เงินเก็บที่ข้าราชการสะสมใน (กบข) ต้องจ่ายซะกาต หรือไม่?
คำถาม เงินเก็บที่ข้าราชการสะสมใน (กบข.) ต้องจ่ายซะกาต หรือไม่?
คำตอบ ซะกาต คือ ทานประจำปี หมายถึง ทรัพย์สินส่วนเกินจำนวนหนึ่ง ซึ่งมุสลิมต้องจ่าย 2.5% ให้แก่ผู้ที่มีสิทธิได้รับเมื่อครบรอบปี เมื่อจำนวนผลผลิต ผลเก็บเกี่ยว หรือทรัพย์สินนั้นเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
กรณีของ เงินเก็บในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่ข้าราชการสะสม ในกองทุนนั้น
หากมีจำนวนเงินที่เกินเกณฑ์ที่ศาสนากำหนด เป็นหน้าที่ของคนนั้น ต้อง จ่ายซากาต โดยเกณฑ์ที่อิสลามกำหนด (นีซอบ) เทียบเคียงกับ จำนวนทองคำ 5.6 บาท หรือ 85 กรัม เมื่อเทียบกับราคาทองคำปัจจุบัน จำนวนเงินที่เกินเกณฑ์ คือ 110,000 บาท
เพราะฉะนั้น หาก เรามีเงินเก็บในกองทุน กบข เกินกว่า 110,000 บาท ต้อง จ่ายซากาต 2.5 %
ทั้งนี้วิธีการจ่าย อุลามาอฺ ได้ให้แนวทาง 2 แนวทาง ดังนี้
1. จ่ายทันทีเมื่อครบรอบปี
2. จ่ายที่เดียวเมื่อได้เงินก้อนตอนที่ลาออกจากสมาชิก หรือ เกษียณอายุราชการ
"หัวใจของการบริจาคทานคือ การเสียสละเพื่อคนขัดสนและยากจน คล้ายกับการเสียสละเผยแผ่คำสอนอันศักดิ์สิทธิ์ของกุรอาน"
เงินทองมากมาย ไม่สามารถสร้างความสุขให้ท่านในโลกหน้าได้ นะ
- จ่ายซะกาตฟิตเราะห์ ด้วยเงินแทนอาหาร ได้หรือไม่?
- ข้าวสารฟิตเราะห์ ให้ใครได้บ้าง คําเนียตซะกาตฟิตเราะห์
- ซะกาตค้าขาย การเนียตออกซะกาต การคิดคำนวณซะกาต
- ซะกาตเงินเดือน ต้องจ่ายอย่างไร?
- ซะกาตฟิตเราะห์ เนียตว่าอย่างไร พร้อมคํากล่าว รับซะกาต (ภาษาไทย)
เครดิต : Abunufai Yee Fatoni