ชายคนหนึ่งหย่าภรรยา ขณะภรรยาตั้งครรภ์ จะฮารามและขาดกันหรือไม่?
หย่าขณะภรรยาตั้งครรภ์ ฮารามหรือไม่?
ถาม : ชายคนหนึ่งหย่าภรรยา ขณะภรรยาตั้งครรภ์ จะฮารามและขาดกันหรือไม่?
ตอบ : การหย่าภรรยาขณะตั้งครรภ์นั้น ขาดกัน และไม่ฮาราม ถึงแม้ว่าภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์อยู่เกิดมีประจำเดือน สามีก็หย่าขณะที่เธอมีประจำเดือน ก็ไม่ฮารามเช่นเดียวกัน เพราะการหมดอิดคะห์ ของเธอนั้น เมื่อคลอดบุตรศาสนาจะไม่พิจารณา 3 กุรุ (ช่องว่างระหว่างประจำเดือน 3 ครั้ง)
(บุยัยรีมีอาลั้คอเต็บ เล่มที่ 3 หน้าที่ 430-431)
- ถ้าสามีให้นะฟะเกาะฮฺภรรยา ไม่พอใช้จ่าย ขอหย่าได้ไหม?
- หญิงต้องการนิกะห์ แต่ไม่มีวะลีย์
- การหย่า 3 แล้วอยากคืนดี (อิสลาม)
- ภรรยามีชู้ในอิสลาม บาปไหม?
- แต่งงานแล้วแยกกันอยู่ อิสลามอนุมัติหรือไม่?
- สามีทำภรรยาเสียใจ..ห่างไกลริสกี
การหย่าแบบซุนนะห์
คือ การที่สามีหย่าภรรยาของเขาหนึ่งครั้ง โดยที่เขาได้มีเพศสัมพันธ์แล้ว ขณะที่นางอยู่ในสภาพที่สะอาดจากรอบเดือน และยังไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับนางในรอบเดือนนั้น การหย่าแบบสุนนะฮฺนี้ สามีมีสิทธิ์ที่จะกลับคืนดีกันได้ จนกว่าภรรยาจะพ้นอิดดะฮ์ ( ช่วงเวลาแห่งการรอคอย ) นั้นก็คือ 3 กุรูอ์ ในเมื่อภรรยาพ้นจากอิดดะฮฺแล้วแต่สามียังไม่ได้คืนดี ก็เป็นการหย่าที่สมบูรณ์ นางก็ไม่เป็นที่อนุมัติแก่สามีนอกจากต้องแต่งงานและมีสินสอดใหม่ แต่ถ้าหากสามีกลับมาคืนดีขณะที่นางอยู่ในอิดดะฮฺ นางก็จะเป็นภรรยาเหมือนเดิม
และหากเขาได้หย่านางเป็นครั้งที่สอง เหมือนกับที่ได้หย่าครั้งแรก ถ้ากลับคืนดีขณะที่ยังอยู่อิดดะฮฺ นางก็เป็นภรรยาตามเคย แต่ถ้าพ้นจากอิดดะฮ์แล้วก็เป็นการหย่าที่สมบูรณ์ นางก็ไม่เป็นที่อนุมัติแก่สามีนอกจากต้องแต่งงานและมีสินสอดใหม่
หลังจากนั้นหากเขาได้หย่านางอีกเป็นครั้งที่สาม เหมือนกับการหย่าที่ผ่านๆ มา นางจะพ้นจากสามีทันทีและจะไม่เป็นที่อนุมัติแก่สามีอีกต่อไป เว้นแต่นางได้แต่งงานกับชายอื่นอย่างถูกต้อง การหย่ารูปแบบขั้นตอนและขั้นตอนดังกล่าว เป็นการหย่าแบบสุนนะฮฺในแง่ของจำนวนและเวลา
ส่วนหนึ่งในรูปแบบของการหย่าแบบสุนนะฮฺ คือ การที่สามีได้หย่าภรรยาของเขาหนึ่งครั้งหลังจากที่ได้รู้ว่านางกำลังตั้งครรภ์
อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
الطَّلَاقُ مَرَّتَانِ فَإِمْسَاكٌ بِمَعْرُوفٍ أَوْ تَسْرِيحٌ بِإِحْسَانٍ
การหย่านั้นมีสองครั้ง แล้วให้มีการยับยั้งไว้โดยชอบธรรม หรือไม่ก็ให้ปล่อยไป พร้อมด้วยการทำความดี ( อัล-บะเกาะเราะฮฺ - 229 )
หลังจากนั้น อัลลอฮฺได้ตรัสอีก ว่า
فَإِنْ طَلَّقَهَا فَلَا تَحِلُّ لَهُ مِنْ بَعْدُ حَتَّى تَنْكِحَ زَوْجًا غَيْرَهُ فَإِنْ طَلَّقَهَا فَلَا جُنَاحَ عَلَيْهِمَا أَنْ يَتَرَاجَعَا إِنْ ظَنَّا أَنْ يُقِيمَا حُدُودَ اللَّهِ وَتِلْكَ حُدُودُ اللَّهِ يُبَيِّنُهَا لِقَوْمٍ يَعْلَمُونَ
"ถ้าหากเขาได้หย่านางอีก นางก็ไม่เป็นที่อนุมัติแก่เขา หลังจากนั้น จนกว่าจะแต่งงานกับสามีอื่นจากเขา
แล้วหากสามีนั้นหย่านาง ก็ไม่มีบาปใดๆ แก่ทั้งสอง ที่จะคืนดีกันใหม่ หากเขาทั้งสองคิดว่า จะดำรงไว้ซึ่งขอบเขตของอัลลอฮฺได้
และนั่นแหละ คือขอบเขตของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์ทรงแจกแจงมัน อย่างแจ่มแจ้งแก่กลุ่มชนที่รู้ดี" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 230)
เมื่อการหย่าได้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์และได้แยกกันอยู่ ส่งเสริมให้ผู้ที่เคยเป็นสามีอำนวยสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ภรรยาอันสมควรแก่ฐานะความเป็นอยู่ของสามีและฝ่ายภรรยา เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายแก่ฝ่ายภรรยาและเป็นการปฏิบัติตามสิทธิ์ที่ฝ่ายภรรยาพึงได้รับ ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสไว้ว่า
وَلِلْمُطَلَّقَاتِ مَتَاعٌ بِالْمَعْرُوفِ حَقًّا عَلَى الْمُتَّقِينَ
"และเป็นสิทธิแก่บรรดาหญิงที่ถูกหย่า(จะต้องได้) สิ่งอำนวยสุข (เป็นค่าเลี้ยงดู) โดยคุณธรรมเป็นหน้าที่แก่บรรดาผู้ยำเกรงทั้งหลาย" ( อัลบะเกาะเราะฮฺ : 241 )
จากหนังสือท่านถาม-เราตอบ สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนมิฟตาห์ฯ และ www.islammore.com
http://islamhouse.muslimthaipost.com/article/23458