มุสลิมเล่นพนัน บทลงโทษในกฎหมายอิสลาม (อัลกุรอ่านและอัลหะดีษ)
การเล่นพนัน บทลงโทษในกฎหมายอิสลาม (อัลกุรอ่านและอัลหะดีษ)
การพนันเรียกในภาษาอาหรับว่า อัล-กิม๊ารฺ (اَلْقِمَارُ) หรือ อัล-มัยซิรฺ (اَلْمَيْسِرُ) หมายถึง การเล่นเอาเงิน
หรือสิ่งอื่นด้วยการเสี่ยงโชคหรือฝีมือ อาทิเช่น การเล่นลูกเต๋า, หมากรุก, ถั่ว, หัวแหวน, ไข่, ก้อน
หิน เป็นต้น นักวิชาการเห็นพ้องตรงกันว่า ทุก ๆ การละเล่นที่มีการพนันถือเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม)
และถือเป็นส่วนหนึ่งจากการกิน (ได้มาซึ่ง) ทรัพย์สินของผู้คนโดยมิชอบ (บาฏิล)
ซึ่งพระองค์อัลลอฮฺ (سبحا نه وتعالي) ทรงบัญญัติห้ามเอาไว้ในพระดำรัสที่ว่า
وَلاَ تَأْكُلُواْ أَمْوَالَكُم بَيْنَكُم بِالْبَاطِلِ
“และสูเจ้าทั้งหลายอย่าได้กินทรัพย์สินของหมู่สูเจ้า ระหว่างหมู่สูเจ้าด้วยกันโดยมิชอบ”
(อัล-บะกอเราะฮฺ อายะฮฺที่ 188)
และพระดำรัสที่ว่า :
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالأَنصَابُ وَالأَزْلاَمُ رِجْسٌ مِّنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ
“โอ้บรรดาศรัทธาชน อันที่จริงสุรา, การพนัน, สัตว์ที่ถูกเชือด ณ แท่นบูชาและการเสี่ยงทายนั้นคือ
ความสกปรกโสมมอันมาจากงานของมารร้าย ดังนั้นสูเจ้าทั้งหลายจงหลีกห่างมันเถิด หวังว่าสูเจ้าทั้ง
หลายจะได้รับความสัมฤทธิผล” (อัล-มาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 90)
และมีอัล-หะดีษระบุว่า
إِنَّ رِجَالاً يَتَخَوَّضُوْنَ فِى مَالِ اللهِ بِغَيْرِحَقٍّ فَلَهُمُ النَّارُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ
“แท้จริงบรรดาบุคคลที่ล่วงล้ำเข้าไปในทรัพย์สินของพระองค์อัลลอฮฺโดยมิ ชอบนั้น
สำหรับพวกเขาคือนรกอเวจีในวันกิยามะฮฺ” (อ้างจากอัล-กะบาอิรฺ, อัซซะฮฺบีย์)
และอัล-หะดีษที่รุบุว่า :
مَنْ قَالَ لِصَاحِبِه تَعَالَ أُقَامِرْكَ فَلْيَتَصَدَّقْ
“ผู้ใดกล่าวกับเพื่อนของเขาว่า “มาเถิด! ฉันจะพนันกับท่าน” ผู้นั้นจงบริจาคทานเสีย!”
(รายงานโดยบุคอรี)
จากอัล-หะดีษบทนี้จะเห็นได้ว่า เพียงแค่บุคคลพูดจาชักชวนบุคคลอื่นให้เล่นการพนันก็ถือว่าบุคคล
ผู้นั้นจำ ต้องเสียค่าปรับ (กัฟฟาเราะฮฺ) ด้วยการบริจาคทานเพื่อลบล้างความผิดที่เกิดขึ้นจากคำพูด
ดังนั้นการเล่นการพนันจริง ๆ จึงถือเป็นสิ่งที่ต้องห้ามและถือเป็นการประพฤติผิดบาปใหญ่ (กะบาอิรฺ)
ซึ่งจำเป็นที่บุคคลผู้นั้นต้องเตาบะฮฺ (สำนึกผิด) ตามเงื่อนไขที่ศาสนาได้กำหนดเอาไว้คือ
- ละเลิกและถอนตัวจากการเล่นการพนันโดยเด็ดขาด
- เสียใจต่อการประพฤติผิดนั้น
- ตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะไม่หวนกลับไปประพฤติผิดด้วยการเล่นการพนันอีก
- ต้องคืนทรัพย์สินที่ได้มาโดยการพนันนั้นแก่เจ้าของทรัพย์สิน
อนึ่งถึงแม้ว่าการพนันจะเป็นสิ่งต้องห้ามและถือเป็นบาปใหญ่ เช่นเดียวกับการดื่มสุราแต่เนื่องจากการ
พนันไม่มีข้อกำหนดบทลงโทษโดยตัวบท ของศาสนาดังเช่นกรณีการดื่มสุรา แต่ผู้มีอำนาจหรือศาล
สามารถตัดสินคดีการเล่นการพนันได้โดยใช้ดุลยพินิจตาม คดีลหุโทษ (อัต-ตะอฺซีรฺ) เช่น การเฆี่ยนที่
ไม่ถึงจำนวนที่ศาสนาบัญญัติเอาไว้, การจำคุก, การปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น
บทความที่น่าสนใจ