สตรีปาเลสไตน์อายุยืนที่สุดในโลก มาเรียม อัมมาช เสียชีวิตในวัย 124 ปี เธออาศัยอยู่ในเมืองไฮฟา และยังคงถือพาสปอร์ตจักรวรรดิออตโตมาน
สตรีปาเลสไตน์อายุยืนที่สุดในโลก มาเรียม อัมมาช เสียชีวิตในวัย 124 ปี เธออาศัยอยู่ในเมืองไฮฟา และยังคงถือพาสปอร์ตจักรวรรดิออตโตมาน
อัมมาชเกิดปี ค.ศ.1888 ที่ปาเลสไตน์ซึ่งขณะนั้นยังคงเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมุสลิมออตโตมานเติร์ก และเป็นเวลา 60 ปีก่อนหน้าอิสราเอลจะเข้ามายึดครองแผ่นดินของเธอ อัมมาชยังคงเก็บบัตรประชาชนและพาสปอร์ตออตโตมานไว้จนถึงวันที่เธอเสียชีวิต
อัมมาชมีลูก 10 คน (ชาย 5 หญิง 5) มีหลาน-เหลน-โหลน 350 คน
จักรวรรดิมุสลิมออตโตมานเติร์กมีอายุยาวนานถึง 600 ปี (ค.ศ.1299-1922) มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลกินเนื้อที่ทั้งเอเชีย ตอนเหนือของอาฟริกา และยุโรปตะวันออก จักรววรดิล่มสลายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปัจจุบันเหลือเพียงประเทศตุรกี
หากนับตามวันเดือนปีเกิดที่ระบุในหนังสือเดินทาง คุณยายมัรยัมจะมีอายุ ๑๒๔ ปีขณะเสียชีวิตซึ่งเป็นตัวเลขที่ถือว่าทำลายสถิติคนอายุมากที่สุดทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ (๑๑๕ ปี) และที่เสียชีวิตไปแล้ว (๑๒๒ ปี) สมาชิกในครอบครัวของเธอได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าเหตุผลที่แท้จริงที่ทำให้มัรยัมไม่ถูกบันทึกชื่อเป็นคนที่มีอายุยืนที่สุดในโลก ก็เพราะว่ากินเนสบุ๊คต้องการให้เธอไปออกรายการโทรทัศน์เพื่อยืนยันตัวตน ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องถอดหิญาบบนศีรษะของเธอออกก่อน ซึ่งแน่นอนว่าคำตอบของเธอก็คือ “ไม่!”
อย่างไรก็ตาม สำหรับทางกินเนสบุ๊ค พวกเขายืนยันว่าเหตุผลที่มัรยัมไม่ถูกจัดอันดับเป็นคนอายุยืนที่สุดในโลกตามการบันทึกของพวกเขาก็เพราะความไม่แน่นอนของข้อมูลยืนยันวันเดือนปีเกิดของเธอ แม้ว่าทางลูกหลานของมัรยัมจะนำหลักฐานทั้งสูติบัตรและหนังสือเดินทางมาแสดงก็ตาม
ที่จริงแล้ว การถูกบันทึกชื่อในกินเนสบุ๊คหรือไม่ไม่ได้เป็นสาระใหญ่ใจความสำหรับชีวิตของผู้ศรัทธาเลย แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นก็สามารถสะท้อนให้เห็นอะไรหลายอย่าง อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้เราได้รับรู้ข้อมูลที่อาจไม่เคยได้ยินมาก่อนว่า หนึ่งในผู้คนอันดับต้นๆ ที่มีอายุยืนบนโลกใบนี้เป็นผู้มีศรัทธาในอิสลาม และนี่ก็น่าจะเป็นหัวข้อที่พึงสนใจมากกว่าเหตุผลแท้จริงที่มัรยัมไม่ถูกบันทึกชื่อลงกินเนสบุ๊ค
การมีอายุยืนยาวเป็นความจำเริญอย่างหนึ่งจากอัลลอฮฺ หากว่าผู้มีอายุยืนนั้นได้ใช้วันเวลาที่มากขึ้นของชีวิตตนไปในการภักดีต่อพระองค์ ท่านนบีมุฮัมมัดศ็อลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเองเคยกล่าวว่า:
"คนที่ดีที่สุดคือคนอายุยืนโดยที่การงานของเขาดี และคนที่เลวที่สุดคือคนที่อายุยืนโดยที่การงานของเขาเลว" (อัลหะดีษ บันทึกโดยติรมิซียฺ)
ฉะนั้นจึงน่าสนใจเหมือนกันว่าทำไมมัรยัม อะมาช ถึงเป็นหนึ่งในผู้มีอายุยืนยาว
“ตอนคุณยายเสีย ท่านอายุ ๑๒๔ ปี เป็นยายทวดของคนอีกสี่รุ่น พูดอีกอย่างก็คือพวกเราที่เป็นชั้นหลานของคุณยายตอนนี้ก็มีหลานกันหมดแล้ว” มะฮฺดี อัมมาช หลานของมัรยัม อัมมาชให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว
หมู่บ้านที่มัรยัมใช้ชีวิตอยู่และเสียชีวิตลงอยู่ใกล้กับเมืองไฮฟา เธอมีลูกชาย-หญิงทั้งหมดสิบคน หากรวมทั้งหลาน เหลน และโหลนที่เธอมีก่อนเสียชีวิตทั้งหมด มะฮฺดีบอกว่าน่าจะประมาณ ๖๐๐ คน
“คุณยายของเรามีความสัมพันธ์ที่ดีมากกับลูกหลาน ไม่ใช่แค่จดจำชื่อพวกเขาได้นะครับ แต่คุณยายยังจำรายละเอียดต่างๆ ในชีวิตพวกเขาได้ด้วย” หลานชายเล่าต่อไป “คุณยายเป็นคนฉลาดมาก และมีความจำดีเยี่ยม กระทั่งช่วงเวลาก่อนเสียชีวิตไม่นาน คุณยายยังเล่าเรื่องเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของชาวปาเสไตน์ภายใต้ร่มเงาของอาณาจักรออตโตมันให้เจ้าตัวเล็กตัวน้อยในครอบครัวเราฟังอยู่เลย เพราะอย่างนี้แหละครับ สมาชิกทุกคนในครอบครัวเราจึงพร้อมจะรับฟังคำแนะนำของคุณยายและปฏิบัติตามด้วยความยอมรับในประสบการณ์และมุมมองของท่าน”
ไม่ใช่แค่คนในครอบครัว แต่มัรยัมยังเป็นที่นับถือของชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงด้วยเหตุที่เธอเป็นคนอัธยาศัยดีและมักไปเยี่ยมเยียนผู้อื่นสม่ำเสมอตลอดอายุขัยของเธอ กล่าวกันว่ามัรยัมไม่เคยพลาดที่จะตอบรับคำเชิญในทุกโอกาสที่ได้รับเชิญจากเพื่อนบ้านและใครก็ตามที่เธอมีความสามารถจะไปร่วมงานได้ยิ่งไปกว่านั้นเธอยังเป็นที่รู้จักในด้านความชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้านต่างๆ ที่มีสรรพคุณช่วยรักษาสารพัดโรคตามวิถีธรรมชาติ
“คุณยายเป็นคนใส่ใจเรื่องสุขภาพมากครับ ท่านจะทานแต่อาหารที่มาจากธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่ง อาหารที่มีผักสดๆ เป็นส่วนประกอบหลักนั่นแหละคือจานโปรดของท่าน ในหมู่พวกเราไม่มีใครนึกออกเลยว่าเคยเห็นคุณยายทานอาหารสำเร็จรูปที่ซื้อมาจากตลาดแม้สักครั้ง” มะฮฺดียังคงรำลึกถึงวิถีชีวิตของผู้ล่วงลับให้เราฟัง
“คุณยายมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรเป็นอย่างดี ท่านรู้ถึงชนิดและสรรพคุณต่างๆ รวมถึงสถานที่และช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะไปหาไปเก็บสมุนไพรเหล่านั้น ชาวบ้านมาหาคุณยายบ่อยทั้งเพื่อขอความรู้ รวมไปถึงขอตัวสมุนไพรที่ท่านมีไปใช้เอง พวกข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามวิถีธรรมชาตินี้ คุณยายของผมเหมือนกับเป็นเอ็นไซโคลพีเดียกลายๆ เลยล่ะครับ”
เราอาจพอมองเห็นวิถีปฏิบัติของมัรยัม มุสลิมะฮฺผู้ที่อัลลอฮฺให้ความจำเริญแก่เธอด้วยการมีชีวิตยืนยาวและมีลูกหลานมากมาย แต่หากยังมองเห็นไม่ชัดเจนเท่าไหร่ ลองฟังเรื่องเล่าเกี่ยวกับเธออีกสักเรื่องที่สำนักข่าวอัลเกากอศได้นำเสนอไว้
ครั้งหนึ่ง มีตัวแทนเจ้าหน้าที่จากกินเนสบุ๊คมาหามัรยัม และพยายามโน้มน้าวเธอว่าพวกเขาจะทำให้เธอกลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงของโลก มัรยัมได้ถามเขากลับว่า “มันจะทำให้ฉันมีความสุขใช่ไหม ไอ้ชื่อเสียงอะไรนั่นน่ะ”
เจอคำถามแบบนั้น เจ้าหน้าที่ก็เงียบไปอึดใจก่อนตอบว่า “ครับ มันจะทำให้คุณยายมีความสุข”
“ตอนนี้เธออายุเท่าไหร่แล้วพ่อหนุ่ม” หญิงชรายิงคำถามที่สองซึ่งได้รับคำตอบกลับมาว่า “๔๓”
ฟังแล้วมัรยัมก็ถามต่อทันทีว่า “จริงหรือ? แล้วเธอก็ยังไม่เป็นมุสลิมน่ะนะ?”
ชายตัวแทนจากกินเนสบุ๊ครู้สึกประหลาดใจที่หัวข้อนี้ดูเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคู่สนทนา และสงสัยว่าหญิงชราต้องการจะพูดสิ่งใดกันแน่ ซึ่งมัรยัมก็เฉลยในนาทีต่อมา
“พ่อหนุ่ม อายุเธอน่ะแก่พอจะแยกแยะความดีความชั่วได้แล้ว แต่เธอก็ยังไม่รับอิสลาม ที่จริงแล้วมีแต่เด็กอ่อนกับคนสติปัญญาไม่ค่อยสมประกอบเท่านั้นหรอกนะเธอ ที่เชื่อว่าการมีหน้ามีตาท่ามกลางผู้คนที่ล้วนต้องตายเหมือนตัวเองเป็นความสุขสำหรับเขาได้ ทั้งที่เขากำลังถูกโยนลงไปในความตกต่ำ ณ ที่พระผู้สร้างเขามา”
“ ฉะนั้น เธอว่าฉันควรเลือกอะไรล่ะ” หญิงชราถรุกต่อ “ระหว่างการเป็นคนสำคัญท่ามกลางผู้คนที่ไม่ได้สำคัญอะไรกับฉัน หรือการเป็นคนสำคัญท่ามกลางปวงบ่าวคนสำคัญที่ได้รับความพึงพอใจจากผู้สร้าง...ผู้ทรงสร้างทั้งฉัน เธอ แล้วก็ทุกคนที่เธอบอกว่าจะเอาฉันไปนำเสนอต่อพวกเขานั่นแหละ”
เมื่อผู้ฟังยังคงนิ่งเงียบ มัรยัมจงเอ่ยอย่างติดตลกในตอนท้ายว่า “ฉันว่าวันนี้เธอกลับไปก่อนเถอะพ่อหนุ่ม กลับไปคิดในสิ่งที่เธอยังคิดไม่ออกในตอนนี้ ฉันคิดว่าฉันคงจะยังไม่ตายง่ายๆ หรอก จนกว่าเธอจะกลับมา หรือจนกว่าเธอจะคิดออก”
ที่น่าประหลาดใจที่สุดก็คือ มีรายงานว่าตัวแทนกินเนสบุ๊คคนนั้นเข้ารับอิสลามในเวลาต่อมา และหลังจากเขาเข้ารับอิสลาไมด้ราวสี่เดือน มัรยัม อะมาชก็เสียชีวิตลง ซุบฮานัลลอฮฺ ขออัลลอฮฺอภัยโทษให้กับเธอและเมตตาเธอด้วยเถิด
ที่มา: ดาบแห่งอัลเลาะห์ อะคาเดมี่