ซะกาตจากหนี้


5,646 ผู้ชม

ซะกาตจากหนี้ ต้องจ่ายหรือไม่ ขอรายละเอียดหน่อย....


ซะกาตจากหนี้

โดย: อ.บรรจง บินกาซัน

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า :

“ถ้าหากลูกหนี้ของสูเจ้าอยู่ในภาวะคับแค้น ก็จงผ่อนปรนให้แก่เขา จนกว่าสถานการณ์ของเขาจะดีขึ้น แต่ถ้าหากสูเจ้ายกหนี้ให้เป็นทาน มันก็เป็นการดีกว่าสําหรับสูเจ้า ถ้าหากสูเจ้ารู้” (กุรอาน 2:280)

ในระหว่างยุคญาฮิลียะฮฺ (ยุคก่อนอิสลาม) เมื่อหนีครบกำหนดชำระ เจ้าหนี้จะพูดกับลูกหนี้ว่า “ชำระหนี้เดี๋ยวนี้ หรือไม่เช่นนั้นดอกเบี้ยจะถูกเพิ่มเข้าไปในหนี้”

อัลลอฮฺ ทรงส่งเสริมให้เจ้าหนี้ผ่อนปรนแก่ลูกหนี้ในเรื่องหนี้สิน และทรงสัญญาว่านั่นเป็นความดีและจะได้รับรางวัลตอบแทนอันยิ่งใหญ่จากพระองค์สำหรับการทําความดีเช่นนั้น อิมามอะหมัด ได้บันทึก สุลัยมาน บินบุร็อยดะฮฺ กล่าวว่า พ่อของเขาได้กล่าวว่า “ฉันได้ยินท่าน รอซูลุลลอฮฺกล่าวว่า :

“ใครที่ให้เวลาแก่ลูกหนี้ที่ตกอยู่ในภาวะลำบาก เขาจะได้ ผลบุญที่เหมือนกับการบริจาคทานทุกวันที่เขาให้”

หลังจากนั้น ท่านรอซูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :

“ใครก็ตามที่ให้เวลาแก่ลูกหนี้ที่ตกอยู่ในภาวะลําบาก จะได้รับผลบุญที่เหมือนกับการบริจาคทานสองเท่าทุกวันที่เขาให้”

ฉันกล่าวว่า “ท่านรอซูลุลลอฮฺ ฉันได้ยินท่านพูดว่า ใครก็ตามที่ให้เวลาแก่ลูกหนี้ที่ตกอยู่ในภาวะลําบาก เขาจะได้ผลบุญที่เหมือนกับการบริจาคทานทุกวันที่เขาให้ และฉันก็ได้ยินว่า ใครก็ตามที่ให้เวลาแก่ลูกหนี้ที่ตกอยู่ในภาวะลําบากจะได้รับผลบุญที่เหมือนกับการบริจาคทานสองเท่าทุกวันที่เขาให้”

ท่านกล่าวว่า “เขาจะได้รับผลบุญที่เหมือนกับการ บริจาคทานทุกวันที่เขาให้เวลาก่อนสัญญาหนี้จะสิ้นสุด และเมื่อ สัญญาสิ้นสุด เขาจะได้รับผลบุญเพิ่มเป็นสองเท่าสําหรับทุกวัน ถ้าหากเขาให้เวลาลูกหนี้เพิ่มขึ้น” (อะหมัด : 5/3601)

ซะกาตจากหนี้

มุฮัมมัด บินกะอับ อัลกุรอซี กล่าวว่า : ชายคนหนึ่งเป็นหนี้ อบูเกาะตาด๊ะฮฺ และหลบลี้หนีหน้าเมื่ออบูเกาะตาด๊ะฮฺมองหาเขาเพื่อให้

เขาชำระหนี้ วันหนึ่งอบูเกาะตาด๊ะฮฺได้มองหาลูกหนี้และมีเด็กหนุ่มคนหนึ่งออกมา เขาได้ถามเด็กหนุ่มเกี่ยวกับลูกหนี้และรู้ว่าลูกหนี้กำาลังกินอาหารอยู่ในบ้าน อบูบเกาะตาด๊ะฮฺจึงตะโกนด้วยเสียงอันดังว่า “นี่พรรคพวกออกมาข้างนอกหน่อยซิ มีคนบอกว่าแกอยู่ในบ้าน”

เมื่อชายคนนั้นออกมา อบูเกาะตาด๊ะฮฺ ได้ถามเขาว่า “ทำไมจึงหลบลี้หนีหน้าฉัน?”

ชายคนนั้นตอบว่า “ฉันกำลังลำบากทางการเงินอยู่และฉันก็ไม่มีเงิน” อบูเกาะตาด๊ะฮฺ กล่าวว่า “ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ แกลำบากเรื่องเงินจริงๆหรือ?” เขาตอบว่า “ใช่”

อบูเกาะตาด๊ะฮฺจึงร้องไห้ และกล่าวว่า “ฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า :

“ใครก็ตามที่ให้เวลาแก่ลูกหนี้ หรือยกหนี้ให้ เขาจะได้อยู่ ภายใต้ร่มเงาบัลลังก์ของอัลลอฮฺในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ” ( อะหมัด 5:308)

อบูเกาะตาด๊ะฮฺ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :

“มีพ่อค้าคนหนึ่งเคยให้คนยืมเงิน และเมื่อใดก็ตามที่ลูกหนี้ของเขาตกอยู่ในภาวะลำบาก เขาจะบอกลูกจ้างของเขาว่า “ให้อภัยเขาเพื่อที่อัลลอฮฺจะทรงให้อภัยเรา” ดังนั้น อัลลอฮฺจึงได้ทรงให้อภัยเขา” (บุคอรี : 2078)

หนี้ 2 ประเภท

นักวิชาการส่วนใหญ่แยกหนี้ออกเป็น 2 ประเภท นั่นคือ

1. ถ้าหนี้ของใครอยู่กับคนมีฐานะที่สามารถจ่ายหนี้ได้เมื่อทวงถาม คนผู้นั้นต้องจ่ายซะกาตจากหนี้ก้อนนั้นเมื่อครบรอบปี (อบูอุบัยด์ รายงาน)

ความเห็นนี้จากบรรดาสาวกใกล้ชิดของท่านนบี เช่น อุมัรฺ, อุษมาน, อิบนุอุมัร และญาบิรฺ และจากคนรุ่นหลังสาวก เช่น มุญาฮิด, อิบรอฮีม และมัยมูน บิน มะฮฺร็อน (อัลอัมวาล : 432)

2. ถ้าใครที่เป็นหนี้กําลังประสบความลําบาก แต่เขาพยายามบ่ายเบี่ยงเลี่ยงที่จะไม่จ่าย และคุณไม่สามารถเอาหนี้คืนจากคนผู้นั้น หรือหนี้ที่ลูกหนี้ปฏิเสธการชำระหนี้

มี 3 ทัศนะเกี่ยวกับซะกาตจากหนี้เหล่านี้

- เจ้าหนี้ต้องจ่ายซะกาตสำหรับทุกปีที่ผ่านมาเมื่อได้รับเงินชำระหนี้ (นี่เป็นความเห็นของ อะลี และอิบนุอับบาส)

- เจ้าหนี้เมื่อได้รับหนี้คืน ต้องจ่ายซะกาตเฉพาะปีสุดท้าย (นี่เป็นทัศนะของฮะซัน, อุมัร บินอับดุลอะซีซ และมาลิก)

- เจ้าหนี้ไม่ต้องจ่ายซะกาตใดๆ และเมื่อได้รับชำระหนี้คืน ก็ให้เริ่มต้นปีใหม่สำหรับซะกาต

ทัศนะที่ถูกต้องจากความเห็นของบรรดานักวิชาการคือ หนี้ไม่ต้องจ่ายซะกาต แต่เมื่อได้รับการชดใช้หนี้ ให้ท่านจ่ายซะกาตปีเดียว ถึงแม้ว่า ลูกหนี้จะติดค้างการชำระหนี้เป็นเวลาหลายปีก็ตาม (ฟัตวา อิสลามมียะห์ : 3/186, ฟิกฮฺ อัซซะกาฮ์ : 1/152-155)

 https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/23154

อัพเดทล่าสุด