จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ที่ไหน ?


101,816 ผู้ชม

จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ที่ไหน ? เพราะอะไรถึงถูกเรียกว่า หินดำ ความประเสริฐของหินดำ...


จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ที่ไหน ?จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ที่ไหน ?                                  

หินดำ เป็นหินที่ถูกตั้งอยู่มุมของกะบะฮ์ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถูกคลุมรอบด้วยกับเงิน หินดำเป็นจุดเริ่มของการตอวาฟ หินดำถูกยกเหนือพื้นดินประมาณ 1.5 เมตร เป็นหินที่มีความหนัก เป็นรูปทรงวงรี มีสีดำแดง

หินดำเป็นหินที่ถูกประทานลงมาจากสวรรค์ โดยลงมาในสภาพที่เป็นชิ้นเดียว แต่ปัจจุบันนี้แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยจำนวน 8 ชิ้น ถูกเคลือบด้วยกับปูนน้ำมันที่สามารถมองผ่านได้ ซึ่งผสมด้วยขี้ผึ้ง ชะมดเชียง และอัมบัร (ไขจากลำไส้ปลาวาฬนำมาใช้ทำเครื่องสำอางพวกน้ำหอม) ซึ่งถูกวางไว้บนหัวของหินดำ

จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ที่ไหน ?

เพราะอะไรถึงถูกเรียกว่า หินดำ

ท่าน ร่อซู้ลฯได้กล่าวว่า หินดำได้ถูกประทานลงมาจากสวรรค์ ในสภาพที่มีความขาวจัดประดุจน้ำนม ต่อมาความชั่วของมนุษย์ได้ทำให้มันเปลี่ยนสีเป็นสีดำ? แน่นอนสีดำนั้นมีอยู่เฉพาะหัวของหินดำเท่านั้น แต่ส่วนที่เหลือเป็นสีขาว ซึ่งบอกเล่าโดยมูฮัมมัด อิบนุ นาเฟียะอฺ อัลคอซาอีย์ เพราะเขาเห็นด้วยกับตาของเขาโดยเขากล่าวว่า ?ฉันได้สังเกตหินดำในขณะที่มันแตกเป็นชิ้นๆ เห็นว่าความดำนั้นมีอยู่บนหัวของหินดำเท่านั้น และส่วนที่เหลือของมันเป็นสีขาว

ความประเสริฐของหินดำ

1. ท่านร่อซู้ลฯ ใช้มืออันมีเกียรติของท่านยกหินดำขึ้น ในขณะที่ชาวกุเรชบูรณะกะบะฮ์เสร็จสิ้น พวกเขามีความขัดแย้งกันว่าใครจะเป็นผู้นำเอาหินดำไปวางไว้ในที่ของมัน เหตุการณ์นี้เกือบสร้างฟิตนะห์ (ความวุ่นวาย) ระหว่างลูกหลานชาวกุเรช แล้วท่านอบูอุมัยยะห์ อิบนุ อัลมุเฆเราะห์ได้ยืนขึ้น แล้วกล่าวว่า โอ้ชาวกุเรชเอ๋ย ! พวกท่านจงให้บุคคลแรกที่เข้ามาทางประตูมัสญิดนี้เป็นผู้ตัดสินความขัดแย้ง ระหว่างพวกท่านเถิด แล้วพวกเขาก็ปฏิบัติตาม ปรากฏว่าคนแรกที่เดินเข้ามาก็คือท่านร่อซู้ลฯ (ศ็อลฯ)  ดังนั้นเมื่อพวกเขาเห็นท่านร่อซู้ลฯ พวกเขาก็กล่าวว่า ชายคนนี้เป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ เรายินดี (ให้เขาเป็นผู้ตัดสิน) ชายคนนี้คือมูฮัมหมัด เมื่อท่านร่อซู้ลฯเดินมายังพวกเขา แล้วพวกเขาก็บอกเรื่องราวการขัดแย้งระหว่างพวกเขา ท่านร่อซู้ลฯ จึงกล่าวว่า ?จงเอาผ้าหนึ่งชิ้นมาให้ฉัน? แล้วผ้าก็ได้ถูกนำมา แล้วท่านร่อซู้ลฯ ก็ได้ยกหินดำด้วยกับมืออันมีเกียรติของท่านวางไว้บนผ้าผืนนั้น แล้วท่านร่อซู้ลฯ ก็ได้กล่าวว่า ?ทุกๆเผ่าจงจับด้านหนึ่งจากผ้านี้ และจงยกมันขึ้นพร้อมๆกัน? แล้วพวกเขาก็ปฏิบัติตามจนกระทั้งถึงที่วางหินดำ ท่านร่อซู้ลฯ ก็ได้ใช้มือของท่านยกหินดำไปวางไว้ในที่ของมัน

2. ท่านร่อซู้ลฯ จูบหินดำ ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นที่เพียงพอแล้วว่า หินดำเป็นหินอันประเสริฐ แน่นอนได้มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัรได้กล่าวว่า ท่านร่อซู้ลได้เรียกร้องให้จูบหินดำ ต่อมาท่านร่อซู้ลก็ได้จูบหินดำพร้อมกับร้องไห้อยู่นาน ต่อมาท่านร่อซู้ลก็ผินออกมา แล้วท่านอุมัรก็ร้องไห้ แล้วท่านร่อซู้ลก็กล่าวว่า ?อุมัรเอ๋ย! ณ ที่นี่แหละที่น้ำตาได้ถูกหลั่งไหล?

3. หินดำเป็นหินที่ถูกประทานลงมาจากสวรรค์ เพราะท่านร่อซู้ลฯได้กล่าวว่า ?หินดำได้ถูกประทานลงมาจากสวรรค์ ในสภาพที่มีความขาวจัดประดุจน้ำนม ต่อมาความชั่วของมนุษย์ได้ทำให้มันเปลี่ยนสีเป็นสีดำ?

4. หินดำคือการสาบานของอัลลอฮฺบนโลกนี้ เพราะท่านนะบีกล่าวว่า ?แท้จริงแล้วหินดำนี้คือการสาบานของอัลลอฮฺในโลกนี้

5. หินดำจะเป็นพยานให้กับบุคคลที่จูบหรือสัมผัสมันในวันกิยามะห์ เพราะท่านนะบีได้กล่าวไว้ว่า ?แท้จริงสำหรับหินดำนี้มีลิ้นและมี2ริมฝีปาก มันจะเป็นพยานให้กับผู้ที่จูบหรือสัมผัสมันในวันกิยามะห์ด้วยความสัจจริง

6. บรรดาซอฮาบะห์ (อัครสาวกท่านร่อซู้ลฯ) จูบหินดำ แน่นอนท่านอุมัรได้จูบหินดำและกล่าวกับหินดำว่า ?แท้จริงฉันรู้ว่าท่านคือหินก้อนหนึ่งที่ไม่มีภัยไม่มีประโยชน์ หากแม้นว่าฉันไม่เห็นว่าท่านร่อซู้ลฯจูบท่าน ฉันก็จะไม่จูบท่าน?

7. หินดำเป็นจุดเริ่มตอวาฟ คือเครื่องหมายในการเริ่มตอวาฟ และสุนัตให้ทำการจูบหินดำในการตอวาฟด้วยสำหรับผู้ที่มีความสามารถ

จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ที่ไหน ? 

การประกอบพิธีฮัจย์ ของอิสลาม

การทำฮัจย์ เป็นหลักปฎิบัติ ข้อที่ 5 ของศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นข้อกำหนดสำหรับผู้ที่มีความพร้อม ในด้านร่างกาย กำลังทรัพย์ และเส้นทางการเดินทางมีความปลอดภัย คือ สามารถเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะฮ. ได้ ส่วนผู้ที่ไม่สามารถไปได้ก็ไม่เป็นไร แต่สำหรับผู้ที่มีศรัทธาแล้ว ความปรารถอันสูงสุดคือการได้ไปประกอบพิธีฮัจย์ สักหนึ่งครั้งในชีวิต 

คำว่า ฮัจย์ แปลว่าการเดินทางไปเยี่บมบ้านของอัลเลาะห์

เท่า ที่ผ่านสายตามา ในภาษาไทย เขียนกันหลายแบบ เช่น ฮัจญ์ หัจญ์ แต่มีความหมายเดียวกัน คือหมายถึง พิธีที่ทำในเดือน ซุ้ล - ฮิจญะฮ ของแต่ละปี หากเดินทางไปในเวลาที่มิใช่ฤดูกาลฮัจย์ จะเรียกศาสนกิจนี้ว่า อุมเราะฮ์

กำหนดการประกอบพิธี จริงๆแล้ว มีระยะเวลา หลายวันค่ะ แต่วันที่สำคัญที่สุดคือ ในวันอีต คือวันที่ 10 ในเดือนซุ้ล - ฮิจญะฮ

ในปีที่ท่านศาสดามูฮัมมัด เกิดคือ ปี ค.ศ.570 ได้มีกษัตริย์ของเยเมน ชื่อ อับรอฮะ ได้คิดที่จะทำลาย กะฮบะฮ เพื่อที่จะเปลี่ยน ให้คนไปทำฮัจย์ ที่ประเทศเยเมน แทน โดย ได้ยก ขบวนช้าง มาจำนวนมากเพื่อ ทำลาย กะฮกบะฮ และมัสยิดฮารอม แต่อัลเลาะห์ ได้ทรงบันดาล ให้มีฝูงนกที่มาพร้อม ก้อนหิน ตัวละ 3 ก้อน คือ คาบ มา 1 ก้อน และ จิกมา ในอุ้งเท้า ข้างละ 1 ก้อน เมื่อมาถึงขบวนช้าง ของ อับรอฮะ ฝูงนกก็ได้ ขว้างก้อนหิน ใส่ขบวนช้าง และเหล่าทหาร ของ อับรอฮะ จนเสียชีวิต ทั้งหมด นี้ คือเหตุการณ์ ที่ ยืนยันได้ว่า อัลเลาห์ ทรงพระประสงค์ ให้ กะฮบะฮ เป็น บ้านของพระองค์

การทำฮัจย์เป็นพิธีกรรมทางศาสนาเก่าแก่ที่มีมาก่อนสมัยของศาสดามุฮัมมัด จากหลักฐานในคัมภีร์กุรอาน การทำฮัจย์เริ่มต้นขึ้นเมื่อตอนที่อัลลอฮ์ ได้บัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีมและอิสมาอิลผู้เป็นลูกชายร่วมกันสร้าง “บัยตุลเลาะห์.” (บ้านของอัลเลาะห์. ) ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเคารพภักดีต่อพระองค์ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีมเรียกร้องเชิญชวนมนุษยชาติให้มาร่วมกัน แสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ที่บ้านดังกล่าว

ดังนั้น ในเดือนซุล - ฮิจญะฮ. ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปฏิทินอิสลาม มุสลิมทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์จากทั่วโลกนับล้านคนจะเดินทางไปร่วมกันแสดงความ เคารพภักดีต่ออัลลอฮ์.ที่บ้านของพระองค์

จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ที่ไหน ?

ซึ่งสถานที่ประกอบพิธีฮัจย์ มีเพียงแห่งเดียว อยู่ที่ กะอ์บะฮ์ หรือบัยตุลเลาะห์ ในเมืองเมกกะฮ์ กะอ์บะฮ์ คือ สิ่งก่อสร้างรูปทรงสี่เหลี่ยม (อะกะบะ แปลว่า นูนขึ้นพองขึ้น) ที่ท่านนบีอิบรอฮิม และ นบีอิสมาอีล บุตรชายช่วยกันสร้างขึ้น จากรากเดิมที่มีเหลืออยู่ตามที่ได้รับคำสั่งจากพระเจ้า อัลลอฮ์ (ซุบห์ ฯ) เมื่อประมาณ 200 ปี ก่อนคริสกาล กะอ์บะฮ์ มีชื่อเรียกอยู่หลายอย่าง ที่ปรากฎอยู่ในกุรอาน เช่น อัล - บัยตุลหะรอม อัล - มัสญีดุลหะรอม บัยตุลอ์ติก แต่ชื่อที่รู้จักกันมากที่สุดคือ บัยตุลลอฮ์ แปลว่า บ้านของอัลลอฮ์

หลังจากสมัยของท่านศาสดาอิบรอฮีมแล้ว ด้วยความโง่เขลาและความหลงผิดของผู้คน รูปแบบของการทำฮัจย์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เช่น แทนที่ผู้คนจะเคารพบูชาอัลลอฮ์.แต่เพียงพระองค์เดียว พวกเขากลับเอารูปปั้นเทวรูปต่าง ๆ ที่พวกเขาบูชามาตั้งไว้รอบ ๆ กะอ.บะฮ. เพื่อสักการะบูชาในระหว่างการทำฮัจย์ และในพิธีการเดินรอบก๊ะอ.บ๊ะฮ.นั้น พวกเขาหลายคนได้เปลือยกายเดินรอบก๊ะอ.บ๊ะฮ.และอื่น ๆ อีกมากมายที่ท่านศาสดาอิบรอฮีมไม่ได้ทำแบบอย่างไว้ จนกระทั่งมาถึงสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด หลังจากที่ท่านเข้ายึดมักก๊ะฮ.ได้แล้ว ท่านได้สั่งให้ทำลายรูปปั้นบูชาต่าง ๆ รอบก๊ะอ.บ๊ะฮ.ลงจนหมดสิ้น และท่านได้แสดงแบบอย่างการทำฮัจย์ที่ถูกต้องให้บรรดาผู้ที่ศรัทธาในอัล ลอฮ์.ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น การทำฮัจย์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจึงเป็นฮัจย์ที่มีแบบอย่างมาจากท่านศาสดามุ ฮัมมัด

การทำฮัจย์ นอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพภักดีและยืนยันในความศรัทธาต่ออัลลอฮ์. แล้ว ยังสอนมนุษย์ทุกคนให้รู้สำนึกว่าในสายตาของอัลลอฮ์. แล้ว มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน เพราะในการทำฮัจย์ ผู้ทำฮัจย์ทุกคนไม่ว่าจะมาจากชนชั้น เผ่าพันธุ์ ภาษา หรือจะมีฐานะอย่างไรก็ตาม ทุกคนจะต้องห่อหุ้มร่างกายด้วยผ้าสีขาวเพียงสองชิ้นเหมือนกันหมดทุกคน จะต้องปฏิบัติพิธีการต่าง ๆ เหมือนกันหมดและทุกคนต่างก็ประกาศความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์.เหมือนกันหมด

ชาวอิสลามทั่วโลก จะต้องหันหน้าเข้าหานคร Mecca ซึ่งเป็นที่ตั้งของ “กะบะฮ์” เมื่อทำพิธีละหมาด

ที่มา: www.dek-d.com

islamhouse.muslimthaipost.com 

https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/19896

อัพเดทล่าสุด