การอะซาน นั้นเป็น บทบัญญัติหนึ่งของศาสนาอิสลาม และคุณค่าของมันนั้นยิ่งไหญ่มาก
รับอะซาน ซุนนะห์ง่ายๆ ที่ผู้คนหลงลืม
การอะซาน คือ การประกาศเพื่อไห้ได้รับรู้ถึงการเข้าเวลาละหมาดด้วยถ้อยคำเฉพาะ
การอะซาน นั้นเป็น บทบัญญัติหนึ่งของศาสนาอิสลาม และคุณค่าของมันนั้นยิ่งไหญ่มาก ดังหะดีษที่ได้กล่าวว่า
"لو يعلم الناس ما في النداء والصف الأول ثم لم يجدوا إلا أن يستهموا عليه لاستهمواعليه.(اخرجه البخاري ومسلم).
ความว่า : หากมนุษย์รู้ว่ามีอะไรอยู่ในการอาซานและแถวแรกแล้วไม่มีหนทางจะทำได้ นอกจากจะต้องจับฉลากกันแน่นอนต้องจับฉลากกัน.
และหะดีษ عن معاوية رضي الله عنه قال : سمعت رسول الله -صلى الله عليه وسلم- يقول : المؤذنون أطول الناس أعناقا يوم القيامة". رواه مسلم
ความว่า : ท่านนบี(ซล)ได้กล่าวว่า : "ผู้ที่ทำการอาซานนั้น จะเป็นคนที่คอที่ยาวที่สุดในวันปรโลก"
ซุนนะห์การรับอะซาน
ชี้เเจงการตอบรับประโยค "อัศศ่อลาตุคอยรุมมินั้ลเนาวมฺ"
เห็นชอบให้ผู้ที่ได้ยินเสียงอะซาน กล่าวรับเหมือนกับที่มุอัซซินกล่าว นอกจากประโยคที่ว่า :
"ฮัยย่าอะลัศศ่อลาฮฺ" และ "ฮัยย่าอะลั้ลฟ่าลาฮฺ"
เพราะสิ่งที่เป็นที่เห็นชอบให้กล่าวรับในขณะที่ได้ยินประโยคทั้งสองนั้นคือ :
"ลาเฮาล่าว่าลากูว่าต้าอิ้ลลาบิ้ลลาฮฺ"
และหลักฐานในเรื่องดังกล่าวนี้คือคำพูดของท่านนบี (ซ.ล.) ที่ว่า :
إِذَا سَمِعتُمُ المُؤَذِّنَ فَقُولُوا مِثلَ مَا يَقُولُ
ความว่า : "เมื่อพวกท่านทั้งหลายได้ยินมุอัซซิน(กำลังทำการอาซาน) พวกท่านก็จงกล่าวเหมือนกับที่เขากล่าว"
(บันทึกโดยท่านอิมามบุคอรีและท่านอิมามมุสลิม)
ท่านอิบนุกุดามะฮฺ رحمه الله ได้กล่าวว่า : "ฉันไม่ทราบว่ามีการขัดแย้งใดๆในหมู่ผู้รู้ในการเห็นชอบให้กระทำสิ่งดังกล่าว""المغني" (1/591)
และส่วนหนึ่งจากสิ่งดังกล่าวนี้ คือ เมื่อมุอัซซินกล่าวในอาซานละหมาดซุบฮิว่า
"อัศศ่อลาตุคอยรุมมินั้ลเนาวมฺ"
ก็มีการเห็นชอบให้ผู้ที่ได้ยินนั้นกล่าวตามเขา คือให้ผู้ที่ได้ยินกล่าวว่า "อัศศ่อลาตุคอยรุมมินั้ลเนาวมฺ"
ท่านชัยคฺอิบนุอุษัยมีน رحمه الله ได้กล่าวว่า :
"ที่ถูกต้อง คือ การกล่าวเหมือนกับที่เขา(มุอัซซิน)กล่าว (ซึ่งก็คือ) "อัศศ่อลาตุคอยรุมมินั้ลเนาวมฺ" เพราะว่าท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า :
"เมื่อพวกท่านทั้งหลายได้ยินมุอัซซิน(กำลังทำการอาซาน) พวกท่านก็จงกล่าวเหมือนกับที่เขากล่าว" "الشرح الممتع" (2/84)
และบรรดานักวิชาการฟิกฮฺของมัซฮับมาลิกีบางส่วนก็มีทรรศนะเช่นนี้ ดูหนังสือ : 2/372 : الموسوعة الفقهية
ส่วนที่บรรดานักวิชาการฟิกฮฺบางส่วนเห็นชอบให้กล่าวว่า "ศ่อดั๊กต้า ว่าบ่ะร็อรต้า"(หมายความว่า - ท่านพูดจริงแล้ว ท่านทำดีแล้ว) มันไม่มีหลักฐานบ่งชี้ให้กล่าวเช่นนี้ และมันก็ขัดกับภาพรวมของหะดีษที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งก็คือ
"พวกท่านก็จงกล่าวเหมือนกับที่เขากล่าว"
และหลักเดิมๆของเรื่องอิบาดะฮฺนั้นก็คือเป็นที่ต้องห้ามจนกว่าจะมีหลักฐานมายืนยัน
ท่านอิมามอัลฮาฟิซ อิบนุหะญัร رحمه الله ได้กล่าวว่า : ไม่มีที่มาที่ไปสำหรับสิ่งที่เขากล่าวตอบรับ"อัศศ่อลาตุคอยรุมมินั้ลเนาวมฺ"
"التلخيص الحبير" (1/378)
และท่านอิมามอัศศอนอานียฺ رحمه الله ได้กล่าวว่า : "และได้ถูกกล่าวว่า : การที่เขากล่าวตอบรับการตัษวีบ(การที่มุอัซซินกล่าวว่า"อัศศ่อลาตุคอยรุมมินั้ลเนาวมฺ" ว่า "ศ่อดั๊กต้า ว่าบ่ะร็อรต้า" คำกล่าวตอบรับนี้มันเป็นการเห็นว่าดีของตัวผู้พูดเอง หากเสียแต่ว่ามันไม่มีซุนนะฮฺรองรับคำกล่าวนี้”"سبل السلام" (1/190)
ท่านชัยคฺอิบนุอุษัยมีนได้กล่าวว่า : "และหากมีผู้กล่าวว่า : คำว่า "อัศศ่อลาตุคอยรุมมินั้ลเนาวมฺ"(การละหมาดนั้นดีกว่าการนอน) ไม่เป็นจริงหรอกหรือ ? เราขอกล่าวว่า : "ใช่ มันเป็นความจริง และคำกล่าวที่ว่า "อัลลอฮุอักบัร" ก็เป็นความจริง และคำกล่าวที่ว่า "ลาอิลาฮ่าอิ้ลลั้ลลอฮฺ" ก็เป็นความจริง แล้วท่านกล่าวไหมล่ะว่า "ศ่อดั๊กต้า ว่าบ่ะร็อรต้า"(หมายความว่า - ท่านพูดจริงแล้ว ท่านทำดีแล้ว)ในขณะที่มุอัซซินกล่าวว่า "อัลลออฮุอักบัร" ? ท่านก็ไม่ได้กล่าวเช่นนั้น ฉะนั้นเมื่อมุอัซซินกล่าวว่า "อัศศ่อลาตุคอยรุมมินั้ลเนาวมฺ" ท่านก็จงกล่าวเหมือนกับที่เขากล่าว เช่นนี้แหละคือภาพรวมของคำสั่งของท่านนบี(ซ.ล.)"
"مجموع فتاوى الشيخ ابن عثيمين" (12/195)
วั้ลลอฮุอะอฺลัม
ขอขอบคุณข้อมูล: อิสลามตามแบบฉบับ
www.muslimthaipost.com