ภารกิจที่ต้องทำวันละ 5 เวลา มันหนักเกินไป จริงหรือ?
ถ้อยคำแด่ผู้ที่ยังขาดละหมาด
- ภารกิจที่ต้องทำวันละ 5 เวลา มันหนักเกินไป จริงหรือ?
- การละหมาดส่งผลดีต่อใครกันแน่?
- ความดีคืออะไร? ใครเป็นผู้กำหนด?
- ความดีที่ถูกกำหนดเองโดยมนุษย์ ถือเป็นความดีที่สมบูรณ์จริงหรือ?
- อัลลอฮฺสั่งใช้เราในแง่ของการทำความดีอย่างไร?
อธิบายเนื้อหาโดย นุอฺมาน อาลี คาน Nouman Ali Khan
ซับไทยโดย : Sub Deen สารแห่งศรัทธา
เพิ่มเติม:
การละหมาดฟัรดู ที่มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องกระทำในวันหนึ่งๆมีอยู่ 5 เวลา
คำว่า ละหมาด ในภาษาอาหรับคือ ศอลาต (Salah, صلاة) มาจากรากศัพท์ที่ประกอบด้วย ศอด (ص) , ลาม (ل) , และวาว (و) ความหมายของรากศัพท์นี้ในภาษาอาหรับคลาสสิกคือ สวดมนต์ อ้อนวอน บูชา ร้องทุกข์ กล่าวสุนทรพจน์ ขอพร ตามไปอย่างใกล้ชิด หรือ ติดต่อ ความหมายที่เป็นรากฐานของคำนี้เกี่ยวข้องกับความหมายที่ใช้ในอัลกุรอานทั้งหมด
เงื่อนไขของการละหมาด
ผู้ละหมาดต้องเป็นมุสลิมเท่านั้น
มีเจตนาแน่วแน่ (เหนียต)
หันหน้าไปทางทิศกิบลัต (ทิศตะวันตกของประเทศไทย) คือที่ตั้งของมักกะห์
การประกาศบอกเวลาละหมาด (อะซาน)
การประกาศให้ยืนขึ้นเพื่อละหมาด (อิกอมะหฺ)
ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า สถานที่
ละหมาดภาคบังคับ (ฟัรฎ) วันละ 5 เวลา (การละเว้นละหมาดชนิดนี้เป็นบาป)ประกอบด้วย
ย่ำรุ่ง (ศุบฮิ) ประมาณ ตี 5 - 6 โมง
เช้าบ่าย (ซุหฺริ) ประมาณ เที่ยงครึ่ง - บ่ายโมงกว่าๆ
เย็น (อัศริ) ประมาณ บ่าย 3 ถึง 5 โมง
เย็นพลบค่ำ (มัฆริบ) ประมาณ 6 โมงครึ่ง ถึง ทุ่มกว่าๆ
กลางคืน (อิชาอ์) ก่อนนอน ประมาณ 1 ทุ่ม เป็นต้น
ไปละหมาดวันศุกร์ (ญุมุอะหฺ) เป็นการละหมาดร่วมกันในเวลาบ่าย ก่อนละหมาดจะมีเทศนา (คุฏบะหฺ) เป็นข้อบังคับเฉพาะผู้ชายละหมาดอื่น ๆ ได้แก่
ละหมาดในวันอิดุลฟิฏริ และวันอีดุลอัฏฮา ละหมาดในเดือนรอมะฎอน (ในมัซฮับซุนนีย์เรียกว่า ตะรอวีฮฺ) ละหมาดเมื่อเกิดสุริยคราส (กุซูฟ) และจันทรคราส (คูซูฟ) ละหมาดขอฝน (อิสติกออ์) ละหมาดให้ผู้ตาย (ญะนาซะหฺ) และละหมาดขอพรในกรณีต่าง ๆ
อ่านเพิ่ม: ขั้นตอนการละหมาดต่างๆ คำกล่าวพร้อมกับเนียต