การดูแลผู้ป่วย ตามแนวทางอิสลาม


14,120 ผู้ชม

การดูแลคนป่วยนั้นมีความสำคัญมาก เพราะผู้ป่วยกำลังถูกทดสอบ บางคนป่วยหนักจนดูแลตัวเองไม่ได้ หน้าที่จึงมาตกหนักอยู่ที่คนที่ดูแลผู้ป่วย ต่อไปนี้คือ 4 แนวทางในการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางอิสลาม


ความเจ็บป่วย เป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ อิสลามมิได้ถือว่าความเจ็บป่วยเป็นเคราะห์กรรมหรือความโชคร้าย หากแต่เชื่อว่า ความเจ็บป่วยนั้นเป็นไปตามพระประสงค์ของอัลลอฮฺ และการหายหรือไม่หายจากการเจ็บป่วย หรือการตาย ก็เป็นพระประสงค์ของอัลลอฮฺเช่นกัน แต่ก็มิได้หมายความว่า ให้ผู้ป่วยนอนรอจนกว่าพระองค์จะลิขิตให้หายโดยไม่พยายามเยียวยารักษา อิสลามถือว่า ความเจ็บป่วยเป็นการทดสอบ วัดความศรัทธา ความอดทน ความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ นอกจากนี้ การที่พระองค์ให้เราเจ็บป่วยยังถือเป็นความเมตตา และไม่ให้เราท้อแท้สิ้นหวัง ให้รีบบำบัดเพื่อจะได้หาย ได้เคารพภักดีต่อพระองค์ต่อไป


ความเจ็บป่วยในทัศนะอิสลาม ถือว่า…
 
ความเจ็บป่วยเป็นการทดสอบ

พระองค์อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า

“และแน่นอน เราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยสิ่งหนึ่งสิ่งใด จากความกลัว ความหิว และด้วยความสูญเสีย (อย่างใดอย่างหนึ่ง) จากทรัพย์สมบัติ ชีวิต และพืชผล และเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดา ผู้อดทนเถิด คือ บรรดาผู้ที่เมื่อเคราะห์ร้ายประสบแก่พวกเขาแล้ว พวกเขาก็กล่าวว่า แท้จริงเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ และแท้จริงพวกเราจะกลับไปยังพระองค์”

 
(อัลบะเกาะเราะฮฺ 2: 155-156)

การดูแลผู้ป่วย ตามแนวทางอิสลาม

การดูแลผู้ป่วย ตามแนวทางอิสลาม

การดูแลคนป่วยนั้นมีความสำคัญมาก เพราะผู้ป่วยกำลังถูกทดสอบ บางคนป่วยหนักจนดูแลตัวเองไม่ได้ หน้าที่จึงมาตกหนักอยู่ที่คนที่ดูแลผู้ป่วย ต่อไปนี้คือ 4 แนวทางในการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางอิสลาม

1.ระวังเรื่องขอบเขตหญิงชาย ระหว่างผู้ป่วยและคนดูแลผู้ป่วย

หากสามีป่วย ให้ภรรยาเป็นคนดูแลจะดีที่สุด อย่าให้นางพยาบาลดูแลเลย

อย่าลืมว่าอิสลามสอนไว้ว่า เอาเข็มแทงศีรษะตัวเองดีกว่าให้ผู้หญิงผู้ชายทีไม่ใช่สามีภรรยามาถูกตัวกัน อุลามาอฺระดับโลกเวลาไปโรงพยาบาล จะขอร้องโรงพยาบาลให้จัดคนดูแลเป็นผู้ชาย ไม่ให้เป็นผู้หญิง อุลามาอฺเขาบอกว่า จะให้ผู้หญิงจะมาจับตัวฉันทำไม ฉันไม่สบาย ฉันถูกทดสอบ ฉันจะกลับไปหาอัลลอฮฺอยู่แล้ว ยังจะให้ฉันทำบาปอีก คนที่ถูกตัวฉัน ต้องจับแล้วได้บุญ อย่าจับแล้วมีบาป

2. คนที่เฝ้าไข้ต้องให้กำลังใจคนป่วย อย่าดุ อย่าตะวาดคนป่วย พูดจาดีๆ พูดแต่เรื่องดีๆกับคนป่วย หากคนป่วยมีกำลังใจดี ร่างกายก็จะดีตาม

3. คนที่ดูแลคนป่วย ต้องเตือนคนป่วยให้ละหมาดให้ครบ อย่าให้คนป่วยขาดละหมาด
คนป่วยนั้นสามารถละหมาดรวมได้ แต่จะละหมาดย่อไม่ได้  หากป่วยแล้วถูกน้ำไม่ได้ ก็ให้ตะยัมมุม หากยืนละหมาดไม่ได้ก็ให้นั่งละหมาด หากนั่งไม่ได้ก็ให้นอนละหมา

4. คนที่เฝ้าคนป่วยต้องคอยเตือนคนป่วยให้อ่านอัลกุรอานเยอะๆ ซิกรุ้ลลอฮฺเยอะๆ หรือถ้าคนป่วยอ่านอัลกุรอานไม่ไหว ก็เปิดเทปเปิดซีดีอัลกุรอานฟัง หรือเราจะอ่านอัลกุรอานให้คนป่วยฟังก็ได้ คนดูแลคนป่วยควรซิกรุ้ลลอฮฺเยอะๆ และสอนให้ผู้ป่วยซิกรุ้ลลอฮฺด้วย จะทำให้การป่วยเบาบางลง 

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

   การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายควรดุมแลแบบองค์รวมที่จะต้องครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือ ความศรัทธา และฝากความหวังอย่างมากให้กับแพทย์ พยาบาล ตลอดทั้งบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งมีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด เป็นผู้ที่มีส่วนจูงใจ โน้มน้าวให้เกิดความร่วมมือในการบำบัดรักษา เกิดขวัญกำลังใจในการเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บของผู้ป่วย ฉะนั้นประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยในระยะสุดท้าย บุคลากรสาธารณสุขควรจะมีการตระหนักรู้ มีเจตคติและความเข้าใจ มีความเห็นอกเห็นใจ และมีการประคับประคองผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เช่น การตรวจเยี่ยมผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ การสบตา การสัมผัสผู้ป่วยตามความเหมาะสม การฟังสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการพูด และการยินดีตอบคำถามอย่างให้เกียรติ สิ่งสำคัญในการดูแลดังกล่าวคือ ความจริงใจและมีคุณธรรมในการดูแล

   ในขณะเดียวกันการช่วยเหลือทางสังคมและจิตใจ สำหรับญาติผู้ป่วยเราก็ไม่ควรจะละเลย เพราะปฏิกิริยาทางจิตใจที่มีต่อการสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รัก อาจแสดงออกมาในลักษณะช็อก ตกตะลึง ปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้น ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับต่อความเป็นจริง ซึมเศร้า ท้อแท้ใจ และในที่สุดอาจยอมรับสภาพความจริงไม่ได้ ฉะนั้นการสื่อสารที่เหมาะสม เพื่อลดความรุนแรงของอารมณ์ที่เกิดขึ้น ผู้ที่จะสื่อสารหรือบอกข่าวกับญาติควรดำเนินการดังนี้

       
  1.       เตรียมความพร้อมทั้งด้านอารมณ์ ความรู้สึก และความคิด
  2.    
  3.       การบอกความจริง บอกอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้ผู้รับข่าวการเจ็บป่วยรับรู้ตามลำดับเหตุการณ์ หรือตามเหตุผลที่เกิดขึ้นจริง
  4.    
  5.       ให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้รับข่าวการเจ็บป่วยผ่อนคลายความรู้สึกลง
  6.    
  7.       เสนอความช่วยเหลือและร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาแก่ผู้รับข่าวสารการเจ็บป่วยต่อไป

   ในฐานะที่เป็นมุสลิม หน้าที่ประการหนึ่งของมุสลิมพึงมีต่อกันและกัน คือ การเยี่ยมผู้ป่วย สิ่งที่คนไปเยี่ยมผู้ป่วยพึงกระทำ คือ ควรเตือนให้ผู้ป่วยได้ตระหนักถึง

  1.       การเตาบะฮ์ (ขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮ์)
  2.    
  3.       สิ่งที่เขาจำเป็นจะต้องสั่งเสีย
  4.    
  5.       ให้เขาใช้เวลาอย่างเต็มเปี่ยมไปด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮ์

   เพราะสิ่งเหล่านี้จำเป็นสำหรับผู้ป่วยครั้งเมื่อเขาอยู่ในสภาพของคนใกล้สิ้นลมหายใจ ผู้ที่อยู่ใกล้ผู้ตายควรจะสอนให้เขาได้กล่าวว่า "ลา อิลาฮะอิลลัลลอฮ์" (ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น) ด้วยเสียงดังพอที่จะให้คนใกล้ตายได้ยิน อันจะเป็นการทำให้เขาระลึกได้และได้รำลึกถึงอัลลอฮ์

   สิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ดูแลจะต้องแนะนำให้ผู้ป่วยกระทำอยู่เสมอ ได้แก่

        
  1.       ให้ผู้ป่วยมีความพอใจในการกำหนดของอัลลอฮ์
  2.    
  3.       ให้ผู้ป่วยมีความอดทนต่อการกำหนดของอัลลอฮ์
  4.    
  5.       ให้ผู้ป่วยมีความคิดแต่สิ่งที่ดีๆเกี่ยวกับอัลลอฮ์
  6.    
  7.       ไม่ควรให้ผู้ป่วยขอดุอาร์ให้ตาย เพื่อจะได้พ้นจากการทรมานจากอาการเจ็บป่วย
  8.    
  9.       ให้ผู้ป่วยกล่าวขออภัยต่ออัลลอฮ์ในความผิดที่ผ่านมา

   สำหรับญาติพี่น้องหรือผู้ดูแลควรมีข้อปฏิบัติ ดังนี้

        
  1.       กล่าวชะฮาดะฮ์ อยู่ตลอดเวลาให้แก่ผู้ป่วย
  2.    
  3.       กล่าวดุอาร์ (บทขอพร) ให้ผู้ป่วย เช่น "ขออัลลอฮ์ ให้เราพ้นจากความทรมานและความเจ็บป่วยในการตาย"
  4.    
  5.       พูดเฉพาะสิ่งที่ดีๆ ต่อหน้าผู้ป่วย
  6.    
  7.        

   
บทความโดย : เจ๊ะฟาตีหม๊ะ บินอิบรอเฮง
ที่มา : การช่วยเหลือทางสังคมและจิตใจในผู้ป่วยระยะสุดท้าย หน้า 41-44
อ้างอิงตาม สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข

ที่มา: สุขภาพดีตามสูตรนบี

อัพเดทล่าสุด