เมื่อพบคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ ต้องทำอย่างไร? โปรดตอบ : islamhouses


23,015 ผู้ชม

เมื่อเราพบคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ ให้เรากล่าวดุอาร์ต้นนี้....


เมื่อเราพบคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ ให้เรากล่าวดุอาร์ต้นนี้ 

รายงานจากท่านหญิงอาอีซะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา  กล่าวว่า : โอ้ท่านร่อซูล หากฉันรู้ถึง คืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ ฉันจะกล่าวอะไรในคืนนั้น ?

ท่านร่อซูล ซ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า เธอจงกล่าวว่า :

اَللَّهُمَّ إِنَّكَ عَفُوّ ٌتُحِبُّ الْعَفْوَفَاعْفُ عَنِّيْ

คำอ่าน : อัลลอฮุมม่า อินนะก้า อะฟูวุน ตุหิบบุลอัฟว่า ฟะอฺฟุ อันนี

คำแปล : โอ้อัลลอฮฺ พระองค์เป็นผู้ทรงอภัย ทรงรักการให้อภัย ดังนั้นขอพระองค์ทรงโปรดอภัยให้ฉันด้วยเถิด

(หะดีษอัตติรมีซีย์หมายเลข/3580:ฮะซันเศาะเฮี๊ยะห์และอันนะซาอีย์ในอะมัล วัล-ลัยละห์ หมายเลข/872 และอะห์มัดในมุสนัดของท่าน 6/171, 182 และอิบนุมาญะห์ หมายเลข/3850 และ อัล-ฮากิม 1/350))

ลักษณะคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ   อิบนุอับบาส เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวถึง (สัญญาณของ) ค่ำคืนอัลก็อดรฺว่า

«ليلة القدر ليلة سمحة طلقة لا حارة ولا باردة تصبح الشمس صبيحتها ضعيفة حمراء»

“ค่ำคืนอัลก็อดรฺเป็นค่ำคืนที่อ่อนละมุน อากาศเย็นสบาย ไม่ร้อน และไม่หนาว ดวงอาทิตย์ในเช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้นแสงของมันจะเป็นสีแดงอ่อน”

อบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวเกี่ยวกับสัญญาณของค่ำคืนอัลก็อดรฺว่า

«إنها ليلة سابعة أو تاسعة وعشرين، إن الملائكة تلك الليلة في الأرض أكثر من عدد الحصى»

มันเป็นค่ำคืนที่ 27 หรือ 29 แท้จริงในค่ำคืนนั้น บรรดามะลาอิกะฮฺจะอยู่บนพื้นดินมากกว่าจำนวนของเม็ดทราย”

หะดีษ ซิรริ บิน ฮุบัยร์ ท่านกล่าวว่า ฉันได้ถามอุบัย บิน กะอับ เราะฏิยัลลอฮุอันฮุว่า แท้จริงพี่น้องของท่านอิบนุ มัสอูดกล่าวว่า ผู้ใดที่กิยามุลลัยเป็นเวลาครบหนึ่งปี แน่นอนเขาจะพบกับค่ำคืนอัลก็อดรฺ อุบัยจึงตอบว่าอัลลอฮทรงให้ความโปรดปรานแก่ อบา มัสอูด ท่านต้องการให้มนุษย์นั้นไม่เพลิดเพลินและให้มีความคาดหวังมาก ๆ แท้จริงแล้วท่านได้ทราบว่าคืนอัลก็อดรฺนั้นเกิดขึ้นในเดือนรอมฏอน (เท่านั้น) แน่แท้จะอยู่ในสิบคืนสุดท้าย และแท้จริง (คืนนั้น) อยู่ในคืนที่ยี่สิบเจ็ด จากนั้นอุบัยกล่าวปฎิญาณว่า ไม่เป็นการยกเว้นอีก แท้จริงแล้ว คืนอัลก็อดรฺเป็นคืนที่ยี่สิบเจ็ดเท่านั้น ฉันถามต่อไปว่า ท่านมั่นใจอย่างไรกับสิ่งเหล่านั้นโอ้ อบัล มุนซิร? ท่านตอบว่า ด้วยสัญญาลักษณ์!! ที่ท่านรอซูลได้เล่าให้เราทราบนั่นคือ…แท้จริงดวงอาทิตย์ขึ้นมาในเช้าของคืน วันนั้นไม่มีแสงเจิดจ้า (หะดีษเศาะเฮี๊ยะห์มุสลิม 2/828 และเศาะเฮี๊ยะห์ อิบนุ คุซัยมะห์ หมายเลข/2193) 

รายงานจากท่านอุบาดะฮ์ บิน อัสศอมิต  ว่า  ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า

التمسوها في ليلة الواحد والعشرين، أو ثلاث وعشرين، أو خمس وعشرين، أو سبع وعشرين، أو تسع وعشرين، أواخر رمضان، من قامها احتساباً غفر له ما تقدم من ذنبه وما تأخر

"พวกท่านจงแสวงหาคืนลัยละตุลกอดร์  ในคืนที่ยี่สิบเอ็ด หรือคืนที่ยี่สิบสาม  หรือคืนที่ยี่สิบห้า  หรือคืนที่ยี่สิบเจ็ด  หรือคืนที่ยี่สิบเก้า  หรือช่วงท้ายรอมะดอน   ผู้ใดที่ทำการละหมาดในค่ำคืนลัยละตุลกอดร์  โดยมีความบริสุทธิ์ใจ  เขาจะได้รับการอภัยโทษบาปที่ผ่านมาแล้วและบาปที่จะมีหลังจากนั้น"  หมายถึงบาปทั้งหมดจะได้รับการอภัยโทษให้   และการละหมาดในค่ำคืนนี้  อย่างน้อยให้ไปทำการละหมาดตะรอวิห์ในมัสยิดอย่างสมบูรณ์  แต่ที่สมบูร์ยิ่งนั้น  คือให้เขาลุกขึ้นจากที่นอนเพื่อทำการละหมาดและทำอิบาดะฮ์ตลอดทั้งคืนดังกล่าว  โดยมุงไปยังอัลเลาะฮ์ตาอาลา  ทำการอิสติฆฟาร  กลับตัวกลับใจเคาะประตูแห่งความพึงพอพระทัยแห่งพระผู้เป็นเจ้า  เคาะประตูแห่งการขออภัยโทษ  เพื่อพระองค์จะทรงเปิดประตูแห่งการเตาบัตและทรงประทานอภัยโทษจากบาปทั้งหลาย" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะห์มัด)

เมื่อพบคืนลัยละตุ้ลก็อดรฺ ต้องทำอย่างไร? โปรดตอบ

อัลก็อดรฺในด้านภาษาสื่อถึงความหมายต่างๆ ดังนี้

- หมายถึง จำนวน หรือความมากมาย (الكمية والمبلغ)

- หมายถึง ระดับและเกียรติ (الدرجة)

- หมายถึง คุณค่าและราคา (القيمة)

- หมายถึง ความประเสริฐ (الشرف)

- หมายถึง สถานะ (المقام)

- หมายถึง ความสามารถและพละกำลัง (อำนาจ) (الطاقة والقوة)

- หมายถึง ความยิ่งใหญ่ (العظمة)

- หมายถึง การจำแนกและชี้ขาด (الحكم والفصل)

ความหมายต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับสภาพของค่ำคืนอัลก็อดรฺ

ค่ำคืนอัลก็อดรฺ  เป็นค่ำคืนหนึ่งของเดือนรอมฏอน  อัล-มุบาร๊อก( شهر رمضان المبارك ) ที่อัลลอฮได้ให้ชื่อว่า   "ค่ำคืนอัลก็อดรฺ" เนื่องจากในค่ำคืนนั้นมีเกียรติและความประเสริฐต่างๆ ดังนี้

- เป็นค่ำคืนอัลกุรอานถูกประทานลงมา

- เป็นค่ำคืนที่ญิบรีลและบรรดามะลาอีกะฮฺลงมา (ยังโลกดุนยา)

- เป็นค่ำคืนที่ความบะรอกะฮ์/ความปลอดภัยและการอภัยโทษถูกประทานลงมา

อัลลอฮฺทรงตรัสว่า ...

((لَيْلَةُ الْقَدْرِ خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ شَهْرٍ))

"(การประกอบอิบาดะฮ์ในค่ำคืน) อัลก็อดรฺดีกว่า (การประกอบ อิบาดะห์) หนึ่งพันเดือน (ในค่ำคืนอื่นจากค่ำคืนอัลก็อดรฺ)" (ซูเราะห์อัลกอดัร อายะห์ที่ 3)

ท่านรสูล กล่าวว่า :

((ومن قام ليلة القدر إيماناً واحتساباً ، غفر له ما تقدم من ذنبه))

"และผู้ใดที่ดำรงไว้ (อิบาดะห์) ในค่ำคืนอัลก็อดรฺด้วยความศรัทธาต่ออัลลอฮฺและหวังในความโปรดปรานและผลตอบ แทนจากพระองค์ผู้เดียวเท่านั้น แท้จริงเขาจะได้รับการอภัยโทษจากบาปทั้งหลายที่ผ่านมา" (มุตตะฟะกุนอะลัยห์" (เศาะเฮี๊ยะห์ อัลบุคอรี 2/253 และเศาะเฮี๊ยะห์มุสลิมเลขที่ 760 (1/524))

จากอบีฮุรอยเราะห์ เราะฎิยัลลอฮุอินฮุ แท้จริงท่านรอซูลกล่าวถึงเกี่ยวกับค่ำคืน อัลก็อดรฺว่า

"แท้จริงมันเป็นคืนที่ยี่สิบเจ็ด หรือยี่สิบเก้า (ของรอมฏอน) แท้จริงแล้วบรรดามะลาอิกะห์ในค่ำคืนนั้น (ลงมายัง) พื้นโลกมากกว่าจำนวนเม็ดทราย" (หะดีษอิหม่ามอะห์มัด อัลบัซซาร์ และอัต-เตาะบะรอนีย์ในอัล-เอาซาต และริญาลุน ศิก็อต : มัจญ์มูอ์ อัซ-ซะวาอิด 3/176)

ท่านอิหม่ามอันนะวะวีย์กล่าวว่า

"ค่ำคืนอัลก็อดรฺเป็นค่ำคืนที่ประเสริฐที่สุดในรอบปี ผู้ใดที่ประกอบอิบาดะห์ (กิยามุลลัยล์) ในค่ำคืนอัลก็อดรฺ แม้ว่าเขาจะไม่ได้รับเตาฟีกในการมองเห็นสัญญาลักษณ์ของค่ำคืนอัลก็อดรฺก็ตาม แท้จริงแล้วเขาจะได้รับผลตอบแทนด้วยผลตอบแทนดังกล่าว"

ลัยละตุ้ลก็อดรฺคืนแห่งทำความดี

รายงานจากท่านหญิง ฮาอิชะห์ ( ท่านนบีซอลลัลลอฮูอะลัยอิวะซัลลัม นั้นทุ่มเทความพยายาม ไม่เหมือนกับคืนอื่นๆ ( หมายถึงสิบคืนท้ายๆของเดือนรอมาฏอน )(บันทึกโดยมุสลิ)

รายงานโดยท่านหญิงฮาอิชะห์ รอฏิยัลลอฮูอันฮา

"โอ้อัลลอฮ แท้จริงท่านเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงใจบุญ ท่านรักการอภัยโทษขอพระองค์ทรงอภัยโทษ ให้แก่ฉัน"

แท้จริงฉันได้ออกมาเพื่อที่ต้องการที่จะบอกถึงคืนลัยละตุลก็อดรฺ แล้วก็มีคนทะเลาะกัน ฉันเลยลืมมันไป และหวังว่า มันเป็นการดีแก่พวกเจ้า ดังนั้นพวกท่านจงแสวงหามัน (บันทึกโดยบุคอรีย์ 2023)

อาอิชะฮฺภรรยาเล่าว่า “ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะทำอิอฺติกาฟในสิบวันสุดท้ายจากเราะมะฎอน และท่านกล่าวว่า

«التمسوها في العشر الأواخر؛ يعني ليلة القدر»

พวกเจ้าจงแสวงหามัน – หมายถึงค่ำคืนอัลก็อดรฺ – ในค่ำคืนสิบวันสุดท้าย (ของเดือนเราะมะฎอน)”

อบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า “ญิบรีลได้นำเสนอ (อ่าน) อัลกุรอานให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฟังทุกๆ ปี ปีละหนึ่งครั้ง และในปีที่ท่านเสียชีวิตญิบรีลได้อ่านอัลกุรอานให้ท่านฟังสองครั้ง...”

เรื่องที่น่าสนใจ