ทิศกิบลัตถือว่าเป็นทิศที่มีความสำคัญมากกับชาวมุสลิมทั่วโลก เนื่องจากทุกๆครั้งที่ชาวมุสลิมศอลาต (ละหมาด) หรือทำกิจกรรมทางศาสนาบางอย่าง ชาวมุสลิมจะต้องหันหน้าสู่ทิศกิบลัต
ทิศกิบลัต คือ ทิศของบัยตุลอฮ หรือทิศกะบะบะฮ์ หรือทิศของเมืองมักกะฮ์ หรือทิศของมัสยิดอัลฮาราม ในประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อเทียบกับตำบลใดหรือตำแหน่งใดบนโลก ทิศกิบลัตซึ่งอาจจะอยู่ทางทิศใดก็ได้ ดังนั้น ทิศกิบลัตถือว่าเป็นทิศที่มีความสำคัญมากกับชาวมุสลิมทั่วโลก เนื่องจากทุกๆครั้งที่ชาวมุสลิมศอลาต (ละหมาด) หรือทำกิจกรรมทางศาสนาบางอย่าง ชาวมุสลิมจะต้องหันหน้าสู่ทิศกิบลัต เช่น การขอดุอา (ขอพรจากพระเจ้า) กราบขอขอบคุณอัลลอฮ และอื่นๆ และเมื่อเที่ยบกับตำบลท่ีเราอยู่ (ประเทศไทย) ทิศกิบลัตหรือทิศของเมืองมักกะฮ์จะอยู่ทางทิศตะวันตก เบนไปทางเฉียงเหนือ
รูปที่ 1 หนังสือตำราเก่าแก่ที่นักดาราศาสตร์อิสลามได้บันทึกวิธีของการหาตำแหน่งของทิศกิบลัต
ตำแหน่งต่างๆ ทุกแห่งทั่วโลกย่อม จะมีทิศที่ชี้ไปยังกิบลัตที่แตกต่างกัน ปัญหาการกำหนดทิศกิบลัตนี้ จึงเป็นปัญหาที่รู้จักกันดีในหมู่นักคิดมุสลิมในสมัยกลาง โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์มุสลิมในยุคกลาง ปัญหาทิศกิบลัตได้รับความสนใจมากพอๆกับปัญหาการกำหนดเวลาศอลาต (ละหมาด) และเป็นปัญหาที่แพร่หลายจนมีนักคิดนักวิทยาศาสตร์มุสลิมหลายคนที่ให้ความสนใจ เช่น อัลคาวารีศมี อัลไฮตัม อัลไบรูนี อัลตูซี และท่านอื่นอีกมากมาย และในปี (คศ.1201-1274) อัลตูซี ได้เสนอแนวความคิดที่ว่า ให้สร้างหอคอยสูง ที่เมืองมักกะฮ์ ที่สู้งพอที่เมืองต่างๆที่อยู่ห่างไกลจะสามารถมองเห็นหอคอยดังกล่าวได้ และอัลตูซีได้พัตณาความคิดนี้มาเป็นความรู้พื้นฐานของการหาตำแหน่งของดวงอาทิตย์ที่จะเคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งเหนือกะบะฮ์ หรือดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งเหนือเมืองมักกะฮ์ ในวันที่ที่แน่นอน ทิศของดวงอาทิตย์ในวันนั้นคือทิศกิบลัต
รูปที่ 2 แสดงตำแหน่งบนโลกที่ชี้ไปยังตำแหน่งหานครมักกะฮ์ (ทิศกิบลัต)
ดังนั้น เมื่อเราหาทิศกิบลัตจากการสังเกตดวงอาทิตย์ เราจะพิจารณาว่าวันใดที่ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งเหนือกะบะฮ์หรืออยู่เหนือเมืองมักกะฮ์ หรือวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเมืองมักกะฮ์ และนัน คือ วันเวลาที่ตำแหน่งละติจูตของเมืองมักกะฮ์มีค่าเท่ากับค่าเดคลิเนชั่นของดวงอาทิตย์ หมายถึง ในวันเวลาดังกล่าวดวงอาทิตย์จะอยู่จุดสูงสุดของเมืองมักกะฮ์ หรือเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่เหนือกะบะฮ์พอดี ตำแหน่งละติจูตของเมืองมักกะฮ์มีค่าเท่ากับ 21.4233 องศาเหนือ เมือพิจารณาตารางค่าดิคลิเนชั่นของดวงอาทิตย์จะพบว่า วันที่ค่าเดคลิเนชั่นของดวงอาทิตย์มีค่าใกล้เคียงกับค่าละติจูตของเมืองมักกะฮ์ คือวันต่อไปนี้
ตารางแสดงวันที่ดวงอาทิตย์มีค่าเดคลิเนชั่นใกล้เคียงกันกับตำแหน่งละติจูตของเมืองมักกะฮ์
วันที่เดือน | ค่าดิคลิเนชั่นของดวงอาทิตย์ |
28 พฤษภาคม | 21.22 N |
29 พฤษภาคม | 21.31 N |
30 พฤษภาคม | 21.42 N |
31 พฤษภาคม | 21.50 N |
14 กรกฎาคม | 21.46 N |
15 กรกฎาคม | 21.37 N |
15 กรกฎาคม | 21.28 N |
ดังนั้น ทุกๆปีในช่วงวันที่ 28-31 พฤษภาคม และวันที่ 14-15 กรกฎาคม ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือเมืองมักกะฮ์หรืออยู่เหนือกะบะฮ์ ซึ่งเวลาดังกล่าวเป็นเวลาประมาณเที่ยงวันของเมืองมักกะฮ์ แต่เนื่องจากประเทศซาอุดิอาระเบีย อยู่ที่ตำแหน่งโซนเวลาที่ +3 ซึ่งประเทศไทยอยู่ที่ตำแหน่งโซนเวลาที่ +7 ซึ่งเวลาที่เมืองมักกะฮ์จะช้ากว่าเวลาเมืองไทยถึง 4 ชั่วโมง หรือในขณะที่เวลาที่เมืองมักกะฮ์ เที่ยงวัน 12:00 น. ก็จะตรงกับเวลาเมืองไทยที่เวลาประมาณ 16:00 น. ดังนั้น ณ วันเวลาดังกล่าวนี้ตำแหน่งที่เราเห็นดวงอาทิตย์ คือ ตำแหน่งของทิศกิบลัต
รูปที่ 3 แสดงวันที่ดวงอาทิตย์มาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับกะบะฮ์ และสามารถหาทิศกิบลัตได้จากเงาของเสาสีแดง
ที่มา: www.narit.or.th