ท่านนบีมูฮำหมัด (ซล) ได้ทรงให้เราหลีกเลี่ยงการนอนใน 4 เวลาดังนี้
4 เวลานอนที่ท่านนบีให้หลีกเลี่ยง
ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) ได้ทรงให้เราหลีกเลี่ยงการนอนใน 4 เวลาดังนี้
1. ควรหลีกเลี่ยงการนอนหลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จ
ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวไว้ว่า ความว่า “อย่านอนหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ เพราะมันจะทำให้หัวใจของคุณแข็งกระด้าง” ( HR Abbu Nua’im, จาก Aisyah, ra )
นายแพทยธวัช ได้กล่าวว่า การนอนหลังจากรับประทานอาหารเสร็จในทันทีนั้น เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เป็น โรคกรดไหลย้อน ซึ่งปัจจุบันพบว่า ประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ยุโรป อเมริกา สิงคโปร์จะพบอุบัติการณ์การเกิดโรคกรดไหลย้อนเพิ่มสูงขึ้น โดยตัวเลขกลุ่มประเทศตะวันตก มีมากถึง 11.8-28.5% เอเซีย 3.3-16% พบมากในคนสิงคโปร์ สิ่งหนึ่งที่สามารถทำให้ห่างไกลจากกรดไหลย้อนได้ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตนั้นก็คือ หลังรับประทานอาหารเสร็จอย่านอนทันที ควรให้มีระยะห่างประมาณ 3 ชั่วโมง จากที่ท่านนบีได้ทรงให้เราหลีกเลี่ยงการนอนหลังรับประทานอาหารเสร็จนั้นสอดคล้องคลองกับการแพทย์ปัจจุบันที่ได้ห้ามนอนหลังรับประทานอาหารเสร็จ
2. ควรหลีกเลี่ยงการนอนหลังละหมาดซุบฮฺ (ช่วงเช้า)
เพราะจะทำให้ไม่ได้บะเราะกะฮฺ (ความจำเริญ) ท่านนบี มูฮำหมัด (ซ.ล.) เคยได้ขอต่ออัลลอฮฺไว้ในหะดีษที่บันทึกโดยอิมาม อะหฺมัดและอัศหาบุสสุนัน (เจ้าของสุนัน เช่น อบูดาวูด, อัต-ติรมิซียฺ, อิบนิมาญะฮฺ ฯลฯ) ว่าท่านนบี มูฮำหมัด (ซ.ล)ได้ขอต่ออัลลอฮฺให้ทรงประทานบะเราะกะฮฺให้แก่ประชาชาตินี้ในยามเช้าของพวกเขา
สิ่งหนึ่งที่ เป็นข้อเสีย ของการนอนเช้า คือ การไม่ได้รับประทานอาหารมื้อเช้า ซึ่งเป็นมื้อที่สำคัญ เพราะร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมได้ดีที่สุด และทำหน้าที่ส่งสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในช่วงเวลา 7 โมง ถึง 9 โมง ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่อาหารจะตกค้างในร่างกายน้อย จึงลดอัตราเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วน
การนอนตื่นสาย ทำให้ได้รับอากาศที่เป็นพิษ เนื่องจากช่วงเช้าเป็นช่วงที่บรรยากาศเป็นพิษที่สุด โดยเฉพาะในห้องนอนที่ปิดทึบ จึงควรปล่อยให้แสงอาทิตย์เข้ามาภายในห้องนอน เพื่อทำลายฝุ่นและเปิดหน้าต่างระบายมลพิษ ออกจากห้องนอน ซึ่งจะช่วยลดการเกิดภูมิแพ้ ไอ หรือไม่สบายได้ ดังนั้นเมื่อเรารู้แล้ว เราก็ควรหลีกเลี่ยงการนอนเช้า
3. ควรหลีกเลี่ยงการนอนหลังละหมาดอัสร์ (ช่วงเย็น)
การนอนในเวลานี้บรรดาอุลามาอฺได้ให้ 2 ทัศนะ บางท่านบอกว่า ควรหลีกเลี่ยงเพราะเป็น สิ่งที่มักโรฮฺ และอีกทัศนะหนึ่งบอกว่าสามารถนอนหลังอัสร์ได้
4. ควรหลีกเลี่ยงการนอนก่อนละหมาดอีซา (ช่วงหัวค่ำ)
เพราะอาจทำให้พลาดละหมาดอีซาได้ จากหะดีษที่บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ) ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม รังเกียจการพูดคุย (ทีไม่จำเป็น) หลังละหมาดอีซาและการนอนก่อนละหมาดอีซา
ดังนั้น เราควรหลีกเลี่ยงการนอนในเวลาที่ท่านนบีทรงห้าม เพราะสิ่งที่ท่านนบีห้ามย่อมมีฮิกมะฮฺที่เราคาดไม่ถึงก็ได้
เรียบเรียงโดย Imron Berita Muslim
อ้างอิง voa-islam.com