ข้าวสารฟิตเราะห์ ให้ใครได้บ้าง คําเนียตซะกาตฟิตเราะห์


40,720 ผู้ชม

ข้าวสารฟิตเราะห์ ให้ใครได้บ้าง คําเนียตซะกาตฟิตเราะห์ รายละเอียดดังนี้....


ข้าวสารฟิตเราะห์ ให้ใครได้บ้าง คําเนียตซะกาตฟิตเราะห์

ข้าวสารฟิตเราะห์ ให้ใครได้บ้าง ดังนี้

ข้าวสารฟิตเราะห์ ถือเป็นฟัรฏู(จำเป็น) ดั่งรายงานจากท่านอิบนุอุมัร กล่าวว่า :

"ท่านเราะซูล ได้กำหนดการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์เป็นผลอินทผลัมจำนวน 1 ทะนาน(ศออ์) หรือข้าวบาเล่ย์จำนวน 1 ทะนาน จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนมิว่าจะเป็นทาส เป็นไท ชาย หญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ และท่านได้สั่งใช้เรื่องดังกล่าวนี้ให้ทุกคนปฏิบัติมันให้เสร็จสิ้นก่อนที่ผู้คนทั้งหลายจะออกไปสู่การละหมาด(อิดิ้ลฟิตรี)” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์)

สำหรับบุคคลที่ลำบาก เขาไม่ต้องจ่ายฟิตเราะห์โดยปราศจากทัศนะใดๆที่ขัดแย้ง ส่วนกรณีผู้ที่มีอาหารเพียงน้อยนิด คือ มีแค่อาหารที่เขาเก็บไว้ใช้บริโภคสำหรับคืนก่อนวันอีดและวันอีด เช่นหากมีข้าวสารจำนวนเท่ากับจำนวน 1 ศออ์ขึ้นไป ย่อมถือว่า ผู้นั้นอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถจ่ายได้ แต่หากเขาไม่มีข้าวสารหรืออาหารใดๆเลยในเวลาดังกล่าวนั้นถือว่าเขาคือผู้ลำบาก และไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตในขณะนั้น เพราะไม่ครบเงื่อนไขที่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตคือครบจำนวนนิศอบของซะกาต นี้คือทัศนะของบรรดาอุละมาอ์ส่วนใหญ่(ญุมหูร)ซึ่งมีเพียงนักวิชาการสายมัซฮับหะนะฟีย์เท่านั้นที่เห็นต่างออกไป

สรุป คือ บรรดาอุละมาอ์ส่วนใหญ่ถือว่า หากบุคคลใดมีอาหารหรือข้าวสารไม่ครบนิศอบ(คือ 1 ศออ์ขึ้นไป) ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ ในที่นี้รวมถึงทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาก็ไม่ต้องจ่าย แต่หากผู้ปกครองสมัครใจจะจ่ายให้ย่อมถือเป็นซุนนะฮฺ เนื่องจากมีปรากฏการกระทำของท่านอุษมาน บินอัฟฟาน ซึ่งตรงกับทัศนะของบรรดานักวิชาการสายมัซฮับหัมบะลีย์

สำหรับคนใช้ไม่ว่า เพศหญิงหรือชาย ที่ถูกจ้างวานให้ทำงานโดยมีค่าตอบแทนเป็นรายวัน หรือรายเดือนก็ตาม กรณีนี้นายจ้างไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบการจ่ายซะกาต เพราะถือเป็นผู้มีอาชีพรับจ้างซึ่งต้องรับผิดชอบตัวเอง แต่หากนายจ้างใจบุญประสงค์จะจ่ายซะกาตแทนให้ ก็กระทำได้แต่จำเป็นต้องบอกกล่าวให้ลูกจ้างรับทราบด้วย เพราะการจ่ายซะกาตถือเป็นอิบาดะฮฺอย่างหนึ่ง การกระทำเช่นนี้ย่อมเป็นการแสดงถึงความเมตตาต่อลูกจ้างนับเป็นการกุศลที่ผู้กระทำย่อมได้รับการตอบแทนความดีอย่างแน่นอน

ข้าวสารฟิตเราะห์ ให้ใครได้บ้าง คําเนียตซะกาตฟิตเราะห์

สำหรับบุคคลที่ไม่สามารถจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ ให้ได้ มี 5 ประเภทด้วยกัน คือ

1. คนร่ำรวย หรือบุคคลที่ไม่มีความเดือดร้อนเกี่ยวกับเงิน หรือการทำงานหาปัจจัยใดๆอีกแล้ว เนื่องปรากฏหะดีษหนึ่งที่ท่านนบี กล่าวว่า

“การบริจาคทานมิอาจให้แก่คนร่ำรวย และบุคคลที่มีความเข้มแข็งสมบูรณ์อยู่แล้ว” (หะดีษหะซัน บันทึกโดยอะหมัด อบูดาวุด อัต-ติรมิซีย์ และอัด-ดารอมีย์)

2. ทาส หรือทาสี เนื่องเขาอยู่ภายใต้การดูแลและรับผิดชอบของผู้เป็นนายอยู่แล้ว และสภาพของตัวเขาเองก็มิอาจถือครองทรัพย์สินใดๆได้ด้วย

3. บุคคลในตระกูลบนูฮาชิม หรือบนูอัล-มุฏเฏาะลิบ เนื่องคำกล่าวของท่านนบี กล่าวว่า

“แท้จริงทานบริจาค(เศาะดะเกาะฮฺ)ไม่สมควรได้แก่ลูกหลานของมุฮัมมัด เพราะแท้จริงแล้วมันคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์ต้องด่างพร้อย” (บันทึกโดยมุสลิม)

4. บุคคลซึ่งอยู่ภายใต้เลี้ยงดูของผู้จ่ายซะกาต หมายถึงเขาจะจ่ายซะกาตนั้นให้แก่ผู้อยู่ภายใต้การปกครองในนามของคนยากจน(ฟุเกาะรออ์)หรือคนขัดสน(มิสกีน)มิได้

5. บุคคลผู้ปฏิเสธ(หรือกาฟิร) เนื่องหะดีษหนึ่งท่านนบี กล่าวว่า

“…ดังนั้นพึงบอกให้พวกเขาทราบเถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงกำหนดให้พวกเขาบริจาคประเภทหนึ่ง ซึ่งรับมาจากบรรดาผู้ร่ำรวยของพวกเขา เพื่อแจกจ่ายในระหว่างบรรดาคนยากจนของพวกเขา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

อัตราของซะกาตฟิตเราะห์

อัตราซะกาตฟิตเราะห์ คือ 1 ศออ์(ทะนาน) จากชนิดอาหารหลักที่ใช้บริโภคในประเทศ จำนวน 1 ศออ์ของท่านนบี ศ็อลฯเท่ากับ 4 มุด ( หรือ 4 กอบมือขนาดปานกลาง) นักวิชาการบางท่านให้ทัศนะว่าเท่ากับ 2.5 กิโลกรัม และบางท่านก็เทียบเท่ากับ 3 กิโลกรัม

ทั้งนี้จากรายของท่านอิบนุอุมัร ว่า :

"ท่านเราะซูล ได้กำหนดซะกาตฟิฏเราะฮฺเท่ากับผลอินทผลัม 1 ศออ์ หรือข้าวบาเล่ย์ 1 ศออ์ บังคับสำหรับมุสลิมทั้งที่เป็นทาสและเป็นไท ชาย-หญิง หรือเด็กและผู้ใหญ่ โดยท่านได้สั่งให้ปฏิบัติมันให้เสร็จสิ้นก่อนที่ผู้คนจะเดินทางออกไปละหมาด” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์)

ซะกาตฟิตเราะห์ ช่วยอะไรในการถือศีลอดบ้าง ?

ช่วยทำความบริสุทธิ์ให้แก่ผู้ถือศีลอด ซึ่งบางครั้งผู้ถือศีลอดอาจจะพูดจาไม่สุภาพบ้าง,ด่าทอ เป็นต้น

ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า:

“ท่านรสูลุลลอฮฺกำหนดซะกาตฟิตเราะห์เป็นฟัรฺฎูเพื่อทำให้เกิดความบริสุทธิ์สำหรับผู้ถือศีลอดอันเนื่องจากการพูดที่ไร้สาระและการพูดจาหยาบคาย

(บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 1609)

ซะกาตฟิตเราะห์ ตามมติฉันท์ของอุละมาอ์ถือเป็นฟัรดู(จำเป็น)

รายงานจากท่านอิบนุอุมัร กล่าวว่า :

“ท่านเราะซูล ได้กำหนดการจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ เป็นผลอินทผลัมจำนวน 1 ทะนาน(ศออ์) หรือข้าวบาเล่ย์จำนวน 1 ทะนาน จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนมิว่าจะเป็นทาส เป็นไท ชาย หญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ และท่านได้สั่งใช้เรื่องดังกล่าวนี้ให้ทุกคนปฏิบัติมันให้เสร็จสิ้นก่อนที่ผู้คนทั้งหลายจะออกไปสู่การละหมาด(อีดุลฟิฏรีย์)” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์)

คําเนียตซะกาตฟิตเราะห์ ทั้งผู้ให้และผู้รับซะกาตฟิตเราะห์

**สำหรับผู้ให้ซะกาตฟิตเราะห์

- จำเป็นที่เขาจะต้องเหนียต ในขณะตวงข้าวสารด้วยว่า เป็นซะกาตของใคร ? 
เช่น ถ้าตวงให้ตนเอง ให้เหนียตในใจว่า "นี่คือ ซะกาตฟิตเราะห์ของข้าพเจ้า ซึ่งเป็นฟัรดูเหนือข้าพเจ้าเพื่ออัลเลาะห์ต้าอาลา"
แต่ถ้าตวงให้คนอื่น ก็ให้หนียตว่า "นี่คือ ซะกาตฟิตเราะห์ของ .... (ให้ใส่ชื่อ นาย/นาง) ซึ่งเป็นฟัรดูเหนือ(ตัวเขา/ตัวนาง)เพื่ออัลเลาะห์ต้าอาลา" เป็นต้น

- ให้ตวงเพื่อไปเลย  2.6 หรือ 2.7 โล เพื่อให้ได้ผลบุญเพิ่มขึ้น และเป็นการป้องกัน เพราะหากว่า ไม่ถึงจำนวน ก็ถือว่า ซะกาตนั้นใช้ไม่ได้

- และมื่อนำซะกาตฟิตเราะห์ ไปมอบให้กับผู้รับ แม้ว่าผู้นำไปมอบ มิได้กล่าวออกมาเป็นวาจาว่าเป็นของผู้ใด ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว

- ทั้งนี้ เพราะตามมัสฮับชาฟีอีย์นั้น ถือว่า การตั้งเจตนา(เหนียต)ของผู้ออกซะกาตนั้น ถือเป็นสิ่งจำเป็น(วาญิบ) ดังนั้น เมื่อมีเจตนาแล้วในขณะที่ออกซะกาต ก็ย่อมถือว่าใช้ได้ ไม่ว่าจะมีการเปล่งวาจาออกมาหรือไม่ก็ตาม" (ดูหนังสือ อัลมัจญ์มัวะอ์ ชัรฮุ้ลมู่ฮัซซับ เล่มที่ 6 หน้า 157-158) 

- แต่ด้วยมารยาทการปฎิบัติแล้ว ให้บอกสักนิดก็ยังดีว่า นี่เป็นซะกาตของนาย .. หรือ นาง .. (ใส่ชื่อ) เพื่อผู้รับจะได้ทราบว่าเป็นของผู้ใด(อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวคับ)

**สำหรับผู้รับซะกาตฟิตเราะห์

จำเป็นต้องเหนียตรับหรือไม่ ?

- ไม่จำเป็นต้องเหนียต แต่ให้รับได้เลย โดยไม่ต้องเหนียตว่า "ข้าพเจ้ารับซะกาตของนาย .. / นาง .. แต่อย่างใด

- "และหากผู้จ่ายซะกาต ได้จ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิรับโดยในขณะที่จ่ายนั้น ผู้ให้มิได้กล่าวว่า สิ่งนั้นเป็นซะกาต หรือ ไม่ได้พูดอะไรเลย ก็ถือว่าใช้ได้ และเป็นซะกาตที่ลุล่วงแล้ว ดังที่ปวงปราชญ์ในมัสฮับชาฟิอีย์ได้ชี้ขาดเอาไว้" (ดูหนังสือ อัลมัจญ์มัวะอ์ ชัรฮุ้ลมู่ฮัซซับ เล่มที่ 6 หน้า 227)

- สุนัตให้ผู้รับซะกาต ขอพรให้แก่ผู้นำซะกาตมามอบให้ว่า :

اجرك الله فيما اعطيت وبارك لك فيما ابقيت 

คำอ่าน : "อาญ่าร่อกั้ลลอฮู่ ฟีมา อะอ์ตอยต้า ว่าบาร่อก้า ล่าก้า ฟีมา อับกอยต้า "

ความหมาย : "ขออัลเลาะห์ทรงตอบแทนแก่ท่าน ในสิ่งที่ท่านได้นำมามอบให้ และขออัลเลาะห์ทรงประทานความเพิ่มพูนในสิ่งที่ท่านคงเหลืออยู่"

- ผู้ให้จะกล่าวตอบอีกทีก็ได้ว่า :

امين ، تقبل الله منا ومنكم

คำอ่าน : อามีน , ต้าก๊อบบะลั่ลลอฮู่ มินนา ว่ามิงกุม

ความหมาย : "ขออัลเลาะห์ทรงตอบรับ(ความดี)ทั้งเราและท่าน"

islamhouse.muslimthaipost.com

อัพเดทล่าสุด