ถือศีลอด 6 วันเดือนเชาวาล (บวช6) เหนียตว่าอย่างไร รายละเอียดเกี่ยวกับของกำหนดการถือศีลอด 6 วันของเชาวาล
ถือศีลอด 6 วันเดือนเชาวาล (บวช6) เหนียตว่าอย่างไร
คำเหนียตถือศีลอด 6 วันเดือนเชาวาล
"ข้าพเจ้าถือศีลอดสุนัตเดือนเชาวาล ในวันรุ่งขึ้น เพื่ออัลลอฮ์ตาอาลา"
ถือศีลอด 6 วันเดือนเชาวาล
ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า :
مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ
“ผู้ใดถือศีลอดร่อมะฎอนแล้ว หลังจากนั้นเขาได้ถือศีลอดต่อจากเดือนร่อมะฎอนอีก 6 วันจากเดือนเชาวาล แน่นอนเหมือนว่าเขาได้ถือศีลอดตลอดทั้งปี” รายงานโดยมุสลิม, ฮะดีษเลขที่ 1164.
รายละเอียดเกี่ยวกับของกำหนดการถือศีลอด 6 วันของเชาวาล
1. การถือศีลอด 6 วันเดือนเชาวาลหลังจากถือศีลอดร่อมะฎอนนั้นมีผลภาคผลเท่ากับถือศีลอดตลอดทั้งปี
2. ที่ดีเลิศที่สุด คือ ถือศีลอด 6 วันเดือนเชาวาลติดต่อกันเพื่อรีบในการทำอิบาดะฮ์
3. แต่ไม่จำเป็นต้องศีลอด 6 วันแบบติดต่อกัน โดยให้ถือศีลอด 6 วันในวันไหนก็ได้แต่ต้องให้อยู่ในเดือนเชาวาล (อ่านเพิ่มเติม: การถือศีลอด 6 วันเดือนเชาวาลจำเป็นต้องติดต่อกัน 6 วันหรือไม่?)
4. การถือศีลอดชดใช้นั้นหากเนื่องจากขาดศีลอดโดยมีอุปสรรค เช่น มีประจำเดือนหรือเจ็บป่วย ก็อนุญาตให้ถือศีลอดเดือนนเชาวาลหลังจากร่อมะฎอนเลยได้แต่สมควรถือศีลอดชดใช้ก่อนก็จะดียิ่งกว่า ส่วนกรณีที่ขาดศีลอดร่อมะฎอนโดยละเมิดหลักการศาสนา เช่น ทำให้เสียศีลอดตอนกลางวันโดยเจตนา ก็ถือว่าหะรอม(ห้าม)ถือศีลอดสุนัต 6 วันจนกว่าจะชดใช้ศีลอดเดือนร่อมะฎอนเสียก่อน
5. กรณีของการเหนียตถือศีลอดชดใช้และศีลอดสุนัต 6 วันพร้อมกันนั้น ไม่สามารถกระทำได้ เพราะถ้าทำเช่นนั้น เท่ากับว่าเขาไม่ได้ถือศีลอดตลอดทั้งปีนั่นเอง