การฆ่าจิ้งจก ได้บุญหรือได้บาป? ในคำสอนของอิสลาม


57,447 ผู้ชม

ผมได้ยินมาว่า ตอนที่ท่านนบีหลบซ่อนอยู่ภายในถ้ำซูรฺ และ ได้มีแมงมุมมาชักใยปิดปากถ้ำและ มีนกมาทำรัง ดังนั้น พวกกุเรชจึงไม่สงสัยว่ามีคนอยู่ในนั้นแต่จิ้งจก กลับ ร้องทักขึ้น เหมือนมีใครอยู่ภายในถ้ำ ทำให้พวกกุเรชสงสัยขึ้นมา ทำให้คนพากันฆ่าจิ้งจกกัน เพราะ เชื่อว่าจะได้ผลบุญ โดยบอกว่า ให้ฆ่าทีเดียวตาย เพื่อจะได้ไม่ทรมาน


การฆ่าจิ้งจก ได้บุญหรือได้บาป? ในคำสอนของอิสลาม

คำถาม: ผมได้ยินมาว่า ตอนที่ท่านนบีหลบซ่อนอยู่ภายในถ้ำซูรฺ และ ได้มีแมงมุมมาชักใยปิดปากถ้ำและ มีนกมาทำรัง ดังนั้น พวกกุเรชจึงไม่สงสัยว่ามีคนอยู่ในนั้นแต่จิ้งจก กลับ ร้องทักขึ้น เหมือนมีใครอยู่ภายในถ้ำ ทำให้พวกกุเรชสงสัยขึ้นมา ทำให้คนพากันฆ่าจิ้งจกกัน เพราะ เชื่อว่าจะได้ผลบุญ โดยบอกว่า ให้ฆ่าทีเดียวตาย เพื่อจะได้ไม่ทรมาน

เรื่องฆ่าจิ้งจกนี้  หากเราเอาความรู้สึกมาตัดสิน  ก็จะบอกว่าการฆ่าจิ้งจกเป็นบาป  ไม่มีคำสอนในอิสลาม  คนที่บอกว่าฆ่าจิ้งจกได้ไม่เข้ามีความรู้เรื่องศาสนา วัลอิยาซุบิลลาฮ์ 

ความจริงการฆ่าสัตว์ที่สร้างความเดือดร้อนนั้น  มิใช่เรื่องแปลก  เช่น  ฆ่าหนู  แมงป่อง  สุนัขบ้า  ตัวต่อ  มดที่สร้างความเดือดร้อน  เป็นต้น  ก็อนุญาตให้ฆ่าได้มิได้เป็นบาปแต่ประการใด  แต่การฆ่าสัตว์ที่สร้างความเดือดร้อนนั้น ไม่ควรเผามันด้วยไฟครับ

ท่านสะอีด  อิบนุ  อัลมุซัยยับ  ได้รายงานจากอุมมุชะรีกว่า


‏أَنَّ النَّبِيَّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏أَمَرَهَا بِقَتْلِ ‏ ‏الْأَوْزَاغِ ‏

"แท้จริงท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซั้ลลัม  ได้ใช้ให้นางฆ่าจิ้งจก"  รายงานโดยอัลบุคอรีย์ (3062)

รายจากอะบูฮุร็อยเราะห์  ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  ว่า

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏مَنْ قَتَلَ ‏ ‏ وَزَغَةً ‏ ‏فِي أَوَّلِ ضَرْبَةٍ فَلَهُ كَذَا وَكَذَا حَسَنَةً وَمَنْ قَتَلَهَا فِي الضَّرْبَةِ الثَّانِيَةِ فَلَهُ كَذَا وَكَذَا حَسَنَةً لِدُونِ الْأُولَى وَإِنْ قَتَلَهَا فِي الضَّرْبَةِ الثَّالِثَةِ فَلَهُ كَذَا وَكَذَا حَسَنَةً لِدُونِ الثَّانِيَةِ

ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า  "ผู้ใดฆ่าจิ้งจกในการตีครั้งแรก  เขาจะได้ผลบุญเท่านั้นเท่านี้  และผู้ใดฆ่ามันในการตีครั้งที่สอง  เขาจะได้ผลบุญเท่านั้นเท่านี้ซึ่งน้อยกว่าครั้งแรก  และผู้ใดที่ฆ่ามันในการตีครั้งที่สาม  เขาจะได้ผลบุญเท่านั้นเท่านี้  แต่น้อยกว่าครั้งที่สอง"  รายงานโดยมุสลิม (4156) 

ในบางรายงานของมุสลิมระบุว่า

مَنْ قَتَلَ ‏ ‏ وَزَغًا ‏ ‏فِي أَوَّلِ ضَرْبَةٍ كُتِبَتْ لَهُ مِائَةُ حَسَنَةٍ وَفِي الثَّانِيَةِ دُونَ ذَلِكَ وَفِي الثَّالِثَةِ دُونَ ذَلِكَ 

"ผู้ใดที่ฆ่าจิ้งจกในการตีครั้งแรก  เขาถูกบันทึกหนึ่งร้อยผลบุญแก่เขา  และในการตีครั้งที่สองเขาจะได้ผลบุญน้อยกว่าครั้งแรก  และในการตีครั้งที่สามเขาจะได้ผลบุญน้อยกว่าครั้งที่สอง"

บางรายงานของมุสลิมระบุอีกว่า

‏عَنْ النَّبِيِّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏أَنَّهُ قَالَ ‏ ‏فِي أَوَّلِ ضَرْبَةٍ سَبْعِينَ حَسَنَةً 

จากท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ท่านกล่าวว่า  "ในการตีครั้งแรก  เขาได้เจ็บสิบผลบุญ"

ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้อธิบายว่า

وَأَمَّا سَبَب تَكْثِير الثَّوَاب فِي قَتْله بِأَوَّلِ ضَرْبَة ثُمَّ مَا يَلِيهَا فَالْمَقْصُود بِهِ الْحَثّ عَلَى الْمُبَادَرَة بِقَتْلِهِ , وَالِاعْتِنَاء بِهِ , وَتَحْرِيض قَاتِله عَلَى أَنْ يَقْتُلهُ بِأَوَّلِ ضَرْبَة , فَإِنَّهُ إِذَا أَرَادَ أَنْ يُضْرِبهُ ضَرَبَات رُبَّمَا اِنْفَلَتَ وَفَاتَ قَتْله . وَأَمَّا تَسْمِيَته فُوَيْسِقًا فَنَظِيره الْفَوَاسِق الْخَمْس الَّتِي تُقْتَل فِي الْحِلّ وَالْحَرَم . وَأَصْل الْفِسْق الْخُرُوج , وَهَذِهِ الْمَذْكُورَات خَرَجَتْ عَنْ خَلْق مُعْظَم الْحَشَرَات وَنَحْوهَا بِزِيَادَةِ الضَّرَر وَالْأَذَى 

"สำหรับสาเหตุผลบุญมากในการฆ่าจิ้งจกในการตีครั้งแรกและถัด ๆ ไปปนั้น  เป้าหมายของมันก็คือ  ส่งเสริมให้สนใจและรีบฆ่าจิ้งจกนั่นเอง  และยังส่งเสริมให้ผู้ทำการฆ่าจิ้งจกนั้นทำการตีเพียงครั้งเดียว  เพราะเมื่อเขาต้องการจะตีหลายครั้ง  บางทีมันอาจจะหนีและพลาดโอกาส  สำหรับการที่ท่านนบีได้เรียกจิ้งจกว่า  "ฟุวัยซิก"  (สัตว์ที่สร้างความเดือดร้อนตัวเล็กนั้น)  มันก็เหมือนกับบรรดาสัตว์ที่สร้างความเดือนร้อนทั้งห้า (คือ อีกา , เยี่ยว , แมงป่อง , หนู , สุนัขบ้า) และรากศัพท์เดิมคำว่า ฟิสก์  หมายถึง การออก  กล่าวคือบรรดาสัตว์ที่ถูกกล่าวมาแล้วนี้ได้ออกจากบรรดาแมลงส่วนใหญ่และสัตว์อื่น ๆ ในแง่ของการที่พวกมันจะเพิ่มโทษและสร้างความเดือดร้อน"  ชัรห์ซอฮิห์มุสลิม 

รายงานจากนางซาอิบาะห์  บิน  มุฆีเราะห์  ว่า

أَنَّهَا دَخَلَتْ عَلَى ‏ ‏عَائِشَةَ ‏ ‏فَرَأَتْ فِي بَيْتِهَا رُمْحًا مَوْضُوعًا فَقَالَتْ يَا أُمَّ الْمُؤْمِنِينَ مَا تَصْنَعِينَ بِهَذَا قَالَتْ نَقْتُلُ بِهِ هَذِهِ الْأَوْزَاغَ فَإِنَّ نَبِيَّ اللَّهِ ‏ ‏ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏أَخْبَرَنَا ‏ ‏أَنَّ ‏ ‏إِبْرَاهِيمَ ‏ ‏لَمَّا أُلْقِيَ فِي النَّارِ لَمْ تَكُنْ فِي الْأَرْضِ دَابَّةٌ إِلَّا أَطْفَأَتْ النَّارَ غَيْرَ الْوَزَغِ فَإِنَّهَا كَانَتْ تَنْفُخُ عَلَيْهِ فَأَمَرَ رَسُولُ اللَّهِ ‏ ‏ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏ بِقَتْلِهِ ‏ 

"นางได้เข้าไปหาท่านหญิงอาอิชะห์  แล้วนางได้เห็นในบ้านของท่านหญิงมีหอกวางอยู่  นางกล่าวว่า  โอ้มารดาแห่งศรัทธาชน  ท่านจะทำอย่างไรก็หอกนี้  ท่านหญิงกล่าวว่า  เราจะใช้หอกนี้ฆ่าบรรดาจิ้งจก  เพราะท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้บอกแก่เราว่า  แท้จริงนบีอิบรอฮีมขณะที่ถูกโยนลงกองไฟนั้น  ไม่มีสัตว์ใดในผืนแผ่นดินนอกจากพวกมันจะช่วยกันดับไฟนอกจากจิ้งจกเพราะมันคอยจะเป่าไฟ  ดังนั้นท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจึงให้ให้ฆ่ามัน" 

รายงานโดยอิบนุมาญะห์ (3222)  ฮะดิษนี้ท่านอัลฮาฟิซฺ อัลฮัยษะมีย์  กล่าวว่า  ซอฮิห์  บรรดาผู้รายงานเชื่อถือได้

ดังนั้น จิ้งจกถือเป็นสัตว์ที่สร้างความเดือดร้อน  เป็นสัตว์ที่น่ารังเกียจ  ชอบสร้างความสกปรกด้วยมูลของมันแก่ผู้ที่ทำละหมาดและผู้อาศัย  ฉะนั้นจึงส่งเสริมให้ทำการฆ่ามันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่มันสร้างความเดือดร้อน  กรณีที่บอกว่าการฆ่ามันให้ตายในครั้งแรกส่วนหนึ่งก็คือมันจะได้ไม่ทรมารนั้น  ถือว่าสมเหตุสมผลเช่นกันครับเพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บอกว่า "เมื่อพวกท่านจะฆ่า(เชือดสัตว์) ก็จงทำให้สวยงาม"

รายงานโดยอะบูดาวูด (2432) ฮะดิษนี้ซอฮิห์ 

การเชือดสัตว์ให้สวยงามก็คือทำให้ตายโดยเร็วเพื่อไม่เป็นการทรมารแก่มันนั่นเอง

ที่มา: www.sunnahstudent.com

อัพเดทล่าสุด