ประเภทของชิริก การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ


84,483 ผู้ชม

ชิริกใหญ่ ทำให้ตกศาสนา และการทำดีทั้งหมดต้องเป็นโมฆะ ผู้กระทำหมดสิทธิการได้รับความคุ้มครองทางร่างกายและทรัพย์สินจากรัฐบาลอิสลาม...


 
ประเภทของชิริก การตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์


ชิริกมี 2 ประเภท คือ ชิริกใหญ่ และชิริกเล็ก


ชิริกใหญ่

ทำให้ตกศาสนา และการทำดีทั้งหมดต้องเป็นโมฆะ ผู้กระทำหมดสิทธิการได้รับความคุ้มครองทางร่างกายและทรัพย์สินจากรัฐบาลอิสลาม เขาจะต้องตกนรกหากสิ้นชีวิตโดยไม่ขอประทานอภัยโทษและถอนตัว ทั้งนี้ เกิดจากการมอบการกราบไหว้ให้กับผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺแม้เพียงน้อยนิดก็ตาม เช่น การวิงวอนขอพร การเชือดสัตว์หรือบนบานกับผู้อื่นนอกจากอัลลอฮฺ ไม่ว่ากับผู้ตาย ญิน หรือชัยฏอน และผู้อื่นๆ การวิงวอนขอความมั่งมีหรือขอให้หายป่วยไข้หรือขอสิ่งที่หวังหรือให้ขจัดภัยจากผู้อื่นนอกจากอัลลอฮฺ ดังที่คนที่รู้เท่าไม่การณ์มักจะขอความคุ้มครองจากกับนักบุญ หรือที่คนนอกศาสนามักจะขอจากรูปปั้นต่างๆ เป็นต้น


ชิริกใหญ่ประเภทต่างๆ

1- ชิริกในด้านการเกรงกลัว 
หมายถึง การเกรงกลัวผู้อื่นนอกจากอัลลอฮฺ เช่น กลัวสิ่งกราบไหว้อื่นๆ กลัวรูปปั้น ฎอฆูต คนตาย หรือ ขอความช่วยเหลือจากภูตผี มนุษย์ให้ช่วยขจัดทุกข์ภัยจากตัวเขา ซึ่งความกลัวเช่นนี้ เป็นแกนสำคัญของศาสนาที่สูงส่ง ดังนั้น หากกระทำต่อผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ ก็หมายความว่าเขาได้กระทำชิริกใหญ่ 
อัลลอฮฺตรัสว่า...


إِنَّمَا ذَٰلِكُمُ الشَّيْطَانُ يُخَوِّفُ أَوْلِيَاءَهُ فَلَا تَخَافُوهُمْ وَخَافُونِ إِن كُنتُم مُّؤْمِنِينَ ( 175 )


ความว่า : ดังนั้น สูเจ้าจงอย่าเกรงกลัวพวกเขาแต่จงเกรงกลัวฉัน หากสูเจ้าเป็นผู้ศรัทธาอย่างแท้จริง (อาล อิมรอน : 175)


2- ชิริกในด้านการมอบตน
การมอบตนแก่อัลลลอฮฺในทุกเรื่องและทุกสภาพการณ์เป็นแขนงของอิบาดะฮฺที่ใหญ่ที่สุดที่มนุษญ์จะต้องทำให้ได้ หากผู้ใดมอบตนแก่ผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺในสิ่งที่โดยวิสัยเดิมแล้วสิ่งนั้นไม่มีผู้ใดสามารถจะกระทำได้ยกเว้นเพียงอัลลอฮฺ เช่น มอบตนแก่คนตาย หรือคนล่วงลับให้ขจัดทุกข์ภัยและนำโชคลาภหรือความมั่งมีศรีสุข คนผู้นั้นก็ได้ทำชิริกใหญ่ 
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า...


قَالَ رَجُلَانِ مِنَ الَّذِينَ يَخَافُونَ أَنْعَمَ اللَّهُ عَلَيْهِمَا ادْخُلُوا عَلَيْهِمُ الْبَابَ فَإِذَا دَخَلْتُمُوهُ فَإِنَّكُمْ غَالِبُونَ ۚ وَعَلَى اللَّهِ فَتَوَكَّلُوا إِن كُنتُم مُّؤْمِنِينَ ( 23 ) 


ความว่า : และเพียงกับอัลลอฮฺเท่านั้นพวกเจ้าจงมอบตน หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธาอย่างแท้จริง (อัลมาอิดะฮฺ : 23)


3-ชิริกในด้านความรัก
ความรักต่ออัลลอฮฺ คือ ความรักที่ก่อให้เกิดความถ่อมตัวและความเคารพเชื่อฟังอย่างสมบูรณ์ เป็นความรักที่บริสุทธิ์ มันจะต้องไม่มอบให้กับผู้อื่นใดนอกเหนือจากพระองค์ หากผู้ใดรักชอบผู้อื่นดังที่เขาสมควรรักอัลลอฮฺแล้ว เขาก็ได้ยึดผู้อื่นเป็นสิ่งเทียบเคียง ที่เขารักและเทิดทูนร่วมกับอัลลอฮฺ ซึ่งสิ่งนี้เป็นชิริก เช่นกัน
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า...


وَمِنَ النَّاسِ مَن يَتَّخِذُ مِن دُونِ اللَّهِ أَندَادًا يُحِبُّونَهُمْ كَحُبِّ اللَّهِ ۖ وَالَّذِينَ آمَنُوا أَشَدُّ حُبًّا لِّلَّهِ ۗ وَلَوْ يَرَى الَّذِينَ ظَلَمُوا إِذْ يَرَوْنَ الْعَذَابَ أَنَّ الْقُوَّةَ لِلَّهِ جَمِيعًا وَأَنَّ اللَّهَ شَدِيدُ الْعَذَابِ ( 165 )


ความว่า : และมีบางคนที่ยึดผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺเป็นที่รักและที่เทิดทูน พวกเขารักชอบคนเหล่านั้นเหมือนกับรักชอบอัลลอฮฺ แต่บรรดาผู้ศรัทธานั้นรักชอบอัลลอฮฺมากยิ่งกว่านัก (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 165)


4- ชิริกในด้านการเคารพเชื่อฟัง
ตัวอย่างการชิริกในด้านการเคารพเชื่อฟังก็คือ การเคารพเชื่อฟังผู้นำศาสนา ผู้นำ หัวหน้า หรือผู้พิพากษาในการอนุมัติสิ่งที่อัลลอฮฺไม่อนุมัติ หรือไม่อนุมัติสิ่งที่อัลลอฮฺอนุมัติให้ หากผู้ใดกระทำสิ่งดังกล่าว ก็หมายความว่าพวกเขาได้ยึดบุคคลเหล่านั้นเป็นภาคีกับอัลลอฮฺในด้านการออกกฎบัญญัติ การอนุมัติ การไม่อนุมัติ ซึ่งสิ่งนี้เป็นชิริกใหญ่ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า...


اتَّخَذُوا أَحْبَارَهُمْ وَرُهْبَانَهُمْ أَرْبَابًا مِّن دُونِ اللَّهِ وَالْمَسِيحَ ابْنَ مَرْيَمَ وَمَا أُمِرُوا إِلَّا لِيَعْبُدُوا إِلَٰهًا وَاحِدًا ۖ لَّا إِلَٰهَ إِلَّا هُوَ ۚ سُبْحَانَهُ عَمَّا يُشْرِكُونَ ( 31 )


ความว่า : พวกเขาได้ยึดเอาบรรดานักบุญของพวกเขา และบรรดาบาทหลวงของพวกเขาเป็นพระเจ้าอื่นจากอัลลอฮฺ และยึดเอาอัล-มะซีห์บุตรของมัรยัมเป็นพระเจ้าด้วย ทั้งๆ ที่พวกเขามิได้ถูกใช้นอกจากเพื่อเคารพสักการะผู้ที่สมควรได้รับการเคารพสักการะแต่เพียงองค์เดียว ซึ่งไม่มีผู้ใดควรได้รับการเคารพสักการะนอกจากพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่พวกเขาให้มีภาคีขึ้น (อัตเตาบะฮฺ : 31)


ประเภทของนิฟาก

1- นิฟากใหญ่ คือ นิฟากในด้านความเชื่อ ด้วยการที่แสแสร้งแสดงความเป็นมุสลิมแต่เพียงภายนอก แต่ภายในกลับซ่อนความเป็นผู้ปฏิเสธ ซึ่งผู้กระทำสิ่งนี้จะต้องอยู่ในนรกชั้นล่างสุด
อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า...


إِنَّ الْمُنَافِقِينَ فِي الدَّرْكِ الْأَسْفَلِ مِنَ النَّارِ وَلَن تَجِدَ لَهُمْ نَصِيرًا ( 145 )


ความว่า : แท้จริง บรรดาคนมุนาฟิก (ผู้แสแสร้งเป็นมุสลิม) นั้นจะต้องอยู่ในนรกชั้นใต้สุดและเจ้าจะไม่มีวันพบว่ามีผู้ช่วยคนใดๆ เลยสำหรับพวกเขา (อันนิสาอ์ : 145)


2- นิฟากเล็ก คือ การนิฟากในด้านการกระทำ เป็นต้น ซึ่งผู้กระทำไม่ถึงกับต้องพ้นสภาพการเป็นมุสลิม แต่เป็นเพียงผู้ละเมิดกฎของอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า...


«أَرْبَـعٌ مَنْ كُنّ فِيْـهِ كَانَ مُنَافِقاً خَالِصاً، وَمَنْ كَانَتْ فِيهِ خَصْلَةٌ مِنْـهُنَّ كَانَتْ فِيْـهِ خَصْلَةٌ مِنَ النِّفَاقِ حَتَّى يَدَعَهَا: إذَا ائْتُـمِنَ خَانَ، وَإذَا حَدَّثَ كَذَبَ، وَإذَا عَاهَدَ غَدَرَ، وَإذَا خَاصَمَ فَجَرَ». متفق عليه، أخرجه البخاري برقم (34)، واللفظ له، ومسلم برقم (58).


ความว่า : “มีการกระทำสี่อย่างที่หากใครทำทั้งหมดเขาจะเป็นคนมุนาฟิกเต็มตัว และหากใครกระทำเพียงสิ่งเดียวจากทั้งหมดนั้น ก็ถือว่าเขามีความเป็นมุนาฟิกเพียงเสี้ยวหนึ่งจนกว่าเขาจะละทิ้งมันไป คือ เมื่อได้รับความไว้ใจเขาจะทำลาย เมื่อพูดจาจะโกหก เมื่อสัญญาจะบิดพลิ้ว และเมื่อทะเลาะจะรวนเรหาเรื่องอย่างไม่มีเหตุผล” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ รายงานโดยอัลบุคอรียฺตามสำนวนนี้ หมายเลข 34 และมุสลิม หมายเลข 58)


ชิริกเล็ก
คือ สิ่งที่อิสลามเรียกว่าชิริก แต่ไม่ถึงขั้นชิริกใหญ่ มันจะทำให้เตาฮีดไม่สมบูรณ์แต่ไม่ถึงกับออกนอกศาสนา มันคือสื่อสู่ชิริกใหญ่ โดยผู้กระทำถือเป็นชาวมุสลิมที่กระทำผิด ชีวิตและทรัพย์สินของเขายังคงถูกปกป้อง ทั้งนี้ ชิริกใหญ่จะทำให้กรรมดีทั้งหมดของเขาตกเป็นโมฆะหรือกลายเป็นศูนย์ ส่วนชิริกเล็กจะทำลายกรรมดีที่เขาแทรกชิริกเข้าไปเท่านั้น เช่น เขากระทำสิ่งหนึ่งเพื่อหวังได้รับการชื่นชมจากสังคม ไม่ว่าจะเป็นการละหมาดที่เรียบร้อย การให้ทาน การถือศีลอด หรือการแสแสร้งแกล้งรำลึกถึงอัลลอฮฺเพื่อให้คนเห็น ให้คนได้ยิน หรือเยินยอ ซึ่งการกระทำเพื่อเอาหน้าอย่างนี้ถือเป็นโมฆะ อนึ่ง คำว่าชิริกในกุรอานนั้นล้วนแต่หมายถึงชิริกใหญ่ ส่วนชิริกเล็ก มีระบุในหะดีษ


1- อัลลอฮฺได้ตรัสว่า...


قُلْ إِنَّمَا أَنَا بَشَرٌ مِّثْلُكُمْ يُوحَىٰ إِلَيَّ أَنَّمَا إِلَٰهُكُمْ إِلَٰهٌ وَاحِدٌ ۖ فَمَن كَانَ يَرْجُو لِقَاءَ رَبِّهِ فَلْيَعْمَلْ عَمَلًا صَالِحًا وَلَا يُشْرِكْ بِعِبَادَةِ رَبِّهِ أَحَدًا ( 110 ) 


ความว่า : จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด แท้จริง ฉันเป็นเพียงสามัญชนคนหนึ่งเยี่ยงพวกท่าน ที่มีวะห์ยู(วิวรณ์)แก่ฉันว่า แท้จริง พระเจ้าของพวกท่านนั้นคือพระเจ้าองค์เดียว ดังนั้น ผู้ใดหวังที่จะพบพระผู้เป็นเจ้าของเขา ก็ให้เขาประกอบการงานที่ดี และอย่าตั้งผู้ใดเป็นภาคีในการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาเลย (อัลกะฮ์ฟฺ : 110)


2- อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ –ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-ได้กล่าวว่า...


«قَالَ اللهُ تَـبَارَكَ وتَعَالَى أَنَا أَغْنَى الشُّرَكَاءِ عَنِ الشِّرْكِ مَنْ عَمِلَ عَمَلاً أَشْرَكَ فِيْـهِ مَعِي غَيْرِي تَرَكْتُـهُ وَشِرْكَهُ». أخرجه مسلم برقم (2985).


ความว่า : อัลลอฮฺ ตะบาเราะกาวะตะอาลาได้ตรัสว่า “ข้าคือผู้ที่มั่งมีซึ่งไม่ต้องการหุ้นส่วนและการตั้งภาคีใดๆ อีกเป็นที่สุด หากผู้ใดทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยการที่ควบคู่ตั้งภาคีข้ากับผู้อื่นในจุดประสงค์ของการกระทำนั้น ข้าก็จะปล่อยเขาให้อยู่กับผู้ที่เขาตั้งภาคีนั้นๆ” (รายงานโดยมุสลิม หมายเลข 2985)

 

ประเภทของชิริก การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ


ชิริกเล็ก อีกประเภทหนึ่ง คือ การสาบานกับผู้อื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺ และการพูดว่า “มาชาอัลลอฮฺ วะชาอะ ฟุลาน” หมายถึง อัลลอฮฺทรงประสงค์และคนนั้นก็ต้องการเช่นนั้น” หรือพูดว่า “หากไม่เป็นเพราะอัลลอฮฺและคนนั้น” หรือพูดว่า “สิ่งนี้มาจากอัลลอฮฺและคนนั้น” หรือพูดว่า “เป็นเพราะอัลลอฮฺและคนนั้น” หรือคำพูดในทำนองเช่นนี้ที่ส่อว่ามีการยกสถานภาพของสิ่งอื่น เทียบเคียงกับอัลลอฮฺ ซึ่งหากเขาจะกล่าวเช่นนั้น ให้เขากล่าวว่า “มาชาอัลลอฮฺ ษุมมะ ชาอะ ฟุลาน” หมายถึง อัลลอฮฺทรงประสงค์ จากนั้น คนนั้นก็ต้องการ เป็นต้น ซึ่งให้ความหมายว่าเขาผู้นั้นอยู่คนละสถานภาพกับอัลลอฮฺ


1- อิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ เล่าว่า...


سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول: «مَنْ حَلَفَ بِـغَيْرِ الله٬ فَقَدْ كَفَرَ أَوْ أَشْرَكَ». أخرجه أبو داود والترمذي صحيح/ أخرجه أبو داود برقم (3251)، وأخرجه الترمذي برقم (1535)، واللفظ له


ความว่า : ฉันได้ยินท่านเราะสูลลุลลอฮฺ –ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- กล่าวว่า “ผู้ใดสาบานกับผู้อื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺ เขาก็ได้ตกศาสนาหรือเป็นผู้ชิริกแล้ว”(รายงานโดย อบูดาวูด หมายเลข 3251 และอัตติรมิซีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 1535) 


2- หุซัยฟะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ เล่าว่าท่านนบี –ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-
ได้กล่าวว่า...


«لا تَقُولُوا مَا شَاءَ اللهُ وَشَاءَ فُلانٌ وَلَكِنْ قُولُوا مَا شَاءَ اللهُ ثُمَّ مَا شَاءَ فُلان». أخرجه أحمد وأبو داود صحيح/ أخرجه أحمد برقم (2354)، انظر السلسلة الصحيحة رقم (137)، وأخرجه أبو داود برقم (4980)، واللفظ له.


ความว่า : พวกท่านจงอย่ากล่าวว่า “มาชาอัลลอฮฺ วะชาอะ ฟุลาน” (อัลลอฮฺทรงประสงค์และคนนั้นก็ต้องการ) แต่จงกล่าวว่า “มาชาอัลลอฮฺ ษุมมะ มาชาอะ ฟุลาน” (อัลลอฮฺทรงประสงค์จากนั้นคนนั้น ก็ต้องการ)” (หะดีษเศาะฮีหฺ รายงานโดยอะหฺมัด หมายเลข 3354 ดู อัสสิลสิละฮฺ อัศเศาะฮีหะฮฺ หมายเลข 137 และรายงานโดยอบู ดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 4980)


ชิริกเล็กอาจจะแปรเป็นชิริกใหญ่ตามสถานภาพของจิตใจผู้กระทำ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงจากชิริกทุกประเภทโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก เพราะชิริกเป็นบาปใหญ่ที่อัลลอฮฺจะไม่ทรงประทานอภัยโทษให้ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า


إِنَّ اللَّهَ لَا يَغْفِرُ أَن يُشْرَكَ بِهِ وَيَغْفِرُ مَا دُونَ ذَٰلِكَ لِمَن يَشَاءُ ۚ وَمَن يُشْرِكْ بِاللَّهِ فَقَدِ افْتَرَىٰ إِثْمًا عَظِيمًا ( 48 ) 


ความว่า : แท้จริง อัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงอภัยโทษสำหรับการกระทำชิริกกับพระองค์และจะทรงอภัยโทษในสิ่งนอกเหนือสิ่งดังกล่าวสำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ (อันนิสาอ์ : 48)


การกระทำหรือคำพูดที่เข้าข่ายชิริก


ยังมีการกระทำหรือคำพูดที่ตกเป็นชิริกใหญ่หรือชิริกเล็กตามสภาพการณ์ของจิตใจผู้กระทำ มันเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับเตาฮีด หรือสร้างความขุ่นมัวให้กับเตาฮีด ซึ่งอิสลามได้กระชับเตือนไม่ให้กระทำ เช่น


1- การผูกด้ายหรือกำไลที่มือและคอด้วยจุดประสงค์เพื่อป้องกันหรือขจัดภัย สิ่งนี้ถือเป็นชิริก


2- การสวมหรือผูกเครื่องรางหรือยันต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผ้า กระดูก ตัวอักษร เพื่อเป็นเกราะป้องกันภัย ถือเป็นชิริก


3- การเชื่อในลางร้าย กล่าวคือ การเชื่อในลางร้ายไม่ว่าจะเป็นลางของนก คน หรือสถานที่ เป็นต้น สิ่งนี้ถือเป็นชิริก เพราะเขาได้ยึดสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺว่าสามารถให้คุณให้โทษได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ชัยฏอนลวงตาเขา มันเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับการตะวักกัลหรือมอบตนให้กับอัลลอฮฺ


4- การเสริมโชคหรือขอความจำเริญและศิริมงคลกับต้นไม้ หิน โบราณสถาน กุโบร์ เป็นต้น ทั้งนี้ การขอความจำเริญและหวังจากสิ่งเหล่านี้ถือเป็นชิริก เพราะเป็นการยึดเหนี่ยวกับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺในการขอความจำเริญและศิริมงคล


5- สิหิรฺ ไสยศาสตร์ หรือ การทำมนต์เสน่ห์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ลึกลับ อันประกอบด้วยเครื่องราง มนต์ร่าย บทสวด และประโยคพิสดารที่เป่าปัดแล้วเกิดผลร้ายต่อจิตใจและร่างกายมนุษย์ ทำให้ป่วยหรือตาย หรือทำให้สามีภรรยาแตกแยก สิ่งนี้เป็นงานของซัยฏอน ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องมีการกระทำชิริกเป็นส่วนประกอบหลัก 
สิหิรฺ จึงเป็นชิริก เพราะเป็นการยึดเหนี่ยวสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺ เช่น ยึดเหนี่ยวกับภูตผี เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นการแอบอ้างว่าสามารถล่วงรู้สิ่งลึกลับซ่อนเร้น ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถรู้ได้ยกเว้นแต่เพียงอัลลอฮฺเท่านั้น พระองค์ได้ตรัสว่า...


وَاتَّبَعُوا مَا تَتْلُو الشَّيَاطِينُ عَلَىٰ مُلْكِ سُلَيْمَانَ ۖ وَمَا كَفَرَ سُلَيْمَانُ وَلَٰكِنَّ الشَّيَاطِينَ كَفَرُوا يُعَلِّمُونَ النَّاسَ السِّحْرَ وَمَا أُنزِلَ عَلَى الْمَلَكَيْنِ بِبَابِلَ هَارُوتَ وَمَارُوتَ ۚ وَمَا يُعَلِّمَانِ مِنْ أَحَدٍ حَتَّىٰ يَقُولَا إِنَّمَا نَحْنُ فِتْنَةٌ فَلَا تَكْفُرْ ۖ فَيَتَعَلَّمُونَ مِنْهُمَا مَا يُفَرِّقُونَ بِهِ بَيْنَ الْمَرْءِ وَزَوْجِهِ ۚ وَمَا هُم بِضَارِّينَ بِهِ مِنْ أَحَدٍ إِلَّا بِإِذْنِ اللَّهِ ۚ وَيَتَعَلَّمُونَ مَا يَضُرُّهُمْ وَلَا يَنفَعُهُمْ ۚ وَلَقَدْ عَلِمُوا لَمَنِ اشْتَرَاهُ مَا لَهُ فِي الْآخِرَةِ مِنْ خَلَاقٍ ۚ وَلَبِئْسَ مَا شَرَوْا بِهِ أَنفُسَهُمْ ۚ لَوْ كَانُوا يَعْلَمُونَ ( 102 ) 


ความว่า : สุลัยมานนั้นไม่ได้เป็นกาฟิร แต่พวกชัยฏอนต่างหากที่เป็นกาฟิรเพราะไปสอนการทำมนต์เสน่ห์ให้กับมนุษย์ (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 102)


6- การดูหมอ ดูดวงโชคชะตา หรือ การแอบอ้างว่าสามารถรู้สิ่งเร้นลับ เช่น รู้ว่าอะไรกำลังจะขึ้นกับโลกด้วยการรับข้อมูลจากชัยฏอน ถือเป็นชิริก เพราะเป็นพึ่งพาผู้อื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺและเป็นแอบอ้างล่วงรู้สิ่งเร้นลับที่เป็นสิทธิเฉพาะของอัลลอฮฺเท่านั้น


عن أبي هريرة رضي الله عنه عن النبي صلى الله عليه وسلم قال: «مَنْ أَتَى كَاهِناً أَوْ عَرَّافـاً فَصَدَّقَـهُ بِمَا يَـقُـولُ فَقَـدْ كَفَـرَ بِمَا أُنْزِلَ عَلَى مُـحَـمَّدٍ». أخرجه أحمد والحاكم صحيح/ أخرجه أحمد برقم (9536)، وهذا لفظه، وأخرجه الحاكم برقم (15)، انظر إرواء الغليل (2006).


ความว่า : อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ เล่าว่าท่านนบี –ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม-ได้กล่าวว่า “ผู้ใดไปหาหมอดูหรือหมอทำนาย แล้วเขาเชื่อในสิ่งที่เขาพูด ถือว่าเขาได้ปฏิเสธสิ่งที่ถูกประทานให้กับมุหัมมัด (หมายถึงเขาได้กลายเป็นผู้ปฏิเสธอัลกุรอาน)“ (เศาะฮีหฺ รายงานโดยอะหฺมัดตามสำนวนนี้ หมายเลข 9036 และอัลหากิม หมายเลข 15 ดู อิรฺวาอุลเฆาะลีล หน้า 2006)


7- การทำนายหรือพยากรณ์โชคชะตาด้วยการดูดาว เช่น การอธิบายบอกความผูกพันของดวง ดาวกับกระแสลม ฝน การเกิดโรค การตาย การเกิดความร้อน ความเย็น การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า เป็นต้น สิ่งนี้เป็นชิริก เพราะเป็นการแทรกแทรงการบริหารโลกของอัลลอฮฺ และเป็นการแอบอ้างล่วงรู้สิ่งเร้นลับ


8- การขอฝนจากดวงดาว คือ การเชื่อมโยงฝนกับการขึ้นลงของดวงดาว เช่น พูดว่า เราได้รับน้ำฝนเพราะดาวดวงนั้นดวงนี้ โดยการเชื่อมฝนกับดวงดาว ไม่ใช่กับกับอัลลอฮฺ สิ่งนี้เป็นชิริก เพราะการให้ฝนตกเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ไม่ใช่สิทธิของดวงดาวหรือผู้อื่นใด


9- การพาดพิงความสุขที่ได้รับว่าเป็นเพราะผู้อื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺ ทั้งนี้ ความสุขทั้งในโลกนี้และโลกอาคิเราะฮฺล้วนแต่มาจากอัลลอฮฺ หากผู้ใดอ้างว่าสิ่งเหล่านี้ได้มาจากผู้อื่น เขาก็ได้ตกเป็นผู้ปฏิเสธหรือชิริกกับอัลลอฮฺ เช่น บอกว่าได้เงินหรือมีพลานามัยดีเพราะคนนั้นคนนี้ บอกว่าเดินทางปลอดภัยทั้งทางบก ทางทะเล ทางอากาศเพราะคนขับหรือกัปตัน บอกว่ามีโชคและพ้นภัยเพราะความพยายามของรัฐบาล คนนั้นคนนี้ หรือเพราะใช้ข้อมูลนั้นความรู้นี้ เป็นต้น ซึ่งความสุขต่างๆ นี้จะต้องเชื่อมโยงกับอัลลอฮฺและต้องขอบคุณพระองค์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนบางสิ่งบางอย่างที่มนุษย์กระทำนั้นเป็นเพียงสาเหตุที่อาจจะเกิดหรือไม่เกิดจริงก็ได้ หรืออาจจะให้คุณประโยชน์หรือไม่ให้อะไรก็ได้
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า...


وَمَا بِكُم مِّن نِّعْمَةٍ فَمِنَ اللَّهِ ۖ ثُمَّ إِذَا مَسَّكُمُ الضُّرُّ فَإِلَيْهِ تَجْأَرُونَ ( 53 ) 
ความว่า : และทุกความโปรดปรานที่พวกเจ้าได้รับล้วนแต่มาจากอัลลอฮฺ ครั้นเมื่อความทุกข์ร้ายประสบกับพวกเจ้า พวกเจ้าก็จะคร่ำครวญขอความคุ้มครองจากพระองค์ (อัลนะห์ลฺ : 53)

 

ประเภทของชิริก การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ


ผู้เขียน : มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์ 
ผู้แปล : ซุกรีย์นูร จงรักศักดิ์ 
ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา 
เผยแพร่โดย : สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด 
จากหนังสือมุคตะศ็อรฺ อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

islamhouse.muslimthaipost.com

 

อัพเดทล่าสุด