ดุอาอฺก่อนจะเสร็จสิ้นจากการละหมาด ในช่วงท่านั่งสุดท้าย ก่อนที่จะให้สล่ามหันขวา และซ้าย
ดุอาอ์ก่อนให้สลาม (คำอ่าน พร้อมคำแปล)
ดุอาอฺก่อนจะเสร็จสิ้นจากการละหมาด ในช่วงท่านั่งสุดท้าย ก่อนที่จะให้สล่ามหันขวา และซ้าย
รายงานจากท่านอบี ฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า :ท่านร่อซุล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า : เมื่อคนหนึ่งในพวกเจ้า เสร็จจากการตะชะฮฺฮุดครั้งหลังแล้ว ให้เขาขอความ คุ้มครองจากอัลลอฮฺ ให้พ้นจากสี่อย่าง โดยกล่าวว่า :
«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ عَذَابِ جَهَنَّمَ، وَمِنْ عَذَابِ القَبْرِ، وَمِنْ فِتْنَةِ المَـحْيَا وَالمَـمَاتِ، وَمِنْ شَرِّ فِتْنَةِ المَسِيحِ الدَّجَّالِ»
คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนี อะอูซุบิกะ มิน อะซาบิ ญะฮันนัม, วะมิน อะซาบิล ก็อบริ, วะมิน ฟิตนะติล มะห์ยา วัล มะมาติ, วะมิน ชัรริ ฟิตนะติล มะสีหิด ดัจญาล
ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากการทรมานในนรกญะฮันนัม จากการทรมานในหลุมฝังศพ จากการทดสอบของชีวิตและความตาย จากความชั่วร้ายที่เป็นบททดสอบของดัจญาล” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 588)
หลังจากนั้นให้เลือกอ่านดุอาใดดุอาหนึ่งที่ชอบซึ่งได้รับรายงานมาจากท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) บางครั้งอาจอ่านดุอาบทนี้ และบางครั้งอาจอ่านดุอาบทนั้นก็ได้ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1. ให้อ่าน
«اللَّهُـمَّ إنِّي ظَلَـمْتُ نَفْسِي ظُلْـماً كَثِيراً، وَلا يَـغْفِرُ الذُّنُوبَ إلَّا أَنْتَ، فَاغْفِرْ لِي مَغْفِرَةً مِنْ عِنْدِكَ وَارْحَـمْنِي إنَّكَ أَنْتَ الغَفُورُ الرَّحِيمُ»
คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนี เซาะลัมตุ นัฟซี ซุลมัน กะษีรอ, วะลา ยัฆฟิรุซซุนูบะ อิลลา อันตะ, ฟัฆฟิรลี มัฆฟิเราะตัม มิน อินดิกะ, วัรหัมนี อินนะกะ อันตัล เฆาะฟูรุรเราะหีม
ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ได้ก่อความอยุติธรรมอย่างมากมายแก่ตัวข้าเอง และไม่มีผู้ใดที่อภัยโทษได้เว้นแต่พระองค์เท่านั้น ได้โปรดอภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยการประทานอภัยจากพระองค์ ขอทรงเมตตตาข้าพระองค์ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์นั้นทรงเป็นผู้ที่เปี่ยมยิ่งด้วยการอภัยและความเมตตา” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 834 สำนวนนี้เป็นของอัลบุคอรียฺและมุสลิม เลขที่ : 2705)
2. ให้อ่าน
«اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لِي مَا قَدَّمْتُ وَمَا أَخَّرْتُ، وَمَا أَسْرَرْتُ وَمَا أَعْلَنْتُ، وَمَا أَسْرَفْتُ، وَمَا أَنْتَ أَعْلَـمُ بِـهِ مِنِّي، أَنْتَ المُقَدِّمُ، وَأَنْتَ المُؤَخِّرُ، لا إلَـهَ إلَّا أَنْتَ»
คำอ่าน อัลลอฮุมมัฆฟิรลี มา ก็อดดัมตุ วะมา อัคค็อรฺตุ, วะมา อัสร็อรฺตุ, วะมา อะอฺลันตุ, วะมา อัสร็อฟตุ, วะมา อันตะ อะอฺละมุ บิฮี มินนี, อันตัล มุก็อดดิมุ, วะอันตัล มุอัคคิรุ, ลาอิลาฮะ อิลลา อันตะ
ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ ได้โปรดอภัยในสิ่งที่ข้าพระองค์ทำก่อนหน้านี้และทำหลังจากนี้ สิ่งที่ข้าพระองค์ปิดบังและสิ่งที่ข้าพระองค์เปิดเผย สิ่งที่ข้าพระองค์ทำเกินเลยและสิ่งที่พระองค์รู้ดีกว่าตัวข้าพระองค์ แท้จริงพระองค์เป็นผู้อยู่ก่อนหน้าและเป็นผู้อยู่ภายหลัง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 771)
3. ให้อ่าน
«اللَّهُـمَّ أعِنِّي عَلَى ذِكْرِكَ وَشُكْرِكَ وَحُسْنِ عِبَادَتِكَ»
คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อะอินนี อะลา ซิกริกะ วะ ชุกริกะ วะ หุสนิ อิบาดะติกะ
ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ ขอทรงช่วยข้าพระองค์ในการกล่าวรำลึกถึงพระองค์ การขอบคุณแด่พระองค์ และการปฏิบัติอิบาดะฮฺให้ดีเลิศแด่พระองค์” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ใน อัล-อะดะบุลมุฟร็อด 771 และอบู ดาวูด หมายเลข 1522)
4. ให้อ่าน
«اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ الجُبْنِ، وَأعُوذُ بِكَ أنْ أُرَدَّ إلَى أرْذَلِ العُمُرِ، وَأعُوذُ بِكَ مِنْ فِتْنَةِ الدُّنْيَا، وَأعُوذُ بِكَ مِنْ عَذَابِ القَبْرِ»
คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนี อะอูซุบิกะ มินัล ญุบนิ, วะ อะอูซุบิกะ อัน อุร็อดดะ อิลา อัรซะลิล อุมริ, วะ อะอูซุบิกะ มิน ฟิตนะติด ดุนยา, วะ อะอูซุบิกะ มิน อะซาบิล ก็อบรฺ
ความหมาย “โอ้ อัลลอฮฺ ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความขี้ขลาด และข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความแก่เฒ่าที่ทำให้อ่อนแอ และข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากการทดสอบในดุนยา และข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากการทรมานในหลุมฝังศพ ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์หมายเลข 2822)
ให้สลามหลังจากนั้นให้สลามพร้อมกล่าวด้วยเสียงดังว่า
«السَّلامُ عَلَيْكُمْ وَرَحْـمَةُ الله» อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะห์มะตุลลอฮฺ โดยหันไปทางขวาจนกระทั่งเห็นแก้มด้านขวา แล้วให้สลามทางซ้ายว่า«السَّلامُ عَلَيْكُمْ وَرَحْـمَةُ الله» อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะห์มะตุลลอฮฺ โดยหันไปทางซ้ายจนกระทั่งเห็นแก้มด้านซ้าย (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 582 อบู ดาวูด หมายเลข 996 และอิบนุ มาญะฮฺ 914)
บางครั้งบางคราว เมื่อกล่าวทางขวาว่า อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะห์มะตุลลอฮฺ จะกล่าวทางซ้ายสั้นๆ ว่า อัสสลามุอะลัยกุม (เป็นหะดีษที่หะสัน เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ 1321)
หากเป็นการละหมาดที่มีทั้งหมดเพียงสองร็อกอะฮฺ ไม่ว่าจะเป็นละหมาดฟัรฎูหรือสุนัต ให้นั่งเพื่ออ่านตะชะฮฺฮุด หลังจากร็อกอะฮฺสุดท้าย ดังในหะดีษว่า«جَلَسَ عَلَى رِجْلِـهِ اليُسْرَى، وَنَصَبَ اليُـمْنَى»ความว่า “ท่านนั่งบนเท้าซ้ายของท่านแล้วยันด้วยเท้าขวา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์หมายเลข 828)
หลังจากนั้นให้ปฏิบัติเหมือนที่กล่าวมาแล้ว(อ่านตะชะฮฺฮุด แล้วเศาะละวาตให้กับท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) แล้วขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ แล้วอ่านดุอาอ์ แล้วจึงให้สลาม)มีรายงานจากท่านอัล-บัรฺรออ์ อิบนุ อาซิบ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ได้กล่าวว่า
كَانَ رُكُوعُ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم وَسُجُودُهُ، وَبَيْنَ السَّجْدَتَيْنِ، وَإذَا رَفَعَ رَأْسَهُ مِنَ الرُّكُوعِ، مَا خَلا القِيَامَ وَالقُعُودَ، قَرِيباً مِنَ السَّوَاءِ
ความว่า “ปรากฎว่าการรุกูอฺ การสุญูด การลุกขึ้นจากรุกูอฺ และช่วงห่างระหว่างการยืนกับการนั่งของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น ใช้เวลาเกือบเท่าๆกัน” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 792 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่ : 471)
และสำหรับการปฏิบัติของผู้หญิงมุสลิมะฮฺในละหมาดนั้นให้ปฏิบัติเหมือนที่ผู้ชายปฏิบัติ ทั้งนี้เนื่องจากความเข้าใจโดยรวมจากคำกล่าวของท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ว่า
«صَلُّوْا كَمَا رَأَيْتُـمُوْنِي أُصَلِّي»
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงละหมาด ดังที่พวกท่านเห็นฉันละหมาด” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์หมายเลข 631
เมื่ออิมามเสร็จสิ้นจากละหมาดแล้ว จะหันไปหาบรรดามะอ์มูมทางขวา หรือทางซ้ายของเขาก็ได้ เพราะทั้งสองแบบเป็นสุนนะฮฺทั้งสิ้นมีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮา) ว่า
كان النبي صلى الله عليه وسلم إذا سلم لم يقعد إلا مقدار ما يقول: «اللَّهُـمَّ أَنْتَ السَّلامُ، وَمِنْكَ السَّلامُ، تَـبَارَكْتَ يَا ذَا الجَلالآِ وَالإكْرَامِ»
ความว่า “เมื่อท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ให้สลามแล้ว ท่านจะไม่นั่งในที่ละหมาดนอกจากเพียงแค่ช่วงระยะคำกล่าวของท่านว่า อัลลอฮุมมะ อันตัส สะลาม วะ มินกัส สะลาม, ตะบาร็อกตะ ยา ซัลญะลาลิ วัล อิกรอมความหมาย โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ พระองค์คืออัส-สลาม(ผู้เปี่ยมด้วยสันติ) จากพระองค์นั้นคือที่มาของสันติ ประเสริฐยิ่งเถิด โอ้ผู้เปี่ยมด้วยความยิ่งใหญ่และบุญคุณอันล้นเหลือ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 592)
มีรายงานจากท่าน ฮัลบฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่า
كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يؤمنا فينصرف على جانبيه جميعاً: على يمينه وعلى شماله
ความว่า “ปรากฏว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) เป็นอิมามละหมาดกับพวกเรา เมื่อเสร็จสิ้นการละหมาดแล้ว ท่านหันมาทางพวกเราทั้งสองด้าน ทางขวาของท่านบ้าง ทางซ้ายของท่านบ้าง” (เป็นหะดีษหะสันเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 301 และอัต-ติรมิซีย์ 1041 สำนวนนี้เป็นของท่าน)
บางครั้งปฏิบัติด้วยลักษณะนี้บ้าง ด้วยลักษณะนั้นบ้าง ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮฺในทุกลักษณะที่หลากหลาย
islamhouse.muslimthaipost.com