ข้อห้ามและสิ่งที่อนุญาติต่อหญิงมีประจำเดือน


17,555 ผู้ชม

การห้ามมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีประจำเดือน เป็นข้อห้ามเนื่องจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เพิ่งประจักษ์ด้วยการแพทย์สมัยไหม่ ดังนี้


ข้อห้ามและสิ่งที่อนุญาติต่อหญิงมีประจำเดือน

ข้อห้ามและสิ่งที่อนุญาติต่อหญิงมีประจำเดือน
١٤٤ - وعن أنس - رضي الله عنه: أن اليهود كانوا إذا حاضت المرأة لم يؤاكلوها, فقال النبي - صلى الله عليه وسلم: «اصنعوا كل شيء إلا النكاح». رواه مسلم.

รายงานจาก อานัส(รด) : แท้จริงแล้วชาวยิวเมื่อสตรีของเขามาประจำเดือน พวกเขาจะไม่กินพร้อมกับนาง ท่านนบี(ซล)จึงกล่าวว่า :"จงทำทุกอย่าง(เหมือนคนปกติ)เว้นแต่การแต่งงาน(การมีเพศสัมพันธ์)

 บันทึกโดย มุสลิม
١٤٥ - وعن عائشة - رضي الله عنها - قالت: كان رسول الله - صلى الله عليه وسلم - يأمرني فأتزر, 
فيباشرني وأنا حائض. متفق عليه.
รายงานจาก อาอีชะห์(รด) กล่าวว่า "ท่านรอซูล(ซล)ได้เคยสั่งฉันไห้ทำการผูกกาเกงของท่าน และได้ถูกเนื้อต้องตัวฉัน ขณะที่ฉันมีประจำเดือน

บันทึกโดย บูคอรี, มุสลิม


จากหะดีษ :
1. หะดีษของท่าน อานัส บ่งบอกถึงการห้ามมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาขณะที่นางมีประจำเดือน ซึ่งเป็นอิจมาอ(เห็นพ้องกัน)ของอุลามาอ.
อีมามชาฟีอีย์กล่าวว่า "ไครที่ทำอย่างนั้นถือว่าเขาทำบาบไหญ่"(1) المجموع 359/2
2. หะดีษของท่านหญิง อาอีชะห์ บ่งบอกถึงอนุญาติไห้มีการสัมพัศกับภรรยาโดยที่ไม่มีเพศสัมพันธ์ แบ่งเป็นสองกรณี ดังนี้


กรณี 1 : การสัมผัสตั้งแต่บนสะดือขึ้นไปถือว่าอนุญาติ เป็นอิจมาอ กล่าวโดย นาวาวีย (2)  شرح المهذب 364/2 , อิบนูกูดามะห์ (3) المغني 414/1
กรณี 2 : สัมผัสระหว่างสะดือกับเข่า นอกจากอวัยวะเพศหน้าและหลัง อนุญาติไห้ทำได้ แต่ไม่สมควรที่จะทำเพราะอาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ ทางที่ดีควรสัมผัสกันโดยมีผ้ากั้น
3. การห้ามมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีประจำเดือน เป็นข้อห้ามเนื่องจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เพิ่งประจักษ์ด้วยการแพทย์สมัยไหม่ ดังนี้
1- การมีสัมพัธ์กับผู้มีประจำเดือนอาจทำไห้ เลือดไหลออกมากขึ้น เนื่องจากอวัยวะเพศมีความเปราะบางและง่ายต่อการฉีกขาด
2- ทำไห้อวัยวะเพศต้องเจอกับแบคทีเรียและเชื่อโรคมากขึ้น เนื่องจากความสามารถในการป้องกันเชื้อโรคอ่อนแอลงในคนที่มีประจำเดือน และยังมีปัจจัยที่ส่งเสริมไห้มีการขยายตัวของเชื่อโรค
3- การทีสัมพัธ์กับผู้มีประจำเดือนอาจทำไห้เกิดความเสียหายต่อทางเดินปัสสาวะและถุงเก็บน้ำปัสสาวะด้วย
4- ร่างกายของผู้มีประจำเดือนจะอ่อนแอ โดยเฉพาะขณะแรกเริ่มมีประจำเดือนจะรู้สึกสับสน ฟุ้งซ่าน ดังนั้นร่างกายของเขาไม่พร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์
สำหรับสามีก็เช่นเดียวกันอาจประสบกับความเสียหายเมื่อมีสำพันธ์กับผู้มีประจำเดือน จากเชื้อโรคที่อยู่ในช่องคลอดมากมายอาจลุกลามไปถึงอวัยเพศของผู้ชายได้ และยังส่งผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ จากการเสียดสีกับอวัยวะเพศหญิง


วัลลอฮุอะลัม

ขอบคุณข้อมมูล:  ฟิกฮ์จากฮาดีษ - فقه من الحديث

islamhouse.muslimthaipost.com

อัพเดทล่าสุด