เลือดที่ไหลออกมาจากผิวหนังนั้น ไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด ตามทัศนะของปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์ นอกสะจากว่า มันจะออกมาจากทางใดทางหนึ่งจากทั้งสองทวาร
เลือดแบบใด ที่ทำให้เสียน้ำละหมาด? โดย เชค อะลีย์ ญุมอะฮฺ มุฟตีย์ใหญ่แห่งอียิปต์
ตอบ เลือดที่ไหลออกมาจากผิวหนังนั้น ไม่ทำให้เสียน้ำละหมาด ตามทัศนะของปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์ นอกสะจากว่า มันจะออกมาจากทางใดทางหนึ่งจากทั้งสองทวาร
ทำให้นึกถึงท่านคอลีฟะห์อุมัร อิบนุ คอฏฏอบ จำได้ว่าเคยอ่านในหนังสือคุณค่าอาม้าล ดังนี้...
ในเช้าวันหนึ่ง ท่านอุมัรได้นำละหมาดซุบฮิ ได้มีกาเฟรคนหนึ่งเข้ามาแทงจากด้านหลังเป็นบาดแผลฉกรรจ์ มี เลือดไหลนอง แต่ท่านก็ใช้ให้ซอฮาบะฮ์อีกท่านหนึ่งนำละหมาดต่อไปจนเสร็จ ท่านอุมัรกล่าวว่า “ไม่มีตำแหน่งใดในอิสลาม สำหรับผู้ที่ละทิ้งละหมาด” อาการของท่านอุมัรสาหัสมาก จนทำให้ท่านถึงแก่กรรม
(เลือดที่ไหลจากบาดแผลของท่านอุมัร ไม่ทำให้ท่านเสียน้ำละหมาด)
นะยิสตามหลักบทบัญญัติอิสลาม คือ สิ่งสกปรกทั้งหลายที่มาหักห้ามในการใช้ได้(เซาะฮ์) ในการละหมาด โดยที่มันนั้นไม่มีข้อผ่อนปรณ อัลอิกนาอ์ ฟีย์ ฮัลลิ อัลฟาศ อาบีชูญาอ์ เล่ม 1 หน้า 220 ดารุลกุตุบอิลมียะห์
ซึ่งเลือดนั้นเป็นนายิส(หรือบรรดานะยิสอื่นๆ)หากว่ามันนั้นติดที่ตัวเราหรือเสื้อผ้าของเราจะทำให้เสียละหมาด เพราะเงื่อนไขหนึ่งในการที่ทำให้ละหมาดเสียนั้นคือการเปื้อนนะยิสที่ร่างกายหรือเสื้อผ้า เว้นแต่มันนั้นจะมีข้ออณุโลม ผ่อนผัน
ในหนังสือ อัลอิกนาอ์ ฟีย์ ฮัลลิ อัลฟาศ อาบีชูญาอ์ เล่ม 1 หน้า 331 ดารุลกุตุบอิลมียะห์ กล่าวเกี่ยวเรื่องสิ่งที่ทำให้เสียน้ำละหมาดจาก 11 ประการที่ทำให้เสียละหมาด
และในข้อที่4 (การเกิดนะยิส) ซึ่งนะยิสนั้นไม่เป็นนะยิสที่ถูกผ่อนปรณให้อภัย มาเปื้อน ณ ที่เสื้อผ้า หรือ ร่างกายของเขา หรือกระทั่งมันเข้าไปในจมูก ปาก ตา หู ของ เขา
ในหนังสือ อัลอิกนาอ์ ฟีย์ ฮัลลิ อัลฟาศ อาบีชูญาอ์ เล่ม 1 หน้า 225-226 ดารุลกุตุบอิลมียะห์ กล่าวว่า...
( ولا يعفى عن شيء من النجاسات ) كلها مما يدركه البصر ( إلا اليسير ) في العرف ( من الدم والقيح ) الأجنبيين سواء أكان من نفسه كأن انفصل منه ثم عاد إليه أو من غيره غير دم الكلب والخنزير وفرع أحدهما لأن جنس الدم يتطرق إليه العفو فيقع القليل منه في محل المسامحة
(และไม่ถูกผ่อนปรณจากสิ่งหนึ่งจากบรรดานะยิสทั้งหลาย) จากสิ่งที่สามารถรับรู้และมองเห็น (เว้นแต่มันจะมีปริมาณน้อย) โดยเป็นที่ทราบว่าน้อย (จากเลือดและหนอง) ที่ออกมาจากตัวเราเองและมันก็ได้สัมผัสกับตัวเรา หรือ เป็นของผู้อื่นมาสัมผัสกับเรา ที่อื่นจากสุกรและสุนัขและสิ่งที่เกิดมาจากการร่วมของมันทั้งสอง และอธิบายต่อไปว่า
قال في الأم والقليل ما تعافاه الناس أي عدوه عفوا
และในหนังสืออัล-อุม ของท่านอีหม่ามชาฟีอีย์ ได้อธิบายคำว่า "ปริมาณน้อย" นั้นหมายถึงสิ่งที่มนุษย์มองแล้วให้อภัย น้อยในสายตามนุษย์
أما دم نحو الكلب والخنزير فلا يعفى عن شيء منه لغلظه كما صرح في البيان ونقله عنه في المجموع وأقره وكذا لو أخذ دما أجنبيا ولطخ به نفسه أي بدنه أو ثوبه فإنه لا يعفى عن شيء منه لتعديه بذلك فإن التضمخ بالنجاسة حرام وأما دم الشخص نفسه الذي لم ينفصل كدم الدماميل والقروح وموضع الفصد والحجامة فيعفى عن قليله وكثيره انتشر بعرق أم لا
อนึ่งเลือดของสุนัขและสุกรไม่ถูกผ่อนปรณจากมันเพราะมันเป็นนะยิสที่หนักเสมือนที่ได้ถูกอธิบายรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเรื่องนี่อย่างแจ่มแจ้งในหนังสือ อัลมัจมัวะอ์ ของ ท่านอีหม่ามนาวาวีย์ และเช่นเดียวกันการที่เราเจตนาเอาเลือดมาแปะเปื้อนร่างกายของเราหรือเสื้อผ้าของเรา การทำเช่นนี้นั้นไม่ถูกผ่อนปรณให้อภัย เพราะว่าการที่เรานั้นเอาตัวเข้าไปหมกหมุ่นกับนะยิสนั้นเป็นสิ่งที่หะรอม
• อนึ่งเลือดของบุคคลหนึ่งที่ไหลต่อเนื่อง เช่น สิว ฝี หรือ บาดแผล หรือที่ที่มีเลือดไหล หรือ การกรอกเลือด ถูกผ่อนผันให้แม้นว่าจะน้อยหรือมากก็ตาม
لما روى أبو داود بإسناد صحيح أن رجلين من أصحاب النبي صلى الله عليه وسلم حرسا المسلمين في غزوة ذات الرقاع فقام أحدهما يصلي فرماه رجل من الكفار بسهم فنزعه وصلى ودمه يجري
وعلم النبي صلى الله عليه وسلم به ولم ينكره
แท้จริงชายสองคนจากบรรดาซอฮาบะห์ได้เป็นยามให้กับบรรดามุสลิมในสงคราม ซาติรรอเกาะอ์ และได้มีชายคนหนึ่งยืนละหมาดและเขาก็โดนชายคนหนึ่งจากบรรดากาเฟร พุ่งหอกเข้าใส่และเขาก็ยังละหมาดในขณะที่เลือดยังไหล และข่าวคราวเรื่องนี่ได้ไปถึงท่าน
นาบีและท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธการกระทำดังกล่าว
• กรณีที่เลือดไหลไม่หยุดก็เป็นที่ผ่อนปรณ เช่นกันดังที่ปราชญ์ส่วนใหญ่ได้อ้างหลักฐานจากตัวบทฮาดิษดังกล่าว
ويعفى عن دم البراغيث والقمل والبق وونيم الذباب وعن قليل بول الخفاش وعن روثه وبول الذباب لأن ذلك مما تعم به البلوى ويشق الاحتراز عنه ودم البراغيث والقمل رشحات تمصها من ( بدن ) الإنسان وليس لها دم في نفسها ذكره الإمام وغيره في دم البراغيث ومثلها القمل
• และเป็นที่ผ่อนปรณให้อภัยกัยเลือดของตัวหมัด เหา ตัวเลือด แมลงวัน และปริมาณน้อยจากฉี่หรืออุจจาระค้างคาว หรือ แมลงวัน เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป และเลือด ตัวหมัด เหา มันดูดมาจากตัวของมนุษย์ ไม่ใช่เลือดของตัวมันเอง ซึ่งท่านอีหม่ามฮารอมัยน์และอุลามาอ์ท่านอื่นๆได้กล่าวไว้ (เพราะสัตว์บางชนิดไม่มีเลือดหรือบางชนิดมีแต่น้อย)