แท้จริง บรรดาผู้นอบน้อมชายและหญิง บรรดาผู้ศรัทธาชายและหญิง บรรดาผู้ภักดีชายและหญิง บรรดาผู้สัตย์จริงชายและหญิง บรรดาผู้อดทนชายและหญิง
เหตุที่ทำให้มุสลิมะห์ถูกห้ามเข้าสวรรค์
“แท้จริง บรรดาผู้นอบน้อมชายและหญิง บรรดาผู้ศรัทธาชายและหญิง บรรดาผู้ภักดีชายและหญิง บรรดาผู้สัตย์จริงชายและหญิง บรรดาผู้อดทนชายและหญิง บรรดาผู้ถ่อมตัวชายและหญิง บรรดาผู้บริจาคทานชายและหญิงบรรดาผู้ถือศีลอดชายและหญิง บรรดาผู้รักษาอวัยวะเพศของพวกเขาที่เป็นชายและหญิง บรรดาผู้รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากที่เป็นชายและหญิงนั้น อัลลอฮฺได้ทรงเตรียมไว้สำหรับพวกเขาแล้วซึ่งการอภัยโทษและรางวัลอันยิ่งใหญ่ (33:35)
เหตุที่ทำให้มุสลิมะห์ถูกห้ามเข้าสวรรค์ โดย: Al allamah Habib Zain bin Sumaith
1. ผู้หญิงที่ฝั่งเข็มเข้าในร่างกาย
لعن الله الواشمات والمستوشمات المغيرات خلق الله
อัลลอฮฺ (สาปแช่ง) ผู้หญิงที่เป็นผู้ทำการฝั่งเข็มและถูกฝั่งเข็มเข้าในร่างกาย,ที่ไปทำลายสิ่งที่อัลลอฮทรงกำหนดให้มา (รายงานโดย บุคคอรี)
2. ผู้หญิงที่โกนอลิส(คิ้ว)
لعن الله المتنمصات
อัลลอฮฺ (สาปแช่ง) ผู้หญิงที่ทำการโกนคิ้วหรือทำโกนคิ้วให้บาง
3. ผู้หญิงที่ทำการดัดฟัน
لعن الله ..... والمتفلجات للحسن المغيرات خلق الله
อัลลอฮฺ (สาปแช่ง) ผู้หญิงที่ดัดฟันเพื่อความสวยงามของตนเองและไปทำลายสิ่งที่อัลลอฮทรงกำหนดให้มา
4. ผู้หญิงที่ทำการต่อเส้นผม
لعن الله الواصلة والمستوصلة
อัลลอฮฺ (สาปแช่ง) ผู้หญิงที่เป็นผู้ทำการต่อเส้นผมและทำการต่อเส้นผมกับเส้นผมอื่นเช่น (แว็ก)
5. ผู้หญิงที่ทำให้สามีเขาโกรธต่อเขา
إذا دعى الرجل امرأته الى فراشه فأبت فبات غضبان عليها لعنتها الملائكة حتى تصبح
البخاري ومسلم
เมื่อสามีได้ขอภรรยาร่วมหลับนอนด้วยกัน แต่ภรรยาทำการปฏิเสธ แล้วทำให้สามีมีความโกรธ,ท่านมลาอีกะฮ์ได้ทำการละนัต(สาปแช่ง)เขา(ภรรยา)จนถึงวันรุ่งขึ้น
6. ผู้หญิงที่แต่งกายทำตัวเสมือนผู้ชาย
لعن صلى الله عليه وسلم المتشبهات من النساء بالرجال
ท่านร่อซูลได้(สาปแช่ง) ผู้หญิงที่แต่งกายทำตัวเสมือนผู้ชาย
7. ผู้หญิงที่ร้องไห้
ก็คือ ผู้หญิงที่ร้องไห้ด้วยเสียงดังๆต่อหน้ามัยยิต(ศพ)
8. ผู้หญิงที่โชว์ความงามและโชว์ร่างกายเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้คน
نساء كاسيات عاريات ....... ملعونات
ผู้หญิงที่ใส่ชุดแต่งกายแต่เปลือยกาย
มุสลิมะห์ ต้องอ่าน 11 ข้อสำหรับเธอ
ข้อ 1 ห้ามสตรีออกจากบ้านโดยใส่ของหอมท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ (ร.ฏ.) รายงานจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ความว่า"สตรีใดที่ได้สัมผัสกับควันไม้หอม ดังนั้น เขาก็อย่ามาร่วมละหมาดอีชาอ์ในช่วงสุดท้าย(ของคืน)พร้อมกับเรา" รายงานโดย มุสลิม
หะดิษนี้ ได้บ่งชี้แก่เราว่า ห้ามบรรดาสตรีออกจากบ้านโดยใส่ของหอม เนื่องจากการที่พวกนางใส่ของหอมต่อหน้าบรรดาผู้ชายนั้น เป็นการกระตุ้นอารมณ์ของพวกเขา
ดังนั้น จึงจำเป็นต่อสตรีทุกคน อย่าออกจากบ้านของนาง นอกจากความเป็นจำเป็นตามหลักของศาสนา และให้นางประดับประดาด้วยจรรยามารยาทของศาสนา โดยการคลุมฮิญาบ สวมใส่อาภรณ์หลวม ๆ ไม่รัดรูป ปราศภาพลักษณ์ที่ทำให้เกิดการยั่วยวน ไม่ใส่น้ำหอมในขณะออกจากบ้าน แต่ทว่า เมื่อนางกลับถึงบ้าน ก็อนุญาตให้ใส่น้ำหอมได้ตามที่ต้องการ โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องไม่ให้ชายอื่นได้กลิ่นหอมนั้น
ข้อ 2 ห้ามภรรยาปฏิเสธการร่วมหลับนอนกับสามี เมื่อเขาร้องขอ
รายงานจาก อบูฮุรอยเราะฮ์ ท่านนบีซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า
"เมื่อสามีได้เรียกร้องให้ภรรยาของเขาไปยังที่หลับนอน แล้วนางให้การปฏิเสธโดยค่ำคืนนั้นสามีความโกรธต่อนาง ดังนั้น บรรดามะลาอิกะฮ์จะทำการสาปแช่งนางจนกระทั่งถึงยามเช้า รายงานโดย บุคคอรีย์และมุสลิม
หะดิษนี้ ชี้แนะแก่เราว่าภรรยานั้นต้องมีสิทธิพึงปฏิบัติต่อผู้เป็นสามี และส่วนหนึ่งจากบรรดาสิทธิต่าง ๆ ก็คือ สิทธิในการแสวงหาความสุขจากนาง และถือเป็นสิ่งต้องห้ามแก่ภรรยาที่ให้การปฏิเสธสิทธิดังกล่าวที่มีต่อสามี ถ้าหากไม่เช่นนั้น นางก็จะได้รับการสาปแช่งจากมวลมะลาอิกะฮ์ด้วยสาเหตุดังกล่าว และการสาปแช่งนั้น หมายถึง บรรดามะลาอิกะฮ์ได้วอนขอดุอาอ์ให้นางห่างไกลจากความเมตตาของอัลเลาะฮ์ตะอา ลา
ดังนั้น นางเป็นรู้สึกอย่างไรเล่า ที่บรรดามะลาอิกะฮ์ได้ทำการขอดุอาอ์ให้นางห่างไกลจากความเมตตาของอัลเลาะฮ์ และต่อไปจะเป็นเช่นไรในขณะที่นางได้อยู่เบื้อหน้าอัลเลาะฮ์ตะอาลา (หมายถึง รอรับการสอบสวน) และการปฏิบัติต่าง ๆ ของนางนั้นได้ถูกนำเสนอ ซึ่งส่วนหนึ่งในนั้น มีการประพฤติที่ชั่วจนเป็นเหตุให้นางต้องได้รับการลงโทษด้วยสาเหตุของบาป นั้น
แต่หากว่า ภรรยาอยู่ในสภาวะที่ป่วย มีประจำเดือน และถือศีลอดในเดือนรอมะฏอน ก็อนุญาตให้นางปฏิเสธในสิ่งดังกล่าวได้
ข้อ 3 ห้ามสตรีพรรณนาหญิงอื่นให้สามีของนางรับฟัง
รายงานจากท่านอิบนุมัสอูด ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ เขากล่าวว่าท่านนบีซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "ผู้หญิงคนหนึ่งอย่าทำการสัมผัสกับผู้หญิงอีกคนหนึ่ง แล้วนางทำการพรรณนาคุณลักษณะแก่สามีของนาง ประหนึ่งเขาได้มองเห็นหญิงคนนั้น" รายงานโดย อัลบุคอรีย์
ท่านอิมามอิบนุอัลเญาซีย์ กล่าวว่า "ถูกห้ามจากสิ่งดังกล่าวนี้ เพราะผู้ชายคนหนึ่ง เมื่อได้ยินคุณลักษณะของสตรี ปณิธานของเขาจะสั่นไหว (คือให้ความสนใจ) และหัวใจของเขาจะมุ่งปรารถนา จิตใจจะคอยแสวงหาคุณลักษณะที่สวยงาม (ที่มีเหมือนกับสตรีคนนั้น) ดังนั้นบางครั้งการพรรณนาคุณลักษณะ จะเรียกร้องไปสู่ความต้องการคุณลักษณะที่สวยงามนั้น และบางครั้ง การให้ความสนใจแสวงหาสิ่งดังกล่าวนั้น ทำให้เกิดความคะนึงหา(สตรีคนนั้น)" ดูอะหฺกาม อันนะซาอ์ หน้า 63
ข้อ 4 ห้ามสตรีทำการถือศีลอดสุนัต โดยที่สามีอยู่ นอกจาก ได้รับการอนุญาตจากเขา
เพราะมีหะดิษจากท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ รอฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"ไม่อนุญาตให้สตรีทำการถือศีลอด โดยที่สามีของนางอยู่ นอกจาก ได้รับอนุญาตจากเขา และนางจะไม่อนุญาต(ให้ผู้อื่น)เข้ามาในบ้าน นอกจากได้รับอนุญาตจากเขา" รายงาน โดย บุคคอรีย์ และ มุสลิม
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า
"หะดิษนี้ถูกตีความว่ามันคือการถือศีลอดสุนัตโดยไม่เจาะจงเวลาที่เฉพาะ และการห้ามนี้ คือ การห้ามแบบฮะรอมที่บรรดานักปราชญ์ของเราได้กล่าวชัดเจนไว้ และสาเหตุการห้าม คือ สามีนั้นมีสิทธิในการหาความสุขกับนางในทุก ๆ วัน และสิทธิดังกล่าวเป็นสิ่งวายิบ(จำเป็น) อย่างรีบด่วน ดังนั้นสิทธิดังกล่าวไม่สามารถละเลยด้วยเหตุของการกระทำสุนัตและสิ่งที่วา ยิบแบบล่าช้า และหากกล่าวว่าสมควรอนุญาตให้นางทำการถือศีลอดโดยไม่ต้องขออนุญาตจากสามี เพราะเมื่อสามีต้องการหาความสุขกับนางก็อนุญาตแก่ผู้เป็นสามีได้โดยที่การ ศีลอดของนางต้องเสียไป
ดังนั้น คำตอบก็คือตามปกติแล้วการถือศีลอดของนางจะมาหักห้ามเขาแสวงหาความสุข เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้การถือศีลอดของนางเสียไปและคำกล่าวของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า "โดยที่สามีของนางอยู่ด้วย" หมายถึง อยู่ในเขตเมือง(ที่เขาอาศัยอยู่) แต่เมื่อสามีได้เดินทาง ก็อนุญาตให้ภรรยาทำการถือศีลอดได้ เนื่องจากสามีไม่สามารถมาหาความสุขได้ หากนางไม่ได้อยู่พร้อมกับสามี" ดู ชัรฮ์ซอฮิหฺมุสลิม เล่ม 3 หน้า 65
ข้อ 5 ห้ามสตรีอวดความสวยงามต่อหน้าบรรดาบุรุษ
เพราะอัลเลาะฮ์ตะอาลาตรัสความว่า
وَلَا تَبَرَّجْنَ تَبَرُّجَ الْجَاهِلِيَّةِ الْأُولَىٰ
"พวกเธอและอย่าได้โออวดความงาม เช่น การอวดความงาม (ของพวกสตรี) แห่งสมัยงมงายในยุคก่อน" อัลอะหฺซาบ 33
รายงานจากอบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ความว่า ท่านนบีซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "บุคคลสองประเภทที่อยู่ในนรก ซึ่งฉันไม่เคยเห็นทั้งสองมาก่อนเลยคือ กลุ่มชนที่ถือแซ่ที่เหมือนกับหางวัวซึ่งพวกเขาจะใช้ตีบรรดาผู้คนทั้งหลาย บรรดาสตรีที่สวมใส่เสื้อผ้าคับทำให้มองเห็นเรือนร่าง สตรีที่ปฏิบัติตนให้เป็นจุดเด่นชักจูงหญิงอื่นให้คล้อยตามด้วย สตรีที่ออกนอกลู่ทาง (ไม่ทำตามคำสั่งของอัลเลาะฮ์) สตรีที่เกล้าผมไว้ด้านหลังดูเหมือนตระโหนกอูฐ ซึ่งพวกนางเหล่านั้นจะไม่ได้เข้าสวรรค์ พวกนางจะไม่ได้พบแม้กลิ่นหอมของสวรรค์และกลิ่นหอมของสวรรค์นั้นมีระหว่างทาง เท่านี้เท่านั้น" รายงานโดยมุสลิม
บรรดาพี่น้องสตรีโปรดจงพิจารณาถึงสัญญาลงโทษที่รุนแรงและการลงโทษที่แสน เจ็บปวดนี้ สำหรับสตรีที่อวดความงามของตนต่อหน้าบรรดาชายอื่น หากแม้นว่าพวกนางจะระเริง ภูมิใจ แต่โลกหน้านางจะมีความโศกเศร้าเสียใจซึ่งมันเป็นสาเหตุห้ามจากการเข้าสรวง สวรรค์และต้องลงในนรกอันลุกโพรง
ดังนั้น เธอจงพึงระวังจากการอวดโฉมความสวยงามต่อหน้าชายอื่นไม่ว่าจะด้วย การคลุมฮิญาบที่ถูกต้องตามหลักของศาสนาหรือใส่น้ำหอมโดยให้ผู้ชายได้รับ กลิ่นหอมนั้น เพราะทุก ๆ จากสิ่งดังกล่าวจะทำให้ได้รับโทษในวันกิยามะฮ์
ข้อ 6 ห้ามเปิดเผยความลับการร่วมสุขระหว่างสามีภรรยา
ท่านอบู สะอีดอัลคุดรีย์ได้รายงานว่าท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ซอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"ผู้ที่มีตำแหน่งชั่วช้าที่สุด ณ ที่อัลเลาะฮ์ ในวันกิยามะฮ์นั้น คือ สามีได้สัมผัส(ร่วมเสพสุข)กับภรรยาของเขาและภรรยาของเขาได้สัมผัส(ร่วมเสพ สุข)กับเขา หลังจากนั้นความลับของนางได้ถูกเปิดเผย" รายงานโดย มุสลิม
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ กล่าวว่า"ในหะดิษนี้ห้ามสามีเปิดเผยการเสพสุขระหว่างเขาและภรรยาและพรรณนาราย ละเอียดดังกล่าว และห้ามเปิดเผยดังกล่าวที่เกี่ยวกับภรรยาไม่ว่าจะเป็นคำพูด การกระทำ หรืออื่น ๆ" ชัรหฺซอฮิหฺมุสลิม เล่ม 3 หน้า 610
ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า การสัญญาลงโทษนี้ ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ผู้เป็นสามีเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงภรรยาด้วยเช่นกัน
ข้อ 7 ห้ามสตรีทำการสัก ถอนขนที่ใบหน้า และถ่างฟัน
ท่านอิบนุมัสอูด รายงานว่า ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า
لعن الله الواشمات والمستوشمات, والناصمات والمتنمصات, والمتفلجات للحسن, المغيرات خلق الله
"อัลเลาะฮ์ทรงสาปแช่ง ผู้หญิงที่ทำการสัก และใช้ให้ทำการสัก ผู้หญิงที่ขจัดขนบนใบหน้าและผู้หญิงที่ขอให้ขจัดขนบนใบหน้า ผู้หญิงที่ถ่างช่วงระหว่างฟันเพื่อความสวยงาม ซึ่งพวกนางเป็นผู้ที่ทำการเปลี่ยนแปลงการสร้างของอัลเลาะฮ์..." รายงานโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม
การขจัดขนบนใบหน้า ย่อมครอบคลุมถึง ขนคิ้วด้วยเช่นกัน ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวว่า "การกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่หะรอม นอกจาก ผู้หญิงที่มีเคราและหนวดงอกขึ้นมา ดังนั้น จึงไม่หะรอมที่จะขจัดมันออกไป ยิ่งกว่านั้น ยังถือว่าเป็นสุนัตให้ขจัด(เคราและหนวดของสตรี)ตามทัศนะของเรา(มัซฮับชาฟิอี ย์)...และแท้จริง การห้ามนั้นคือการขจัดขนคิ้วและบริเวณใบหน้า" ดู ชัรหฺซอฮิหฺมุสลิม เล่ม 7 หน้า 361 หะดิษที่ 2125
การถูตัดฟันและการถ่างช่องระหว่างฟัน ซึ่งเป็นสิ่งที่หะรอม เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานมาและท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้ามไว้
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า
وَلَآمُرَنَّهُمْ فَلَيُغَيِّرُنَّ خَلْقَ اللَّهِ
"แล้วแน่นอนพวกเขาก็จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อัลลอฮฺทรงสร้าง" อันนิซาอ์ 119
ท่านนบี ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่าอัลเลาะฮ์ทรงแช่งสตรีต่อไปนี้
والمتفلجات للحسن المغيراتِ خلقَ الله
"บรรดาสตรีที่ทำการถ่างช่องระหว่างฟันเพื่อความสวยงาม คือผู้ที่ทำการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงสร้าง" รายงานโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
แต่การตัดฟันหรือถ่างช่องฟันเพื่อการรักษาหรือปกปิดลักษณะที่น่าเกลียด ย่อมไม่เป็นไรเนื่องจากการห้ามนั้นเพื่อความสวยงาม
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ กล่าวว่า
"ในหะดิษนี้ชี้ถึงการห้ามนั้นคือสิ่งที่ถูกกระทำเพื่อความสวยงาม ถ้าหากสตรีท่านหนึ่งมีความต้องการที่จะเยียวยาหรือปกปิดข้อตำหนิของตนและ อื่น ๆ ก็ถือว่าไม่เป็นไร" ดู ชัรหฺซอฮิหฺมุสลิม เล่ม 7 หน้า 361
ข้อ 8 ห้ามสตรีฝ่าฝืนสามีของนาง
สมควรแก่ภรรยาที่ดี(ซอลิหะฮ์) ทำการอยู่ร่วมชีวิตกับสามีด้วยความเพียงพอ เชื่อฟังและภักดีต่อเขาด้วยความดีงาม เพราะท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮะวะซัลลัม ใช้ให้บรรดาภรรยาปฏิบัติดีแก่สามีของพวกนาง ห้ามทำการฝ่าฝืนและปฏิบัติในแง่ลบกับพวกเขา ท่านนบีซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"หากฉันจะใช้คนหนึ่งทำการสุยูดให้กับบุคคลหนึ่ง แน่นอนฉันจะใช้ภรรยาทำการสุยูดต่อสามีของนาง" รายงานโดย ท่านอัตติรมีซีย์ หะดิษนี้ซอฮิหฺ
ท่านนบีซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวเช่นกันว่า
"อัลเลาะฮ์จะไม่มองไปยังสตรีคนที่ไม่ทำการขอบคุณต่อสามีของนาง โดยที่นางเองยังคงพึ่งพาต่อเขา" รายงานโดย อันนะซาอีย์ หะดิษนี้ซอฮิหฺ
ดังนั้น สมควรแก่มุสลิมะฮ์ทุกคนในการสร้างความพอใจกับผู้อภิบาลของนางด้วยการฏออัต สามี และปฏิบัติดีกับเขาในทั้งคำพูดและการกระทำ เพราะฉะนั้นสามีจึงเป็นดังกล่าวสวรรค์และนรกของภรรยา หมายถึงหากปฏิบัติดีต่อสามีก็จะได้รับสวรรค์และหากปฏิบัติไม่ดีก็จะได้รับ สิ่งตรงกันข้าม แต่การฏออัตของภรรยาที่มีต่อสามีนั้นต้องกระทำเสมอไปหรือไม่ แม้กระทั่งในเรื่องที่ฝ่าฝืนกระนั้นหรือ? แน่นอนว่าไม่ใช่แน่ เพราะการที่ภรรยาฏออัตต่อสามีนั้นต้องมีข้อแม้ว่าต้องไม่เป็นสิ่งที่ทำให้ อัลเลาะฮ์ ตะอาลา ทรงพิโรธ ดังนั้นเมื่อสามีใช้ให้นางกระทำสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนต่ออัลเลาะฮ์และร่อซูล ของพระองค์ แน่นอนว่าต้องไม่มีการภักดีต่อสามีในเรื่องเฉกเช่นดังกล่าวนี้
ท่านอะลี ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"ไม่มีการฏออัตในเรื่องที่เป็นการฝ่าฝืนต่ออัลเลาะฮ์ แต่ทว่าการฏออัตนั้นจะอยู่ในความดีงาม" รายงานโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม
ท่านอิมามอิบนุอัลเญาซีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า
"สิ่งที่เราได้กล่าวมา จากความจำเป็นในการฏออัตต่อสามี ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้ภรรยาทำการฏออัตในเรื่องที่ไม่อนุญาต พร้อมสามีขอนางทำการร่วมประเวณีในขณะที่มีประจำเดือน ในสถานที่อันน่ารังเกียจ ในกลางวันของเดือนรอมาฏอน หรืออื่น ๆ จากบรรดาสิ่งฝ่าฝืนทั้งหลาย ดังนั้นจึงไม่มีการฏออัตกับมัคโลคในการฝ่าฝืนต่ออัลเลาะฮ์ ตะอาลา"
ข้อ 9 ห้ามสตรีปฏิเสธตัดพ้อต่อสามีผู้ร่วมชีวิต
รายงานจากท่านอิบนุอับบาส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "ฉันถูกทำให้ได้เห็นนรก ดังนั้นชาวนรกส่วนมากจะเป็นบรรดาผู้หญิงซึ่งพวกนางชอบปฏิเสธ จึงถูกตั้งคำถามขึ้นว่าพวกนางปฏิเสธอัลเลาะฮ์กระนั้นหรือ ? ท่านนบีกล่าวว่า พวกนางปฏิเสธต่อสามีผู้ร่วมชีวิต ปฏิเสธต่อการปฏิบัติอันดีงาม หากท่านปฏิบัติดีต่อคนหนึ่งคนใดจากนางเป็นเวลานาน หลังจากนั้นนางได้เห็นสิ่งหนึ่ง(ที่นางไม่พอใจ)จากท่าน นางก็จะกล่าวว่า ฉันไม่เห็นความดีใด ๆ จากท่านเลย" รายงานโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม
รายงานจากอัสมาอ์ บุตรี ยะซีด ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา นางกล่าวว่า "ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เดินผ่านพวกเรา ซึ่งเรากำลังอยู่ในหมู่บรรดาผู้หญิงทั้งหลาย แล้วท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ได้ให้สลามแก่พวกเรา และกล่าวว่าพวกเธอจงระวังเกี่ยวกับการปฏิเสธบรรดาผู้ที่ให้ความอำนวยสุข พวกเรากล่าวว่า โอ้ ร่อซูลลัลลอฮ์ อะไรคือการปฏิเสธบรรดาผู้ที่ให้ความอำนวยสุขหรือ? ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่าบางครั้งอาจจะมีผู้หญิงคนหนึ่งที่คลองโสดอยู่กับ บิดามารดาของนางเป็นเวลานาน จากนั้นอัลเลาะฮ์ทรงประทานสามีให้แก่นางและพระองค์ทรงประทานให้นางมี ทรัพย์สินและบุตร แล้วนางก็เกิดความโกรธขึ้นมาครั้งหนึ่ง แล้วนางก็ชอบกล่าวว่า ฉันไม่เคยเห็นเขามีดีอะไรสักวันหนึ่งเลย" หะดิษหะซัน รายงานโดยท่านอิมามอะห์มัด ,อบูดาวูด , และท่านอัตติรมีซีย์
ดังนั้น การปฏิเสธตัดพ้อต่อสามี คือการปฏิเสธเนี๊ยะมัติเช่นเดียวกัน ซึ่งการตัดพ้อน้อยใจ ก็คือ ความไม่พอใจต่อค่าเลี้ยงดูของสามี ซึ่งท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำการอธิบายไว้อย่างชัดเจนแล้ว เพื่อไม่ให้สตรีผู้เป็นภรรยาอ้างข้อแก้ตัวต่ออัลเลาะฮ์ ตะอาลา
ข้อ 10 ห้ามบรรดาสตรีของหย่ากับสามีโดยไร้เหตุผล
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"สตรีใดที่เขาให้สามีของนางทำการหย่า โดยไม่มีปัญหาอันใด ดังนั้น กลิ่นหอมของสวรรค์จะถูกห้ามแก่นาง" รายงานโดย อบูดาวูด , อัตติรมีซีย์ , และท่านอิบนุมาญะฮ์ และหะดิษนี้ซอฮิหฺ
ข้อ 11 ห้ามสตรีอยู่ตามลำพังกับชายอื่น
ท่านอับดุลเลาะฮ์ อิบนุอับบาส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวสุนทรพจน์ ความว่า "ชายคนหนึ่งจะไม่อยู่ตามลำพังกับผู้หญิงคนหนึ่ง นอกจากพร้อมกับนางต้องมีมะห์รอม(ผู้ที่แต่งงานร่วมกันไม่ได้)" รายงานโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม
ท่านอุกบะฮ์ บิน อามิร (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ) ได้รายงานว่า แท้จริงท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "พวกท่านจงระวังการเข้าไปหาบรรดาสตรี ผู้ชายคนหนึ่งจากชาวอัน
ซ๊อรตั้ง คำถามขึ้นว่า ท่านเห็นว่าอย่างไรเกี่ยวกับพี่น้องของสามี? ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ตอบว่า พี่น้องสามีคือความตาย" รายงานโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม
ดังนั้น สองหะดิษนี้ระบุชัดเจนในเรื่องของการห้ามอยู่ร่วมตามลำพังระหว่างบุรุษและ สตรีอื่น และเราได้นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องนี้เนื่องจากสตรีส่วนมากทำเบาความเกี่ยวกับ กรณีดังกล่าว ด้วยการอนุญาตให้ชายอื่นเข้าไปพบนางได้นั่งร่วมคุยกับนางได้ ด้วยการอ้างว่า เขาเป็นเพื่อนหรือคนรู้จักของครอบครัว แต่นางได้ทำให้เสื่อมเกียรติด้วยการอ้างเหตุผลที่คลุมเครือดังกล่าวทำลาย ครอบครัวของตนเอง
ฉะนั้น จึงมีความจำเป็นต่อสตรีมุสลิมะฮ์ต้องไม่ให้ผู้ใดเข้ามาในบ้านของสามีนอกจาก ผู้ที่สามีพอใจ และให้นั่งคุยด้วยมารยาทตามกฎบัญญัติของศาสนาด้วยการคลุมฮิญาบ ไม่นั่งตามลำพังสองต่อสองและต้องมีความจำเป็นเท่านั้น ดังนั้นสตรีผู้เป็นภรรยาต้องไม่นั่งพร้อมกับชายอื่น แม้กระทั่งอยู่ต่อหน้าสามีหรือคนใดจากผู้ที่ไม่สามารถแต่งงานกับนางได้ก็ ตาม - เพียงเพื่อนั่งพูดคุยหรือพูดจาพาทีกับอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ทว่าการนั่งพูดคุยนั้นมีความจำเป็นทางด้านศาสนา เช่นเพื่อการเยียวยารักษาหรือเพื่อการแต่งงาน
สตรีบางส่วนนั่งคุยกับชายอื่นโดยมีบุตรเล็ก ๆ ของตนร่วมอยู่ด้วย และอ้างว่าหากมีบุตรเล็ก ๆ ทั้งหญิงหรือชาย ร่วมอยู่ด้วยถือว่าไม่เป็นการอยู่ร่วมกันตามลำพัง ซึ่งดังกล่าวนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะการมีเด็กเล็ก ๆ ร่วมอยู่ด้วยนั้น เหมือนกับไม่มี เนื่องจากไม่มีความละอายใด ๆ ให้กับเด็กเพราะอายุยังน้อย และเช่นเดียวกัน ในกรณีที่บรรดาชายอื่นมากกว่าหนึ่งได้อยู่ร่วมกับสตรีเพียงคนเดียวถือว่า เป็นสิ่งที่ต้องห้าม
และบางครั้งผู้ชายพบกับผู้หญิงพบกันระหว่างทางโดยบังเอิญก็ถือว่าอนุญาต ให้เดินทางพร้อมกับเขาได้ แต่ให้ผู้ชายเดินนำหน้าสตรีเสมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับท่านหญิงอาอิชะ ฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา ในขณะที่ท่านหญิงได้เดินทางอยู่ข้างหลังกองทหาร ซึ่งอยู่ในช่วงของเหตุการณ์ที่ท่านหญิงถูกกล่าวหาในครั้งนั้น
ทำอย่างไร ถึงจะเป็น “มุสลิมะฮฺ” ที่สมบูรณ์แบบ
“แท้จริง บรรดาผู้นอบน้อมชายและหญิง บรรดาผู้ศรัทธาชายและหญิง บรรดาผู้ภักดีชายและหญิง บรรดาผู้สัตย์จริงชายและหญิง บรรดาผู้อดทนชายและหญิง บรรดาผู้ถ่อมตัวชายและหญิง บรรดาผู้บริจาคทานชายและหญิงบรรดาผู้ถือศีลอดชายและหญิง บรรดาผู้รักษาอวัยวะเพศของพวกเขาที่เป็นชายและหญิง บรรดาผู้รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากที่เป็นชายและหญิงนั้น อัลลอฮฺได้ทรงเตรียมไว้สำหรับพวกเขาแล้วซึ่งการอภัยโทษและรางวัลอันยิ่งใหญ่ (33:35)
หากท่านเป็นสตรีมุสลิมที่กำลังรู้สึกว่า กำลังละเลยหน้าที่ด้านศาสนา ถึงเวลานี้ ก็คงไม่สายเกินไปที่ท่านจะย้อนกลับมาดูตัวเองอีกครั้ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงอายุ หรือสิ่งที่ท่านเคยทำมาในอดีต
1.ตระหนักเสมอว่า ท้ายที่สุดแล้ว ทุกๆ สิ่งอย่างที่เกิดขึ้น (หรือที่ประสบกับท่าน) จะต้องเป็นไปด้วยดี อัลลออฮฺทรงให้อภัยต่อบาปเล็กๆ ทั้งหลาย ด้วยเพราะว่าพระองค์คือผู้ที่ทรงรู้แจ้ง ทรงเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง และพระองค์เป็นผู้ทรงให้อภัยเสมอ แม้ว่าท่านจะรู้สึกว่าตัวท่านเองนั้นจมอยู่ในบาปจนถอนตัวไม่ได้และไม่สามารถ ที่จะกลับมาเป็นมุสลิมที่ดีได้ก็ตาม แต่แท้จริงแล้ว “มิใช่เช่นนั้น”
2.ค้นหา “สาเหตุ” ที่เป็นตัวล่อลวงท่านให้หันหลังต่อศาสนา โดยการที่ท่านอาจจะลองประเมินจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัว หรือในกลุ่มเพื่อนฝูงซึ่งอาจเป็น “ต้นเหตุ” ที่นำท่านไปสู่หนทางที่ผิด หากเป็นเช่นนั้น ท่านจำต้องเลิกติดต่อกับเพื่อนกลุ่มนั้น เพราะท้ายที่สุด ในวันแห่งการตัดสิน “พวกเขาเหล่านั้น” ย่อมไม่ได้ยืนอยู่เคียงข้างท่าน เมื่อท่านต้องเผชิญหน้าต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา เพียงลำพัง และหากว่า “ต้นเหตุ” นั้นเกิดจาก “ครอบครัวของท่าน” มันก็อาจจะเป็นการยากมากขึ้นสำหรับท่านในการที่จะแก้ไข แต่หากว่าท่านสามารถผ่านพ้น “ปัญหา” นี้ไปได้ แน่นอนว่า ท่านก็จะประสบกับความง่ายดายในภายหลัง
3.หากว่าท่านยืนหยัดและมุ่งมั่นที่จะกลับตัวกลับใจและพยายามที่จะเป็นมุ สลิมะฮฺที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่ท่านจะทำได้แล้ว ท่านควรที่จะพิจารณาถึง “การสวมใส่ฮิญาบ หรือ บัรฺกอฺ” ของท่าน “ฮิญาบ” นั้นมิได้เป็นเพียงแ่ค่ “ผ้าผืนหนึ่งที่ปกคลุมเส้นผม” หากแต่เป็น “อาภรณ์” ที่ช่วยเปลี่ยนแปลงท่านทั้งทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ จงระลึกเสมอว่า “อาภรณ์ผึนนี้” เป็นเครื่องปกป้องคุ้มครองที่อัลลอฮฺทรงประทานไว้ให้แก่บรรดาสตรี ตราบใดที่ท่านนั้นสวมใส่ฮิญาบ อินชาอัลลอฮฺ ทัศนคติเกี่ยวการเคารพนับถือตัวเองและการรู้คุณค่าของตัวเองนั้นจะเปลี่ยนไป ในทางที่ดีขึ้น เรามิได้กล่าวว่า “สตรีที่มิได้สวมใส่ฮิญาบ” จะไม่ได้รับการปกป้องหรือไม่ได้รับความรู้ที่เป็นสัจธรรม หากแต่ว่ามันถือเป็นโอกาสที่ดีกว่าสำหรับท่านในการที่จะรับรู้ถึงความรู้สึก ดังกล่าวจากการสวมใส่ฮิญาบ
4.ทำการละหมาดห้าเวลาทุกวัน ก่อนที่ท่านจะเริ่มทำการละหมาดนั้น ท่านควรจะศึกษาถึงความหมายของคำอ่านในละหมาด ซูเราะฮฺที่จะละหมาด เสียก่อน หากว่าภาษาอาหรับนั้นไม่ใช่ภาษาแม่ของท่าน ก็ลองหาคำแปลของบทละหมาดนั้นๆ และใช้เวลาในการอ่านและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของมัน จากนั้นท่านก็เริ่มทำให้การละหมาดให้เป็นกลายส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ประจำวันของท่าน
5.อ่านอัลกุรอาน เช่นเดียวกัน ท่านสามารถอ่านเป็นคำแปลภาษาไทย หากว่าท่านยังไม่คล่องในภาษาอาหรับ การอ่านอัลกุรอานจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีงามระหว่างท่านกับอัลลอฮฺ อีกทั้งยังทำให้ท่านนั้นตระหนักและซาบซึ้งถึงความงดงามแห่งอิสลามอีกด้วย
6.แต่งกายเรียบร้อย ซึ่งมิได้หมายความว่าท่านจะต้องทำให้ตัวท่านดูน่าเกลียดหรือดูล้าสมัย หากเพียงแต่ต้องยึดถือ “ความเรียบร้อย” เป็นหลัก ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยเปลี่ยนแปลงทัศนคติทั้งหลายของท่านเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับ การอนุมัติและสิ่งที่ไม่ได้รับการอนุมัติ (หะลาล และหะรอม)
7.พบปะสมาคมกับเพื่อนที่ดี ด้วยการหาหัวข้อในการสนทนา เพราะท่านอาจต้องการหาเพื่อนสักคนที่ท่านสามารถแบ่งปันความคิด ทัศนคติเกี่ยวกับ “การเป็นมุสลิมะฮฺที่ดี”
8.หลีกเลี่ยงแรงจูงใจด้านลบ รวมไปถึงการคบกับเพื่อนเก่า (มันอาจจะยากสักหน่อย หากแต่ว่ารางวัลตอบแทนที่จะได้รับนั้นมันคุ้มค่ามากกว่า) เพื่อนเก่าที่ว่านี้ คือบรรดาผู้ที่มีอิทธิพลไปในทางที่เลวร้ายต่อตัวท่าน หรือเป็นผู้ที่มักชักจูงท่านให้แสดงพฤติกรรมด้านลบออกมา เราทุกคนต่างมีชัยฎอน (ความชั่ว) อยู่ในตัวเรา หากแต่ ในฐานะ “มุสลิม” มันถือเป็น “ความรับผิดชอบ” ของเราที่จะต้องต่อสู้กับสิ่งล่อลวงใจเหล่านั้นและพยายามหาวิถีทางในการ เพิ่มพูนความศรัทธาและความเชื่อให้มากขึ้น
9.ให้อภัยตัวเองต่อความผิดต่างๆ ที่ผ่านมา ท่านจำต้องปล่อยวางกับความผิดพลาดที่ผ่านมาในอดีตและปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่มี อยู่ให้ดียิ่งขึ้นเพื่ออนาคต — สิ่งใดๆ ก็ตามที่เคยเกิดขึ้นมันได้ผ่านไปแล้ว สิ่งเหล่านั้นถือเป็นอดีตและไม่มีอะไรที่ท่านจะสามารถเปลี่ยนแปลง หรือ ทำให้มันดีกว่าที่เคยเป็นได้ สิ่งเดียวที่ท่านสามารถทำได้คือการให้อภัยตัวเองและใช้ประสบการณ์ด้านลบ เหล่านั้นเป็นตัวผลักดันให้ท่านนั้นทำตัวให้ดียิ่งขึ้น
10.พิจารณาว่า “จุดอ่อน” ของท่านนั้นคืออะไร และพยายามหลีกเลี่ยงมัน ยกตัวอย่างเช่น หากท่านเป็นผู้ที่เคยยุ่งเกี่ยวกับการมีความสัมพันธ์ที่ผิดประเวณีก่อนการ แต่งงาน ท่านจำต้องหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมพันธ์กับบุรุษเพศ ซึ่งมิได้หมายความว่าท่านจะต้องวิ่งหนีทุกๆ ครั้งที่มีผู้ชายเข้ามาใกล้ท่าน หากแต่ว่าท่านจำต้องคบหาเพื่อนที่เป็นสตรีเพศและหลีกเลี่ยงการคบหาเพื่อน ผู้ชายที่ขาดซึ่งศีลธรรมและไม่ให้เกียรติสตรี เพราะแท้จริงแล้ว พวกเขาเหล่านั้นไม่ใช่ผู้ที่มีความสำคัญต่อชีวิตของท่าน
11.ยึดมั่นต่อ “ความปรารถนาที่จะเป็นมุสลิมะฮฺที่ดี” ให้เป็นหลักเกณฑ์ในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน หากท่านทำให้ “สิ่งนี้” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในหัวใจของท่านว่า ท่านต้องการที่จะเป็นมุสลิมะฮฺที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ท้ายที่สุดแล้วท่านก็จะบรรลุผลสำเร็จดังกล่าวได้โดยไม่ต้องคอยนึกถึงมัน และทุกๆ ครั้งที่ท่านจะทำสิ่งใดก็ตาม ท่านจะตระหนักได้เองว่า “สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดี หรือเป็นสิ่งที่ศาสนาอนุมัติ” “ถ้าศาสนาไม่อนุมัติ ก็อย่าทำเลยดีกว่า”
12.เมื่อใดก็ตามที่ท่านรู้สึกอ่อนแอ ท้อแท้ และไม่มีใครสักคนที่จะพูดคุยด้วย ขอให้ท่านตระหนักอยู่เสมอว่า อัลลอฮฺทรงอยู่กับท่านและ “อัลลอฮฺ” เพียงพระองค์เดียวเท่านั้นที่เป็นเป้าหมายของภาระกิจต่างๆ ในชีวิตของเราในโลกดุนยานี้
13.ระลึกเสมอว่า “การที่จะได้มาซึ่งการอภัยโทษจากอัลลอฮฺนั้น มีอยู่สี่ประการ” คือ
1) สำนึกในความผิดและสารภาพผิดต่อหน้าอัลลอฮฺ
2) เสียใจต่อความผิดที่ท่านได้กระทำ
3) ให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่กระทำความผิดซ้ำอีก
4) ขออภัยโทษจากอัลลอฮฺ
ที่มา: muslimchiangmai.net , بنت الاٍسلام