอง(fiat money) ทำให้การคิดมะฮันซุนนะห์ที่ 125 บาท แทน 500 ดิรฮัมในยุคปัจจุบันอาจจะไม่เป็นมูลค่าที่เหมาะสมแล้วเนื่องจากเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี (อย่างไรก็ตามมะฮัรที่ดีที่สุดก็คือ  มะฮัรที่ฝ่ายชายมีความพร้อมและสะดวกในการนำมามอบให้แก่ฝ่ายหญิง)

ตัวอย่างการคำนวณมะฮัรตามซุนนะห์ของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เพื่อที่จะได้มะฮัรตามซุนนะห์ของท่านนบี  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) คือ 500 ดิรฮัม  จึงใช้การคำนวณมูลค่า 500 ดิรฮัม จากราคาของโลหะเงินในตลาดโลก ซึ่ง 500 ดิรฮัม จะเท่ากับโลหะเงิน 1487.50 กรัม จะสามารถคำนวณมะฮัรซุนนะห์ ของเดือน มีนาคม 2557 ได้เท่ากับ ฿35,321.57 บาท ซี่งก็ไม่ใช่จำนวนที่สูงหรือต่ำนักในปัจจุบัน และสอดคล้องกับสภาพและเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน

สามารถดูอัตรามะฮัรย้อนหลัง 2552 -2557 ได้จากในตารางด้านล่าง

มะฮัร 125 คือ? มะฮัรกับสินสอด งานแต่งอิสลาม ใส่ซอง 

ความสำคัญของ มะฮัรกับสินสอด  

ที่สำคัญสินสอดนั้นเหมือนกับการปฏิบัติในยุคญาฮีลียะห์ ซึ่งที่เวลาบุตรสาวแต่งงาน  ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของบิดามารดาทันที โดยที่ลูกสาวนั้น ไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ผู้ชายมอบให้ ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับความหมายของมะฮัรในอิสลาม มะฮัรในอิสลามนั้นคือ ทรัพย์สินต่างๆ ที่ฝ่ายชายมอบให้ เพื่อเป็นการแสดงถึงเกียรติของผู้หญิง และบิดามารดานั้นไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์นี้ เว้นแต่ ด้วยการยินยอมของบุตรสาว

จากความหมายข้างต้น เราจะเห็นว่า มะฮัรและสินสอดนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยที่จากคำนิยามของสินสอดนั้น คือ สิ่งที่อิสลามให้การปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง!   

กฏหมายไทย เรื่อง สินสอด

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 ระบุว่า "การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์ สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง

สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่ง ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้

ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 412 ถึง มาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้ บังคับโยอนุโลม

งานแต่งอิสลาม ใส่ซอง การไปร่วมงานแต่งงานอิสลาม คือ การแสดงความยินดีให้กับบ่าวสาว โดยอาจมีของขวัญไปร่วมยินดี ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักนิยมให้เงินใส่ซองแทนการไปเลือกของขวัญที่อาจไม่ถูกใจบ่าวสาวก็ได้ ดังนั้น เงินใส่ซองจึงเป็นที่นิยมให้เป็นของขวัญกันมากที่สุด จริงๆ แค่ไปร่วมงานบ่าวสาวก็มีความสุขมากแล้ว เงินใส่ซองเป็นเพียงของขวัญที่มอบเพื่อแสดงความยินดีเท่านั้น

เรื่องที่น่าสนใจ