การตีลูกในอิสลาม ฮะดิษดังกล่าว ให้เราเห็นว่า การตีอนุญาต แต่การตีลูกในอิสลาม มีเงื่อนไขที่ต้องระมัดระวังหลายประการ เช่น
การตีลูกในอิสลาม
การตีลูกในอิสลาม เป็นสิ่งที่ อนุญาต
ในความเห็นของผู้รู้ส่วนใหญ่ ตามฮะดิษของท่านนบี ที่ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า:
ความว่า: "จงสั่งให้ลูกของท่านละหมาด เมื่ออายุ ๗ ขวบ และตีลูกของท่าน (หากเขาไม่ละหมาด) เมื่ออายุ ๑๐ ขวบ.."
จากฮะดิษ เราจะเข้าใจได้ว่า การตีลูกอายุ ๑๐ ขวบ เป็นที่อนุญาต ส่วนที่น้อย หรือมากกว่านั้น อุลามาอฺถกเถียงกัน อุลามาอฺบางท่านกล่าวว่า
ความว่า: "ไม่อนุญาตให้ตีเด็กที่อายุน้อยกว่า ๑๐ เพราะไม่ยังผลดีใด ๆ "
ส่วนลูกที่บรรลุนิติภาวะแล้ว บ้างว่าตีได้ แต่จากที่เข้าใจทัศนะของชาฟีอีย์ การตีลูกที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ถือว่าไม่สมควร ไม่อนุญาต
ดังนั้น การตีลูก ต้องอยู่ในวัยที่เขาเข้าใจว่าตีทำไม และไม่เกินวัยที่มีวิธีอื่นที่เข้าถึงเขาได้ง่ายกว่า นั่นคือ ๑๐ ปี -บรรลุนิติภาวะ ส่วนต่ำกว่านั้น หรือสูงกว่านั้น เป็นที่ถกเถียงกันในวงผู้รู้แล้ว
แม้การตีลูกจะเป็นสิ่งที่อนุญาต แต่ก็ไม่ใช่ฮิกมะฮที่ดี ที่จะใช้ทางออกด้วยการตี หากมีวิธีอื่น ที่สามารถแก้ไขเขาได้ เช่นการแก้ไขด้วยความนุ่มนวล เป็นต้น เว้นแต่ การที่เด็กบางคน ที่เราพบแล้วว่า การตีสั่งสอน เป็นช่องทางที่ดีต่อเขา (และควรแจ้งให้เขาเข้าใจ)
ฮะดิษดังกล่าว ให้เราเห็นว่า การตีอนุญาต แต่การตีลูกในอิสลาม มีเงื่อนไขที่ต้องระมัดระวังหลายประการ เช่น
๑. ไม่ควรเกิน ๑๐ ครั้ง มีฮะดิษที่ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ห้ามการตีเกิน ๑๐ ครั้ง
๒. ไม่ตีหน้าหรือตบหน้า มีคำห้ามจากนบีว่า "ถ้าท่านตี อย่าตีหน้า.."
๓. ไม่ตีในจุดทีสร้างความเจ็บปวดเป็นพิเศษ เช่น อวัยวะเพศ ท้องน้อย หรืออื่น ๆ ที่อ่อนไหวต่อความเจ็บปวด
๔. อย่าตีขณะโกรธ เพราะเป็นภาวะที่คุมตัวเองไม่ได้
๕. อย่าตีในเรื่องที่เป็นที่สงสัย หรือยังไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลชัด
๖. การตี มีเพื่อสั่งสอน ไม่ใช่ลงโทษให้เจ็บปวด
๗. การตีนั้น ต้องไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย
๘. การตีนั้น ต้องไม่นำไปสู่การเกิดปัญหาที่ใหญ่กว่า เช่น ทะเลาะกัน ตัดพ่อตัดลูก หรือ ไม่พูดคุยกัน
ดังนั้น แม้การตี จะถูกอนุญาต แต่ก็พึงระวังให้รอบด้าน ระวังการลงโทษที่เกินเหตุ ระวังการแก้ไข ที่ก่อให้เกิดปัญหาซ้ำสอง فإن الخطأ لا يبرر الخطأ ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องมีวิทยปัญญา ในการดูแลบุตรหลานของตน
ตีลูกที่ยังเล็กได้ไหม ?
คำถาม: ฉันมีลูกอายุสองขวบเขาดื้อมากๆ บางครั้งฉันก็ตีเขา และมีบางครั้งที่พ่อของเขาตีจนเป็นแนว ฉันอยากทราบว่าตีลูกที่ยังเล็กได้ไหม ?
การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์แห่งอัลลอฮ
คำตอบ: อิสลามนั้นใช้ไห้พ่อแม่อบรมสั่งสอนลูกๆ ด้วยการอบรมสั่งสอนที่ดีและถูกต้อง เช่นการอบรมสั่งสอนในเรื่องศาสนาและคุณธรรมและจริยธรรมที่ดี และให้ลงโทษด้วยการตีได้เป็นบางครั้งบางเวลา แต่มีเงื่อนไขว่าลูกๆนั้นต้องบรรลุศาสนภาวะแล้ว เพราะการตีก่อนที่เด็กจะบรรลุศาสนภาวะนั้นไม่มีประโยชน์อะไร
เรื่องการลงโทษเด็กนั้นมีฮะดิษของอบูดาวูดรายงานว่า ท่านนบี บอกว่า
أن النبي صلى الله عليه وسلم قال: مروا أولادكم بالصلاة وهم أبناء سبع سنين، واضربوهم عليها وهم أبناء عشر
" ท่านทั้งหลายจงใช้ไห้ลูกๆละหมาดเมื่อพวกเขาอายุเจ็ดปี และจงตีพวกเขาได้ถ้าพวกเขาไม่ละหมาด(ไม่เชื่อฟัง)เมื่อพวกเขาอายุสิบปี "
ฮะดิษนี้ทำไห้เรารู้อิสลามอนุญาตให้ตีลูกได้เมื่อพวกเขาอายุตั้งแต่สิบขวบขึ้นไปดังมีคำพูดของเจ้าของหนังสือ มาวาฮิบ อัลยาลีลว่า การลงโทษนั้นต้องหลังจากอายุสิบปี
ตามที่ถามว่าตีเด็กสองขวบได้ไหม ? คำตอบ คือ ไม่ได้ ตามบัญญัติอิสลาม เพราะการตีเด็กเล็กๆไม่เกิดประโยชน์กับเด็กเพราะเขายังเล็กอยู่คิดไม่เป็นและไม่สำนึกอะไร แต่ต้องจำไว้ว่าเมื่อเขาอายุครบที่ศาสนาอนุญาติไห้ตีได้แล้ว ไม่ใช่มุ่งแต่จะตีไปเสียทุกเรื่องหรือจะอบรมสั่งสอนด้วยความรุนแรง ตามอารมณ์ หรือการข่มขู่ตะคอก ผู้เชี่ยวชาญด้านการอบรมสั่งสอนบอกว่า การอบรมสั่งสอนด้วยความนิ่มนวลนั้นดีกว่าการอบรมสั่งสอนด้วยความรุนแรงและแข็งกระด้าง บางคนตีเด็กตีลูกด้วยอารมณ์จนเกิดเป็นแนวเป็นแผลตามตัวจำไว้ว่า การกระทำที่ผิดๆนั้นไม่สามารถแก้ไขสิ่งผิดๆได้(ลูกทำผิดเราตีเพื่อไห้ลูกดี อย่าตีจนกระทั่งเราทำผิดหลักการอิสลามเสียเอง)
ใครเคยทำแบบนั้นจงขออภัยโทษต่ออัลลอฮเสียเถอะ และอย่าตีลูกในขณะที่โกรธหรือโมโหอย่างรุนแรงจนควบคุมตัวเองไม่ได้เพราะการกระทำแบบนั้น ไม่เกิดประโยชน์อะไรกับท่านเลย ณ อัลลอฮ
والله أعلم.
www.islammore.com
islamhouse.muslimthaipost.com