ท่านนบีห้าม ห้ามการที่คน ๆ หนึ่งละหมาดในสภาพที่อั้นฉี่
ห้ามละหมาดในขณะที่อั้นฉี่หรืออุจจาระ
عَنْ أَبِي أُمَامَةَ ، أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ نَهَى أَنْ يُصَلِّيَ الرَّجُلُ وَهُوَ حَاقِنٌ
[ أخرجه ابن ماجه (617) ]
จากอบูอุมามะห์ “แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ห้ามการที่คน ๆ หนึ่งละหมาดในสภาพที่อั้น ( อั้นฉี่ ปัสสาวะหรืออั้นอุจจาระ )“
[บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ (617)]
การอั้นฉี่ ปัสสาวะและอุจจาระ และหิวกระหาย เป็นอาการที่แสดงความทุกข์ ความเจ็บปวดแก่มนุษย์
ซึ่งมีคำสั่งห้ามทำการละหมาดถ้าหากว่า อยู่ในอาการดังกล่าว บรรดานักวิชาการกลุ่มหนึ่งเห็นว่า การละหมาดในขณะที่หิว หรืออั้นฉี่ ปัสสาวะถือเป็นสิ่งต้องห้าม ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งถือว่า เป็นมักรูฮ์ น่ารังเกียจ
จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่ารเราะซูล กล่าวว่า
"เขาจะไม่ละหมาด เมื่ออาหารได้จัดวาง และไม่ละหมาดในขณะที่อั้นปัสสาวะ อุจจาระ"
(บันทึกโดย ตริมีซีย์ นะซาอีย์ อบูดาวูด อิบนุมาญะฮ์)
จากฮะดิษบทนี้ บรรดานักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันดังนี้ คือ
1. ซอฮิรียะฮ์ เห็นว่า ใครที่ละหมาดในสภาพดังกล่าว ละหมาดของเขาใช้ไม่ได้
2. ผู้รู้บางคนในมัซฮับชาฟิอีย์ เห็นว่า ต้องไม่ละหมาดในสภาพดังกล่าว แต่ให้กินอาหารก่อน และไปขับถ่าย ทำความสะอาดก่อนแม้ว่าจะหมดเวลาก็ตาม
3. อิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวว่า หากว่าใครละหมาดในสภาพดังกล่าวทั้งๆที่เวลาละหมาดยังมีอีกมาก เขาได้ทำในสิ่งที่น่าเกลียด การละหมาดของเขาถือว่าใช้ได้ และเป็นความเห็นของนักวิชาการส่วนมาก และที่ว่าการละหมาดนั้นใช้ได้ หมายถึง เขาได้ทำสิ่งที่เป็นฟัรฏู แต่แน่นอนว่าความมีสมาธิย่อมบกพร่องไป
ที่มา:www.islammore.com