คำถาม : หลังคลอด จะเริ่มละหมาดได้เมื่อไหร่?
คำถาม : หลังคลอด จะเริ่มละหมาดได้เมื่อไหร่?
คำตอบ : นิฟาส (เลือดหลังคลอด)
1. เป็นเลือดจากช่องคลอด หลังจากทารกคลอดหมดทั้งตัว (หัวถึงขา), ถ้าทารกหลายคน(แฝด) คือ หลังจากคนสุดท้ายคลอดทั้งตัวแล้ว เลือดที่ออกก่อนทารกคลอดไม่ใช่นิฟาส (ยังต้องละหมาด)
2. นิฟาส ติดต่อกันได้นานที่สุด 60 วัน (ไม่ต้องละหมาด) วันที่ 61 ถ้ายังมีเลือดออก ไม่ถือว่าเป็นนิฟาส (ต้องละหมาด)
3. ถ้ามีเลือดออกสลับกับหยุด แล้วออกอีก (ภายใน 60 วันนับจากวันคลอด) ถือว่ายังเป็น นิฟาส
แต่ถ้าระยะเวลาที่เลือดหยุดขาดช่วงแล้ว 15 วัน เลือดที่ออกหลังจากนั้นไม่ถือว่าเป็นนิฟาส (ต้องละหมาด)
4. ละหมาดขณะยังไม่หมดนิฟาส ถือว่าฮารอม ถ้าหมดนิฟาสแล้วไม่ละหมาด ถือว่าทิ้งละหมาด
5. วิธีดูว่า นิฟาสหมดหรือยัง (ให้ใช้วิธีเดียวกับเลือดประจำเดือน ) ล้างและเช็ด คือ
5.1 ล้างด้านนอกช่องคลอดให้สะอาดก่อน แล้วรอซักพัก (10นาที) ก่อนแล้วจึง
5.2 นั่งยองๆใช้สำลี cotton bud (หรือผ้า)สอดเข้าด้านในช่องคลอด(ลึกประมาณปลายนิ้วมือ) แล้วดูว่ายังมีเลือดเปื้อนหรือไม่ ถ้าไม่เปื้อนแล้วก็ต้องละหมาด
ภาพประกอบเท่านั้น
เพิ่มเติม เรื่องนิฟาส เลือดหลังคลอด
นิฟาสนั้นคือ เลือดที่ออกมาจากมดลูกเนื่องจากการคลอดลูกและหลังคลอดลูกและเลือดที่เหลืออยู่ ที่ขังตัวอยู่ภายในมดลูก ในเวลาที่มีการอุ้มครรภ์ แล้วเมื่อคลอดลูกเลือดนี้จะออกมาทีละน้อย และสิ่งที่นางเห็นก่อนการคลอดจากการออกมาของเลือดพร้อมกับเครื่องหมายของการคลอดนั้น มันก็คือนิฟาส และบรรดาผู้ประกอบการวิชาฟิกฮฺได้กำหนดไว้ว่ามีเวลาสองวัน หรือสามวัน ก่อนการคลอด และส่วนใหญ่ระยะเริ่มต้นของมันจะเกิดขึ้นพร้อมกับการคลอด และสิ่งที่ยึดถือได้นั้น ก็คือการคลอดทารกที่มีรูปร่างคนอย่างชัดเจน เวลาที่น้อยที่สุดจะเห็นรูปร่างของทารกได้อย่างชัดเจนก็คือ แปดสิบเอ็ดวัน และเวลามากที่สุดคือ สามเดือน แล้วเมื่อมีสิ่งใดออกมาจากนางในระยะนี้และมีเลือดออกด้วย นางก็ไม่ต้องสนใจมัน ไม่ต้องหยุดการละหมาดและการถือศีลอด เนื่องจากสิ่งดังกล่าว เพราะว่ามันเป็นเลือดเสีย เลือดที่ออกมาผิดปรกติ ข้อชี้ขาดนั้นเป็นข้อชี้ขาดเดียวกับข้อชี้ขาดของสตรีที่มีเลือดเสีย ระยะเวลาที่มากที่สุดของเลือดคลอดลูกส่วนใหญ่แล้วสี่สิบวัน เริ่มจากเวลาคลอดหรือก่อนหน้านั้นสองวันหรือสามวัน เหมือนกับที่ได้ผ่านมา
เนื่องจากฮาดิษของอุมุซาลามะฮฺ รอดิยัลลอฮุอันฮา ที่ว่า
" พวกสตรีที่มีเลือดคลอดลูกนั้นจะพัก (หยุดการละหมาด) ในสมัยของท่าน รอซูล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สี่สิบวัน" (รายงานโดย ติรมีซียฺและท่านอื่นๆ)
นักวิชาการได้เห็นพ้องต้องกันในเรื่องดังกล่าว เหมือนกับที่ติรมีซียฺและท่านอื่นๆได้รายงานไว้ และเมื่อไหร่ที่นางสะอาดก่อนสี่สิบวัน ด้วยการที่เลือดได้ขาดหายไปจากนาง ก็จงชำระล้างร่างกาย และละหมาด เนื่องจากไม่มีขีดต่ำสุด เพราะว่าไม่มีการปรากฏเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาดังกล่าว เมื่อนางได้เวลาครบสี่สิบวัน และการไหลของเลือดนั้นก็ยังไม่หยุด และหากไปตรงกับรอบเดือนปรกติก็ถือว่าเป็นรอบเดือน และหากไม่ไปตรงกับรอบเดือนปรกติ ไหลต่อไปโดยไม่ขาดก็ถือว่าเป็นอิสติฮาเฏาะฮฺ นางจงอย่าพักการเคารพภักดี และหากว่าไหลเกินสี่สิบวันแต่ไม่ไหลตลอดไปและไม่ไปตรงกับรอบเดือน ตรงนั้นนักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันออกไป
ข้อตัดสินของเลือดคลอดลูกนั้นเหมือนกับข้อตัดสินของเลือดรอบเดือน ดังต่อไปนี้
1. ห้ามไม่ให้ร่วมประเวณีกับหญิงที่มีเลือดคลอดลูกเหมือนกับที่ห้ามไม่ให้ร่วมประเวณีกับสตรีที่มีประจำเดือน และอนุญาติให้หาความสุขที่ไม่มีการร่วมประเวณี
2. ห้ามสตรีที่มีเลือดคลอดลูกละหมาด และเวียนรอบไบตุลลอฮฺเหมือนกับสตรีที่มีเลือดประจำเดือน
3. ห้ามสตรีที่มีเลือดคลอดลูกสัมผัสอัลกุรอ่านและอ่านอัลกุรอ่าน ตราบใดที่นางไม่กลัวว่าจะลืมเหมือนกับสตรีที่มีรอบเดือน
4. จำเป็นต่อสตรีที่มีเลือดคลอดลูกที่จะต้องชดเชยการถือศีลอดวายิบที่นางได้หยุดพักในขณะที่นางมีนิฟาส ใช้เหมือนกับสตรีที่มีรอบเดือน
5. จำเป็นต่อสตรีที่มีเลือดคลอดลูก ที่จะต้องชำระล้างร่างกายในขณะที่สิ้นสุดจากเลือดคลอดลูกเหมือนกับสิ่งที่กล่าวจำเป็นต่อสตรีที่มีประจำเดือน และหลักฐานในเรื่องราวดังกล่าวนั้นมีมากมาย
(1) มีรายงานจากอุมมุซาลามะฮฺ รอดิยัลลอฮุอันฮาได้กล่าวว่า
"พวกสตรีที่มีเลือดคลอดลูกในสมัยท่านรอซูล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้นจะหยุดพักสี่สิบวัน" (นักรายงานทั้งห้า ยกเว้นนะซาอี)
อัลมุญัดดิด อิบนุ ไตยมียะฮฺ รอฮีมาฮุลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ใน อัลมุนตะกอ เล่มที่ 1 หน้าที่ 184 ว่า
"ภรรยาคนหนึ่งของท่านรอซูล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้หยุดพักในขณะที่มีนิฟาสเป็นเวลาสี่สิบคืน ท่านนบีซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ได้สั่งให้นางชดเชยละหมาดอันเนื่องมาจากมีเลือดคลอดลูกแต่ประการใด" (อบูดาวูด รายงาน)
ความรู้เพิ่มเติม
เมื่อเลือดได้หยุดไหลจากสตรีที่มีนิฟาสสี่สิบวันและได้ชำระล้างร่างกาย ละหมาดและถือศีลอด หลังจากนั้นเลือดก็ย้อนกลับมามีแก่นางสี่สิบวัน ที่ถูกต้องนั้นก็คือให้ถือว่า เป็นเลือดคลอดลูกที่จะหยุดพักในช่วงนั้นและสิ่งที่นางได้ถือศีลอดไปในเวลาที่สะอาดที่ที่คั่นอยู่ มันก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง นางไม่ต้องถือศีลอดชดเชยแต่ประการใด
(โปรดดูมัจมั๊วฟัตตาวาของไชยคฺมุฮัมหมัดอิบรอฮีม เล่มที่ 2 หน้าที่102 และอัลฟัตตาวาของสะมาฮะตุซไชยคฺอับดุลอาซีซ บินบาซ ที่ได้มีการตีพิมพ์ในวารสารอัดดะวะฮฺ เล่มที่ 1 หน้าที่ 44 อธิบายท้ายเล่มของอิบนุก๊อยยิม ในการอธิบายอัซซ้าด เล่มที่ 1 หน้าที่ 405 สารฟิ๊ดดิมาอิฎเฎาะฮฺบีอีอียะฮฺ ลินนิซาอฺ หน้า55-56 และอัลฟัตตาวา วัสสะอฺดียะฮฺ หน้าที่ 137)
ข้อควรรู้อีกอันหนึ่ง
ไชยคฺอับดุลเราะฮฺมานอิบนุสะอฺดี รอฮิมาฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
"ก็เป็นที่ชัดเจนจากสิ่งที่กล่าวมาว่าเลือดคลอดลูกนั้นสาเหตุของมัน คือ การคลอดลูก เลือดเสียนั้น เป็นเลือดที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากการมีโรคและอื่นๆ และเลือดรอบเดือนนั้นคือ เลือดแท้ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้รู้ดีที่สุด" (กรุณาดูหนังสืออิรซาดุลอับซอร วัลอัลบ้าบ หน้าที่ 24)
- ละหมาดเป็นประโยชน์ต่อผู้ตั้งครรภ์ แต่อันตรายต่อผู้มีประจำเดือน
- ปัญหาเลือดเฮด ตกขาวสีน้ำตาล ละหมาดได้ไหม?
- ทำไมอิสลามห้ามมีประเวณีช่วงที่มีประจำเดือน
- ตั้งครรภ์ 40 วัน สุดยอด การละหมาดเป็นประโยชน์ต่อผู้ตั้งครรภ์
- เลือดออกกระปริบกระปรอย ละหมาดได้ไหม เลือดนิฟาสเกิน40วัน
- นิกะห์ขณะตั้งครรภ์ ใช้ได้หรือไม่?
- ข้อห้ามในการหลับนอน ระหว่าง สามีภรรยา