ดุอาอ์ หรือ การขอพร และ ตะเอาวุซ หรือ การขอความคุ้มครอง เป็นเหมือนอาวุธ และพลังของอาวุธนั้นเกี่ยวข้องกับผู้ที่ใช้มันด้วย
เวลา สถานที่ ที่ดีที่สุดในการขอดุอาร์ ดุอาอฺที่อัลลอฮฺทรงตอบรับ
ดุอาอ์ หรือ การขอพร และ ตะเอาวุซ หรือ การขอความคุ้มครอง เป็นเหมือนอาวุธ และพลังของอาวุธนั้นเกี่ยวข้องกับผู้ที่ใช้มันด้วย ไม่ใช่เกี่ยวข้องกับความคมของมันเพียงอย่างเดียว
ดังนั้น ถ้าหากอาวุธใดมีความสมบูรณ์พร้อม ไม่หักไม่บิ่น และมือที่ใช้อาวุธก็เปี่ยมไปด้วยพลัง อีกทั้งไม่มีสิ่งใดๆ มากีดขวางการใช้อาวุธนั้น แน่นอนว่ามันย่อมต้องใช้ได้ผลอย่างเต็มประสิทธิภาพกับคู่ต่อสู้ แต่ถ้าเมื่อใดที่หนึ่งในสามประการดังกล่าวไม่พร้อม ผลของมันก็จะไม่ปรากฏ
ช่วงเวลา
- ช่วงสุดท้ายของกลางคืน - 2 ชม. ก่อนละหมาดศุบฮิ (เวลาสะฮัร ช่วงดึก) ละหมาดกลางคืนแล้วกล่าว อัสตัฆฟิรุลลอฮฺจนกระทั่งละหมาดศุบฮิ
- ช่วงเวลาหนึ่งในวันศุกร์ (มี 40 ทัศนะ)
- เดือนรอมฎอน (สิบคืนสุดท้าย คืนคี่ ลัยละตุ้ลก็อดร)
- ช่วงอะซาน
- ช่วงที่มีสงครามในหนทางของอัลลอฮฺ (กำลังญิฮาด)
- ช่วงสุดท้ายของละหมาดฟัรฎู (ก่อนหรือหลังสลาม)
- ขณะสุญูด
- ขณะครองเอียะหฺรอมไปทำฮัจญฺ(และอุมเราะฮฺ)
- ที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ, ขว้างเสาหิน
ดุอาอฺมุสตะญาบของคนบางประเภท
- ดุอาอฺสามประเภทที่อัลลอฮฺไม่ปฏิเสธ (ดุอาอฺของพ่อ, ผู้ถือศีลอด, ผู้เดินทางไกล)
- สามดุอาอฺที่อัลลอฮฺตอบรับไม่มีข้อสงสัย คือ ผู้ถูกอธรรม, คนเดินทางไกล, บิดา(และมารดา)ขอให้แก่ลูก
- สามดุอาอฺที่อัลลอฮฺตอบรับไม่มีข้อสงสัย คือ ผู้ถูกอธรรม, คนเดินทางไกล, ดุอาอฺของพ่อต่อลูก (ดุอาอฺแช่งลูก)
เวลา สถานที่ และสภาพที่ ดีที่สุดในการขอดุอาอ์
1. เวลาที่ดีที่สุดในการขอดุอาอ์
กลางดึกช่วงสุดท้ายของคืน, คืนลัยละตุลก็อดรฺ, หลังละหมาดห้าเวลา, ระหว่างอะซานและอิกอมะฮฺ, ช่วงเวลาเฉพาะเวลาหนึ่งในกลางคืน(ไม่มีระบุว่าช่วงไหน), ช่วงเวลาเฉพาะเวลาหนึ่งในวันศุกร์นั่นคือช่วงเวลาสุดท้ายหลังอัศร์, ช่วงเวลาอะซานเรียกสู่การละหมาดห้าเวลา, เมื่อนอนในสภาพที่มีวุฎูอ์(น้ำละหมาด)จากนั้นตื่นขึ้นมาในเวลากลางคืนและขอดุอาอ์, การขอดุอาอ์ในเดือนเราะมะฎอน เป็นต้น
2. สถานที่ที่ดีที่สุดในการขอดุอาอ์
ดุอาอ์วันอะเราะฟะฮฺ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ, ดุอาอ์บนเนินเศาะฟาและมัรวะฮฺ, ดุอาอ์ ณ อัล-มัชอัร อัล-หะรอม, ดุอาอ์หลังจากขว้างเสาหินอันที่หนึ่งและอันที่สองในวันตัชรีก เป็นต้น
3. สภาพที่ดีที่สุดในการขอดุอาอ์
หลังจากที่กล่าวขอว่า "ลาอิลาฮะ อิลลา อันตะ, สุบหานะกะ, อินนี กุนตุ มินัซ ซอลิมีน", ดุอาอ์ในขณะที่จิตใจรำลึกถึงและมุ่งมั่นอยู่กับอัลลอฮฺ, ดุอาอ์หลังจากอาบน้ำละหมาด, ดุอาอ์ของผู้เดินทาง, ดุอาอ์ของผู้ป่วย, ดุอาอ์ของผู้ที่ถูกอธรรม, ดุอาอ์ของบุพการีแก่ลูกหลาน, ดุอาอ์ของผู้ที่อยู่ในภาวะคับขัน, ดุอาอ์ขณะสุญูด, ดุอาอ์ของบรรดามุสลิมเมื่อมีการนั่งรวมกันเพื่อรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ดุอาอ์เมื่อได้ยินไก่ขัน, ดุอาอ์เมื่อตกใจตื่นเวลากลางคืนแล้วกล่าวว่า "ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะห์ดะฮู..."จนจบ จากนั้นก็กล่าวอิสติฆฟารและขอดุอาอ์ เป็นต้น
บทความที่น่าสนใจ
- ดุอาอฺให้จิตใจสว่างไสวด้วยรัศมี
- ดุอาอ์ปลดหนี้ หนี้เท่าภูเขาก็หมดลงได้ด้วยดุอาอ์บทนี้!
- ละหมาด สาปแช่งคนได้หรือไม่?
- ดุอาอฺให้อัลลอฮฺทรงเมตตาพ่อแม่
- ซุนนะห์เมื่อจะเข้าและออกจากบ้าน
- ความประเสริฐของผู้ที่กล่าวซอลาวาตแด่ท่านรอซูล
- ดุอาอฺนบีมูซา ดุอาอฺที่อัลลอฮฺทรงตอบรับ ดุอาอฺของท่านนบี
- อ่านหลังละหมาดซุบฮิครั้งเดียวได้ถึง 4 หมื่นผลบุญ
- ดุอาอฺขอให้มีบุคลิคภาพที่ดีงาม
- มุสลิมได้รับอะไรจากเชื้อไวรัสโคโรนา
- คำสั่งเสีย 10 ประการในอัลกุรอ่าน
- ดุอาอฺขอให้สอบผ่าน
- ดุอาอฺขอให้ฉลาด
- การขอความคุ้มครองก่อนเข้านอน ในอิสลาม
- ดุอาหลังตะรอเวียะห์ ละหมาดวิตรฺ
- หลักปฏิบัติอันดีงาม 30 ประการที่มีต่อบิดามารดาของมุสลิม