การอะซาน คือการประกาศเชิญชวนให้ปฏิบัติละหมาด เมื่อเข้าเวลาละหมาดโดยใช้ถ้อยคำที่เฉพาะผู้อะซาน และได้ยินอะซานต้องกล่าวและตอบรับ ดังนี้
การอะซาน คือการประกาศเชิญชวนให้ปฏิบัติละหมาด เมื่อเข้าเวลาละหมาดโดยใช้ถ้อยคำที่เฉพาะผู้อะซาน และได้ยินอะซานต้องกล่าวและตอบรับ ดังนี้
اَللَّهُمَّ رَبَّ هٰٰذِهِ الدَّعْوَةِالتَّامَةِ وَالصَّلاَةِالْقَائِمَةِ آتِ مُحَمَّدَنِ الْوَسِيْلَةَ وَالْفَضِيْلَةَ وَابْعَثْهُ مَقَامًامَحْمُوْدَنِ الَّذِيْ وَعَدْتَهُ
คำอ่าน :
อัล ลอฮุมม่า ร็อบบะฮาซิฮิดดะอฺ วะติฎ ตามมะฮฺ วัศศ่อลาติลกออิมะฮฺ อาติ มุฮัมม่าดะนิล วะซีละฮฺ วัลฟะดีละฮฺ วับอัสฮุ มะกอมัม มะฮฺมูดะนิล ละซี วะอัดตะฮฺ
คำแปล :
โอ้ อัลลอฮฺ พระเจ้าแห่งการเชิญชวนที่สมบูรณ์และการละหมาดที่ดำรงอยู่ ได้โปรดประทานฐานะ อันสูงส่งและความประเสริฐแด่ท่านนบีมุฮัมหมัด และขอพระองค์ได้ส่งท่านนบีมุฮัมหมัด สู่ตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญตามที่พระองค์ได้ทรงสัญญาไว้แก่ท่านนบีด้วย เถิด
(บันทึกโดย อัลบุคอรียฺ)
อ่านเพิ่ม: คำอะซานพร้อมดุอา เคล็ดลับ 10 ประการที่ทำให้ ดุอาร์ถูกตอบรับ
สิ่งที่ควรกล่าวสำหรับผู้ที่ได้ยินเสียงอะซาน
สุนัตสำหรับผู้ที่ได้ยินเสียงอะซานไม่ว่าจะชายหรือหญิง ดังนี้
1. ให้กล่าวเหมือนกับผู้อะซานกล่าวทุกประโยค ยกเว้นเมื่อรับประโยค “หัยยะอะลัศเศาะลาฮฺ” กับ “หัยยะอะลัลฟะลาหฺ” ให้กล่าวว่า (لَا حَوْلَ وَلَا قُوَّةَ إلَّا بِالله) (อ่านว่า ลาเหาละ วะลา กุ๊ว์วะตะ อิลลา บิลลาฮฺ) ทั้งนี้เพื่อที่จะได้รับผลบุญเหมือนกับผู้อะซาน
2. หลังจากเสร็จสิ้นการอะซานแล้ว สุนัตให้ผู้อะซานและผู้ที่ได้ยินคำอะซานกล่าว เศาะละวาต แก่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ด้วยเสียงค่อย
3. สุนัตให้กล่าวดุอาอ์ดังที่มีรายงานโดยท่านญาบิรฺ บิน อับดุลลอฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา) ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า
«مَنْ قَالَ حِينَ يَسْمَعُ النِّدَاءَ: اللَّهُـمَّ رَبَّ هَذِهِ الدَّعوَةِ التَّامَّةِ، وَالصَّلاةِ القَائمَةِ، آتِ مُـحَـمَّداً الوَسِيلَةَ وَالفَضِيلَةَ، وَابْعَثْهُ مَقَاماً مَـحْـمُوداً الَّذِي وَعَدْتَـهُ، حَلَّتْ لَـهُ شَفَاعَتِي يَومَ القِيَامَةِ»
ความว่า "ผู้ใดกล่าวเมื่อเขาไดยินเสียงอะซานว่า "อัลลอฮุมมะ ร็อบบะ ฮาซิฮิดดะอฺวะติตต๊ามะฮฺ วัศเศาะลาติล กออิมะฮฺ อาติ มุหัมมะดะนิลวะสีละฮฺ วัลฟะฎีละฮฺ วับอัษฮุ มะกอมัน มะหฺมูดะนิลละซี วะอัดตะฮฺ" (ความหมาย โอ้อัลลอฮฺ พระเป็นเจ้าแห่งการเชิญชวนอันสมบูรณ์ และการละหมาดที่กำลังจะปฏิบัติอยู่นี้ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานความดี ประเสริฐ และขอพระองค์ทรงโปรดนำมุหัมมัดสู่ตำแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญ ซึ่งพระองค์ได้ทรงสัญญาไว้ด้วยเถิด) เขาจะได้รับการชะฟะอะฮฺจากฉันในวันกิยามะฮฺ” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 614)
4.ให้กล่าวหลังจากมุอัซซินกล่าวชะฮาดะตัยนฺ (ท่อนกล่าวปฏิญาณในอะซาน) ดังนี้
รายงานจากท่านสะอัด บิน อบี อัล-วักกอศ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า
«مَنْ قَالَ حِينَ يَسْمَعُ المُؤَذِّنَ: أَشْهَدُ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا الله وَحْدَهُ لا شَرِيكَ لَـهُ، وَأَنَّ مُـحَـمَّداً عَبْدُهُ وَرَسُولُـهُ، رَضِيتُ بِالله رَبّاً وَبِمُـحَـمَّدٍ رَسُولاً وَبِالإسْلامِ دِيناً، غُفِرَ لَـهُ ذَنْبُـهُ»
ความว่า "ผู้ใดกล่าวเมื่อเขาไดยินเสียงอะซานว่า "อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วะหฺดะฮูลาชะรีกะละฮฺ วะอัชฮะดุอันนะมุหัมมะดัน อับดุฮู วะเราะสูลุฮฺ เราะฎีตุ บิลลาฮิ ร็อบบัน วะบิมุฮัมมะดิน เราะสูลัน วะบิล อิสลามิ ดีนัน" (ความหมาย ฉันขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพสักการะโดยแท้จริงนอกจากอัลลอฮฺ เพียงหนึ่งเดียว ไม่มีภาคีใดใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณตนว่ามุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวของอัลลอฮฺรวมทั้งเป็นเราะสูลของพระองค์โดยแท้จริง และฉันยอมรับนับถืออัลลอฮฺเป็นพระเจ้า มุหัมมัดเป็นเราะสูล และอิสลามเป็นศาสนา) เขาจะได้รับการอภัยโทษในความผิดที่ผ่านมา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 386)
5.หลังจากนั้นให้ขอดุอาอ์ให้แก่ตนเอง แล้วแต่ใจปราถนา
ความประเสริฐของการกล่าวตามมุอัซซิน
มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ บิน อัล-อาศ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา) ว่าท่านได้ยินท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า
«إذَا سَمِعْتُـمُ المُؤَذِّنَ، فَقُولُوا مِثْلَ مَا يَـقُولُ، ثُمَّ صَلُّوا عَلَيَّ، فَإنَّهُ مَنْ صَلَّى عَلَيَّ صَلاةً صَلَى الله عَلَيهِ بِـهَا عَشْراً، ثُمَّ سَلُوا الله لِي الوَسِيلَةَ، فَإنَّهَا مَنْزِلَةٌ فِي الجَنَّةِ لا تَنْبَـغِي إلَّا لِعَبْدٍ مِنْ عِبَادِ الله، وَأَرْجُو أَنْ أَكُونَ أَنَا هُوَ، فَمَنْ سَأَلَ لِي الوَسِيلَةَ حَلَّتْ لَـهُ الشَّفَاعَةُ»
ความว่า "เมื่อพวกท่านได้ยินเสียงมุอัซซินอะซาน พวกจงกล่าวเหมือนกับที่มุอัซซินกล่าว หลังจากนั้นพวกท่านจงกล่าวเศาะละวาตให้ฉัน เพราะว่าผู้ใดก็ตามที่เศาะละวาตให้แก่ฉันหนึ่งครั้ง อัลลอฮฺจะให้พรแก่เขาสิบครั้ง หลังจากนั้นพวกท่านจงขอต่ออัลอฮฺให้นำฉันไปสู่ตำแหน่ง อัล-วะสีละฮฺ เพราะว่าตำแหน่งนี้ ถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีระดับมากในสวรรค์ เป็นตำแหน่งที่ไม่ควรที่จะได้รับนอกจากบ่าวคนเดียวเพียงคนเดียวเท่านั้นในจำนวนบ่าวหลายๆ คน และฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าฉันคือบ่าวคนนั้น ฉะนั้นผู้ใดที่ขอให้ฉันไปสู่ตำแหน่งนั้น เขาจะได้ชะฟาอะฮฺจากฉัน" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 284)
ที่มา: Islamhouse.com
www.muslimthaipost.com