ชายคนหนึ่งได้เสียชีวิตลง พวกเราจึงอาบน้ำและห่อศพให้แก่เขา แล้ววางศพลง ณ สถานที่ซึ่งเตรียมไว้เพื่อรอให้ท่านเราะสูล (ซล) มาละหมาดให้ เมื่อท่านเราะสูล (ซล) กำลังจะเดินทางมาถึง
อยากปลดหนี้ทําไงดี แนะวิธีใช้หนี้สินในแบบอิสลาม
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุข ความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ เพียงองค์เดียวไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัด เป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
ท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า
“ชายคนหนึ่งได้เสียชีวิตลง พวกเราจึงอาบน้ำและห่อศพให้แก่เขา แล้ววางศพลง ณ สถานที่ซึ่งเตรียมไว้เพื่อรอให้ท่านเราะสูล (ซ.ล.) มาละหมาดให้ เมื่อท่านเราะสูล (ซ.ล.) กำลังจะเดินทางมาถึง
ท่านก็ถาม ขึ้นว่า “สหายของพวกท่านมีหนี้สินหรือไม่?”
พวกเขาตอบว่า “ใช่ครับ เขามีหนี้เป็นเงินสองดีนาร์”
ท่านนบี (ซ.ล.) จึงถอยออกมาแล้วกล่าวว่า “พวกท่านจง ละหมาดให้สหายของพวกท่านเถิด”
ชายคนหน่ึงชื่ออบูเกาะตาดะฮฺ จึงกล่าวขึ้นว่า “โอ้ท่านเราะสูลลุลฮฺ ฉันจะรับผิดชอบสองดีนาร์นั่นเอง”
ท่านเราะสูล (ซ.ล.) จึงกล่าวถามว่า “ท่านจะรับผิดชอบชดใช้สองดีนาร์นี้ด้วยทรัพย์สินของท่าน และถือว่าผู้ตายได้หมดภาระหนี้สินไปใช่หรือไม่?”
เขาตอบ ว่า “ครับ”
ท่านนบี (ซ.ล.) จึงละหมาด ให้แก่ผู้ตาย หลังจากนั้นทุกครั้งที่ท่านนบีได้พบเจออบูเกาะตาดะฮฺ
ท่านก็จะถามว่า “ท่านจัดการเงินสองดีนาร์นั้นหรือยัง?”
กระทั่งท้ายที่สุดเขาก็ตอบว่า “ฉันได้ชดใช้หนี้สินเรียบร้อยแล้ว”
ท่านเราะสูล (ซ.ล.) จึงกล่าวว่า “ในที่สุด ท่านก็ทำให้ผิวหนังของเขาเย็นลงเสียที”
(บันทึกโดยอัลหากิม หะดีษเลขที่ 2393)
หะดีษข้างต้นและหะดีษอื่น ๆ อีกมากมายเป็นหลักฐาน ยืนยันอย่างชัดเจนว่า หนี้สินนั้นเป็นเร่ืองท่ีสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งไม่ควรที่จะถูกมองข้าม และยังเป็นเรื่องร้ายแรงที่อิสลามไม่อาจยกเว้นให้ได้ ดังเช่นในหะดีษข้างต้น ถึงแม้จะเป็นเพียงหนี้สินเล็กน้อยก็ตาม ลูกหนี้ที่เสียชีวิตก็จะต้องได้รับบทลงโทษ และความเจ็บปวดในหลุมศพ จนกว่าหนี้สินของเขาจะได้รับการชำระชดใช้
ในช่วงแรกของอิสลามนั้น ท่านนบี (ซ.ล.) จะไม่ละหมาดให้กับศพที่ยังมีหนี้สินค้างคา เพราะหนี้สินถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องได้รับการสะสาง แต่หลังจากที่รัฐอิสลามได้เจริญรุ่งเรืองและมีทรัพย์สินเพ่ิมขึ้น ท่านนบี (ซ.ล.) ก็รับชำระหนี้สินให้แทน และทำการละหมาดให้แก่ผู้ตาย
ผู้ศรัทธาทุกคนมีภาระผูกพันกับหนี้สินของเขา จนกว่าเขาจะชำระหนี้สินนั้นเสีย อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าวา่ ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า
"วิญญาณของผู้ศรัทธาจะถูกกักไว้ โดยจะยังไม่ได้รับรางวัลของความดีที่กระทำไว้ จนกว่าหนี้สินของเขาจะได้รับการชดใช้”
(บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หะดีษเลขที่1078และ1079)
อัชเชากานีย์ กล่าวว่า “หะดีษบทนี้ชี้ให้เห็นว่าอิสลามได้ ส่งเสริมให้ทายาทผู้รับมรดกชดใช้หนี้สินแทนผู้ตาย โดยเน้นย้ำว่าผู้ตายที่ยังมีหนี้สินอยู่นั้น จะถูกกักตัวไว้ก่อนจนกว่าหนี้สินของเขาจะได้รับการชำระ ที่กล่าวมานี้เป็นกรณีที่ผู้ตายมีทรัพย์สินเพียงพอแต่หากเป็นผู้ขัดสนซึ่งไม่มีทรัพย์สินและตายไปในสภาพที่เขามีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะชำระหนี้ให้ได้ เช่นนี้อัลลอฮ์ ก็จะทรงชดใช้หนี้สินแทนเขา ดังมีหลักฐานจากหะดีษ มากมายที่ระบุถึงเรื่องนี้”
(นัยลุลเอาฏอร เล่ม 2 หน้า 53)
ทั้งนี้ ผู้ศรัทธานั้นอาจจะถูกกีดกันไม่ให้เข้าสวรรค์ด้วย เหตุที่เขายังมีหนี้สินค้างชำระ ดังมีหะดีษบันทึกโดยอบูดาวูด จากสะมุเราะฮฺ เล่าว่า ท่านเราะสูลลุลอฮฺ (ซ.ล.) ได้กล่าวใน คุฏบะฮฺว่า
“มีผู้ใดในที่นีมาจากเผ่านี้ (ท่านระบุช่ือเผ่าหนึ่ง) ไหม?”
ไม่มีผู้ใดตอบ ท่านจึงกล่าวซ้ำอีกว่า “มีผู้ใดมาจากเผ่านี้ไหม?”
ก็ไม่มีผู้ใดตอบอีก ท่านจึงกล่าวอีก “มีผู้ใดมาจากเผ่านี้ไหม?”
จึงมีชายคนหนึ่งลุกขึ้น และกล่าวว่า “ฉันเอง โอ้ ท่านเราะสูลลุลลอฮฺ”
ท่านจึงกล่าวแก่ชายคนนั้นว่า “เหตุใดเล่าท่านจึงไม่ตอบฉันตั้งแต่สองครั้งแรกที่ฉันถาม ที่จริงแล้วฉันมิได้กล่าวถึงพวกท่านเว้นแต่ในทางที่ดี"
"ฉันจะบอกว่าพี่น้องของท่าน คนหนึ่งยังคงถูกกักตัว (ไม่ได้เข้าสวรรค์) เนื่องจากหนี้สินของเขาที่ยังคงค้างชำระ”
จากนั้นฉันก็เห็นชายคนดังกล่าวช่วยชำระหนี้ให้แก่ผู้ตายจนกระทั่งไม่มีผู้ใดทวงถามให้ชำระอีกต่อไป
(บันทึก โดยอบูดาวุด หะดษี เลขที่ 3341)
ในอีกรายงานหนึ่งระบุว่า
"ชายคนหนึ่งในหมู่พวกท่านท่ีเสียชีวิตลง ได้ถูกกักตัวไว้ไม่ให้ เข้าสวรรค์เพราะยังมีหนี้สินยังค้างชำระ
หากพวกท่านประสงค์ ก็จงช่วยปลดปล่อยเขาเสีย (ด้วยการชดใช้หนี้แทนเขา) หรือไม่ก็ปล่อยให้เขาต้องเผชิญกับการลงโทษของอัลลอฮ์ไป”
(บันทึกโดย อัลหากิม หะดีษเลขที่ 2216)
และแม้แต่ชะฮีด (ผู้สละชีพในหนทางของอัลลอฮฺ) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการลบล้างบาปทั้งหมด ก็ยังถูกยกเว้นในเร่ืองหนี้สิน ดังที่ อับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า
"ทุก ๆ บาปของชะฮีดนั้นจะได้รับการยกโทษ ยกเว้นเรื่องหนี้สิน”
(บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขท่ี 1886)
มุหัมมัด บิน อับดุลลอฮฺ บิน ญะหฺช เล่าว่า
มีชายคนหนึ่งมาหาท่านนบี (ซ.ล.) แล้วกล่าวว่า “โอ้ท่านเราะสูลลุลอฮฺ ฉันจะได้รับสิ่งใดเป็นการตอบ แทนหากว่าฉันถูกฆ่าตายในหนทางของอัลลอฮฺ?”
ท่านตอบว่า “สวรรค์” เมื่อชายคนดังกล่าวหันหลังจะเดินกลับไป
ท่านนบี (ซ.ล.) ก็กล่าวว่า “ยกเว้นในกรณีที่ท่านมีหนี้สินค้างชำระ ญิบรีล อะลัยฮิสลาม เพิ่งกระซิบบอกฉันเม่ือกี้นี้”
(บันทึกโดยอะหฺมัด หะดษีเลขท่ี17253)
ทั้งนี้ เพราะหนี้สินที่ติดค้างกับมนุษย์ด้วยกันนั้น จำเป็นต้องชดใช้ ไม่ว่าจะในดุนยาหรืออาคิเราะฮฺ และสิ่งที่เป็นสิทธิของมนุษย์ด้วยกันจะไม่ได้รับการยกเว้น นอกเสียจากว่า เจ้าของสิทธิจะยอมยกให้
ชัยคฺ อิบนุ อุษัยมีน เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า การมีหนี้สินนั้นถือเป็นเรื่องที่อันตราย เพราะมันทำให้จิตใจของผู้เป็นหนี้ว้าวุ่น มีชีวิตที่ไม่เป็นสุขอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นเราควรหลีกห่างการกู้หนี้ยีมสิน พยายามใช้จ่ายอย่างประหยัด เราจะเห็นว่า มีผู้ขัดสนมากมายท่ีอยากจะใช้จ่ายเยี่ยงเศรษฐี จึงต้องกู้หนี้ยืมสินจากทุก ๆ ทางที่จะทำได้ ทั้งนี้ในความเป็นจริงแล้ว หากแม้ว่าในหนึ่งวันเขาจะมีเพียงอาหารมื้อเดียวก็ไม่ควรจะไปกู้ยืมใครอีก แต่ควรที่จะอดทน และกล่าวว่า
" โอ้ อัลลอฮ์ ขอพระองค์ประทานความร่ำรวยให้แก่ฉันด้วยเถิด "
อัลลอฮ์ตรัสว่า
“และหากพวกเจ้ากลัวความยากจน อัลลอฮฺก็จะทรงให้พวกเจ้ามั่งมี ด้วยความกรุณาของพระองค์”
(อัตเตาบะฮฺ: 28) (ชัรห์ริยาดุศศอลิหีน เล่ม 5 หน้า 366)
และตัวอย่างของการไม่ให้ความสำคัญกับการมีหนี้สินก็คือ การที่บางคนกู้ยืมเงินจำนวนมากเพื่อทำธุรกิจหรือเล่นหุ้น แล้วเขาก็ขาดทุนย่อยยับ จนสุดท้ายอาจต้องติดคุกติดตาราง หรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว ต้องใช้ชีวิตด้วยความวิตกกังวลและไม่เป็นสุข ทั้งหมดนี้เกิดจากการไม่ให้ความสาคัญกับเร่ืองหนี้สิน ทั้งนี้ แม้แต่การตายชะฮีดในหนทางของอัลลอฮ์ ก็ยังมิอาจจะช่วยให้หลุดพ้นจากภาระหนี้สินได้
สำหรับเจ้าหนี้น้ันก่อนที่จะให้ผู้อื่นกู้ยืมทรัพย์สินก็ควรที่จะคำนึงถึงประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปน้ี
1. ให้กู้ยืมจากทรัพย์สินที่ดีอัลลอฮ์ตรัสว่า
“และพวกเจ้าอย่าได้มุ่งเอาสิ่งเลวจากนั้นมาบริจาคทั้งๆท่ีพวกเจ้้าเองก็ไม่ (อยากจะ) รับสิ่งนั้น ”
(อัลบะเกาะเราะฮฺ: 267)
2. ให้ตระหนักเสมอว่า เขาจะได้รับผลบุญจากการช่วยเหลือผู้อ่ืนในครั้งนี้ มิใช่รู้สึกเป็นบุญคุณแก่ผู้ขอยืม หากคิดเช่นนั้นเขาอาจไม่ได้รับผลบุญใด ๆ อัลลอฮ์ ตรัสว่า
"โอ้บรรดาผู้ศรัทธา พวกเจ้าจงอย่าทำลายการทำทานของพวกเจ้า โดยการลำเลิกและยังความเจ็บปวด”
(อัลบะเกาะเราะฮฺ: 264)
และผลบุญของการให้กู้ยืมนั้น ดังเช่นผลบุญของการบริจาคทาน อับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า
"แท้จริงการกู้ยืมนั้น เปรียบได้ด่ังครึ่งหน่ึงของการบริจาคทาน”
(อิหม่ามอะห์มัด หะดีษเลขที่ 3911)
3. ควรที่จะมีความเห็นอกเห็นใจลูกหนี้ โดยอาจลดหย่อนหนี้สินบางส่วนให้แก่เขา หากเห็นว่าเขามีความยากลำบาก และประสงค์ที่จะชดใช้จริง ๆ อัลลอฮฺ ตรัสว่า
“ถ้าหากลูกหนี้ของสูเจ้าอยู่ในภาวะคับแค้น ก็จงผ่อนปรนให้แก่เขาจนกว่าสถานการณ์ของเขาจะดีขึ้น”
(อัลบะเกาะเราะฮฺ: 280)
อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
“มีพ่อค้าคนหน่ึงให้ผู้อื่นยืมเงิน เมื่อใดที่เห็นว่าลูกหนี้ของเขามีความยากลำบาก เขาก็จะกล่าวแก่เด็กรับใช้ของเขาว่า
‘พวกเจ้าจงยกหนี้ให้แก่เขาเถิด เผื่อว่าอัลลอฮฺจะทรงผ่อนปรนแก่เรา’ อัลลฮฮฺจึงทรงผ่อนปรนยกโทษให้แก่เขา”
(อัลบุคอรีย์ หะดีษ เลขท่ี 2078 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1562)
4. ควรที่จะทำสัญญาหนี้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยมี พยานรู้เห็น เพื่อหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้ง อัลลอฮฺ ตรัสว่า
“และเจ้าทั้งหลายจงอย่าระอาที่จะทำการบันทึกมันไม่ว่า (หนี้สินนั้น) จะเป็นเพียงจำนวนเล็กน้อย หรือจำนวนมากก็ตาม จนถึงกำหนดของมัน ”
(อัลบะเกาะเราะฮฺ: 282)
ส่วนผ้เูป็นหนี้สินก็ควรที่จะปฏิบัตตัวดังต่อไปนี้
1. ต้องมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ท่ีจะชดใช้หนี้สิน อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
“ผู้ใดเอาทรัพย์สินของผู้อื่นไปโดยตั้งใจจะชดใช้คืน อัลลอฮฺจะทรงชดใช้ให้เขา (ด้วยการให้เขาได้มีโอกาสชดใช้)
ส่วนคนท่ีเอาทรัพย์สินของผู้อื่นไป โดยไม่ตั้งใจที่จะชดใช้คืน อัลลอฮฺจะทำให้มันเสียหาย”
(อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 2387)
2. จะต้องรีบเร่งชดใช้หนี้สินไม่ผัดผ่อนชักช้า อบูฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
“การผลัดผ่อนชักช้าของผู้ที่มีความสามารถจะใช้หนี้นัน ถือเป็นการอธรรมประการหนึ่ง”
(อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขท่ี 2288 และ มุสลิม หะดีษเลขที่1564)
ในหะดีษอีกบทหน่ึงระบุว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ซ.ล. ได้เป็นหนี้ชายคนหนึ่งด้วยการขอยืมอูฐตัวผู้อายุน้อยมาตัวหนึ่ง ต่อมาเม่ือมีการรวบรวมอูฐที่เป็น ซะกาตมายังส่วนกลาง ท่านนบี (ซ.ล.) จึงสั่งให้ อบูรอฟิอฺเลือกซื้ออูฐตัวผู้อายุน้อยตัวหน่ึงจากอูฐซะกาต เพื่อนำไปใช้คืนแก่ชายคนนั้น
แต่อบูรอฟิอ์ กลับมาหาท่านแล้วรายงานว่า “ฉันพบว่ามีแต่อูฐดีๆ ที่อายุครบหกปีไปแล้ว”
ท่านนบี (ซ.ล.) จึงกล่าวว่า "จงให้อูฐที่ดีนั้นแก่เขาไป แท้จริงคนท่ีดีที่สุดคือ คนท่ีชดใช้ส่ิงที่ดีที่สุดในหมู่พวกเขา”
(อัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 2288 และ มุสลิม หะดษีเลขที่1564)
กวีคนหนึ่งกล่าวไว้(ในทำนองประชดลูกหนี้) ฉันจะขอผลัดไปวัน ๆ จนกว่าคุณจะเบื่อ และจำใจยอมรับชำระหนี้เพียงครึ่งเดียว
3. ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮ์ให้พ้นจากการมีหนี้สิน
" โอ้พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริง ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความกังวลใจและความโศกเศร้า
ความอ่อนแอ และความเกียจคร้าน ความขลาดกลัวและความตระหน่ี การติดหนี้ท่ีมากมายจนล้นตัว และการถูกกดขี่ข่มเหงจากผู้อธรรม"
(บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 2893)
ได้มีทาสคนหนึ่งมาหาท่านอะลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ และ กล่าวว่า “โอ้ อมีรุลมุอ์มินีน ฉันอยากจะไถ่ตัวฉันจากการเป็นทาสแต่ฉันไม่มีความสามารถ”
ท่านอะลีจึงกล่าวแก่เขาว่า : ฉันจะสอนให้ท่านกล่าวถ้อยคำหนึ่งซึ่ง ท่านเราะสูล (ซ.ล.) ได้เคยสอนฉันไว้ (หากท่านกล่าวแล้ว) แม้ว่าท่าน มีหนี้สินมากมายขนาดภูเขาศีรฺ อัลลอฮฺก็จะทรงช่วยเหลือท่าน ให้สามารถชำระหนี้นั้นได้
ท่านจงกล่าวว่า
"โอ้ อัลลอฮฺ ขอให้ข้าพระองค์มีความรู้สึกเพียงพอกับสิ่งที่พระองค์ทรงอนุมัติด้วยเถิด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปแสวงหาสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม
และขอให้ข้าพระองค์มีความม่ังคั่งด้วยความโปรดปรานของพระองค์ โดยไม่ต้องหันไปพ่ึงพาผู้ใดนอกจากพระองค์”
(บันทึกโดย อัตติรมีซีย์ หะดีษเลขที่ 3563)
แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ / Islamhouse