สุญูดติลาวะฮฺ มีทั้งหมด 15 ตำแหน่งในอัลกุรอาน เป็นซุนนะฮฺจากท่านนบีให้สุญูดในและนอกละหมาด อุละมาอฺมีความเห็นแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด คำกล่าวในสุญูดที่ระบุให้หะดีษคือ
ฟัตวาที่ 1 ผู้มีญุนูบสามารถสุญูดติลาวะฮฺได้หรือไม่ ?
คำถาม : อนุญาตให้ชายหรือหญิงที่มีญุนุบสุญูดติลาวะฮฺหรือสุญูดอื่นจากติลาวะฮฺได้หรือไม่ ?
คำตอบ : นักวิชาการมีความเห็นที่แตกต่างกันในการสุญูดติลาวะฮฺและการสุญูดชุกูรว่า การสะอาดจากหะดัษทั้งสอง (หะดัษเล็กหรือใหญ่) เป็นเงื่อนไขของการสุญูดทั้งสองหรือไม่
เกี่ยวกับเรื่องนี้แบ่งออกเป็นสองความเห็น และความเห็นที่ถูกต้อง คือ การสะอาดไม่ได้เป็นเงื่อนไขของการสุญูด เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่รายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ และการสุญูดเป็นเพียงอิริยาบถหนึ่ง (ของการอิบาดะฮฺ) ไม่ใช่การละหมาด ไม่มีหุกุมเช่นการละหมาด เพียงแต่ว่าการสุญูดเป็นส่วนหนึ่งของการละหมาดเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ได้มีบทบัญญัติว่าต้องสะอาดจากหะดัษต่างๆ
ได้มีการรายงานว่าท่านนบี ได้อ่านอัลกุรอาน (ท่ามกลางเศาะหาบะฮฺในสถานที่ชุมนมหนึ่ง) เมื่อท่านอ่านเจออายะฮฺสะญดะฮฺ ท่านนบี ก็ได้สุญูด และบรรดาเศาะหาบะฮฺก็ได้สุญูดไปพร้อมกับท่าน และ (จากเหตุการณ์ข้างต้น) ไม่ได้มีคำยืนยันว่าท่านนบี ได้สั่งใช้ให้บรรดาเศาะหาบะฮฺจัดการตัวของพวกเขาให้สะอาด ปราศจากหะดัษ เพื่อที่จะสุญูด และเป็นที่ทราบกันดีว่าในสถานที่ชุมนุมมักประกอบไปด้วยผู้ที่มี ญุนุบและผู้ที่ไม่มีญุนุบ หากการสะอาดจากหะดัษใหญ่หรือหะดัษทั้งสองเป็นเงื่อนไขของการสุญูดแล้วไซร้ แน่นอนท่านนบี จะต้องชี้แจ้งถึงเรื่องนี้ ซึ่งไม่อนุญาตที่จะล่าช้าในการชี้แจงในช่วงเวลาที่จำเป็น (คือ ช่วงเวลาที่ต้องปฏิบัติการงานนั้นๆ)
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่ชัดเจนว่าอนุญาตให้สุญูดติลาวะฮฺและสุญูดชุกูรสำหรับผู้ที่มีญุนุบ สตรีที่มีประจำเดือน และบุคลอื่นๆ จากทั้งสองที่ไม่สะอาด(คือ อาจมีหะดัษเล็กหรือหะดัษใหญ่อยู่) ในความเห็นที่ถูกต้องกว่าของบรรดานักวิชาการ
(มัจญ์มูอฺ ฟะตาวา วะ ริสาอิล ชัยค์ บินบาซ) www.binbaz.org.sa
ฟัตวาที่ 2 สามารถสุญูดติลาวะฮฺในเวลาที่ห้ามละหมาดได้หรือไม่ ?
คำถาม : อนุญาตให้สุญูดติลาวะฮฺในช่วงเวลาที่ห้ามสุญูดได้หรือไม่ เช่น ในขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังขึ้น ?
คำตอบ : อนุญาตให้สุญูดติลาวะฮฺในช่วงเวลาต่างๆ ที่ห้ามการละหมาดตามความเห็นที่ถูกต้องของนักวิชาการ ทั้งนี้เพราะการสุญูดติลาวะฮฺไม่ได้มีหุกุมของการละหมาด และหากถูกกำหนดแก่เราว่า การสุญูดติลาวะฮฺมีหุกุมเดียวกับการละหมาด ก็ยังเป็นที่อนุญาตให้สุญูดในช่วงเวลาที่ต้องห้าม ทั้งเพราะเป็นการสุญูดที่มีสาเหตุ (เนื่องจากอ่านผ่านอายะฮฺสัจญฺดะฮฺ) เฉกเช่นการละหมาดกุสูฟ (สุริยุปราคา) และการละหมาดสุนนะฮฺสองเราะกาอะฮฺสำหรับผู้ที่เฏาะวาฟ (ภายหลังจากเฏาพวาฟครบ 7 รอบ) ในช่วงเวลาที่ต้องห้ามละหมาด (หมายถึง หากมีสุรยุปราคาเกิดขึ้นหรือเฎาะวาฟเสร็จสิ้นพอดีในเวลาที่ห้ามละหมาด ก็สามารถละหมาดได้แม้จะเป็นช่วงที่ห้ามละหมาด)
(ฟะตาวาลัจญฺนะฮฺ อัดดาอิมะฮฺ) www.alifta.net
เวลาอ่านอัลกุรอานเจออายะฮฺที่ต้องสุญูด ควรอ่านดุอาอฺอย่างไร (สุญูดติลาวะฮฺ)
สุญูดติลาวะฮฺ มีทั้งหมด 15 ตำแหน่งในอัลกุรอาน เป็นซุนนะฮฺจากท่านนบีให้สุญูดในและนอกละหมาด อุละมาอฺมีความเห็นแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด คำกล่าวในสุญูดที่ระบุให้หะดีษคือ
سَجَدَ وَجْهِي لِلَّذِي خَلَقَهُ وَصَوَّرَهُ وَشَقَّ سَمْعَهُ وَبَصَرَهُ بِحَوْلِهِ وَقُوَّتِهِ فَتَبَارَكَ اللَّهُ أَحْسَنُ الْخَالِقِينَ
คำอ่าน [สะญะดะ วัจญฺฮิยะ ลิลละซียฺ เคาะละเกาะฮู วะเศาวะเราะฮู วะชักเกาะซัมอะฮู วะบะเศาะเราะฮู บิเฮาลิฮี วะกูวะติฮี, ฟะตะบาเราะกัลลอฮุ อะหฺสุนุลคอลิกีน]
ความหมาย "ใบหน้าของข้าพระองค์ได้ก้มกราบแด่พระผู้สร้างมัน ทรงประดิษฐ์นั้นด้วยพลังและอำนาจของพระองค์ ได้ทรงจำแนกการได้ยินของมัน และการเห็นของมันไว้เป็นสัดส่วน อัลลอฮฺผู้ทรงเลอเลิศในหมู่ผู้สร้างสรร ทรงจำเริญยิ่ง"
(มีหลายสำนวน และนำไปใช้ในสุญูดทั่วไปได้) อุละมาอฺส่วนมากเห็นว่าเป็นหะดีษหะซัน และมีบางท่านที่เห็นว่าเป็นหะดีษมะอฺลูล(เฎาะอีฟ)
หรือจะกล่าวสั้นๆ ว่า ซุบฮานะร็อบบิยัลอะอฺลา