หากจะมองถึงกิจกรรมหรืออิบาดะฮฺที่มีการยึดปฏิบัติในบ้านเมืองเราในเดือนชะอฺบานนี้แล้ว เราพบว่า มีการปฏิบัติอิบาดะฮฺมากมาย อาทิ มี การอ่านยาซีนในค่ำคืนที่ 15 ของเดือนชะอฺบาน มีการละหมาดในรูปแบบเฉพาะ และมีการเลี้ยงอาหาร
หากจะมองถึงกิจกรรมหรืออิบาดะฮฺที่มีการยึดปฏิบัติในบ้านเมืองเราในเดือนชะอฺบานนี้แล้ว เราพบว่า มีการปฏิบัติอิบาดะฮฺมากมาย อาทิ มี การอ่านยาซีนในค่ำคืนที่ 15 ของเดือนชะอฺบาน มีการละหมาดในรูปแบบเฉพาะ และมีการเลี้ยงอาหาร เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาอย่างละเอียดว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
นักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้อธิบายถึงคุณค่าของคืนนิศฟุชะอฺบานโดยอ้างหลักฐานจากอัลกุรอานที่ว่า
إِنّا أَنزَلنٰهُ فى لَيلَةٍ مُبٰرَكَةٍ ۚ إِنّا كُنّا مُنذِرينَ ﴿٣
"แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอันจำเริญ แท้จริงเราเป็นผู้ตักเตือน"
فيها يُفرَقُ كُلُّ أَمرٍ حَكيمٍ ﴿٤
"ในคืนนั้นทุก ๆ กิจการที่สำคัญถูกจำแนกไว้แล้ว"
(อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัดดุคอน 44:3-4)
2 อายะฮฺดังกล่าว ยุมฮูรฺอุละมาอฺ(มติส่วนใหญ่ของนักวิชาการ) มีทัศนะว่า คืนอันจำเริญข้างต้น คือคืนลัยละตุลก็อดริ บางท่านกล่าว่าคือ คืนนิศฟุชะอฺบาน ซึ่งทัศนะดังกล่าวถือว่าใช้ไม่ได้ เนื่องจากพระองค์อัลลอฮฺทรงกล่าวไว้ในอัลกุรอานว่า เดือนเราะมะฎอนคือ เดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาในเดือนนั้น ซึ่งถือว่า เป็นหลักฐานที่ชัดเจน ซึ่งถือว่า เป็นหลักฐานที่ชัดเจนแล้วว่าอัลกุรอานถุกประทานในเดือนเราะมะฎอน อีกทั้งสูเราะฮฺอัดดุคอนก้มากล่าวย้ำว่าคืนที่อัลกุรอานถุกประทานเป็นคืนที่มีความจำเริญ ซึ่งมิใช่คืนนิศฟุชะอฺบานแต่อย่างใด
ด้วยทัศนะที่ว่าคืออันจำริญหมายถึงคือ นิศฟุชะอฺบานนี่เอง ทำให้มุสลิมบางคนถึงกับเชื่อว่า คืนดังกล่าวพระองค์อัลลอฮฺทรงกำหนดอายุ ริสกีย์ ความผาสุก และพระองค์จะทรงลบล้างความทุกข์ยากให้หมดไป โดยพยายามทำอิบาดะฮฺตางๆ ทั้งในมัสยิดและบ้าน หรือพยายามอ่านสูเราะฮ์ยาซีนและขอดุอาอ์เพื่อให้พระองค์อัลลอฮฺทรงลบล้างความผิด และขจัดทุกข์ภัยต่าง ให้หมดไปจากชีวิตของตน
อันที่จริงการกระทำข้างต้นไม่มีหลักฐานจากท่านรสูลุลลอฮฺและบรรดาเศาะฮะบะฮิ หรือหลักฐานที่ส่งเสริมให้กระทำ ดังนั้นการกระทำสิ่งังกล่าวจึงถือว่าเป็นโมฆะ และถ้าหากว่ายังมีการกระทำอยู่ถือว่าเป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นในศาสนา
ความเป็นมาของการประกอบพิธีกรรมในคืนนิศชะอฺบาน
การประกอบพิธีกรรมในคืนนิศฟุชะอฺบานเกิดเมื่อ ฮ.ศ.448 ที่มัสยิดอัลอักศอ ซึ่งท่านอิหม่ามอัลฏ็อรฺฏสีย์ได้เล่าไว้ว่า "มีชายผู้หนึ่งที่ชื่อ อิบนุ อบิลหัมรออฺ มุ่งหน้ามายังบัยตุลมักดิส จากนั้นเขายืนละหมาดในคืนนิศฟุชะบานในมัสยิดอัลอักศอ ต่อมาก็มีบุคคลมาละหมาดเป็นมะมูมเขาจากคนหนึ่งเป็นสอง , สาม สี่คน จนกระทั้งมีจำนวนมาก ครั้นพอในปีถัดมาเขาก็มาละหมาดพร้อมกับมะมูมจำนวนมากมาย จากนั้นการกระทำดังกล่าวได้แพร่กระจายไปตามมัสยิดต่างๆ จนกระทั่งขจรขจายไปทั่วประเทศ สุดท้ายเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปสำหรับนักทำอิบาดะฮฺ
(หนังสือ ดุรฺเราะตุนนาศิฮีน หน้า 220)
ส่วนในเมืองไทยเราก็มีการประกอบพิธีกรรมในคืนนิสฟุชะอฺบาน(คืนที่ 15)ด้วยเช่นกัน โดยมีละหมาดสองร้อกอะฮฺ ภายหลังละหมาดมัฆริบเสร็จแล้ว ในร็อกอะฮฺแรก อ่านฟาติหะฮฺ และสูเราะฮฺอัลกาฟิรูน ส่วนร็อกอะที่สอง อ่านฟาติฮะฮฺ และสูเราะฮฺอัลอิคลาศ จากนั้นก็ให้สลาม
ภายหลังละหมาดเสร็จแล้วให้อ่านสูเราะฮฺยาซีน หนึ่งจบ ครั้นอ่านเสร็จให้ขอดุอาอฺต่อพระองค์อัลลอฮฺให้มีอายุยืนเพื่อทำอิบาดะฮฺและภัคดีต่อพระองค์อัลลอฮฺต่อไป
ครั้นขอดุอาอ์เสร็จแล้วก็ให้อ่านสูเราะฮฺยาซีนจนจบอีกเป็นครั้งที่สอง อ่านจบแล้วก็ให้ขอดุอาอ์เพิ่มพูนริซกีย์(ปัจจัยยังชีพ) เพื่อเป็นเสบียงในการทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์อัลลอฮฺ
ครั้นขอดุอาอ์เสร็จแล้วก็ให้อ่านสูเราะฮฺยาซีนจนจบอีกเป็นครั้งที่สาม อ่านจบแล้วก็ให้ขอดุอาอ์ให้เป็นบุคคลที่ยึดมั่นในอีมานของพระองค์
ครั้นขอดุอาอ์เสร็จแล้ว ก็ยังเสริมให้อ่านดุอาอ์เฉพาะสำหรับคืนนิศฟุชะบานอีก
ดังกล่าวข้างต้นล้วนเป็นสิ่งอุตริกรรมขึ้นใหม่ทั้งสิ้น วาญิบสำหรับมุสลิมทุกคนจะต้องออกห่าง และรณรงค์ให้ขจัดสิ่งที่สวนทางกับสุนนะฮฺของท่านนบีอย่างสุดความสามารถ
อนึ่งมุสลิมบางกลุ่มยังคงนิยมละหมาดคืนนิศฟุชะบานอยู่นั้น เป็นเพราะพวกเขาอ้างหะดิษที่ระบุว่า "โอ้ท่านอาลี บุคคลใดที่ละหมาด100ร็อกอะฮฺในคืนนิศฟุชะอฺบานแล้วไซร้ โดยอ่านฟาติฮะฮฺ(หนึ่งจบ) และอ่านสูเราะฮฺอัลอิคลาศสิบจบในทุกๆร้อกอะฮฺ เช่นนั้นพระองค์อัลลอฮฺจะทรงกำหนดให้แก่เขาทุกๆความต้องการ (ของเขา)"
!!! หะดิษข้างต้น เป็นหะดิษเมาฎููอฺ (หะดิษเก๊)
อีกหะดิษหนึ่ง...
"เมื่อถึงคืนนิศฟุชะบาน เช่นนั้นพวกท่านจงยืนขึ้น (ละหมาดสุนนะฮฺ)ในยามค่ำคืน และพวกท่านจงถือศิลอด(สุนนะฮฺ)ในวลากลางวันเถิด"
หะดิษข้างต้น บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ (หะดิาเลขที่ 1378) ทว่าหะดิษข้างต้น เป็นหะดิษเฎาะอิฟ ญิดดัน (อ่อนหลักฐานอย่างมาก) หรือเป็นหะดิษเมาฎูอฺ (หะดิษเก๊)
การปฏิบัติอิบาดะฮฺในค่ำคืนที่ 15 (คืนนิศฟุชะอฺบาน )
การอ่านอัลกุรอานไม่ว่าจะเป็นสูเราะฮฺใดถือว่าเป็นอิบาดะฮฺที่ดีเลิศที่สุดในจำนวนบรรดาซิกิรฺทั้งหลาย ดังที่ท่านอิหม่าม อันนะวะวีย์ ได้กล่าวไว้ว่า “การอ่านอัลกุรอานคือซิกิรที่ดีที่สุด”
ถึงกระนั้นก็ตามแต่ การอ่านอัลกุรอานไม่ได้มีการกำหนดเจาะจงเวลาเป็นการเฉพาะที่ชัดเจน และมีการกำหนดสถานที่อ่านที่ชัดเจน เช่นเดียวกับการกำหนดเจาะจงอ่านสูเราะฮฺยาซีนในค่ำคืนดังกล่าวเป็นการเฉพาะ เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏแบบอย่างจากท่านนบี และเศาะหาบะฮฺ ถึงแม้ว่าจะมีหะดีษบางส่วนที่กล่าวถึงความประเสริฐในค่ำคืนดังกล่าว แต่หะดีษดังกล่าว ล้วนเป็นหะดีษที่มีสายรายงานอ่อน ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงและยืนยันถึงความประเสริฐและส่งเสริมให้กระทำดังกล่าวได้ อาทิ หะดีษที่รายงานโดย อิบนุ มาญะฮฺ ที่มีความว่า
“เมือค่ำคืนวันที่ 15 ของเดือนชะอฺบานได้มาถึง พวกท่านจงลุกขึ้น (ทำอิบาดะฮฺ) ในยามค่ำคืนนั้น และจงถือศีลอดในเวลากลางวันของมัน” ซึ่งเป็นหะดีษเฎาะอีฟอาจถึงขั้นเมาฎูอฺ
(ดู ละฎออิฟ อัลมะอาริฟ ของ อิบนุ เราะญับ และ อัสสิลสิละฮฺ อัฎเฎาะอีฟะฮฺ ของ อัลอัลบานีย์ 2132)
ที่มา: truth islam
http://islamhouse.muslimthaipost.com