อยากทราบว่า น้ำในสระอาบน้ำ เราสามารถอาบน้ำยูนุบได้หรือไม่?
น้ำในสระ เราสามารถอาบน้ำยูนุบได้หรือไม่?
อัสลามุอาลัยกุมคับ อยากทราบว่า น้ำในสระอาบน้ำ เราสามารถอาบน้ำยูนุบได้หรือไม่?
بسم اللّه تعالى والحمد للّه وكفى والصلاة على النبي المصطفى؛ وبعد :
ตามมัสฮับชาฟีอีย์แล้ว ก็ต้องดูว่า
1 . น้ำในสระนั้น เป็นน้ำนิ่ง เช่นบึง หรือเป็นน้ำใหลผ่าน เช่นมีลำห้วยเล็ก ๆ ใหลตัดมันผ่าน เป็นต้น
2 . น้ำในสระนั้นมีปริมาณถึงสองกุลละฮฺ หรือไม่ ซึ่งสองกุลละฮฺนั้นจะเท่ากับปริมาตร 216 ลิตร โดยประมาณ
ดังนั้น หากน้ำในสระนั้นเป็นน้ำใหล ก็ถือว่า น้ำนั้นจะไม่เป็นน้ำมุสตะมั้ลด้วยกับการอาบน้ำยุนุบแต่อย่างใด จึงสามารถลงไปอาบแช่ใด้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าน้ำจะถึงสองกุลลอฮฺ หรือไม่ก็ตาม
แต่หากน้ำในสระนั้นเป็นน้ำนิ่ง ไม่ไช่น้ำใหล และไม่มีห้วยตัดผ่าน ก็ให้พิจารณาในขั้นตอนต่อไปโดยพิจารณาว่า น้ำมีปริมาณถึงสองกุลละฮฺ ( 216 ลิตร โดยประมาณ ) หรือไม่ ถ้าถึงก็แสดงว่า สามารถลงไปแช่ได้โดยที่น้ำไม่เป็นมุสตะมั้ลแต่อย่างใด และน้ำดังกล่าวจะไม่เป็นนายิสด้วยเหตุมีตัวนายิสลอยอยู่เว้นแต่นายิสนั้นจะทำให้น้ำเปลี่ยน สี กลี่น รส เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุนายิสดังกล่าวนั้นจะทำให้น้ำเป็นน้ำนายิส และหากไม่เปลี่ยนก็ถือว่ายังสะอาด
และกรณีน้ำนิ่ง และปริมาณน้ำไม่ถึงสองกุลละฮฺ ก็ไม่สามารถที่จะลงไปอาบน้ำยุนุบโดยการลงไปแช่ใด้ เพราะจพทำให้น้ำเป็นน้ำมุสตะมั้ล ซึ่งไม้เซาะฮฺในการอาบน้ำยุนุบ แต่ให้อาบโดยการตักน้ำออกมาอาบข้างนอก ไม่อนุญาตให้ลงไปแช่ เป็นต้น
ซึ่งอ้างอิงหลักฐานในเรื่องการไม่อนุญาตให้ลงไปแช่ในน้ำนึ่งที่ไม่ถึงสองกุลลอฮฺ และหากถึงสองกุลละฮฺนั้นถือว่าอนุญาตนั้น จะอิงหลักฐาน โดยรวมฮะดีษต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เข้าด้วยกัน
عن أبي هريرة رضي الله عنه أن النبي صلى الله عليه وسلم قال : " لاَ يَغْتَسِلْ أَحدُكُمْ في المَاءِ الدَّائمِ ـ أي الراكد ـ وَهُوَ جُنُب " فقالوا : يا أبا هريرة ، كيف نفعل ؟ قال : يتناوله تناولاً " رواه مسلم
รายงานจากอ อบู ฮุร็อยเราะฮฺ รอฎียัลลอฮูอันฮู กล่าวว่า แท้จริงท่านนบี ซอลลัลลอฮูอาลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า คนหนึ่งคนใดในหมูพวกท่านจะต้องไม่อาบน้ำ ( ยุนุบ ) ในน้ำนิ่ง ขณะที่เขามียุนุบ . พวกเขา ( บรรดาศานุศิษย์ของเขา ) กล่าวว่า โอ้ อบู ฮุร็อยเราะฮฺ แล้วเราจะปฏิบัติอย่างใรกันล่ะ เขาจึงกล่าวว่า ให้เขาค่อย ๆ ตักมันออกมาอาบ
(รายงานโดย มุสลิม)
عن عبد الله بن عمر رضي الله عنهما قال: سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم وهو يسأل عن الماء يكون بالفلاة من الأرض ، وما ينوبه من السباع والدواب ، فقال : " إذَا كَانَ الماءُ قلَّتَيْنِ لَمْ يَحْمِلِ الخَبَث " رواه الخمسة ، وفي لفظ أبي أبي داود : " فَإَّنهُ لا يَنْجُسُ ".
รายงานจาก อับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร รอฎียัลลอฮูอันฮูมา กล่าวว่า ฉันใด้ยินท่าน รอซูลุ้ลลอฮฺ ซอลลัลลอฮูอาลัยฮิวะซัลลัม ขณะที่ท่านถูกถามถึงเรื่องน้ำที่อยู่ในสถานที่โล่งแห่งหนึ่งในแผ่นดิน และเป็นน้ำที่สัตว์ดุร้ายและสัตว์เลื้อยคลานดื่มกิน ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อน้ำมีปริมาณถึงสองกุลละฮฺ ( 216 ลิตร โดยประมาณ ) มันจะไม่แบกพานายิส " (หมายถึงมันยังคงสะอาด ) และในรายงานของ อบูดาวูด มีสำนวนว่า " เพราะแท้จริงแล้วมันจะไม่เป็นนายิส
(รายงานโดย บุคอรี , มุสลิม , ติรมีซี , อบูดาวูด , นาซาอี )
และสำหรับหลักฐานที่ว่า เมื่อน้ำไม่ว่ามากหรือน้อยจะเป็นนายิสเมื่อมันเปลี่ยนแปลงสี กลิ่น รส ด้วยกับตัวนายิสนั้น อิงหลักฐานจาก อิจมาอฺ มติจากปวงปราช อีหม่าม อันนะวะวี รอฮีมาฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า
قال ابن المنذر: أجمعوا أن الماء القليل أو الكثير، إذا وقعت فيه نجاسة، فغيرت طعماً أو لوناً أو ريحاً، فهو نجس .
อิบนุล มุนซิร รอฮีมาฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า ปวงปราชได้มีมติเป็นเอกฉันว่า แท้จรองแล้วน้ำไม่ว่าจะน้อยหรือมาก เมื่อนายิสได้ตกลงไป แล้วตัวนายิสทำให้มันเปลี่ยนรส หรือ สี หรือ กลิ่น นั้น น้ำจะกลายเป็นนายิส
( อัลมัจมั้วะอฺ ชัรฮฺ อัลมุฮัซซับ หน้า 160 เล่ม 1 )
ข้อห้ามสำหรับคนที่มี ยูนุบ มี 6 ข้อ
1. ห้ามละหมาดทั้งฟัรดูและสุนัต
2. ห้ามตอวัฟบัยตุลเลาะฮ์ ทั้งฟัรดูและสุนัต
3. ห้ามสูหยูดตีลาวะฮ์ หรือ ซุโกร
4. ห้ามถูก พาอัล-กุรอาน
5. ห้ามผ่านไปมาให้มัสยิด
6. ห้ามอ่านคอฏอบะฮ์ยุมอัต
เครดิต : أبو المغفل الفرقاني البنوري กลุ่มไลน์
islamhouse.muslimthaipost.com