คืนนิสฟูชะอฺบาน ทำไมต้องอ่านซูเราะฮฺยาซีนด้วย?


17,136 ผู้ชม

คืนนิสฟูชะอฺบานคือ คืนวันที่ 15 ของเดือนชะอฺบาน คำว่า นิสฟู แปลว่า ครึ่ง ดังนั้น นิสฟูชะอฺบานจึง แปลว่า ครึ่งของเดือนชะอฺบาน


คืนนิสฟูชะอฺบาน ทำไมต้องอ่านซูเราะฮฺยาซีนด้วย?

คืนนิสฟูชะอฺบานคือ คืนวันที่ 15 ของเดือนชะอฺบาน คำว่า นิสฟู แปลว่า ครึ่ง ดังนั้น นิสฟูชะอฺบานจึง แปลว่า ครึ่งของเดือนชะอฺบาน

เดือนชะอฺบาน เดือนที่ประชาชาติอิสลามให้ ความสำคัญอีกเดือนหนึ่ง  ซึ่งเป็นเดือนแห่งอรัมภบทสำหรับเดือนรอมะฏอนอันมีเกียรติ  อีกทั้งเป็นเดือนแห่งการฝึกฝนในการถือศีลอด  การละหมาดซุนนะฮ์  และปฏิบัติคุณความดีต่างๆ เพื่อลิ้มรสความใกล้ชิดต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลาและดื่มด่ำความหอมหวานของอีหม่าน 

ดังนั้น เมื่อเดือนรอมะฏอนมาถึง เราจึงมีความเคยชินและมีความพร้อมที่จะตอบรับภารกิจอันยิ่งใหญ่  ยิ่งกว่านั้นเดือนชะอฺบานนั้นยังเป็นเดือนที่มีความประเสริฐและมีความโดด เด่นกว่าเดือนอื่นๆ  เดือนนี้ถือเป็นเดือนที่บรรดาอะมัลถูกยกนำเสนอต่ออัลเลาะฮ์ ตะอาลา เป็นเดือนที่พระองค์ทรงเมตตาแก่บรรดาผู้วอนขอความเมตตา  เป็นเดือนที่พระองค์ทรงอภัยโทษแก่บรรดาผู้ขออภัยโทษและยังเป็นเดือนที่ พระองค์ทรงปลดปล่อยปวงบ่าวจากไฟนรกอีกด้วย  

คืนนิสฟูชะอฺบาน ทำไมต้องอ่านซูเราะฮฺยาซีนด้วย?

ทำไมต้องอ่านซูเราะฮฺยาซีนด้วย? อ่านซูเราะฮฺอื่นไม่ได้เหรอ?

คำตอบก็คือ เมื่อเรารับทราบกันแล้วว่ารูปแบบการทำอามาลในคืนนิสฟูชะบานนั้นสามารถกระทำได้หลากหลายสุดแล้ว แต่ความสามารถของแต่ละคนที่พึงปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นการอ่านอัลกุรอานหรือซิกรุลลอฮฺหรืออื่นๆ

ฉะนั้นการอ่านอัลกุรอานนั้นไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่เฉพาะการอ่านซูเราะฮฺยาซีน เราสามารถอ่านซูเราะฮฺอื่นๆ เพื่อแสวงหาความพอพระทัยจากองค์อัลลอฮฺได้อย่างไม่จำกัดแต่เนื่องจากมนุษย์ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีเวลาในการอ่านอัลกุรอ่านมากนักและเมื่อมีโอกาสรวมตัวกันเพื่ออ่านอัลกุรอ่านกันนานๆที อุลามะอฺบางท่านจึงได้กำหนดให้อ่านซูเราะฮฺยาซีนกัน

ท่าน เชค อัลมุฮัดดิษ มูฮัมหมัด บิน ดูรวัยชฺ อัลฮูต อัลบัยรูตีอัชชาฟีอีย์ (ฮ.ศ.1209-1276) ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ “ อัซนัล-มาฏอลิบฯ” ของท่านหน้า 234 ว่า:

َأَمَّا قِرَاءَةُ سُوْرَةِ يس لَيْلَتَهَا بَعْدَ الْمَغْرِبِ وَالدُعَاءِ الْمَشْهُوْرِ فَمِنْ تَرْتِيْبِ بَعْضِ أهْلِ الصَّلاَحِ مِنْ عِنْدِ نَفْسِهِ قِيْلَ هُوَ الْبُوْنِى وَلَا بَأْسَ بِمِثْلِ ذَلِكَ

ความว่า :  “ อนึ่งการอ่านซูเราะฮฺยาซีนในคืนนิสฟูชะบานภายหลังจากละหมาดมัฆริบกันเสร็จแล้ว และก็อ่านดุอาอันเป็นที่แพร่หลายกัน(หลังจาก การอ่าน ยาซีน)นั้นถือได้ว่าเป็นรูปแบบที่กำหนดโดยอุลามาอฺบางท่าน (ซึ่งชื่อของอุลามะอ์ท่านนั้นยังเป็นที่เห็นต่างกันอยู่) บางทรรศนะก็บอกว่าเป็น (การกำหนดของ)ท่าน (เชค อะฮฺหมัด บิน อาลี) อัลบูนีย์ (อัลมาลีกี มีชีวิตใน ฮ.ศ.520-622) และการปฏิบัติอย่างนี้ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจแต่ประการใด”

ท่านเชค อะฮฺหมัด บิน อุมัร อัด-ดีรฺบีย์ อัช-ชาฟีอีย์ (เสียชีวิตฮ.ศ.1151) ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ ของท่านที่มีชื่อว่า“ ฟุตฮุลมาลิกิล มาญีด” หน้า 19 ว่า:

(وَمِنْ خَوَاصِ سُوْرَةِ يس) كَمَا قَالَ بَعْضُهُمْ أنْ تَقْرَأَهَا لَيْلَةَ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ ثَلاَثَ مَرَّاتٍ الأُوْلَى بِنِيَّةِ طُوْلِ اْلعُمْرِ وَالثَّانِيَةُ بِنيَّةِ دَفْعِ الْبَلاَءِ وَالثَّالِثَةُ بِنِيَّةِ اْلإسْتِغْنَاءِ عَنِ النَّاسِ

ความว่า: “และหนึ่งในความพิเศษของซูเราะฮฺยาซีนนั้นดังที่อุลามะอฺบางท่านได้กล่าวไว้ นั้นก็คือ การที่ท่านได้อ่านมัน 3 จบในคืนนิสฟูชะบานซึ่งครั้งแรกนั้นให้ตั้งเจตจำนงค์ (ขอต่ออัลลอฮ์)ให้ประทานอายุที่ยืนยาว ครั้งที่สองนั้นตั้งเจตนาขอให้รอดพ้นจากภัยร้ายต่างๆ และครั้งที่สามตั้งเจตนาขอจากอัลลอฮฺให้เราหลุดพ้นจากมนุษย์(คืออยู่อย่างไม่แร้นแค้น)” 

ท่าน เชค อับดุร-รอมาน บิน มูฮัมหมัด บาอาลาวีย์(ฮ.ศ.1250-1320)ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านที่ชื่อว่า“ ตัลคิส ฟาตาวา อิบนิ ซิยาด” หน้า 301 ว่า:

(مَسْئَلَةٌ) حَدِيْثُ يس لِمَا قُرِئَتْ لَهُ لاَ أَصْلَ لَهُ وَلَمْ أَرَ مَنْ عَبَّرَ بِأَنَّهُ مَوْضُوْعٌ فَيَحْتَمِلُأنَهُ لاَ أصْلَ لَهُ فِى الصِّحَّةِ وَالَّذِىْ أعْتَقِدُهُ جَوَازُ رِوَايَتِهِ بِصِيْغَةِ التَّمْرِيْضِ نَحْوُ بَلَغَنَا كَمَايَفْعَلُهُ أصْحَابُ الشَّيْخِ اِسْمَعيِلَ اْلَجْبَرِتى اهـ

ความว่า:  “ ฮาดีษบทหนึ่งที่บอกว่า“ ซูเราะฮฺ ยาซีนนั้น สามารถที่จะอ่านเพื่อให้บังเกิดวัตถุประสงค์ตามที่เจตนาไว้”  ถือเป็นฮาดีษที่ไม่มีต้นสายปลายเหตุแต่ว่าฉันก็ไม่เคยพบว่าอุลามะอฺท่านใดที่กำหนดว่ามันคือ ฮาดีษ เก๊ (หมายความว่า ไม่ถึงขั้น เมาดุอฺ) ฉะนั้น จึงเป็นไปได้ที่ว่าฮาดีษบทนี้นั้นหมายถึงไม่มีต้นตอแห่งความซอเฮี้ยะ (ซึ่งก็หมายถึงดออิฟนั้นเอง)และข้าพเจ้าก็มั่นใจเหลือเกินว่าการรายงานฮาดีษบทนี้ด้วยถ้อยคำที่ไม่ฟันธงลงไป(ซี่งเขาเรียกว่าซีเฆาะตัมรีด)นั้นถือเป็นที่อนุญาตเช่นกล่าวว่า:

“ได้มีรายงานมายังฉัน” เป็นต้น ดังที่ลูกศิษย์ลูกหาของท่าน เชค อิสมาอิล อัลญาบารีตียฺ ได้ทำกัน”(หมายเหตุเชคอิสมาอิล อัลญาบารีตียฺ น่าจะหมายถึง เชค อิสมาอิล บิน อิบรอฮีม บิน อับดุซซอมัด อัลญาบารีตีย์เป็นอาจารย์ท่านหนึ่งของท่านเชคอับดุลการีม อัล-ญีลียฺ เสียชีวิต ฮ.ศ.806 ผู้เขียน)ท่าน อิบนุกาษีร ได้กล่าวไว้ใน“ ตัฟซีร อัลกุรอ่าน อัลอาซีม” เล่มที่ 3 หน้า 742 ซึ่งท่านเองได้อ้างอิงคำกล่าวนี้มาจาก ผู้รู้ท่านหนึ่งว่า: 

أنَّ مِن خصائص هذه السورة أنها لا تُقرَأ عند أمر عسير إلا يسره الله تعالى 

ความว่า:  “ ส่วนหนึ่งจากคุณประโยชน์พิเศษของซูเราะฮฺ (ยาซีน) นี้ก็คือ การงานใดที่ยากลำบากแสนเข็ญที่ได้มีการอ่านซูเราะฮฺยาซีนนั้น อัลลอฮฺก็จะประทานความง่ายดายแก่มัน”

สรุปสั้นๆก็คือ คืนนิสฟูชะบาน นั้นศาสนาส่งเสริมให้เราปฏิบัติอามาลให้มากๆ และส่วนหนึ่งจากอามาลที่ควรปฏิบัตินั้นคือการอ่านอัลกุรอานและด้วยเหตุนี้อุลามะอฺบางท่านได้กำหนดให้อ่านซูเราะฮฺยาซีนกันซึ่งก็ถือว่า เป็นที่อนุมัตเพราะมันยังคงวางอยู่บนรากฐานแห่งการอ่านอัลกุรอ่านและที่เจาะจงด้วยซูเราะฮฺยาซีนนั้นก็เพราะว่า มันมีคุณประโยชน์พิเศษบางประการที่มีความเหมาะสมกับบริบทแห่งค่ำคืนนี้นั่นเอง

มีหลายคนถามว่า แล้วดุอาอ์นิสฟูชะบานที่เขาอ่านกันทั่วไปนั้นเป็นดุอาที่ท่านศาสดาสอนเอาไว้หรือ? หรือว่าใครกำหนดให้อ่าน...? คำตอบ ก็คือ ไม่ปรากฏสายรายงานใดๆเกี่ยวกับดุอาคำวิงวอนเฉพาะสำหรับคืนนิสฟูชะบาน อันหมายถึงเราสามารถอ่านดุอาต้นใดๆในค่ำคืนดังกล่าวก็ได้ แต่อุลามะอฺรุ่นก่อนบางท่านได้กำหนด ดุอาขึ้นมาให้สอดคล้องกับบริบทของคืนอันมงคลนี้ทั้งนี้ได้พิจารณาจากทรรศนะของปวงปราชญ์เกี่ยวกับพระดำรัสของอัลลอฮในอัลกุรอ่านซูเราะฮฺอัด-ดุคอน โองการที่ 3-4 ที่ว่า 

إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةٍ مُبَارَكَةٍ إِنَّا كُنَّا مُنْذِرِينَ  فِيهَا يُفْرَقُ كُلُّ أَمْرٍ حَكِيمٍ 

ความว่า“ แท้จริงนั้นเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในค่ำคืนหนึ่งอันเป็นมงคลแท้จริงเรานั้นเป็นผู้สำทับให้เกรงกลัว ในคืนนั้นการงานต่างๆอันเปี่ยมด้วยวิทยปัญญาได้ถูกจำแนกแจกแจงไว้แล้ว"

พระดำรัสที่ว่า “ในคืนนั้นการงานต่างๆ” บรรดาอุลามะอฺได้มีทรรศนะที่แตกต่างกันบ้างก็บอกว่าคืนนั้นคือคืนลัยลาตุลกอดร

ที่มา:   Miftah Students in Jordan

islamhouse.muslimthaipost.com

อัพเดทล่าสุด