ไขข้อสงสัย มุสลิมร่วมรดน้ำศพคนต่างศาสนาได้หรือไม่?
มุสลิมร่วมรดน้ำศพคนต่างศาสนาได้หรือไม่?
ก่อนที่เราจะฮุกุ่ม เราต้องไปทำความเข้าใจก่อนว่า การรดน้ำศพ นั้น คือ อะไร? เเตกต่างจากการอาบน้ำศพหรือไม่? เเละอยู่ในกระบวนการพิธีกรรมการจัดการศพหรือไม่? หากใช่ก็ไม่สามารถทำได้ หากไม่ใช่ ก็สามารถทำได้
ในสมัยโบราณการอาบนํ้าศพ จะทำการอาบกันจริงๆ คือ ต้มนํ้าด้วยหม้อดิน ซึ่งในหม้ออาจใส่ใบไม้ต่างๆ ต้มลงไปด้วยเช่น ใบหนาด ใบส้มป่อย ใบมะขาม ใบหนาดนั้นถือกันว่า เป็นใบไม้ที่ผีกลัวและใช้ปัดรังควานได้ การอาบนํ้าศพ จะอาบด้วยนํ้าอุ่นก่อน แล้วจึงอาบด้วยนํ้าเย็น อีกครั้ง ฟอกด้วยส้มมะกรูด เมื่อล้างจนสะอาดหมดจดแล้ว จึงฟอกด้วยขมิ้นชันสด และผิวมะกรูดตำละเอียด ต่อจากนั้นจึงทำการแต่งตัวให้ศพ
แต่การอาบนํ้าในปัจจุบัน เรียกว่า พิธีรดนํ้าศพ คือใช้นํ้าพุทธมนต์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่านํ้ามนต์ ผสมกับนํ้าฝนหรือนํ้าสะอาด บางทีใช้นํ้าอบไทยร่วมด้วยเพื่อให้เกิดความหอม เมื่อถึงเวลาอาบนํ้าศพ ซึ่งจะทำกันหลังจากที่คนป่วยตายไม่นานนัก เพราะศพยังสดอยู่ ญาติมิตรและผู้คนทั่วไปยังกล้าเข้าใกล้ สัปเหร่อหรือผู้ใหญ่จะจัดให้ศพนอนในที่อันสมควร จับมือข้างหนึ่งยื่นออกมายังหมอนใบเล็กที่รองรับ
ลูกหลานของผู้ตาย จะทำหน้าที่ใช้ขันใบเล็กๆ ตักนํ้ามนต์จากขันใบใหญ่ ส่งให้กับผู้ที่มา ทำการรดนํ้าศพ โดยการเทนํ้าลงมือของผู้ตาย กล่าวคำไว้อาลัย หรือกล่าวขอให้วิญญาณของผู้ตาย จงไปสู่สุคติ ไม่ต้องห่วงอาลัยมีกังวล (http://watchommani.blogspot.my)
เว็บไซด์ wikipedia ให้รายละเอียดพิธีรดน้ำศพไว้ดังนี้
พิธีกรรมในงานศพไทย แบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่
1. พิธีรดน้ำศพ
2. พิธีสวดอภิธรรม และ
3. พิธีฌาปณกิจ
ก่อนที่จะนำศพใส่โลงเมื่อมีคนสิ้นลมหายใจแล้วจะนำศพมาทำพิธี ซึ่งพิธีที่จะทำเริ่มแรก คือ การอาบน้ำศพหรือที่เรียกกันว่า “พิธีรดน้ำศพ” ซึ่งการรดน้ำศพจะจัดพิธีหลังจากคนตายไปไม่นานนัก โดยใช้น้ำมนต์ผสมน้ำสะอาด โรยด้วยดอกไม้หอมหรืออาจะใช้น้ำอบผสมด้วย ผู้ที่มารดน้ำศพจะรดที่มือข้างหนึ่งของผู้ตายที่ยื่นออกมาและกล่าวคำไว้อาลัย ถือเป็นพิธีเริ่มต้นเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ตาย มักเชิญคนสนิท คนรู้จักหรือผู้ที่เคารพนับถือไปรดน้ำศพเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่จากไป" (https://th.wikipedia.org/wiki/พิธีกรรมในงานศพไทย)
ส่วนการอาบน้ำศพคนต่างศาสนานั้น ต้องดูทีรูปเเบบเเละความเชื่อ หากเป็นการเเค่อาบนำเพื่อทำความสะอาดศพโดยที่ไร้ความเชื่อที่กล่าวมา นั้น สามารถทำได้ ถึงเเม้ว่า ศพ เป็น คนต่างศาสนิก ตามทัศนะ ในมัศฮับชาฟีอีย์ เเละ ฮานาฟี ในเรื่องนี้ บรรดาอุลามะมีทัศนะต่างกัน ในมัศฮับชาฟีอีย์ เเละมัซฮับฮานาฟี อนุญาตให้มุสลิมอาบน้ำศพคนต่างศาสนิกได้ ตามคำกล่าวของท่าน อีหม่าม อันนาวาวีย์ ดังนี้ ในตำรา อัลมัจมัวะ
(فرع) في غسل الكافر ذكرنا أن مذهبنا أن للمسلم غسله ودفنه واتباع جنازته، ونقله ابن المنذر عن أصحاب الرأي وأبي ثور. وقال مالك وأحمد: ليس للمسلم غسله ولا دفنه, لكن قال مالك له مواراته
ความว่า : "ในการอาบนำศพกาฟิร นั้น เราได้กล่าวไว้เเล้ว ว่า อนุญาตให้มุสลิมอาบนำศพ เเละทำการฝัง เเละติดตามส่งศพได้ เเละมีรายงานจากท่าน อิบนุ อัล มุนซิร จาก อุลามะต่างๆ เละ ท่าน อบู ศูร เเต่ท่านอีหม่าม มาลิก เเละ ท่าน อีหม่าม อะห์หมัด มีทัศนะว่า ไม่อนุญาตให้มุสลิม ทำการอาบนำให้เเก่ศพคนกาฟิร รวมทั้งการฝัง เเละท่าน อีหม่ามมาลิก ได้ เเค่ อนุญาต"
(ตำราอัลมัจมัวะ อันนาวาวีย์ เล่ม 5 หน้าที่ 123-124)
ในยุคของท่าน นบี ศอลฯ มีการอนุญาตให้ท่าน ซัยยิดีนา อาลีย์ ไปจัดการศพของพ่อตัวเอง โดยที่ท่าน นบี ศอลฯ อนุญาต ซึ่งสิ่งนี้ ได้เป็นหลักฐาน ตามทัศนะในมัศฮับชาฟีอีย์ เเละฮานาฟีว่า มุสลิมสามารถจัดการศพของพ่อตัวเอง หรือ เเม่ หรือ ญาติๆ ของตัวเองได้ ตามรายงานฮาดิษต่างที่ได้อธิบายโดยท่าน อิบนุฮะญัร อัลอัศก่อลล่านีย์ เเละท่าน อิบนุญะรีร ก็กล่าวว่า ได้เช่นกันในตำรา ตะห์ ซับุล อัลอาษาร
وروى أبو داود والنسائي وابن خزيمة وابن الجارود من حديث علي قال : لما مات أبو طالب قلت : يا رسول الله إن عمك الشيخ الضال قد مات . قال : اذهب فواره . قلت : إنه مات مشركا . فقال : اذهب فواره
ความว่า : "ฮาดิษรายงานโดยท่าน อบูดาวูด ท่าน อันนาษาอีย์ ท่าน อิบนุคุซัยมะห์ เเละท่าน อิบนุญารูด ฮาดิษท่านอาลี กล่าวว่า โอ้ท่าน ศาสดา เเท้จริงลุงของท่าน เสียชีวิตเเล้ว ท่านนบี ศอลฯ จึงกล่าวว่า จงไปจักการศพเขาเลย ท่าน ซัยยิดีนาอาลีย์ กล่าวว่า เขาเสียชีวิต ในชิริกนะ ท่านนบี ศอลฯ ตอบอีกครั้งว่า จงไปเเละจัดการศพเขา"
ส่วนการอาบนํ้าให้ศพ การฝังศพ ลูกที่เป็นมุสลิมสามารถจัดทำได้ ตามคำกล่าวที่ได้อ้างอิงมา ยิ่งไปกว่านั้น อิสลามสอนให้ทำดีกับพ่อเเม่ เเละสามารถจัดการเกี่ยวกับศพได้ ที่ศาสนาอนุญาต สิ่งนี้เช่นกัน กล่าวโดยท่าน อีหม่าม อัลบัยฮากีย์ ในตำรา ซุนัน อัลกุบรอ (ตำรา ซุนัน อัลกุบรอ ของท่าน อีหม่าม อัลบัยฮากีย์)
وإذا مات الكافر وله ولي مسلم فإنه يغسله ويكفنه ويدفنه بذلك أمر علي رضي الله عنه في حق أبيه أبي طالب لكن يغسل غسل الثوب النجس ، ويلف في خرقة ، وتحفر حفيرة من غير مراعاة سنة التكفين واللحد ، ولا يوضع فيها ، بلى يلقى
ดังนั้น อิสลามไม่อนุญาตให้มุสลิมเข้าร่วมพิธีรดนํ้าศพได้ เพราะ การกระทำนี้ จัดอยู่ในรูปเเบบพิธีกรรมในการจัดการศพของศาสนาอื่น เเละอาจจะมีสิ่งที่เป็นชิริก ร่วมอยู่ด้วย ส่วนคำกล่าวของท่าน อีหม่ามอันนาวาวีย์ นั้น การอาบนํ้าศพคนต่างศาสนานั้น อยู่ในบริบทที่ว่า ไม่มีการรดนํ้ามนต์ เเละไม่มีความเชื่อที่เป็นชีริก
ส่วนการที่มุสลิมเข้าร่วมทำการรดนํ้ามนต์ เเม้ว่า ไม่มีความเชื่อ หรือ เจตนาดี เเต่ไม่ควรทำ เพราะเป็นสิ่งชุบฮัต เพราะนํ้าที่ใช้อาจจะเป็นนํ้ามนต์ เเละอยู่ในบริบทการทำพิธีกรรมศพเเละหากมีการพลาดไปทำเเล้ว เรามุสลิมไม่ควรออกประณาม เเต่ควรใช้ฮิกมะห์ในการตักเตือน บางครั้งการที่ได้กระทำไปโดยที่ไม่ได้เจตนา หรือ ไร้ความรู้ หรือ ขาดความรู้ หรือ เจตนาอย่างอื่น ซึ่งเราเป็นคนอื่น ควรหมั่นถาม เเละอย่าพึ่งไปรีบฮุก่มคนอื่น เพราะอันตราย เเละเกิดการฟิตนะห์ได้
ที่มา: Matty Ibnufatim Hamady