ส่วนหญิงที่มีประจำเดือน เมื่อเธอละหมาด แน่นอนการละหมาดนั้นเป็นสาเหตุในการผลักดันเลือดไปยังมดลูกเป็นจำนวนมาก
ละหมาดเป็นประโยชน์ต่อผู้ตั้งครรภ์ แต่อันตรายต่อผู้มีประจำเดือน
ในหนังสือนิตยาสาร “สังคม” ได้กล่าวว่า การศึกทางการแพทย์ยืนยันว่า การเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ หรือการออกกำลังกาย เช่น การละหมาดนั้น จะมีประโยชน์ต่อสตรีตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก แต่จะเป็นอันตรายอย่างมากกับผู้หญิงที่มีประจำเดือน
เนื่องจากหญิงที่ทำละหมาด ในขณะที่เธอซุญูดและรู่กัวะนั้น จะเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปสู่มดลูก ยิ่งไปกว่านั้นเซลล์ในมดลูกและรังไข่มีความคล้ายคลึงกับเซลล์ตับซึ่งมันจะดึงเลือดเป็นจำนวนมาก
และไม่ต้องสงสัยเลยว่า มดลูกของหญิงตั้งครรภ์นั้น ต้องการเลือดเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นอาหารให้กับทารก และเพื่อขจัดสิ่งปฏิกูลจากเลือดออกไป และในขณะที่หญิงตั้งครรภ์ละหมาด แน่นอนการละหมาดจะช่วยเธอในการทำให้เลือดนั้นถึงยังทารกเป็นจำนวนมาก
ส่วนหญิงที่มีประจำเดือน เมื่อเธอละหมาด แน่นอนการละหมาดนั้นเป็นสาเหตุในการผลักดันเลือดไปยังมดลูกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การขาดเลือดและตกเลือดในขณะมีประจำเดือนได้
ปริมาณเลือดและของเหลวที่ออกไปจากร่างกายของหญิงมีประจำเดือนนั้นถูกกำหนดไว้เพียง 30 มิลลิลิตรจากเลือดหรือของเหลวในร่างกายต่อวันเท่านั้น หากว่าหญิงมีประจำเดือนทำละหมาด แน่นอนการละหมาดอาจเป็นสาเหตุทำลาย หน่วยภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ เพราะเม็ดเลือดขาวซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่ป้องกัน จะขาดหายไปพร้อมกับเลือดประจำเดือนที่ถูกขับออกไปจากร่างกาย และการหมดไปของเลือด โดยลักษณะทั่วไปแล้ว จะเพิ่มความเสี่ยงจากการโจมตีของโรคติดต่อได้
ส่วนหญิงที่อัลลอฮ์ทรงปกป้องนางจากโรคต่างๆ นั้น ก็ด้วยกับความเข้มข้นของเม็ดเลือดขาวในมดลูก ในช่วงมีประจำเดือนของทุกเดือน เพื่อที่เม็ดเลือดขาวจะได้เป็นภูมิคุ้มกันและป้องกันจากโรคต่างๆ
เมื่อสตรีทำละหมาดในขณะมีประจำเดือนนั้น เธอจะขาดเลือดเป็นจำนวนมาก ไปพร้อมกับเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้อวัยวะทั้งหมดในร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง และสมอง
และนี่คือวิทยปัญญาในการห้ามหญิงมีประจำเดือนละหมาด จนกว่านางจะพบความสะอาด อย่างที่อัลกุรอานได้บอกให้แก่เราได้รู้ถึงอันตรายจากดังกล่าวว่า
وَيَسْأَلُونَكَ عَنِ الْمَحِيضِ قُلْ هُوَ أَذًى فَاعْتَزِلُوا النِّسَاءَ فِي الْمَحِيضِ وَلَا تَقْرَبُوهُنَّ حَتَّىٰ يَطْهُرْنَ فَإِذَا تَطَهَّرْنَ فَأْتُوهُنَّ مِنْ حَيْثُ أَمَرَكُمُ اللَّهُ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ التَّوَّابِينَ وَيُحِبُّ الْمُتَطَهِّرِينَ
ความว่า: “และพวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับประจำเดือน จงกล่าวเถิดว่า มันเป็นสิ่งที่ให้โทษ ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลหญิง ขณะมีประจำเดือน และจงอย่าเข้าใกล้นาง จนกว่านางจะสะอาด ครั้นเมื่อนางได้ชำระร่างกายสะอาดแล้ว ก็จงมาหานางตามที่อัลลอฮ์ทรงใช้พวกท่าน แท้จริงอัลลอฮ์ทรงชอบบรรดาผู้สำนึกผิด กลับเนื้อกลับตัว และทรงชอบบรรดาผู้ที่ทำตนให้สะอาด”
(ซูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮ : 222)
ยิ่งไปกว่านั้น การเคลื่อนไหวมากๆ โดยเฉพาะท่าก้มซุญูดและรู่กัวะนั้น จะเพิ่มการไหลของเลือดมายังมดลูก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ขาดเลือดได้ง่ายมาก อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการขาดแร่ธาตุในร่างกายอีกด้วย
ดังนั้น แพทย์จึงเตือนสตรีที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน ให้พักผ่อนและรับประทานอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายๆ เพื่อมิให้ร่างกายขาดเลือดและแร่ธาตุสำคัญ และจากจุดนี้ ก็ได้ประจักษ์ชัด ถึงวิทยปัญญาในการห้ามถือศีลอดของหญิงที่มีประจำเดือนเช่นกัน
นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ได้ค้นพบวัฐจักรของเชื้อโรคร้ายและเชื้อโรคที่มีประโยชน์ในช่องคลอดช่วงมีรอบประจำเดือน ซึ่งมันจะมีขึ้นพร้อมกับการไหลเวียนของฮอร์โมนของรังไข่ เชื้อโรคตัวนี้มีประโยชน์ก็เพราะว่ามันเป็นตัวต่อต้านและทำลายเชื้อโรคร้าย
เชื้อโรคที่มีประโยชน์นี้จะมีชีวิตอยู่ด้วยกับการกินน้ำตาลที่อยู่ในเซลล์ผนังช่องคลอด และมันจะเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นกรดแลกติกเพื่อทำลายเชื้อโรคร้าย ปริมาณน้ำตาลจะมีมากในเซลล์ของช่องคลอดในช่วงครึ่งท้ายของรอบประจำเดือน และจะมีน้อยมากในช่วงก่อนมีประจำเดือน และจะไม่มีเลยในช่วงมีประจำเดือน
จากการค้นพบดังกล่าวทำให้เราเข้าใจว่า ระบบสืบพันธุ์ภายนอกที่มีอยู่ในตัวผู้หญิงในขณะมีประจำเดือนไม่มีภูมิคุ้มกันเชื้อโรคร้ายที่มีอยู่มากในขณะนั้น และจะมีพยาธิที่มีชื่อว่า (Armedtapeworm) หรือ (porktapeworm) ซึ่งพยาธินี้ก็คือ ตารโกโมนาสที่เป็นสาเหตุของการอักเสบของเพดานในระบบสืบพันธุ์ภายนอก
ซึ่งบางทีเชื่อโรคร้ายที่มีอยู่ในช่องคลอดในขณะมีประจำเดือนอาจจะมีจำนวนถึง 60 ล้านตัวใน 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เมื่อหญิงมีประจำเดือนมีเพศสัมพันธ์กับสามีของนาง อันตรายก็จะเกิดขึ้นกับเขาทั้ง 2 ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีอันตรายต่อระบบสืบพันธุ์ และระบบปัสสาวะ
จากสาเหตุดังกล่าวอัลลอฮ์ (ตาอาลา) จึงได้สั่งใช้ให้ชำระล้างร่างกาย (อาบน้ำวายิบ) หลังจากหมดประจำเดือนทุกครั้ง เพื่อจะได้มีเพศสัมพันธ์ในครั้งต่อไปอย่างปลอดภัย
- 5 ข้อห้ามสำหรับหญิงมุสลิมที่มีประจำเดือน
- การอาบน้ำวายิบที่ไม่ถูกตอบรับ
- มีอารมณ์ทางเพศถึงขั้นมีน้ำหล่อลื่น ต้องยกหะดัษหรือไม่ อย่างไร?
- หญิงมีประจำเดือน ตัดเล็บ ผมหลุดร่วง ต้องยกฮะดัษหรือไม่?
- การอาบน้ำยกฮาดัสใหญ่ ประจําเดือน หลังคลอดบุตร หลังมีเพสสัมพันธ์ ผู้หญิง
- มีลมออกจากช่องคลอด เสียน้ำละหมาดไหม?
- มารยาทในการหลับนอน ระหว่าง สามีภรรยาในอิสลาม (ละเอียด)
- ข้อพึงระวังสําหรับมุสลิมะฮฺในวันอีด
- 9 วิธีง่ายๆ ดูแลตัวเองให้สวยใส แบบฉบับอิสลาม
- รู้หรือไม่? 5 ส่วนในร่างกาย ที่ชัยฏอนชอบอาศัยมากที่สุด
บทความโดย: อะห์หมัดมุสตอฟา อาลี โต๊ะลง
http://islamhouse.muslimthaipost.com/