ผู้อิจฉาอาจเกิดการอิจฉาด้วยสายตาของเขาโดยไม่ตั้งใจ และอาจเกิดผลร้ายจากการมองธรรมดาๆ ของผู้อิจฉาก็ได้ เพราะฉะนั้นอิสลามสอนว่า
ดุอาอฺป้องกันไม่ให้เราอิจฉาผู้อื่น (ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ)
ผู้อิจฉาอาจเกิดการอิจฉาด้วยสายตาของเขาโดยไม่ตั้งใจ และอาจเกิดผลร้ายจากการมองธรรมดาๆของผู้อิจฉาก็ได้ เพราะฉะนั้นอิสลามสอนว่า เมื่อเห็นอะไรที่ดีงามให้กล่าววิงวอนขอให้สิ่งดีงามนั้นเกิดความเจริญมากขึ้น เพื่อเป็นการแสดงถึงเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์และคัดค้านกับความรู้สึกอิจฉาที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ เช่น กล่าวว่า...
مَاشَاء الله تَبَارَكَ الله
“มาชาอัลลอฮฺ ตะบารอกัลลอฮฺ”
หมายความว่า นั่นคือพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ขออัลลอฮฺทรงให้จำเริญเถิด
คำวิงวอนบทนี้ จะทำให้ผู้อิจฉาคำนึงทันทีว่าสิ่งดีงามที่ปรากฏต่อหน้าเขาย่อมเป็นพระประสงค์ของอัลลอฮฺ จึงไม่มีสิทธิที่จะลบล้างหรืออิจฉามันได้ นั่นคือมารยาทที่เราต้องปรับปรุงในสังคมของเรา เพราะคนส่วนมากเมื่อเห็นสิ่งดีงามของคนอื่นก็มักจะแสดงความชื่นชมด้วยถ้อยคำเช่น โอ้โห สวยจัง ดีจัง ใหญ่จัง คำพูดเหล่านี้ถึงแม้ว่าถูกกล่าวด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่มันอาจประกอบด้วยความอิจฉาริษยา จึงต้องกล่าวในสิ่งที่สวนกับอิจฉาคือวิงวอนให้จำเริญ
อันตรายของอิจฉาริษยา
การอิจฉาริษยามีผลอันตรายต่อผู้อิจฉาริษยาและผู้ที่ถูกอิจฉาริษยาด้วย สำหรับผู้อิจฉานั้นก็มีผลร้ายทางจิตใจ ดังที่ท่านอบูบักร อัรรอซียฺ ได้กล่าวไว้ว่า การอิจฉาริษยาจะก่ออันตรายต่อจิตใจ เพราะจะทำให้หันห่างจากสิ่งที่มีคุณประโยชน์ต่อจิตใจและสรีระ จึงทำให้เกิดมาซึ่งความเศร้าโศกและความเครียด และความรู้สึกดังกล่าวจะก่ออันตรายต่อสรีระ เพราะจะนำผู้อิจฉาไปสู่พฤติกรรมที่เกิดจากการอิจฉาริษยา เช่น การนอนไม่หลับ อดอาหาร จนทำให้เสียอารมณ์ด้วยบรรยากาศแห่งความโกรธแค้น ซึ่งคำพูดของท่านอบูบักร อัรรอซียฺ นี้มีแพทย์ยืนยันว่า อิจฉาริษยาก่อให้เกิดอาการร้ายแรงทางประสาท จึงอาจทำให้มีการปวดศีรษะและไม่สามารถนอนหลับหรือพักผ่อน มีอาการหายใจไม่สะดวก และความเครียดนี้อาจก่อให้มีผลกระทบต่อกระเพาะอาหารเนื่องจากความเครียดดังกล่าว และความอิจฉาริษยาทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นขนานกับความเครียดที่มีอยู่ และแพทย์มักจะให้คำแนะนำกับคนเหล่านี้ว่าให้พักผ่อนและทำจิตใจให้สงบ ให้ละทิ้งซึ่งความห่วงหรือคิดแทนคนอื่น เพราะเป็นหนทางที่จะทำให้จิตใจของผู้อิจฉาริษยานั้นห่างไกลจากมูลเหตุของอันตรายดังกล่าว
อันตรายของอิจฉาริษยาก็ยังมีต่อผู้ที่ถูกอิจฉาริษยาด้วย เพราะผลร้ายอิจฉาริษยานั้นมีจริง ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إِنَّ العَيْنُ حَقٌّ . رواه ابن ماجة وصححه الألباني
ความว่า : “ตา(ผู้อิจฉาริษยาก่ออันตราย)จริง”
อัลกุรอานก็ยืนยันในอันตรายของอิจฉาริษยา ดังที่มีปรากฏในซูเราะฮฺอัลฟะลักว่า
وَمِنْ شَرِّ حَاسِدٍ إِذَا حَسَدَ
ความว่า : “และจากความชั่วร้ายของผู้อิจฉาเมื่อเขาอิจฉา”
ด๊อกเตอร์มุฮัมมัด คอลิด ซุลฏอน ได้อธิบายเรื่องอิจฉาว่า การอิจฉาริษยามีเคลื่อนไหวสองประเภท ประเภทตั้งใจและประเภทไม่ตั้งใจ ส่วนอวัยวะจะไม่มีผลงานเว้นแต่ต้องมีการเคลื่อนไหว ซึ่งสรีระจะไม่ได้แสดงผลงานเว้นแต่ต้องมีเคลื่อนไหวเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าเคลื่อนไหวนั้นมีเจตนารมณ์หรือไม่ อาทิเช่น ความหึง ซึ่งมนุษย์ทุกคนย่อมมีความรู้สึกนี้ในจิตวิญญาณโดยไม่ตั้งใจ แต่ความหึงอาจก่อให้มีความอิจฉาเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวแห่งจิตใจที่มีความตั้งใจ ดังนั้นเราจะเห็นว่าผู้อิจฉาจะไม่ก่อความเสียหายต่อผู้ที่ถูกอิจฉา เว้นแต่ต้องตั้งใจอิจฉา และนั่นคือความหมายของอายะฮฺที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า “และจากความชั่วร้ายของผู้อิจฉาเมื่อเขาอิจฉา” หมายรวมว่าถ้าผู้อิจฉาไม่อิจฉาแล้วไซร้ ก็จะไม่มีอันตรายประสบกับผู้ถูกอิจฉาริษยา
แท้จริงความเห็นของด๊อกเตอร์มุฮัมมัด คอลิด ซุลฏอน อาจไม่สอดคล้องกับหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บทหนึ่งคือ “อัลอัยนุฮักกุน” หมายความว่า “ตา(ผู้อิจฉาริษยาก่ออันตราย)จริง” เพราะในหะดีษบทนี้ท่านนบีกล่าวถึงผลกระทบของสายตาผู้อิจฉาริษยาเท่านั้น ก็หมายรวมว่าผู้อิจฉาอาจเกิดการอิจฉาด้วยสายตาของเขาโดยไม่ตั้งใจ และอาจเกิดผลร้ายจากการมองธรรมดาๆของผู้อิจฉาก็ได้ เพราะฉะนั้นอิสลามสอนว่า เมื่อเห็นอะไรที่ดีงามให้กล่าววิงวอนขอให้สิ่งดีงามนั้นเกิดความเจริญมากขึ้น เพื่อเป็นการแสดงถึงเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์และคัดค้านกับความรู้สึกอิจฉาที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ เช่น กล่าวว่า
“มาชาอัลลอฮฺ ตะบารอกัลลอฮฺ” หมายความว่า นั่นคือพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ขออัลลอฮฺทรงให้จำเริญเถิด
คำวิงวอนบทนี้จะทำให้ผู้อิจฉาคำนึงทันทีว่าสิ่งดีงามที่ปรากฏต่อหน้าเขาย่อมเป็นพระประสงค์ของอัลลอฮฺ จึงไม่มีสิทธิที่จะลบล้างหรืออิจฉามันได้ นั่นคือมารยาทที่เราต้องปรับปรุงในสังคมของเรา เพราะคนส่วนมากเมื่อเห็นสิ่งดีงามของคนอื่นก็มักจะแสดงความชื่นชมด้วยถ้อยคำเช่น โอ้โห สวยจัง ดีจัง ใหญ่จัง คำพูดเหล่านี้ถึงแม้ว่าถูกกล่าวด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่มันอาจประกอบด้วยความอิจฉาริษยา จึงต้องกล่าวในสิ่งที่สวนกับอิจฉาคือวิงวอนให้จำเริญ
หนังสือ โรคเอดส์แห่งอีมาน (อิจฉาริษยา), เชคริฎอ อะหมัด สมะดี
ที่มา: www.islaminthailand.org